- พระพุทธภาษิต
- ผู้เขียนขออุทิศ...
- คำนำในการพิมพ์ครั้งที่สอง
- คำนำในการพิมพ์ครั้งแรก
- ภาคหนึ่ง เริ่มสงครามด้านยุโรป ถึงเริ่มสงครามด้านเอเซีย
- ภาคสอง ระหว่างสงคราม
- บทที่ ๑ ไปญี่ปุ่น
- บทที่ ๒ สถานการณ์ทั่ว ๆ ไปของญี่ปุ่นก่อนเกิดสงคราม
- บทที่ ๓ ในญี่ปุ่นระหว่าง มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- บทที่ ๔ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
- บทที่ ๕ เหตุการณ์ระหว่าง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ถึง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- ข้อเขียนของนายทวี บุณยเกตุ
- ข้อเขียนของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
- ข้อเขียนของพระพิศาลสุขุมวิท
- รายชื่อนักเรียนไทยในอเมริกาซึ่งได้สมัครเข้าร่วมงานต่อต้านญี่ปุ่น (คณะเสรีไทยในอเมริกา)
- ภาคสาม หลังสงคราม
- ภาคผนวก
- ๑. สัญญาไม่รุกรานกับฝรั่งเศส
- ๒. สัญญาไม่รุกรานกับอังกฤษ
- ๓. สัญญาไม่รุกรานกับญี่ปุ่น
- ๔. อนุสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศส
- ๕. ความตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ
- ๖. หนังสือแลกเปลี่ยนและหัวข้อความตกลงกับภาคผนวก
- ๗. สนธิสัญญาทางไมตรีกับจีน
- ๘. ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุด ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย
- ๙. ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
- ๑๐. คำแปลรายงานของคณะกรรมการการประนอมฝรั่งเศส-ไทย
- ๑๑. รายงาน ความเห็นคณะกรรมาธิการวิสามัญสอบสวนสะสางทรัพย์สินของชาติ ซึ่งคณะเสรีไทยได้ใช้จ่าย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ความตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ
ความตกลงสมบูรณ์แบบ
เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างประเทศไทย
กับบริเตนใหญ่ และอินเดีย
และ
จดหมายเหตุแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศไทย
กับออสเตรเลียเพื่อที่จะเลิกสถานะสงคราม
ลงนามกัน ณ สิงคโปร์ วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๙
----------------------------
FORMAL AGREEMENT
FOR THE TERMINATION OF THE STATE OF WAR
BETWEEN SIAM AND GREAT BRITAIN
AND INDIA
AND
EXCHANGE OF NOTES
BETWEEN THE SIAMESE GOVERNMENT AND AUSTRALIA
WITH A VIEW TO TERMINATING THE STATE OF WAR
Signed, at Singapore on 1st January 1946.
แถลงการณ์
เนื่องจากรัฐบาลไทยสมัยหนึ่ง ได้ประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่ ฉะนั้น บริเตนใหญ่จึงได้ถือว่าสถานะสงครามเกิดขึ้นระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
โดยปรกติ การที่จะเลิกสถานะสงครามระหว่างสองประเทศนั้น ฝ่ายที่ชนะย่อมจะเรียกร้องบังคับให้ฝ่ายที่แพ้ทำสัญญาสันติภาพ เมื่อได้ลงนามในสัญญาสันติภาพแล้ว สถานะสงครามจึงจะสิ้นสุดลง ประเทศไทยได้ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ด้วย แต่ว่าด้วยเหตุที่คนไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ร่วมมือกันตั้งขบวนการต่อต้านประเทศที่เป็นศัตรูกับสัมพันธมิตรขึ้น และได้แสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับสหประชาชาติ ประกอบทั้งคณะรัฐบาลที่รับผิดชอบในการก่อให้เกิดสถานะสงครามขึ้นได้ล้มไปแล้ว บริเตนใหญ่จึงได้ตกลงใจใช้วิธีใหม่ ด้วยน้ำใจอันกว้างขวาง กล่าวคือ แทนที่จะให้ประเทศไทยทำสัญญาสันติภาพ บริเตนใหญ่ได้เรียกร้องแต่เพียงให้ประเทศไทยยอมรับข้อกำหนดบางประการเกี่ยวกับการที่จะทำให้ทรัพย์สินอันได้เสียหายไปในระหว่างสงครามได้กลับคืนมา และให้ประเทศไทยได้ร่วมมือในการบูรณะเศรษฐกิจ และร่วมมือในการจัดประกันความมั่นคง และส่งเสริมสันติภาพระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันมิให้เกิดมีสงครามขึ้นในภายหน้า
ข้อกำหนด ที่บริเตนใหญ่เรียกร้องให้ประเทศไทยปฏิบัตินั้น ได้ทำความตกลง ซึ่งได้ลงนามกันระหว่างผู้แทนของสองประเทศที่สิงคโปร์ในวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เมื่อได้ลงนามในความตกลงนี้แล้ว สถานะสงครามระหว่างบริเตนใหญ่และประเทศไทย เป็นอันสิ้นสุดลง ความสัมพันธไมตรีระหว่างสองประเทศ ซึ่งเคยมีมาเป็นอันดีแต่กาลก่อน และต้องมาหยุดชะงักลงนั้น เป็นอันกลับคืนมาดังเดิม
บรรดาการใด ๆ อันจะต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่อดำเนินการตามข้อกำหนดในความตกลงนั้นก็จะได้เสนอต่อสภา โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
เท่าที่ปรากฏในความตกลงระหว่างประเทศไทยกับบริเตนใหญ่นั้น ย่อมเป็นที่หวังได้ว่า บริเตนใหญ่ได้เรียกร้องแต่เพียงเท่าที่ควรเรียก และทั้งจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และผ่อนผันในการที่จะใช้บังคับตามความตกลงนั้น บริเตนใหญ่ได้แสดงเจตนาดีให้เห็นแล้ว โดยเสนอที่จะช่วยเหลือในทางการคลังและการเงินให้ประเทศไทยได้ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้โดยรวดเร็ว นอกจากนั้น ยังถือว่าสถานะสงครามเป็นอันสุดสิ้นลง และจะดำเนินการโดยทันที ในอันจะกลับเจริญความสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย และแลกเปลี่ยนผู้แทนทางทูตกัน อีกทั้งรับรองด้วยว่าจะสนับสนุนการที่ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติ เจตจำนงทั้งนี้ย่อมเป็นพยานอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นความตั้งใจที่ของบริเตนใหญ่ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
สำนักนายกรัฐมนตรี
วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๙
Communiqué
Following the declaration of war on Great Britain by the Siamese Government at that time, Great Britain bas considered that a state of war arose between the two countries as from that moment.
Normally speaking, in order to terminate a state of war, the victorious power usually imposes a peace treaty upon the defeated nation; and it is only upon the signing of the peace treaty that the state of war is terminated. Siam has fallen into such a situation, but in view of the resistance movement organised by the Siamese both inside and outside the country acting in co-operation against the enemy of the Allies and of the manifestation of the will to co-operate with the United Nations, as well as of the fact that the Government responsible for bringing about the state of war had already fallen, Great Britain generously decided to adopt a novel method, that is to say, instead of making Siam conclude a treaty of peace, Great Britain merely required Siam to accept certain terms relating to the restitution of the property which had suffered damage during the war and to the co-operation of Siam in the economic rehabilitation and in ensuring international security as well as promoting world peace in order to prevent war in the future.
The terms required of Siam by Great Britain were the subject of an agreement signed between the representatives of the two countries at Singapore on January 1 st B.E. 2489. Upon the signing of this agreement the state of war between Great Britain and Siam is terminated and the friendly relations between the two countries which happily existed formerly and have unfortunately been interrupted are now restored as heretofore.
Whatever legislative measures may have to be taken in order to comply with the terms of the agreement will be submitted to the Assembly as soon as possible.
From the agreement between Siam and Great Britain it hopefully appears that Great Britain has put forward only such claims as should be put forward and that she will show sympathy and accommodation in the application of the agreement. Great Britain has already manifested her friendly disposition by proposing to assist in financial and monetary matters with a view to the rapid economic recovery of Siam, by agreeing to regard the state of war as terminated and to proceed at once to the resumption of friendly relations with Siam and to exchange diplomatic representatives and by undertaking to support Siam & candidature for membership of the United Nations. Such goodwill is an evidence of her good intentions both now and in the future.
Office of the
Presidency of the Council of Ministers
1 st January 2489.
