- คำนำ
- พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- ๓๑๓ ประกาศเรียกงาปิว่าเยื่อเคยในคำกราบทูล
- ๓๑๔ ประกาศให้เรียกว่าสวนนันทอุทยานให้ถูก
- ๓๑๕ ประกาศเรื่องใช้คำพูดว่า ต้นแผ่นดิน กลางแผ่นดิน ปลายแผ่นดิน
- ๓๑๖ ประกาศให้เรียกที่ประทับท้องสนามหลวงว่าพลับพลา
- ๓๑๗ ประกาศเรื่องพระพุทธบุษยรัตน
- ๓๑๘ ประกาศปฏิสังขรณ์วัดไชยพฤกษมาลาวัดเขมาภิรตาราม
- ๓๑๙ ประกาศว่าด้วยปฏิสังขรณ์วัดขุนแสน
- ๓๒๐ ประกาศว่าด้วยเงินสำหรับซ่อมแซมพระอารามซึ่งเปนส่วนพระองค์
- ๓๒๑ ประกาศเรื่องพระราชทานกฐินที่กรุงเก่า
- ๓๒๒ ประกาศแผ่พระราชกุศลในการฉลองวัดหงษรัตนาราม
- ๓๒๓ ประกาศแผ่พระราชกุศลฉลองพระศรีรัตนมหาเจดีย์
- ๓๒๔ ประกาศการทำของเลี้ยงพระในการเฉลิมพระชนม์พรรษา
- ๓๒๕ ประกาศเรื่องเงินปี้จีนปีชวดทำถนน
- ๓๒๖ ประกาศชำระเลขในสมเด็จพระนางนาถราชเทวี สมเด็จพระเทพศิรินทร์
- ๓๒๗ ประกาศเรื่องตราภูมคุ้มห้าม
- ๓๒๘ ประกาศสักเลขไพร่หลวง
- ๓๒๙ ประกาศไม่ให้ลูกหมู่ไพร่หลวง เมื่อบวชอยู่รับจ้างทำช่างทอง
- ๓๓๐ ประกาศไม่ให้เชื่อฟังเรื่องที่ผู้มีคดีไม่ฟ้องเอาไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๑ ประกาศเรื่องราษฎรเมืองรยองถวายฎีกากล่าวโทษผู้สำเร็จราชการเมือง
- ๓๓๒ ประกาศไม่ให้เชื่อข้อความที่มีผู้ทิ้งหนังสือไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๓ ประกาศเรื่องเอาศพไว้ค้างคืน
- ๓๓๔ ประกาศทรงอนุญาตให้ราษฎรถวายฎีกาทูลถามเรื่องที่เล่าฦๅได้
- ๓๓๕ ประกาศว่าด้วยเนื้อนิลกสาปน์
- ๓๓๖ ประกาศว่าด้วยเครื่องรองน้ำฝนอย่างยุโรป
- ๓๓๗ ประกาศกำหนดที่จะเอาทองแปมาขึ้นเอาเงินไปแต่ท้องพระคลัง
- ๓๓๘ ประกาศกำหนดที่รับทองทศพิศพัดดึงศ์
- ๓๓๙ ยิงปืนอาฏานา ฝั่งตวันตก
- ๓๔๐ ประกาศห้ามไม่ให้กระบวนแห่ตีสุนัขให้ไล่ไปเสียให้พ้น แลอย่าให้ตุ๊กแกมีในอุโบสถ หรือที่ประทับ
- ๓๔๑ ประกาศให้พระสงฆ์ทุกๆ พระอารามตั้งพิธีฝน
- ๓๔๒ ประกาศวางระเบียบผู้ซึ่งจะถวายตัวเปนมหาดเล็ก
- ๓๔๓ ประกาศเรื่องตั้งพันปากพล่อย
๓๓๓ ประกาศเรื่องเอาศพไว้ค้างคืน
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่พระราชาคณะครูเจ้าอธิการ แลเจ้าพนักงานนั้นๆ ทุกตำแหน่งในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน ว่าธรรมเนียมในสยาม มีการไว้ศพค้างวันค้างคืนจนมีกลิ่นเหม็น เปนปฏิกูลร้ายกาจนัก แล้วชักศพแห่ไปทำบุญให้ทานเปิดศพออกชำระแล้วจึงถมร่างศพฝังไว้คืน ๑ ฤๅ ๒ คืน ๓ คืน แล้วจึงขุดขึ้นทำบุญอีก แล้วจึงเผาก็มีตามป่าช้าพระอารามนั้นทุกแห่งไป ก็ศพที่ตายใหม่ๆ ในวันนั้นก็ดี ฤๅศพที่ล่วงวันค้างคืนมาแล้วมีกลิ่นร้ายแรงนักก็ดี ในทางที่เสด็จพระราชดำเนิร โดยทางสถลมารคชลมารคณวันใดเวลาใด ไม่ควรจะให้ประจวบมีเวลานั้น แลทอดทิ้งอยู่ที่ใกล้เคียงตามทางที่เสด็จพระราชดำเนิณนั้น ควรต้องหลีกเลี่ยงไป ฤๅผ่อนผันเอาศพนั้นไปเสียให้พ้นไกลแต่ทางนั้น อย่าให้เปนที่ทอดพระเนตรได้เปนอันขาด ว่าถึงการเก่าๆ ที่ล่วงแล้วมา ทรงระฤกได้ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ๔ ครั้ง ๆ หนึ่งมีที่เสด็จพระราชดำเนิรโดยการพระศพพระองค์เจ้าทองคำณวัดดุสิดาราม เสด็จพระราชดำเนิรกลับถึงพระตำหนักแพ กระบวนแห่ศพพระยาพิพัฒโกษาก่อน พระยาพิพัฒโกษา (มิตร) ตั้งบนชั้นดาดผ้าขาว มีเครื่องสังเค็จเลื่อนๆ ชักมาทอดอยู่ตรงหน้าพระตำหนักแพข้าม อีกครั้งหนึ่งมีที่เสด็จพระราชดำเนิรเวลาเช้าอย่างครั้งก่อน กระบวนแห่ศพพระยาราชสุภาวดี (มอญ) เครื่องแต่งตั้งคล้ายๆ กับศพก่อน ชักมาทอดอยู่ตรงหน้าพระตำหนักแพข้าม เมื่อเวลาเสด็จที่พระตำหนักแลการในศพทั้ง ๒ เวลานั้นได้ทรงพระราชดำริห์ว่า ข้าราชการในครั้งนั้นชรอยจะถือลัทธิสำคัญผิดๆ ว่าเปนศพหลวง จึงได้รอไว้จนเวลาสายแล้วชักมาฉะเภาะจะให้ประจวบเวลาเสด็จพระราชดำเนิรกลับ จะได้ถวายตัวทอดพระเนตรเห็นจะประสงค์อย่างนี้กระมัง แต่การอย่างนี้ไม่ควรถวายลำถวายตัวทอดพระเนตร ด้วยเปนการอัประมงคลควรจะหลบหลีกให้พ้นทางเสด็จ แลอย่าให้พ้องผ่านเวลาเสด็จพระราชดำเนิรจึงจะสมควร แต่ไม่มีผู้ใดว่าขานประการใดการก็เปนแล้วไป อีกครั้งหนึ่งที่วัดทองนพคุณยังโรเรอยู่ เจ้าอธิการ (แสง) เปนพระญาณรังศรีที่พระราชาคณะรับพระกฐินหลวง ถึงรดูกฐินพระราชทานพระกฐิน ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอซึ่งทรงพระเยาว์เสด็จไปพระราชทาน เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอรับผ้าพระกฐิน เสด็จไปถึงวัดแล้วเสด็จขึ้นทางสพานยาว พระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์พระองค์อื่นเสด็จไปด้วยหลายพระองค์ เมื่อเสด็จจวนจะใกล้ถึงกำแพงพระอุโบสถยังอีกประมาณ ๒ วา กลิ่นศพเหม็นกล้าร้ายแรงนักฟุ้งตระหลบมา ต่างพระองค์ดำรัสว่ากลิ่นอะไร ครั้นทอดพระเนตรไปเห็นโลงปิดกระดาดปากโลงปิดกระดาดแดง ตั้งอยู่ในศาลาสามห้องอยู่ริมทางนั้น จึงทราบว่ากลิ่นศพมาแต่นั้นเปนแน่แล้ว เสด็จไปในพระอุโบสถถวายพระกฐินแล้ว เสด็จมาถึงที่ตรงนั้นต้องทรงปิดพระนาสิกเสด็จรีบเร็วมา เมื่อเวลานั้นก็ได้ทรงพระราชดำริห์ว่าบรรดาเจ้าพนักงานที่มาในเวลานี้ ช่างกระไรไม่มีใครดูแลเอาใจใส่จัดการให้ดี ปล่อยให้ศพเช่นนี้มาตั้งอยู่ที่ริมทางเจ้านายเสด็จมา ไม่สมควรเลย ฝ่ายพระญาณรังศรีก็เปนผู้ใหญ่ไม่มีอัธยาไศรย ฝ่ายพระสงฆ์ที่เข้าใจวิปลาศผิดๆ ไปอย่างพระพรหมเทพาจาริย์นั้นจะมีอยู่ไหนบ้างก็ยากที่จะหยั่งรู้ เกลือกจะคิดผิดๆ ไปแล้วจะเอาศพมาไว้ในที่ทางเสด็จพระราชดำเนิร ฝ่ายเจ้าพนักงานเล่าจะเลินเล่อใจไม่สังเกตว่าอะไรจะงาม อะไรจะไม่งาม จะไม่เอาใจใส่ว่าอะไรจะงามจะดี อะไรจะไม่งามจะไม่ดี ของสกกระปรกเปนอัประมงคลเช่นนี้ไม่ควรจะเอามาไว้ในศาลาที่ใกล้ถนนในวันเจ้านายเสด็จมาเช่นนี้ ถึงจะยังไม่ได้เผาก็ควรจะยกเอาไปไว้เสียที่อื่นให้พ้นจึงจะชอบ ครั้นปีหลังๆ มา เสด็จรับผ้าพระกฐินไปอีก เมื่อเสด็จขึ้นไปถึงศาลานั้น ต้องทรงสังเกตดูแต่ไกลเกลือกจะมีศพมาทิ้งไว้ที่นั้น ให้หวั่นพระทัยไม่รู้หายเลย