- คำนำ
- พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- ๓๑๓ ประกาศเรียกงาปิว่าเยื่อเคยในคำกราบทูล
- ๓๑๔ ประกาศให้เรียกว่าสวนนันทอุทยานให้ถูก
- ๓๑๕ ประกาศเรื่องใช้คำพูดว่า ต้นแผ่นดิน กลางแผ่นดิน ปลายแผ่นดิน
- ๓๑๖ ประกาศให้เรียกที่ประทับท้องสนามหลวงว่าพลับพลา
- ๓๑๗ ประกาศเรื่องพระพุทธบุษยรัตน
- ๓๑๘ ประกาศปฏิสังขรณ์วัดไชยพฤกษมาลาวัดเขมาภิรตาราม
- ๓๑๙ ประกาศว่าด้วยปฏิสังขรณ์วัดขุนแสน
- ๓๒๐ ประกาศว่าด้วยเงินสำหรับซ่อมแซมพระอารามซึ่งเปนส่วนพระองค์
- ๓๒๑ ประกาศเรื่องพระราชทานกฐินที่กรุงเก่า
- ๓๒๒ ประกาศแผ่พระราชกุศลในการฉลองวัดหงษรัตนาราม
- ๓๒๓ ประกาศแผ่พระราชกุศลฉลองพระศรีรัตนมหาเจดีย์
- ๓๒๔ ประกาศการทำของเลี้ยงพระในการเฉลิมพระชนม์พรรษา
- ๓๒๕ ประกาศเรื่องเงินปี้จีนปีชวดทำถนน
- ๓๒๖ ประกาศชำระเลขในสมเด็จพระนางนาถราชเทวี สมเด็จพระเทพศิรินทร์
- ๓๒๗ ประกาศเรื่องตราภูมคุ้มห้าม
- ๓๒๘ ประกาศสักเลขไพร่หลวง
- ๓๒๙ ประกาศไม่ให้ลูกหมู่ไพร่หลวง เมื่อบวชอยู่รับจ้างทำช่างทอง
- ๓๓๐ ประกาศไม่ให้เชื่อฟังเรื่องที่ผู้มีคดีไม่ฟ้องเอาไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๑ ประกาศเรื่องราษฎรเมืองรยองถวายฎีกากล่าวโทษผู้สำเร็จราชการเมือง
- ๓๓๒ ประกาศไม่ให้เชื่อข้อความที่มีผู้ทิ้งหนังสือไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๓ ประกาศเรื่องเอาศพไว้ค้างคืน
- ๓๓๔ ประกาศทรงอนุญาตให้ราษฎรถวายฎีกาทูลถามเรื่องที่เล่าฦๅได้
- ๓๓๕ ประกาศว่าด้วยเนื้อนิลกสาปน์
- ๓๓๖ ประกาศว่าด้วยเครื่องรองน้ำฝนอย่างยุโรป
- ๓๓๗ ประกาศกำหนดที่จะเอาทองแปมาขึ้นเอาเงินไปแต่ท้องพระคลัง
- ๓๓๘ ประกาศกำหนดที่รับทองทศพิศพัดดึงศ์
- ๓๓๙ ยิงปืนอาฏานา ฝั่งตวันตก
- ๓๔๐ ประกาศห้ามไม่ให้กระบวนแห่ตีสุนัขให้ไล่ไปเสียให้พ้น แลอย่าให้ตุ๊กแกมีในอุโบสถ หรือที่ประทับ
- ๓๔๑ ประกาศให้พระสงฆ์ทุกๆ พระอารามตั้งพิธีฝน
- ๓๔๒ ประกาศวางระเบียบผู้ซึ่งจะถวายตัวเปนมหาดเล็ก
- ๓๔๓ ประกาศเรื่องตั้งพันปากพล่อย
๓๓๖ ประกาศว่าด้วยเครื่องรองน้ำฝนอย่างยุโรป
ท่านทั้งปวงจงทราบเถิดว่า เมื่อเดือนอ้ายปีมเสงนพศก เซอรอเบิดสจอมเบิกกงสุลอังกฤษคนใหม่ สมเด็จพระนางกวินวิกตอเรียพระเจ้ากรุงลอนดอน ตั้งให้เข้ามากำกับลูกค้าฝ่ายอังกฤษอยู่ในกรุงเทพฯ นี้ เมื่อกงสุลคนนี้มานั้น กวินวิกตอเรียพระเจ้ากรุงลอนดอน ได้มอบให้คุมพระราชสาส์น แลเครื่องมงคลราชบรรณาการเข้ามาทูลเกล้าฯ แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ในเครื่องราชบรรณาการจำพวกนี้มีเครื่องรองน้ำฝนวัดประมาณรู้ว่าน้ำฝนตกลงจะมากน้อยเท่าใด จะรู้ได้โดยเลอียดกว่าเครื่องมือที่จัดแจงไว้ใช้มาแต่ก่อน คือนิ้วอย่างอังกฤษนิ้วหนึ่ง แบ่งผ่อนปรนให้เห็นได้ถึงร้อยส่วน เครื่องมือนี้ดีมาก แต่ว่าคนที่รองน้ำฝนแต่ก่อน สันดานไพร่หยาบคายเลวนัก รู้จักแต่จะหุงข้าวต้มแกงตำน้ำพริก กินเข้าแล้วเกียจคร้านที่จะล้างมือแลหาผ้าเช็ดมือ เอาเช็ดหัวตัวเองไม่รู้จักดูแลใช้ของดีๆ เลย ไกลนักหนาแต่ความรู้ละเอียด เพราะฉนั้นก่อนนี้ไปด้วยเครื่องมือนั้นหาได้ความเปนแน่ไม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังไม่ได้ทรงพิจารณาสังเกตทราบโดยถนัด พึ่งได้ทรงตั้งแต่วันจันทรเดือน ๖ แรม ๖ ค่ำมาได้ความเปนแน่ถนัดแล้ว แต่ครั้นจะโปรดให้ลงพิมพ์หนังสือข่าวบอกมาโดยกำหนดนิ้วอย่างอังกฤษตามเครื่องมือ คนไทยทั้งปวงเคยสังเกตแต่นิ้วอย่างไทยก็จะไม่เข้าใจ จึงทรงคำนวณเปนขนาดนิ้วอย่างไทย คือเจ็ดเม็ดเข้าเปลือกตะแคงเปนนิ้วหนึ่ง แต่จะแบ่งเปนสี่กระเบียด ฤๅแปดกระเบียดอย่างนิ้วไทยนั้นหยาบนัก ฝนตกน้อยไม่ถึงกระเบียดก็ไม่มีจำนวนจดบาญชีไว้ ก็เสียเศษไปทุกเวลาฝนตก อย่างเก่าจึงได้แบ่งนิ้วหนึ่ง เปนสิบกระเบียดเรียกว่าทสางค์ ถึงกระนั้นก็ลางเวลาฝนตกน้อยกว่าทสางค์ ก็ยังว่าไม่ได้น้ำ เครื่องมือที่มาแต่เมืองอังกฤษใหม่นี้ แบ่งนิ้วหนึ่งได้ถึง ๑๐๐ ส่วนเรียกว่าสตางค์ สิบสตางค์ จึงเปนทสางค์ สิบทสางค์จึงเปนนิ้วให้รู้เถิด จำชื่อไว้ให้แน่เทอญ