คำแปล
ความตกลงสมบูรณ์แบบ
เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างประเทศไทย
กับบริเตนใหญ่และอินเดีย ลงนามกัน ณ สิงคโปร์
วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๙
----------------------------
โดยที่ตามประกาศซึ่งได้กระทำ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทย ว่า การประกาศสงครามซึ่งประเทศไทยได้กระทำเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๒ ต่อสหราชอาณาจักรเป็นโมฆะ ด้วยเหตุที่ได้กระทำไปโดยขัดกับเจตจำนงของประชาชาวไทย และเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศไทย และ
โดยที่ในวันเดียวกัน ประกาศลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ดังกล่าวแล้วได้รับความเห็นชอเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย และ
โดยที่รัฐบาลไทยได้บอกปฏิเสธพันธไมตรี ซึ่งประเทศไทยได้กระทำกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ กับทั้งบรรดาสนธิสัญญา กติกาสัญญา หรือความตกลงอื่น ๆ ซึ่งได้กระทำไว้ ระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น และ
โดยที่รัฐบาลไทยมีความใฝ่ใจที่จะเข้ามีส่วนอย่างเต็มที่ ในการบรรเทาผลแห่งสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการดำเนินบรรดากระบวนการอันมีความมุ่งหมายที่จะช่วยเหลือในการกลับสถาปนาความมั่นคงระหว่างประเทศและสวัสดิภาพทางเศรษฐกิจทั่วไป และ
โดยที่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดียอาศัยข้อคำนึงเนื่องด้วยการกระทำในการบอกปฏิเสธซึ่งรัฐบาลไทยได้ปฏิบัติไปแล้ว และระลึกอยู่ด้วยเหมือนกันถึงความอุปการะที่กระบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านในประเทศไทยได้อำนวยให้ระหว่างสงครามกับญี่ปุ่น จึงมีความปรารถนาที่จะให้สถานะสงครามสิ้นสุดลงโดยทันที
ฉะนั้น รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดียฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลไทยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีความปรารถนาที่จะกลับเจริญความสัมพันธ์ทางไมตรีกันสนิทสนม ซึ่งมีอยู่ก่อนสงคราม จึงตกลงกระทำความตกลงเพื่อความมุ่งประสงค์ดังกล่าว และเพื่อการนี้ ได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็ม คือ
ฝ่ายรัฐบาลสหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์เหนือ
นาย ม.อี. เดนิง, ซี. เอม. จี., โอ. บี. อี.
ฝ่ายรัฐบาลอินเดีย
นาย ม.ส. อาเนย์
ฝ่ายรัฐบาลไทย
หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์
พลโท พระยาอภัยสงคราม
นายเสริม วินิจฉัยกุล
ผู้ซึ่ง เมื่อได้ส่งหนังสือมอบอำนาจเต็มให้แก่กันและกัน และได้ตรวจเห็นว่าเป็นไปตามแบบที่ดีและถูกต้องแล้ว ได้ทำความตกลงกันดังต่อไปนี้
การใช้คืนและการปรับปรุง
ข้อ หนึ่ง
รัฐบาลไทยตกลงว่าจะบอกปฏิเสธบรรดากระบวนการเนื่องจากการประกาศสงครามอันได้กระทำเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๒ ดังกล่าวแล้วข้างต้น และจะจัดกระบวนการทางนิติบัญญัติ และทางปกครองที่จำเป็น เพื่อให้เป็นผลแก่การบอกปฏิเสธนั้น
ข้อ สอง
รัฐบาลไทยแถลงว่าเป็นโมฆะบรรดาการที่นัยว่าได้มาซึ่งอาณาเขตบริติชที่ประเทศไทยได้กระทำหลังจากวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ กับทั้งบรรดาหลักสิทธิ สิทธิ ทรัพย์สิน และผลประโยชน์ ซึ่งรัฐไทยหรือคนในบังคับไทยได้มาในอาณาเขตดังกล่าว หลังจากวันที่ว่านั้น รัฐบาลไทยตกลงว่าจะจัดกระบวนการทางนิติบัญญัติที่จำเป็น เพื่อให้เป็นผลตามคำแถลงข้างบนนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
(ก) จะยกเลิก และแถลงว่าเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น บรรดากระบวนการทางนิติบัญญัติ และทางปกครองเกี่ยวกับการ ซึ่งนับว่า เป็นการผนวกหรือรวมเข้าในประเทศไทยแห่งอาณาเขตบริติช ซึ่งได้กระทำหลังจากวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑
(ข) จะถอนบรรดาเจ้าหน้าที่ทหารไทยตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือฝ่ายทหารผู้มีอำนาจออกจากบรรดาอาณาเขตบริติช ตลอนจนบรรดาข้าราชการและคนชาติไทยซึ่งได้เข้าไปในอาณาเขตเหล่านี้ หลักจากที่นัยว่าได้ผนวกหรือรวมเข้าไปในประเทศไทยแล้ว
(ค) จะคืนบรรดาทรัพย์สินที่ได้เอาไปจากอาณาเขตเหล่านี้ รวมทั้งเงินตรา เว้นแต่เท่าที่แสดงหลักฐานได้ว่า ได้ให้ค่าอันเป็นธรรมเป็นการแลกเปลี่ยนกันแล้ว
(ง) จะให้ค่าทดแทนเพื่อความวินาศหรือความยุบสลายแห่งทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์ในอาณาเขตเหล่านี้ อันเกิดขึ้น จากการที่ประเทศไทยยึดครองอาณาเขตเหล่านี้
(จ) จะไม่ถอนเป็นเงินสเตอร์ลิงจากทุนสำรองสเตอร์ลิงที่เคยมีอยู่ ซึ่งธนบัตรไทยที่เดินสะพัดอยู่ อันเจ้าหน้าที่บริติชได้เก็บรวบรวมไว้ในอาณาเขตบริติชที่ประเทศไทยได้ยึดครองภายหลังวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑
ข้อ สาม
รัฐบาลไทยตกลงว่า จะยอมรับผิดชอบในการพิทักษ์รักษาและคืนในสภาพไม่เสื่อมเสีย บรรดาทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์ทุกชนิดของฝ่ายบริติชในประเทศไทย และในการใช้ค่าทดแทนเพื่อความวินาศ หรือความบุบสลายที่ได้รับ คำว่า “ทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์” ให้กินความรวมตลอดถึงทรัพย์สินทางราชการของรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดีย ทรัพย์สินที่ได้โอนกรรมสิทธิหลังจากสงครามได้อุบัติขึ้น บำนาญที่ให้แก่คนชาติบริติช สตอกดีบุก ไม้สัก และโภคภัณฑ์อื่น ๆ เรือและท่าเทียบ และสัญญาเช่า และสัมปทานเกี่ยวกับดีบุก ไม้สัก และอื่น ๆ ซึ่งให้ไว้แก่ห้างและเอกชนบริติชก่อนวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ และยังคงสมบูรณ์อยู่ในวันนั้น
ข้อ สี่
รัฐบาลไทยตกลงว่า จะเลิกการพิทักษ์ธุรกิจการธนาคาร และการพาณิชย์ฝ่ายบริติช และยอมให้กลับดำเนินธุรกิจต่อไป
ข้อ ห้า
รัฐบาลไทยตกลงว่าจะยอมรับผิด โดยบวกดอกเบี้ยตามอัตราส่วนร้อยที่สมควรในส่วนการใช้เงินค้างจ่ายเกี่ยวกับเงินกู้ และเกี่ยวกับการใช้เงินบำนาญเต็มจำนวนตั้งแต่วันที่หยุดใช้เงินตามระเบียบ
ความมั่นคง
ข้อ หก
รัฐบาลไทยยอมรับนับถือว่า กระบวนเหตุการณ์ในสงครามกับญี่ปุ่นแสดงให้เห็นความสำคัญของประเทศไทย เนื่องในการป้องกันมลายา พม่า อินเดีย และอินโดจีน และความมั่นคงของมหาสมุทรอินเดียและเขตแคว้นปาซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐบาลไทยตกลงว่าจะร่วมมือเต็มที่ในบรรดาข้อตกลงเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งองค์การสหประชาชาติ หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การนั้น เห็นชอบแล้ว และหากจะเกี่ยวเนื่องถึงประเทศไทย และเฉพาะอย่างยิ่ง ในบรรดาข้อตกลงเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งหากจะเกี่ยวกับประเทศหรือเขตแคว้นเหล่านั้น
ข้อ เจ็ด
รัฐบาลไทยรับว่า จะไม่ตัดคลองข้ามอาณาเขตไทยเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย โดยรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรมิได้เห็นพ้องด้วยก่อน
การร่วมมือทางพาณิชย์และทางเศรษฐกิจ
ข้อ แปด
รัฐบาลไทยตกลงว่า จะจัดกระบวนการทุกอย่างที่จะกระทำได้ เพื่อกลับสถาปนาการค้าขาเข้าและขาออกระหว่างประเทศไทยฝ่ายหนึ่ง กับอาณาเขตบริติชที่ใกล้เคียงอีกฝ่ายหนึ่ง และจะยึดถือและรักษานโยบายฐานเพื่อนบ้านที่ดีในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินเรือชายฝั่ง
ข้อ เก้า
รัฐบาลไทยรัยว่าจะเจรจากับรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรโดยเร็วที่สุดที่จะกระทำได้ เพื่อทำสนธิสัญญาการตั้งถิ่นฐาน การพาณิชย์และการเดินเรือฉบับใหม่ และทำอนุสัญญาการกงศุล โดยอาศัยการถ้อยทีถ้อยใช้หลักการในข้อสิบเอ็ดข้างล่างนี้เป็นมูลฐาน
ข้อ สิบ
รัฐบาลไทยรับว่า จะเจรจากับรัฐบาลอินเดียโดยเร็วที่สุดที่จะกระทำได้ เพื่อทำสนธิสัญญาการพาณิชย์และการเดินเรือฉบับใหม่ โดยอาศัยการถ้อยทีถ้อยใช้ในหลักการในข้อต่อไปนี้เป็นมูลฐาน
