- พระพุทธภาษิต
- ผู้เขียนขออุทิศ...
- คำนำในการพิมพ์ครั้งที่สอง
- คำนำในการพิมพ์ครั้งแรก
- ภาคหนึ่ง เริ่มสงครามด้านยุโรป ถึงเริ่มสงครามด้านเอเซีย
- ภาคสอง ระหว่างสงคราม
- บทที่ ๑ ไปญี่ปุ่น
- บทที่ ๒ สถานการณ์ทั่ว ๆ ไปของญี่ปุ่นก่อนเกิดสงคราม
- บทที่ ๓ ในญี่ปุ่นระหว่าง มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- บทที่ ๔ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
- บทที่ ๕ เหตุการณ์ระหว่าง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ถึง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- ข้อเขียนของนายทวี บุณยเกตุ
- ข้อเขียนของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
- ข้อเขียนของพระพิศาลสุขุมวิท
- รายชื่อนักเรียนไทยในอเมริกาซึ่งได้สมัครเข้าร่วมงานต่อต้านญี่ปุ่น (คณะเสรีไทยในอเมริกา)
- ภาคสาม หลังสงคราม
- ภาคผนวก
- ๑. สัญญาไม่รุกรานกับฝรั่งเศส
- ๒. สัญญาไม่รุกรานกับอังกฤษ
- ๓. สัญญาไม่รุกรานกับญี่ปุ่น
- ๔. อนุสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศส
- ๕. ความตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ
- ๖. หนังสือแลกเปลี่ยนและหัวข้อความตกลงกับภาคผนวก
- ๗. สนธิสัญญาทางไมตรีกับจีน
- ๘. ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุด ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย
- ๙. ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
- ๑๐. คำแปลรายงานของคณะกรรมการการประนอมฝรั่งเศส-ไทย
- ๑๑. รายงาน ความเห็นคณะกรรมาธิการวิสามัญสอบสวนสะสางทรัพย์สินของชาติ ซึ่งคณะเสรีไทยได้ใช้จ่าย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
สนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยการจำเริญสัมพันธไมตรี และต่างเคารพบูรณภาพอาณาเขตแห่งกันและกัน
สมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย และสมเด็จพระราชาธิบดี พระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น
มีพระราชประสงค์จริงจังเท่าเทียมกันในอันจะยืนยัน และยังความผูกมิตรภาพ ซึ่งมีสืบเนื่องมาในระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น และ
ทรงตระหนักว่า สันติภาพและเสถียรภาพแห่งเอเชียตะวันออก เป็นกิจเกี่ยวข้องร่วมกันแห่งรัฐทั้งสอง
จึงได้ทรงตกลงทำสนธิสัญญา และเพื่อการนี้ ได้ทรงตั้งผู้มีอำนาจเต็ม คือ
ฝ่ายสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
พระยาศรีเสนา ประถมาภรณ์มงกุฎไทย อัครราชทูตประจำพระราชสำนักสมเด็จพระราชาธิบดี พระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น
ฝ่ายสมเด็จพระราชาธิบดีพระกรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น
ฮาชิโร อารีตา สยซันมิ กยอกุยิดซึ ชั้นหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสมเด็จพระราชาธิบดีพระจักรพรรดิ
ผู้ซึ่งเมื่อได้ส่งหนังสือมอบอำนานเต็มของแต่ละฝ่าย ให้แก่กันและกัน และได้ตรวจเห็นว่าเป็นไปตามแบบที่ดีและถูกต้องแล้ว ได้ทำความตกลงกันเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
อัครภาคีผู้ทำสัญญานี้ต่างจะเคารพบูรณภาพอาณาเขตแห่งกันและกัน และในที่นี้ ยืนยันสันติภาพเป็นนิจและมิตรภาพเป็นนิรันดรที่มีอยู่ระหว่างกัน
ข้อ ๒
อัครภาคีผู้ทำสัญญานี้ ต่างจะรักษาไว้ซึ่งการติดต่อกันฉันมิตร เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร และปรึกษาหารือกันในปัญหาข้อหนึ่งข้อใด เกี่ยวกับผลประโยชน์ร่วมกันอันจะพึงมีขึ้น
ข้อ ๓
ในกรณีที่อัครภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถูกอานุภาพภายนอกใด ๆ จะเป็นประเทศเดียวหรือหลายประเทศโจมตี ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งรับรองว่าจะไม่ให้ความช่วย หรือความช่วยเหลือแก่อานุภาพที่กล่าวนั้น เป็นการปฏิปักษ์ต่อภาคีฝ่ายที่ถูกโจมตี
ข้อ ๔
สนธิสัญญานี้จะได้รับสัตยาบัน และจะได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันกัน ณ กรุงเทพฯ โดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้
ข้อ ๕
สนธิสัญญานี้ให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันแลกเปลี่ยนสัตยาบันเป็นต้นไป และให้คงใช้อยู่เป็นกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันที่ว่านั้น
ในกรณีที่อัครภาคีผู้ทำสัญญา ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้บอกกล่าวเจตนาที่จะเลิกสนธิสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่งหกเดือนก่อนสิ้นกำหนดเวลาห้าปีดังกล่าวแล้ว สนธิสัญญานี้จะได้คงใช้อยู่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้ให้คำบอกกล่าวเช่นว่านั้น
เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้มีอำนาจเต็มของแต่ละฝ่ายได้ลงนาม และประทับตราสนธิสัญญานี้ไว้เป็นสำคัญ
ทำคู่กันเป็นสองฉบับ ณ กรุงโตกิโอ เมื่อวันที่สิบสองเดือนที่สาม พุทธศักราชสองพันสี่ร้อยแปดสิบ
(ลงนาม) ศรีเสนา
(ลงนาม) อาริตา (อักษรญี่ปุ่น)