- คำนำ
- พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- ๓๑๓ ประกาศเรียกงาปิว่าเยื่อเคยในคำกราบทูล
- ๓๑๔ ประกาศให้เรียกว่าสวนนันทอุทยานให้ถูก
- ๓๑๕ ประกาศเรื่องใช้คำพูดว่า ต้นแผ่นดิน กลางแผ่นดิน ปลายแผ่นดิน
- ๓๑๖ ประกาศให้เรียกที่ประทับท้องสนามหลวงว่าพลับพลา
- ๓๑๗ ประกาศเรื่องพระพุทธบุษยรัตน
- ๓๑๘ ประกาศปฏิสังขรณ์วัดไชยพฤกษมาลาวัดเขมาภิรตาราม
- ๓๑๙ ประกาศว่าด้วยปฏิสังขรณ์วัดขุนแสน
- ๓๒๐ ประกาศว่าด้วยเงินสำหรับซ่อมแซมพระอารามซึ่งเปนส่วนพระองค์
- ๓๒๑ ประกาศเรื่องพระราชทานกฐินที่กรุงเก่า
- ๓๒๒ ประกาศแผ่พระราชกุศลในการฉลองวัดหงษรัตนาราม
- ๓๒๓ ประกาศแผ่พระราชกุศลฉลองพระศรีรัตนมหาเจดีย์
- ๓๒๔ ประกาศการทำของเลี้ยงพระในการเฉลิมพระชนม์พรรษา
- ๓๒๕ ประกาศเรื่องเงินปี้จีนปีชวดทำถนน
- ๓๒๖ ประกาศชำระเลขในสมเด็จพระนางนาถราชเทวี สมเด็จพระเทพศิรินทร์
- ๓๒๗ ประกาศเรื่องตราภูมคุ้มห้าม
- ๓๒๘ ประกาศสักเลขไพร่หลวง
- ๓๒๙ ประกาศไม่ให้ลูกหมู่ไพร่หลวง เมื่อบวชอยู่รับจ้างทำช่างทอง
- ๓๓๐ ประกาศไม่ให้เชื่อฟังเรื่องที่ผู้มีคดีไม่ฟ้องเอาไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๑ ประกาศเรื่องราษฎรเมืองรยองถวายฎีกากล่าวโทษผู้สำเร็จราชการเมือง
- ๓๓๒ ประกาศไม่ให้เชื่อข้อความที่มีผู้ทิ้งหนังสือไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๓ ประกาศเรื่องเอาศพไว้ค้างคืน
- ๓๓๔ ประกาศทรงอนุญาตให้ราษฎรถวายฎีกาทูลถามเรื่องที่เล่าฦๅได้
- ๓๓๕ ประกาศว่าด้วยเนื้อนิลกสาปน์
- ๓๓๖ ประกาศว่าด้วยเครื่องรองน้ำฝนอย่างยุโรป
- ๓๓๗ ประกาศกำหนดที่จะเอาทองแปมาขึ้นเอาเงินไปแต่ท้องพระคลัง
- ๓๓๘ ประกาศกำหนดที่รับทองทศพิศพัดดึงศ์
- ๓๓๙ ยิงปืนอาฏานา ฝั่งตวันตก
- ๓๔๐ ประกาศห้ามไม่ให้กระบวนแห่ตีสุนัขให้ไล่ไปเสียให้พ้น แลอย่าให้ตุ๊กแกมีในอุโบสถ หรือที่ประทับ
- ๓๔๑ ประกาศให้พระสงฆ์ทุกๆ พระอารามตั้งพิธีฝน
- ๓๔๒ ประกาศวางระเบียบผู้ซึ่งจะถวายตัวเปนมหาดเล็ก
- ๓๔๓ ประกาศเรื่องตั้งพันปากพล่อย
๓๓๑ ประกาศเรื่องราษฎรเมืองรยองถวายฎีกากล่าวโทษผู้สำเร็จราชการเมือง
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าราชการในกรุงเทพฯ แลผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการ ณหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวง แลเจ้าภาษีนายอากร แลผู้รับช่วงไปทำแทนเจ้าภาษีนายอากรทุกเรื่องทุกราย แลกำนันนายอำเภอแลราษฎรในกรุงนอกกรุงทั้งปวงให้รู้จงทั่วกันว่า เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้ายขึ้น ๗ ค่ำ ปีมแมเอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑ เสด็จออกพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ หมื่นนาเวศ หมื่นชำนาญ นายฉาย นายคำ นายทิน นายย้อย กับไพร่เมืองรยองเข้าชื่อกัน ทำเรื่องราวร้องถวายฎีกา ๓ ฉบับ กล่าวโทษพระราชภักดีศรีสงคราม ผู้สำเร็จราชการเมืองรยอง พระนัคโรประการ จางวาง แลกรมการอื่นๆ เปนหลายประการ มีใจความว่า ผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการเมืองรยอง ทำข่มเหงให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนต่างๆ แลสรรเสริญหลวงราชภักดีศรีสงครามปลัดเมืองรยองว่าเปนคนสัตย์ซื่อดีกว่ากรมการอื่นหมื่นนาเวศ หมื่นชำนาญ ขอสมัคอยู่กับหลวงปลัดเปนนายควบคุมต่อไป ครั้นทรงเรื่องราวทั้ง ๓ ฉบับทราบความแล้ว ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า ข้อความในเรื่องราวฎีกาซึ่งกล่าวโทษผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการนั้น สำนวนว่ากล่าวก็คล้ายกันยักเยื้องเล็กน้อยลงข้างปลายสรรเสริญหลวงปลัดว่าเปนคนดีเหมือนกัน ทรงแคลงว่าเปนความคิดหลวงปลัดยุยงให้ท้ายถือหางคนพวกนี้เข้ามาว่ากล่าว แลเปนอุบายจะให้บังเกิดพระราชดำริห์เห็นว่า หลวงปลัดเปนคนดีเปนที่ชอบใจของราษฎรเปนอันมาก จะได้ทรงแต่งตั้งให้เปนผู้สำเร็จราชการเมือง ทรงจับได้แยบคายในสำนวนถ้อยคำเปนหลายประการ มีอาการดังเปนโวหารแลความคิดคนสูบยาฝิ่น แต่คำร้องในฟ้อง ๓ ฉบับนั้น เปนคำกล่าวหาว่าผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการข่มเหงเบียดเบียฬราษฎรไพร่พลเมืองนั้น ปรากฎว่าเปนความทุกข์ร้อนของราษฎรอยู่ ควรจะต้องชำระให้ได้ความ แล้วทรงพระราชดำริห์ว่า ครั้นจะให้เอาตัวผู้ที่ต้องกล่าวโทษในเรื่องฎีกานั้นเข้ามาชำระในกรุงเทพฯ ก็จะลำบากเนิ่นช้าไป แต่ก่อนวันนั้นไปได้มีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ออกไปดูการงานอยู่ที่สนามประพาศบ้านอ่างศิลา แลเขาสมมุขเปนถิ่นที่ใกล้เมืองรยองอยู่แล้ว จึงได้มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้เจ้าพนักงานกรมท่า มีท้องตราออกไปถึงเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ให้ออกไปชำระที่เมืองรยอง จึงเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ได้กราบถวายบังคมลาออกไปชำระความนั้นที่เมืองรยอง ครั้นได้ความแล้วมีหนังสือบอกเข้ามาให้กราบบังคมทูลพระกรุณาตามที่ได้ชำระนั้น แลเมื่อเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ออกไปดูการงานอยู่ที่ประพาสบ้านอ่างสีลาแขวงเมืองชลบุรี แลออกไปชำระความอยู่ที่เมืองรยองนั้น มีผู้มาแจ้งความว่า ผู้รับทำแทนเจ้าภาษีนายอากรต่างๆ ในหัวเมืองนั้นๆ เรียกภาษี เรียกอากรต่างๆ แก่ราษฎรเหลือเกิน ผิดจากพิกัดในท้องตราเปนหลายเรื่องหลายราย เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ได้ทราบแล้วมีความกตัญญูต่อพระเดชพระคุณ เห็นแก่แผ่นดินแลกรุณาแก่ราษฎรยิ่งนัก จึงมีความประสงค์จะให้เปนพระเกียรติยศ_แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลจะให้ราษฎรอยู่เย็นเปนสุขทั่วกัน จึงได้มีบอกเข้ามากราบทูลพระกรุณา แลรับอาสาจะชำระทุกข์ของราษฎรทุกหัวเมืองขึ้นในกรมท่า ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาไปตั้งชำระที่เมืองจันทบุรี ได้ทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ตามความคิดเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ครั้นเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ลงไปเมืองจันทบุรีแล้ว จึงได้หาตัวผู้รับทำแทนเจ้าภาษีนายอากรมาชำระได้ความจริงว่า เรียกภาษีอากรเหลือเกินผิดจากพิกัดในท้องตรา เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี ได้ตัดสินให้ผู้เรียกภาษีอากร คืนเงินให้แก่ผู้ที่เสียเงินเดิมนั้นไปแล้วก็มีบ้าง