ข้อ สิบเอ็ด
(๑) ระหว่างที่ยังไม่ได้ทำสนธิสัญญาและอนุสัญญาดังกล่าว ในข้อเก้าและสิบข้างบนนี้ และภายใต้บังคับแห่งวรรค (๒) ของข้อนี้ รัฐบาลไทยรับว่าจะถือตามบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญาการพาณิชย์และการเดินเรือ ซึ่งลงนามกัน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๓) กับทั้งรับว่า นอกจากสนธิสัญญานั้นจะอนุญาตให้กระทำได้โดยชัดแจ้งแล้ว จะไม่ใช้กระบวนการใด ๆ บังคับ อันเป็นการอาศัยเหตุสัญชาติ กีดกันผลประโยชน์ทางพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม ฝ่ายบริติชหรือผู้ประกอบวิชาชีพฝ่ายบริติช จากการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและการค้าของไทย หรือกระบวนการใด ๆ ที่บังคับให้รักษาไว้ซึ่งสต๊อก หรือส่วนสำรองเกินกว่าที่ปฏิบัติกันอยู่ โดยปกติในการพาณิชย์ การเรือ การอุตสาหกรรม หรือการธุรกิจ
(๒) คำมั่นสัญญาของรัฐบาลไทยดังกล่าวข้างบนนี้ (ก) ให้มีข้อยกเว้นใด ๆ ตามแต่จะได้ตกลงกันในเวลาใด ๆ ระหว่างรัฐบาล แห่งสหราชอาณาจักรหรือรัฐบาลอินเดีย แล้วแต่กรณี กับรัฐบาลไทย (ข) นอกจากจะได้ยืดเวลาออกไปด้วยความตกลงพร้อมกัน จะเป็นอันตกไป ถ้าหากว่าสนธิสัญญาและอนุสัญญาดังกล่าวในข้อเก้าและสิบไม่ได้กระทำกันภายในกำหนดเวลาสามปี นับแต่วันใช้ความตกลงนี้
(๓) ความในข้อนี้ไม่ให้ถือว่า เป็นการตัดทางที่จะให้ผลปฏิบัติ ซึ่งให้ประโยชน์อนุเคราะห์เท่าเทียมกันแก่คนชาติ และภารธุระของสหประชาชาติทั้งหมด หรือแต่ชาติหนึ่งชาติใด
ข้อ สิบสอง
รัฐบาลไทยรับว่าจะมีส่วนร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศทั่วไปใด ๆ เกี่ยวกับดีบุกหรือยาง ซึ่งอนุโลมตามหลักการเกี่ยวกับข้อตกลง ว่าด้วยโภคภัณฑ์ตามแต่องค์การสหประชาชาติ หรือคณะมนตรี เศรษฐกิจและการสังคมแห่งองค์การนั้นจะได้ตกลงกัน
ข้อ สิบสาม
จนกระทั่งวันซึ่งจะเป็นวันเดียวหรือต่างวันกันก็ได้ แต่ไม่ช้ากว่าวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๗ รัฐบาลไทยรับว่า นอกจากจะได้เป็นไปตามคำแนะนำของคณะกรรมการประสม ณ วอชิงตัน หรือองค์การคณะใด ๆ ที่จะมาทำการแทน และในกรณีข้าว นอกจากจะได้เป็นไปตามคำอำนวยขององค์การพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อการนั้นแล้ว จะห้ามบรรดาการส่งข้าว ดีบุก ยาง และไม้สัก ออกนอกประเทศ และจะจัดระเบียบการค้าและเร้าการผลิตโภคภัณฑ์เหล่านี้
ข้อ สิบสี่
รัฐบาลไทยรับว่า โดยเร็วที่สุดที่พอจะกระทำได้ โดยเอาข้าวไว้ให้เพียงพอแก่ความต้องการภายในของไทยแล้ว จะจัดให้มีข้าวสาร ณ กรุงเทพฯ โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้องค์การที่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรจะได้แจ้งให้ทราบนั้นใช้ประโยชน์ได้เป็นปริมาณเท่ากับข้าวส่วนที่เหลือซึ่งสะสมไว้และมีอยู่ในประเทศไทย ณ บัดนี้ แต่ไม่เกินหนึ่งกับกึ่งล้านตันเป็นอย่างมาก หรือจะตกลงกันให้เป็นข้าวเปลือกหรือข้าวกล้องในปริมาณอันมีค่าเท่ากันก็ได้ เป็นที่ตกลงกันว่าจำนวนข้าวสารอันแน่นอนที่จะจัดให้มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ได้ตามความในข้อนี้ นั้น องค์การดังกล่าวข้างต้นจะเป็นผู้กำหนด และข้าวสาร ข้าวเปลือก หรือข้าวกล้องที่ส่งมอบตามความในข้อนี้ จะได้อนุโลมตามมาตรฐานคุณภาพอันเป็นที่ตกลงกันตามที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะได้กำหนด
ข้อ สิบห้า
จนกระทั่งวันที่ไม่ช้ากว่าวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๗ รัฐบาลไทยตกลงว่าจะจัดให้องค์การข้าวดังกล่าวในข้อสิบสามและข้อสิบสี่ใช้ประโยชน์ได้ในข้าวทั้งหมด อันเป็นส่วนที่เหลือจากความต้องการภายในประเทศไทย ข้าวเช่นว่านี้ นอกจากข้าวที่ส่งมอบโดยไม่คิดมูลค่าตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในข้อสิบสี่นั้น จะได้ส่งให้โดยวิธีองค์การพิเศษดังกล่าวในข้อสิบสามและสิบสี่จะได้แจ้งให้ทราบ และตามราคาที่กำหนดด้วยความตกลงกับองค์การนั้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงราคาข้าวที่ควบคุมในเขตแคว้นอื่น ๆ ในเอเซียซึ่งส่งข้าวออกนอกประเทศ
การบินพลเรือน
ข้อ สิบหก
รัฐบาลไทย จะให้สายการเดินอากาศฝ่ายพลเรือนแห่งจักรภพประชาชาติบริติชได้รับผลปฏิบัติ โดยความตกลงกันจะได้เจรจากันกับรัฐบาลแห่งสมาชิกของจักรภพประชาชาติบริติชในเรื่องการจัดตั้ง บำรุงรักษา และเดินสายการเดินอากาศเป็นระเบียบประจำ ซึ่งให้ประโยชน์อนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ได้ให้แก่อิมปีเรียล แอร์เวย์ส ตามหนังสือที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๓๗
ที่ฝังศพสงคราม
ข้อ สิบเจ็ด
รัฐบาลไทยรับว่าจะทำความตกลงกับรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดีย เพื่อต่างฝ่ายต่างบำรุงรักษาที่ฝังศพสงคราม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่การจัดตั้งถาวรและการดูแลในภายหน้าแห่งที่ฝังศพสงครามของฝ่ายบริติชกับฝ่ายอินเดีย และที่ฝังศพสงครามของฝ่ายไทยในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย
ปกิณกะ
ข้อ สิบแปด
รัฐบาลไทยตกลงถือว่ายังคงใช้อยู่ซึ่งบรรดาสนธิสัญญาสองฝ่าย ระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย และระหว่างอินเดียกับประเทศไทย ตามแต่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดีย จะได้ระบุแล้วแต่กรณี ภายใต้บังคับแห่งข้อแก้ไขใด ๆ ที่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรหรือรัฐบาลอินเดียจะแจ้งให้ทราบ และถือว่าสนธิสัญญาใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ดังกล่าวนั้น เป็นอันยกเลิกไป
ข้อ สิบเก้า
รัฐบาลไทยตกลงถือว่ายังคงใช้อยู่ระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย และระหว่างอินเดียกับประเทศไทย บรรดาสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงหลายฝ่ายซึ่งทำไว้ก่อนวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ (ก) ที่ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรหรืออินเดีย แล้วแต่กรณี เป็นภาคีอยู่ในขณะนั้นและยังคงเป็น ภาคีอยู่ (ข) ที่สหราชอาณาจักรหรืออินเดีย แล้วแต่กรณี เป็นภาคีอยู่ในขณะนั้น และยังคงเป็นภาคีอยู่ แต่ประเทศไทยมิได้เป็นภาคี ทั้งนี้รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร หรือรัฐบาลอินเดียจะได้แจ้งให้รัฐบาลไทยทราบ เมื่อได้รับคำแจ้งความดังกล่าว รัฐบาลไทยจะได้จัดการที่จำเป็นโดยทันที ตามความในสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือความตกลงดังกล่าว ซึ่งประเทศไทยมิได้เป็นภาคีผู้ทำสัญญาอยู่นั้น เพื่อเข้าเป็นภาคี หรือถ้าเข้าเป็นภาคีไม่ได้ ก็จะได้ปฏิบัติให้เป็นผลตามบทบัญญัติแห่งหนังสือสัญญานั้น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับสหราชอาณาจักรหรืออินเดีย แล้วแต่กรณี โดยวิธีนิติบัญญัติ หรือทางปกครองตามแต่จะเหมาะสม รัฐบาลไทยตกลงด้วยว่า จะสนองตามข้อแก้ไขใด ๆ ในหนังสือสัญญานั้น ซึ่งหากจะได้ใช้บังคับตามข้อกำหนดแห่งตราสารดังกล่าวหลังจากวันที่ว่านั้น
ข้อ ยี่สิบ
ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับให้เข้าเป็นภาคีแห่งองค์การระหว่างประเทศใด ๆ ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังวันที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ อันเป็นองค์การที่สหราชอาณาจักรหรืออินเดียเป็นสมาชิกอยู่ รัฐบาลไทยตกลงว่าจะปฏิบัติตามข้อผูกพันใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากหรือเนื่องด้วยองค์การนั้น ๆ หรือเอกสารที่จัดตั้งองค์การนั้น ๆ ขึ้น ตามแต่รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรหรือรัฐบาลอินเดีย แล้วแต่กรณี จะได้ระบุในเวลาใด ๆ
ข้อ ยี่สิบเอ็ด
โดยคำนึงถึงคำมั่นสัญญาซึ่งรัฐบาลไทยให้ไว้ข้างบนนี้ รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดียตกลงถือว่า สถานะสงครามเป็นอันสิ้นสุดลงและจะดำเนินการโดยทันที ในอันจะกลับเจริญความสัมพันธ์ทางไมตรีกับประเทศไทย และแลกเปลี่ยนผู้แทนทางทูตกัน
ข้อ ยี่สิบสอง
รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลอินเดียรับรองด้วยว่า จะสนับสนุนการที่ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติ
วิเคราะห์ศัพท์และวันใช้ความตกลง
ข้อ ยี่สิบสาม
ภาคีผู้ทำสัญญานี้ตกลงกันว่า คำว่า “บริติช” ในความตกลงนี้
(๑) เมื่อใช้แก่บุคคลธรรมดา หมายความว่า บรรดาคนในบังคับของสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์ และอาณาจักรบริติชอันพ้นทะเลทั้งหลาย จักรพรรดิแห่งอินเดีย ตลอดจนบรรดาบุคคลในอารักขาของสมเด็จพระมหากษัตริย์
(๒) เมื่อใช้แก่อาณาเขต หมายความว่า บรรดาอาณาเขต ใด ๆ ในอธิปไตย อธิราชย์ อารักขา หรืออาณัติของสมเด็จพระมหากษัตริย์ แล้วแต่กรณี
(๓) เมื่อใช้แก่นิติบุคคล หมายความว่า บรรดานิติบุคคลซึ่งได้รับสถานภาพเช่นนั้น จากกฎหมายที่ใช้อยู่ในอาณาเขตใด ๆ ดังกล่าวแล้ว และ
(๔) เมื่อใช้แก่ทรัพย์สิน สิทธิ หรือผลประโยชน์ หมายความว่า ทรัพย์สิน สิทธิ หรือผลประโยชน์ของบุคคลดังระบุไว้ใน (๑) หรือ (๓) ข้างบนนี้ แล้วแต่กรณี
ข้อ ยี่สิบสี่
ความตกลงนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ได้ลงนาม และประทับตราความตกลงนี้ไว้เป็นสำคัญ
ทำควบกันเป็นสามฉบับ เป็นภาษาอังกฤษ ณ สิงคโปร์ เมื่อวันที่หนึ่งมกราคม คริสตศักราชพันเก้าร้อยสี่สิบหก ตรงกับพุทธ ศักราชสองพันสี่ร้อยแปดสิบเก้า
ฝ่ายบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
(ลงนาม) ม. อี. เดนิง.
ฝ่ายอินเดีย
(ลงนาม) ม.ส. อาเนย์
(ลงอักษรนาม) ม.ส.เอ.
(ลายมือชื่อนี้ได้ลงไว้ด้วยความตกลงกับผู้แทนของสมเด็จพระราชาธิบดี ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจในความสัมพันธ์กับบรรดารัฐอินเดียน.)
ฝ่ายไทย
(ลงพระนาม) วิวัฒน
(ลงนาม) พระยาอภัยสงคราม พลโท
(ลงนาม) ส. วินิจฉัยกุล
----------------------------
Formal Agreement
for the termination of the state of war
between Siam and Great Britain
and India
Signed at Singapore on 1st January 1946
WHEREAS by a Proclamation made in Bangkok on August 16th 1945 the Regent of Siam did, in the name of his Majesty the King of Siam, proclaim the declaration of war made by Siam on January 25th 1942 against the United Kingdom to be pull and void in that it was made contrary to the will of the Siamese people and in violation of the constitution and laws of Siam, and
WHEREAS the proolamation of August 16th 1945 aforesaid was the same day unanimously approved by the National Assembly of Siam, and
WHEREAS the Siamese Government have repudiated the Alliance entered into by Siam with Japan on December 21st 1941 together with all other Treaties, Pacts or Agreements concluded between Siam and Japan, and
WHEREAS the Siamese Government are anxious to play their full part in mitigating the effects of the war, particularly in such mcasures may be designed to assist in the restoration of international security and general economio welfare, and
WHEREAS the Government of the United Kingdom and the Government of India, in consideration of the acts of repudiation already carried out by the Siamese Government, and not unmindful of the services rendered by the resistance movement in Siam during the war with Japan, desire to bring the state of war to an immediate end,
NOW THEREFORE the Government of the United Kingdom and the Government of India on the one hand and the Siamese Government on the other, being desirous of renowing the relations of close friendship which existed before the war, have resolved to conclude an agreement for these purposes and have accordingly appointed as their plenipotentiaries :
Government of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland :
Mr. M.E. Dening, C.M.G., O.B.E.
Government of India :
Mr. M.S. Aney
Siamese Government :
His Serene Highness Prince Viwatchai Chaiyant
Lieutenant-General Phya Abhai Songgram
Nai Serm Vinicchayakul
WHO, having communicated their full powers, found in good and due form, have agreed as follows :
RESTITUTION AND READJUSTMENT
ARTICLE ONE
The Siamese Government agree to repudiate all measures pursuant to the above-mentioned declaration of war made on January 25th 1942, and to take the necessary legislative and administrative measures to give effect to that repudiation.
ARTICLE TWO
The Siamese Government declare as null and void all purported acquisitions of British territory made by Siam later than December 7 th 1941, as well as all titles, rights, proporties and interests acquired in such territory since that date either by the Siamese state or by Siamese subjects. The Siamese Government agree to take the necessary legislative measures to give effect to the foregoing declaration and in particular
(a) to repeal and declare null and void ab initio all legislative and administrative measures relating to the purported annexation by, or incorporation in, Siam of British territories effected after December 7th 1941.
(b) to withdraw as may be required by the competent civil or military authority all Sianese military personnel from all such British territories and all Siamese officials and pationals who ontered these territories after their purported annexation by, or incorporation in, Siam.
(c) to restore all property taken away for these territories, including currency except to the extent to which it can be established that fair value has beon given in exchange.
(d) to compensate loss or damage to property, rights and interests in these territories arising out of tho occupation of these territories by Siam.
(e) to redeem in sterling out of former sterling reserves current Siamese notes collected by the British authorities in British territory occupied by Siam since December 7th 1941.
ARTICLE THREE
The Siamese Government agree to assume responsibility for safeguarding maintaining and restoring unimpaired, British property, rights and interests of all kinds in Siam and for payment of compensation for losses or damage sustained. The term “property, rights and interests” shall include inter alia, the official property of the Government of the United Kingdom and of the Government of India, property whose ownership has been tranferred since the outbreak of war, pensions granted to British national, stock of tin, teak and other commodities, shipping and wharves, and tin, teak and other leases and concessions granted to British firms and individuals prior to December 7th 1941, and still valid at that date.
ARTICLE FOUR
The Siamese Government agree to desequestrate British banking and commercial concerns and permit them to resume business.
ARTICLE FIVE
The Siamese Government agree to accept liability, with the addition of interest, at au appropriate percentage, in respect of payments in arrears, for the service of loans and for payment of pensions in full since the date when regular payments ceased.
SECURITY
ARTICLE SIX
The Siamese Government recognise that the course of events in the war with Japan demonstrates the importance of Siam to the defence of Malaya, Burma, India and Indo-China and the Security of the Indian Ocean and South-West Pacific areas and the Siamese Government agree to collaborate fully in all international security arrangements approved by the United Nations Organisation or its Security Council which may be pertinent to Siam and espccially such international security arrangement as may relate to those countries or area.
ARTICLE SEVEN
The Siamese Government undertake that no canal linking the Indian Ocean and the Gulf of Siam shall be cut across Siamese territory without the prior concurrence of the Government of the United Kingdom.
COMMERCIAL AND ECONOMIC COLLABORATION
ARTICLE EIGHT
The Siamese Goverument agree to take all possible measures to re-establish import and export trade between Siam on the one hand and neighbouring British territories on the other, and to adopt and maintain a good – neighbourly policy in regard to coastal shipping
ARTICLE NINE
The Siamese Government undertake to negotiate with the Government of the United Kingdom as soon as practicable a new Treaty of Establishment, Commerce and Navigation and a Consular the reciprocal application of the princilpes in Convention based on Article Eleven below.
ARTICLE TEN
The Siamese Government undertake to negotiate with the Goverment of India as soon as practicable a new Treaty of Commerce and Navigation based on the reciprocal aplication of the principles in the following Article.
ARTICLE ELEVEN
(1) Pending the conclusion of the Treaties and Convention referred to in Articles Nine and Ten above and subject to paragraph (2) of this Article, the Siamese Government undertake to observe the provision of the Treaty of Commerce and Navigation signed at Bangkok on November 23 rd 1937, and further undertake, except where the Treaty specifically authorises such action, not to enforce any measures excluding British commercials or industrial interests or British professional men on grounds of nationality from participation in Siamese economy and trade, or any measures requiring them to maintain stocks or reserves in excess of normal commercial, shipping, industrial or business practice.
(2). The above – mentioned undertakings of the Siamese Government (a) shall be subject to such exceptions, if any, as may at any time be agreed to between the Government of the United Kingdom or the Government of India, as the case may be, and the Siamese Government; (b) shall, unless prolonged by agreement, lapse if the Treaties and Conventions referred to in Articles Nipe and Ten have not been concluded within a period of three years from the coming into force of this Agreement.
(3) Nothing in this Article shall be deemed to preclude the grant of equally favourable treatment to nationals and enterprises of any or all other United Nations. ARTICLE TWELVE
The Siamese Government undertake to participate in any general international arrangement regarding tin or rubber which conforms with such principles regarding commodity arrangemets as may be agreed by the United Nations Organisation or its Economic and Social Council.
ARTICLE THIRTEEN
Until a date or dates not later than September 1st 1947 the Siamese Government undertake to prohibit, except in accordance with the recommendations of the Combined Boards in Washington, or any successor body, and in the case of rico, under the direction of a special organisation to be set up for the purpose, any exports of rice, tin, rubber and teak and to regulate trade in and simulate production of these commodities.
ARTICLE FOURTEEN
The Siamese Government undertake to make available free of cost at Bangkok to an organisation to be indicated by the Government of the United Kingdom and as quickly as may be compatible with the retention of supplies adequate for Siamese internal needs, a quantity of rice equal to the accumulated surplus of rice at present existing in Siam, subject to a maximum of one and a half million tons, or if so agreed the equivalent quantity of paddy or loonzain. It is agreed that the exact amount of rice to be made available under this Article shall be determined by the organisation above-mentioned and that the rice, paddy or loonzain delivered under this Article shall conform to the agreed standards of quality to be determined by the same authorities.
ARTICLE FIFTEEN
Until a date not later than September 1st 1947 the Siamese Government agree to make available to the rice organisation mentioned in Article Thirteen and Article Fourteen all rice surplus to the internal needs of Siam. Such rice, with the exception of rice delivered free in accordance with the uudertaking given in Article Fourteen, will be supplied in such manner as the special organisation mentioned in Article Thirteen and Article Fourteen shall indicate, and at prices fixed in agreomunt with it, having regard to the controlled prices of rice in other Asiatic rice-exporting areas.
CIVIL AVIATION
ARTICLE SIXTEEN
The Siamese Governmeat shall accord to the civil air services of the British Commonwealth of Nations, by means of agreements to be negotiated with the Governments of members of the British Commonwealth of Nations, treatment in regard to establishment, maintenance and operation of regular air services not lees favourable than that accorded to Imperial Airways by the potes exchanged at Bangkok on December 3rd 1937.
WAR GRAVES ARTICLE SEVENTEEN
The Siamese Government undertake to enter into an agreement with the Government of the United Kingdom and the Government of India for the mutual upkeep of war graves, with a view to the permanent establishment and future care of British and Indian war graves and of Siamese war graves in their respective territories,
MISCELLANEOUS
ARTICLE EIGHTEEN
The Siamese Government agree to regard as in force such bilateral treaties between the United Kingdom and Siam and India and Siam as may respectively be specified by the Government of the United Kingdom and the Government of India, subject to any modifications the Government of the United Kingdom or the Government of India may indicate, and to regard as abrogated any such treaties not so specified.
ARTICLE NINETEEN
The Siamese Government agree to regard as being in force between the United Kingdom and Siam and between India and Siam all multilateral treaties, conventions or agreements concluded prior to December 7th 1941 (a) to which Siam and the United Kingdom or India, as the case may be, were then and still are parties ; (b) to which the United Kingdom or India, as the case may be, was then and still is a party, but to which Siam has not become a party, and which shall be notified to the Siamese Government by the Government of the United Kingdom or the Government of India. On the receipt of suoh notification the Siamese Government shall immediately take the necessary steps in accordance with the provisions of any such treaty, convention or agreement to which Siam is not a contracting party, to accede thereto, or if accession is not possible, shall give effect to the provisions thereof in respect of the United Kingdom or India, as the case may be, by such legislative or administrative means as may be appropriate The Siamese Government agree also to accept any modifications thereto which may have come into effect in accordance with the terms of such instruments since that date.
ARTICLE TWENTY
Pending admission to any international organisation set up since December 7th 1941, being an organisation of which the United Kingdom or India is a member, the Siamese Government agree to carry out any obligations arising out of, or in connection with, any such organisation or the instruments constituting it, as may at any time be specfied by the Government of the United Kingdom or the Government of India, as the case may be. ARTICLE TWENTY-ONE In consideration of the above undertakings made by the Siamese Government, the Government of the United Kingdom and the Government of India agree to regard the state of war as terminated and to proceed at once to the resumption of friendly relations with Siam and to exchange diplomatic representatives.
ARTICLE TWENTY-TWO
The Government of the United Kingdom and the Government of India also undertake to support Siam’s candidature for membership of the United Nations.
DEFINITIONS AND DATE OF ENTRY INTO FORCE OF AGREEMENT
ARTICLE TWENTY-THREE
It is agreed by the contracting parties that the term “British” in this agreement
(1) when applied to physical persons shall mean all subjects of His Majesty the King of Great Britain, Ireland and the British Dominions beyond the Beas, Emperor of India, and all persons under His Majesty’s protection ;
(2) when applied to territory shall mean any territory under His Majesty’s sovereignty, suzerainty, protection or mandate, as the case may be ;
(3) when applied to legal persons, shall mean all legal persons deriving their status as such from the law in force in any such territory ; and
(4) when applied to property, rights or interests shall mean the property, rights or interests of persons specified under (1) or (3) abovo, as the case may be.
ARTICLE TWENTY-FOUR
This agreement shall enter into force as from today s date.
IN WITNESS WHEREOF the undersigned have signed the presont agreement and have fixed thereto their seals.
Done in triplicate at Singapore this first day of January in the nineteen hundred and forty-sixth year of the Christian Era, corresponding to the two thousand four hundred and eighty – ninth year of the Buddhist Era, in the English language.
GREAT BRITAIN AND NORTHERN IRELAND
(Signed) M.E. Dening
INDIA
(Signed) M.S. Aney
(Initialed) M.S.A.
(This signature is appended in agreement with His Majesty’s Representative for the exercise of the functions of the Crown in its relations with Indian States)
SIAM
(Signed) Viwat
(Signed) Phya Abhai Songgram Lieut.-Gen.
(Signed) S. Vinicchayakul
----------------------------
แถลงการณ์
เนื่องจากรัฐบาลไทยสมัยหนึ่งได้ประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่ ประเทศออสเตรเลียจึงได้ประกาศสงครามกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ ประเทศออสเตรเลียถือว่าสถานะสงครามได้เกิดขึ้นระหว่างประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย นับแต่บัดนั้นมา
ในการที่จะเลิกสถานะสงครามกับประเทศออสเตรเลียนั้นผู้แทน รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและผู้แทนรัฐบาลออสเตรเลียได้ดำเนินการเจรจากันที่สิงคโปร์ และได้ทำความตกลงกันไว้ในชั้นต้นบางประการ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือกันไว้แล้ว ทั้งนี้จะนำไปสู่การเลิกสถานะสงคราม
รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ดำเนินการไปแล้วและพร้อมที่จะปฏิบัติตามพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพ ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ กล่าวคือ ได้รับรองที่จะชดใช้ความสูญหายและเสียหายใดๆ อันเกิดขึ้นแก่รัฐบาลของประเทศออสเตรเลียและชาวออสเตรเลีย อุปการเลี้ยงดูให้ความช่วยเหลือแก่เชลยศึกชาวออสเตรเลียที่ถูกคุมขังอยู่ในประเทศไทย และพร้อมที่จะร่วมมือตามข้อตกลงของสหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังได้พร้อมที่จะร่วมมือในการจับกุมอาชญากรสงคราม และรักษาสุสานชาวออสเตรเลียผู้ต้องเสียชีวิตไปในสงคราม การกระทำเหล่านี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาที่ของประเทศไทย
ในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้แทนของรัฐบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และผู้แทนรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียจะได้ตกลงกันทำสนธิสัญญาเลิกสถานะสงครามเสีย เมื่อได้ลงนามในสนธิสัญญานั้นแล้ว สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย จะกลับคืนดีดังแต่ก่อน
ความสำเร็จในการเจรจานี้ รัฐบาลแห่งประเทศออสเตรเลีย ได้แถลงมาทางผู้แทนของตนว่ารู้สึกพอใจยิ่ง และมีความปรารถนาที่จะได้กลับคืนมีสัมพันธไมตรีเป็นอย่างดีกับประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเอกราชที่นิยมในหลักการของสหประชาชาติ ทั้งนี้ ย่อมเป็นที่หวังได้ว่า ประเทศออสเตรเลียย่อมจะเป็นมิตรที่ดีของประเทศไทยในภายหน้า
สำนักนายกรัฐมนตรี
วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๙
Communiqué
Following the declaration of war on Great Britain by the Siamese Government at that time, Australia declared war on Siam on March 2nd B.E. 2485 and considers that a state of war has existed between the two countries as from that date.
With a view to terminating the state of war with Australia, the representatives of His Majesty s Government have been engaged in negotiations at Singapore and have reached a preliminary agreement in certain respects by an exchange of Notes, which will lead to the termination of the state of war.
Steps have already been takon by His Majesty’s Government who are ready to act in acoordance with the Royal Proclamation of Peace of August 16th B.E. 2488, that is, they have undertaken to compensate any losses or damage sustained by the Australian Government and Australian citizens; they have afforded succour and assistance to Australian prisoners of war interned in Siam ; and they are ready to lend their co-operation in accordance with the resolutions of the United Nations; they are also prepared to collaborate in the apprehension of war criminals and the upkeep of the graves of Australians who lost their lives in the war. Such actions are an indication of the good disposition of Siam.
In the near future, the representatives of His Majesty’s Government and the representative of the Australian Government will conclude a treaty for the termination of the state of war. Upon the signing of that treaty, the friendly relations between Siam and Australia will be happily restored as heretofore.
The Australian Government, through their representative, have expressed the greatest satisfaction in the success of these negotiations and are desirous of restoring the good friendly relations with Siam, which is an independent country appreciative of the principles of the United Nations. It can therefore be hoped that Australia will be a good friend of Siam in the future.
Office of the
Presidency of the Council of Ministers
1st January 2489
----------------------------
(จากพันเอก เอ.เจ. อิสต์แมน ถึง หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์)
จักรภพแห่งออสเตรเลีย
สิงคโปร์
วันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖
ท่านผู้แทน
เนื่องจากการเจรจาที่ได้กระทำกันที่ทำเนียบรัฐบาล ณ เมืองสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๑๑ วันที่ ๑๕ วันที่ ๑๙ และวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ และความตกลงด้วยวาจาที่เราได้กระทำกันในวันที่ที่กล่าวหลังที่สุด ข้าพเจ้าใคร่ขอในนามรัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลีย ให้ท่านส่งมอบหนังสือซึ่งท่านและบรรดาผู้แทนที่มีอำนาจเต็มอื่น ๆ ในคณะผู้แทนของท่านได้ลงนามแล้ว ให้แก่ข้าพเจ้าเพื่อยืนยันคำมั่นสัญญาของรัฐบาลแห่งประเทศไทย ว่า
(๑) จะกระทำการทุกอย่างที่จำเป็นโดยเร็ว เพื่อบอกปฏิเสธโดยบริบูรณ์ ซึ่งการประกาศสงครามที่ได้ทำต่อบริเตนใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๒, พันธไมตรีกับญี่ปุ่นที่ได้ทำเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ และบรรดากระบวนการที่มีผลเป็นการเสียหายแก่บริเตนใหญ่ ออสเตรเลียและบรรดาพันธมิตร
(๒) เมื่อได้รับคำขอร้องในเวลาใด ก่อนวันที่ ๑๔ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ จะทำสนธิสัญญากับรัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลีย
หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์
หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย
สิงคโปร์
(ก) รับรองว่า รัฐบาลแห่งประเทศไทยได้กระทำการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อบอกปฏิเสธโดยบริบูรณ์ ซึ่งการประกาศสงครามและพันธไมตรีกับบรรดากระบวนการดังกล่าวแล้วในข้อ ๑ ข้างบนนี้ และ
(ข) ผูกพันรัฐบาลแห่งประเทศไทยให้
(๑) ยอมรับผิดชอบในการรักษาและบำรุงรักษาด้วยดี บรรดาที่ฝังศพสงครามฝ่ายออสเตรเลียในประเทศไทย
(๒) ยอมรับผิดชอบในการปฏิบัติตามคำอำนวยแห่งรัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลีย ในส่วนที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของบรรดาผู้มีถิ่นที่อยู่ชาวออสเตรเลีย ซึ่งถูกกักหรือกักคุมในประเทศไทยภายหลังวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑
(๓) รับจะให้ความช่วยเหลือเต็มที่ในการจับกุม และลงโทษ บุคคลที่กระทำความผิดทางอาชญากรรมสงครามต่อชาวออสเตรเลีย
(๔) ยอมรับผิดชอบที่จะใช้ค่าทดแทนแก่รัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลีย และพลเมืองออสเตรเลีย เพื่อบรรดาความวินาศและความยุบสลายที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม ภายหลังวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ ในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการที่ไทยได้กระทำนอกประเทศไทย
(๕) รับจัดกระบวนการร่วมมือทางภูมิภาคทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ซึ่งชอบด้วยหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และมีความมุ่งหมายที่จะจัดประกันความมั่นคงของอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเขตแคว้นปาซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ และ
(๖) ปฏิบัติตามบรรดาข้อผูกพันที่ได้ระบุไว้ในความตกลงสมบูรณ์แบบที่ได้กระทำกันวันนี้ ระหว่างรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร และรัฐบาลแห่งประเทศอินเดียฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลแห่งประเทศไทยอีกฝ่ายหนึ่ง (มีสำเนาซึ่งข้าพเจ้าได้ลงอักษรนามไว้แนบมากับหนังสือนี้)
สนธิสัญญาดังกล่าวจะได้ผูกพันรัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลียให้เลิกสถานะสงคราม ซึ่งมีอยู่ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศไทย
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ในเมื่อได้กระทำการที่กล่าวในข้อ ๑ ข้างต้นบริบูรณ์ และเมื่อใช้สนธิสัญญาที่กล่าวในข้อ ๒ แล้ว รัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลียพร้อมที่จะเลิกสถานะสงคราม ซึ่งมีอยู่ระหว่างรัฐบาลนั้นกับรัฐบาลแห่งประเทศไทย
ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างสูงมายังท่าน
(ลงนาม) เอ.เจ. อิสต์แมน
ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของรัฐบาลจักรภพ
แห่งออสเตรเลียในการทำข้อตกลงเกี่ยว
กับการเลิกสถานะสงครามกับประเทศไทย
(Colonel A.J. Eastman to Prince Viwatchai Chaiyant)
COMMONWEALTH OF AUSTRALIA,
SINGAPORE
1st January 1946.
Your Serene Highness,
With reference to our discussions at Government House, SINGAPORE, on 11th., 15th., 19th., and 31st December 1945 and to the verbal agreement reached between us on the last mentioned date, I have the honour to request, on behalf of the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA, that you forward to me a letter signed by yourself and the other plenipotentiary members of your Delegation confirming the undertaking of the Government of SIAM that it will :-
(1) take promptly all action necessary for the complete repudiation of the declaration of war made against GREAT BRITAIN on 25th. January 1912, the Alliance with JAPAN made on 21st. December 1941 and all measures operating to the detriment of GREAT BRITAIN, AUSTRALIA and their Allies ;
(2) when called upon to do so at any time before 14th. March 1946, conclude a treaty with the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA
His Serene Highness
Prince VIWATCHAI CHAIYANT,
Head of the Siamese Delegation,
SINGAPORE.
(a) certifying that the Government of SIAM has takey all action necessary for the complete repudiation of the declaration of war, the Alliance and the measures referred to in Clause 1 above and
(b) obliging the Government of SIAM :-
(i) to assume responsibility for the maintenance and good upkeep of all Australian war graves in SIAM :
(ii) to assume responsibility for complying with the directions of the Commonwealth of AUSTRALIA with respect to the well-being and interests of all Australian residents detained or interned in SIAM since Sth December 1941,
(iii) to undertake full assistance in the apprehension and punishment of persons guilty of war crimes against Australians ;
(iv) to assume responsibility for compensating the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA and Australian citizens for all losses and damage sustained by them directly or indirectly since 8th December 1941 in SIAM or as a result of Siamese activity outside SIAM :
(v) to undertake measures of regional, political and economic co-operation consistent with the principles of the United Nations Charter and designed to ensure the security of South East Asia and the South West Pacific area; and
(vi) to carry out such of the obligations specified in the formal agreement entered into this day between the Government of the UNITED KINGDOM and the Government of INDIA on the one hand and the Government of SIAM on the other (copy of which is attached to this letter and initialled by me)
I have the honour to confirm that, upon the completion of the action memtioned in Clause 1 above and upon the coming into force of the treaty mentiened in Clause 2, the Governmont of the Commonwealth of AUSTRALIA will be prepared to terminate the state of war existing between it and the Government of SIAM.
I avail myself of this opportunity to express to Your Serene Highness the assurance of my high consideration.
(Signed ) A.J. EASTMAN
Plenipotentiary to the Government of
the Commonwealth of Australia for the
conclusion of arrangements relative to
the termination of the state of war with SIAM.
----------------------------
(จากหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ถึง พันเอก เอ.เจ. อิสต์แมน)
สิงคโปร์
วันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖
ท่านผู้แทน
เราได้รับหนังสือของท่าน ลงวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖ แล้ว และขอแจ้งว่า เราได้รับคำสั่งจากรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวให้รับรองในนามของรัฐบาล ว่า
(๑) จะกระทำการทุกอย่างที่จำเป็นโดยเร็ว เพื่อบอกปฏิเสธโดยบริบูรณ์ ซึ่งการประกาศสงครามที่ได้ทำต่อบริเตนใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๒, พันธไมตรีกับญี่ปุ่นที่ได้ทำ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ และบรรดากระบวนการที่มีผลเป็นการเสียหายแก่บริเตนใหญ่ ออสเตรเลีย และบรรดาพันธมิตร
(๒) เมื่อได้รับคำขอร้องในเวลาใด ก่อนวันที่ ๑๔ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ จะทำสนธิสัญญากับรัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลีย
(ก) รับรองว่า รัฐบาลแห่งประเทศไทยได้กระทำการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อบอกปฏิเสธโดยบริบูรณ์ ซึ่งการประกาศ สงคราม และพันธไมตรีกับบรรดากระบวนการดังกล่าว แล้วในข้อ ๑ ข้างบนนี้ และ
พันเอก เอ.เจ. อิสต์แมน
ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของรัฐบาลจักรภพแห่งออสเตรเลีย
(ข) ผูกพันรัฐบาลแห่งประเทศไทยให้
(๑) ยอมรับผิดชอบในการรักษาและบำรุงรักษาด้วยบรรดาที่ฝังศพสงครามฝ่ายออสเตรเลียในประเทศไทย
(๒) ยอมรับผิดชอบในการปฏิบัติตามคำอำนวยแห่งรัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลีย ในส่วนที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของบรรดาผู้มีถิ่นที่อยู่ชาวออสเตรเลีย ซึ่งถูกกักหรือกักคุมในประเทศไทยภายหลังวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑
(๓) รับจะให้ความช่วยเหลือเต็มที่ในการจับกุม และลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดทางอาชญากรรมสงครามต่อชาวออสเตรเลีย
(๔) ยอมรับผิดชอบที่จะใช้ค่าทดแทนแก่รัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลียและพลเมืองออสเตรเลีย เพื่อบรรดาความวินาศและความบุบสลายที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อม ภายหลังวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ ในประเทศไทย หรือเนื่องจากการที่ไทยได้กระทำนอกประเทศไทย
(๕) รับจัดกระบวนการร่วมมือทางภูมิภาคทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ซึ่งชอบด้วยหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และมีความมุ่งหมายที่จะจัดประกันความมั่นคงของอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเขตแคว้นปาซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ และ
(๖) ปฏิบัติตามบรรดาข้อผูกพันที่ได้ระบุไว้ในความตกลงสมบูรณ์แบบที่ได้กระทำกันวันนี้ ระหว่างรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรและรัฐบาลแห่งประเทศอินเดียฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลแห่งประเทศไทยอีกฝ่ายหนึ่ง (มีสำเนาซึ่งข้าพเจ้าได้ลงอักษรนามไว้แนบมากับหนังสือนี้)
สนธิสัญญาดังกล่าวจะได้ผูกพันรัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลีย ให้เลิกสถานะสงครามซึ่งมีอยู่ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศไทย
/*864ในเรื่องนี้เราขอยืนยันว่า รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้กระทำการทุกอย่างที่จำเป็น เพื่อบอกปฏิเสธการประกาศสงครามและพันธไมตรีที่กล่าวถึงในข้อ ๑ และบรรดาสนธิสัญญา กติกาสัญญา และความตกลงอื่น ๆ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นแล้ว และในระยะเวลาระหว่างวันที่ของหนังสือนี้กับวันที่จะลงนามสนธิสัญญาที่กล่าวในข้อ ๒ รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ดำเนินการในทันทีเท่าที่จะกระทำได้เพื่อใช้ข้อกำหนดที่บ่งไว้ในข้อนั้น และปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของข้อกำหนดนั้นทุกประการ
รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับทราบว่า ในเมื่อได้กระทำการที่กล่าวในข้อ ๑ ข้างต้นบริบูรณ์ และเมื่อใช้สนธิสัญญาที่กล่าวในข้อ ๒ แล้ว รัฐบาลของจักรภพแห่งออสเตรเลียพร้อมที่จะเลิกสถานะสงครามซึ่งมีอยู่ระหว่างรัฐบาลนั้นกับรัฐบาลแห่งประเทศไทย
(ลงพระนาม) วิวัฒน
(ลงนาม) พระยาอภัยสงคราม
(ลงนาม) ส. วินิจฉัยกุล
ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของรัฐบาลแห่งประเทศไทย
ในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับการเลิกสถานะสงคราม
ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศไทย
(Prince Viwatchai Chaiyant to Colonel A.J. Eastman)
SINGAPORE
1st January 1945.
Sir,
We have the honour to acknowledge your letter of 1st January 1945 and to state that wo are instructed by His Majesty’s Government to undertake on their behalf that they will:-
(1) take promptly all action necessary for the complete repudiation of the declaration of war made against GREAT BRITAIN on 25th January 1942 the Alliance with JAPAN made on 21st December 1941 and all ineasures operating to the detriment of GREAT BRITAIN, AUSTRALIA and their Allies ;
(2) when called upon to do so at any time before 14th March 1946, conclude a treaty with the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA
(a) certifying that the Government of SIAM has taken all action necessary for the complete repudiation of the declaration of war, the Alliance and the measures referred to in Clause (1) above, and
Colonel A.J. Eastman,
Plenipotentiary to the Government of the
Commonwealth of Australia.
(b) obliging the Government of SIAM :
(i) to assume responsibility for the maintenance and good upkeep of all Australian war graves in SIAM;
(ii) to assume responsibility for complying with the directions of the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA with respect to the well being and interests of all Australian residents detained or interned in SIAM since 8th December 1941 :
(iii) to undertake full assistance in the apprehension and punishment of persons guilty of war crimes against Australians ;
(iv) to aosume rosponsibility for compensating the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA and Australian citizens for all losses and damage sustained by them directly or indirectly since 8th December 1941 in SIAM or as a result of Siamese activity outside SIAM;
(v) to undertake measures of regional, political and economic co-operation consident with the principles of the United Nations Charter and designed to ensure the security of South Aast Asia and the South West Pacific area ; and
(vi) to carry out such of the obligations specified in the Formal Agreement entered into this day between the Government of the United Kingdom and the Government of INDIA on the one hand and the Government of SIAM on the other, (copy of which is attached to this letter and initiallel by us)
Such treaty to oblige the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA to terminate the state of war existing between AUSTRALIA and SIAM;
In this connection we have the honour to confirm that His Majesty’s Government has already taken all necessary action to repudiate the declaration of war and the alliance referred to in Clause (1) and all other treaties, pacts and agreements between SIAM and JAPAN ; and that in the interval between the date of this letter and the conclusion of the Treaty mentioned in Clause (2), His Majesty’s Government will take immediate steps, as far as possible, to put into effect the terms set out in that Clause and in all respects to act in accordance with their spirit.
His Majesty’s Government note that, upon completion of the action mentioned in Clause (1) above and upon the coming into force of the treaty mentioned in Clause (2), the Government of the Commonwealth of AUSTRALIA will be prepared to terminate the state of war existing between it and His Majesty’s Government.
We avail ourselves of this opportunity to express to you the assurance of our high consideration.
(signed) Viwat
(signed) Phya Abhai Songgram
(signed) S. Vinicchayakul
Plenipotentiaries to the Government of SIAM
for the conclusion of arrangements relative to
the termination of the state of war between
AUSTRALIA and SIAM.
----------------------------
(COPY)
SINGAPORE
January 1st, 1946.
Your Serene Highness,
Following upon the satisfactory conclusion of our conversations, I have the honour to attach hereto a copy of the Heads of Agreement and annex which set out the terms on which the Government of the United Kingdom and the Government of India are prepared to liquidate the state of war with Siam. I shall be glad to learn from you that the Siamese Government are prepared to sign without delay a formal agreement or agroements, embodying the provisions set out in the attached documents, and that pending such signature the Siamese Gevernment will in all respects act in accordance with these provisions.
For your information I would add that the term “British” in the Heads of Agreement will, in the formal agreement or agreements, be so defined as to include all British subjects and protected persons, all territories under the sovereignty, suzerain protection or mandate of H.M. The King - Emperor, and all undertakings duly constituted in accordance with the law of any such territory.
I avail myself of this opportunity to express to you the assurance of my high consideration.
(signed) M.E. Dening
His Serene Highness,
Prince Viwatchai Chaiyant.
----------------------------
(COPY)
HEADS OF AGREEMENT
The attitude of the Government of the United Kingdom and the Government of India towards Siam will depend on the degree of her co-operation in matters arising out of the termination of hostilities againat Japan and on her roadliness (a) to make restitution to the United Kingdom and India and their Allies for the injury done to them in consequence of Siam’s association with Japan and (b) to ensure security and good neighbourly relations for the future.
The particular steps which the Government of the United Kingdom and the Government of India would expect the Siamese Government to take as a condition of rocognising it and of agreeing to terminate the state of war are as follows :-
A. Measures of Repudiation
1. Repudiate the declaration of war made on the 25th January 1942 (which brought about a state of war between the United Kingdom and India on the one hand and Siam on the other) together with all measures pursuant to that declaration which may operate to the prejudice of the United Kingdom, India and their Allies.
2. Rapudiate the Alliance entered into by Siam with Japan on the 21st December 1941, and all other treaties, pacts or agreements concluded between Siam and Japan.
3. Recognise as null and void all acquisitions of British territory made by Siam later than the 7th December 1941 and all titles, rights, properties and interests acquired in such territory since that date by the Siamese State or Siamese subjects.
B. Measures of Restitution and re-adjustment
1. Take the necessary legislative and administrative measures to give effect to Section A above, including in particular :-
(a) Repeal all legislative and administrative measures relating to the purported annexation by, or ioprncoration in, Siam of British territories effected after 7th December 1941.
(b) Withdraw as may be required by the competent civil or military authority all Siamese military personnel from all such territories; and all Siamese officials and nationals who entered these territories after their annexation by, or incorporation in, Siam.
(c) Restore all property taken away from these territories including currency except to the extent to which it could be established that fair value had been given in exchange.
(d) Compensate loss or damage to property, rights and interests in these territories arising out of the occupation of these territories by Siam.
(e) Redeem in sterling out of former sterling reserves, current Siamese notes collected by the British authorities in British territory oocupied by Siam since the 7th December 1941.
2. (a) Take all possible steps to ensure the prompt succour and relief of all British prisoners of war and internees held in Siam or in any territories purported to have been annexed by or incorporated in Siam, and at Siamese expense provide them with adequate food, clothing, medical and hygienio services, and transportation, in consultation with the Allied Military Authorities.
(b) Undertake to enter into an agreement with the Government of the United Kingdom and the Government of India for the mutual upkeep of war graves.
3. Assume responsibility for safeguarding, maintaining and restoring unimpaired, Brititish property, rights and interests of all kinds in Siam and for payment of compensation for losses or damage sustained. The term “property, rights and interests” to include, inter alai, the oficial property of the Government of the United Kingdom and the Government of India, property whose ownership has been transferred since the outbreak of war, pensions granted to British nationals, stocks of tin, teak and other commodities, shipping and wharves, and tin, teak and other leases and concessions granted to British firms and individuals prior to the 7th. December 1941, and still valid at that date.
4. Desequestrate British banking and commercial concerns and permit them to resume business.
5. Accept liability, with the addition of interest at an appropriate percentage in respect of paymeots in arrears, for the service of the loans and for the payment of pensions in full since the date when regular payments ceased.
6. Undertake to conclude as and when required, with the Supreme Allied Commander South East Asia Command or in such other manner as may be satisfactory to His Majesty’s Government, an agreement or agreements to cover all or any of the matters specified in the Annex to this document.
C. Measures for Post-War Stategic Co-operation
1. Recognise that the course of event in the war with Japan demonstrates the importance of Siam to the defence of Malaya, Burma, India and Indo-China and the security of the Indian Ocean and South West Pacific areas, and agree to collaborate fully in all international security arrangements approved by the United Nations Organisation or its Security Council which may be pertinent to Siam, and especially such international socurity arrangements as may relate to those countries or areas.
2. Undertake that no canal linking the Indian Ocean and the Gulf of Siam shall be cut across Siamese territory without the prior concurrence of the Government of the United Kingdom.
D. Measures for Post-War Economic Co-operation
1. Agree to take all possible measures to reestablish import and export trade between Siam on the one hand, and neighbouring British territories on the other, and to adopt and maintain a good neighbourly policy in regard to coastal shipping.
2. Undertake to negotiate with the Government of the United Kingdom as soon as practicable a new Treaty of Establishment, Commerce and Navigation and a Consular Convention based on the reciprocal application of the principles in Clause 4 below.
3. Undertake to negotiate with the Government of India as soon as practicable a new Treaty of Commerce and Navigation based on the reciprocal application of the principles in the following clause.
4. Pending the conclusion of the Treaties and Convention referred to in Clauses 2 and 3 above, undertake to observe the provisions of the Treaty of Commerce and Navigation signed at Bangkok on the 23rd November 1937 and, except in regard to matters where the Treaty specifically provides to the contrary (subject to such exceptions, if any, as may be agreed between the Government of the United Kingdom or the Government of India and the Siamese Government) not to enforce measures excluding British commercial or industrial intorests or British professional men on grounds of nationality from participation in Siamese economy and trade or requiring them to maiutain stocks or reserves in excess of normal commercial, shipping, industrial or business practiee, provided that if the Treaties and Convention have not been concluded within a period of three years this undertaking shall lapse unless it is prolonged by agreement. Nothing in this clause shall be deemed to preclude the grant of equally favourable treatment to nationals and enterprises of any or all of the United Nations.
5. Undertake to negotiate a Civil Aviation Agreement in respect of all British Commonwealth Civil Air Services not less favourable than the Agreement of 1937 with respect to Imperial Airways.
6. Undertake to participate in any general international arrangement regarding tin and rubbor which conforms with such principles regarding commodity arrangements as may be agreed by the United Nations Organisation or its Economic and Social Council.
E. Regularisation of Siamese position in relation to bilateral and multilateral treaties and her membership of international organisations
1. Agree to regard as in force such bilateral treaties between the United Kingdom and Siain and India and Siam as may respectively be specified by the Government of the United Kingdom or the Government of India, subject to any modifications the Government of the United Kingdom or the Government of India may indicate and to regard as abrogated any such treaties not so specified.
2. Agree to regard as in force between the United Kingdom and Siam and India and Siam any multilateral treaits, conventions or agreements concluded prior to the 7th December 1941, (a) to which Siam and the United Kingdom or India, as the case may be, were then parties, (b) to which Siam was not then a party and which may be specified in a list to be furnished to the Siamese Government. Agree also to accept any modifications thereto which may have come into effect in accordance with the terms of such instruments since that date.
3. Pending admission to any international organisation set up since the 7th December 1941, being an organisation of which the United Kingdom or India is a member, agree to carry out any obligations arising out of, or in connection with, any such organisation or the instrument constituting it, as may at any time be specified by the Government of the United Kingdom or the Government of India as the case may be.
----------------------------
-
๑. หมายเหตุ สำหรับเอกสารประกอบที่ว่านี้ โปรดดูความตกลงสมบูรณ์แบบกับบริเตนใหญ่ ↩
-
๒. N.B. For the enclosure mentioned see Formal Agreement with Great Britain. ↩
-
๓. หมายเหตุ สำหรับเอกสารประกอบที่ว่านี้ โปรดดูความตกลงสมบูรณ์แบบกับบริเตนใหญ่ ↩
-
๔. N.B. For the enclosure mentioned see Formal Agreement with Great Britain. ↩