ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุด ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย

ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุด

ระหว่าง

รัฐบาลแห่งประเทศไทย กับ รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย

ลงนาม ณ กรุงเทพ ฯ

วันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๙

----------------------------

FINAL PEACE AGREEMENT

BETWEEN

THE GOVERNMENT OF SIAM AND

THE GOVERNMENT OF AUSTRALIA

SIGNED AT BANGKOK ON 3RD APRIL, 1946.

ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุดระหว่างรัฐบาล

แห่งออสเตรเลียกับรัฐบาลแห่งประเทศไทย

โดยที่ตามประกาศซึ่งได้กระทำ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทย ว่า การประกาศสงครามซึ่งประเทศไทยได้กระทำเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๒ ต่อสหราชอาณาจักรเป็นโมฆะ ด้วยเหตุที่ได้กระทำไปโดยขัดกับเจตจำนงของประชาชนชาวไทย และเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของประเทศไทย และ

โดยที่ในวันเดียวกัน ประกาศลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ดังกล่าวแล้ว ได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย และ

โดยที่รัฐบาลแห่งประเทศไทยได้บอกปฏิเสธพันธไมตรี ซึ่งประเทศไทยได้กระทำกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ กับทั้งบรรดาสนธิสัญญา กติกาสัญญาหรือความตกลงอื่น ๆ ซึ่งได้กระทำไว้ระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น และ

โดยที่อนุวรรตน์ตามความตกลงสมบูรณ์แบบ ฉบับวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖ ระหว่างรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร และรัฐบาลอินเดียฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลแห่งประเทศไทยอีกฝ่ายหนึ่ง สถานะสงครามซึ่งมีอยู่ระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย และระหว่างอินเดียกับประเทศไทยได้สิ้นสุดลงแล้ว และ

โดยที่สถานะสงครามระหว่างออสเตรเลียกับประเทศไทย มีอยู่โดยอนุวรรตน์ตามประกาศของผู้สำเร็จราชการออสเตรเลีย ฉบับวันที่ ๒ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๒ และ

โดยที่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย คำนึงถึงการกระทำในการบอกปฏิเสธ ซึ่งรัฐบาลแห่งประเทศไทยได้กระทำไปแล้ว และถึงความอุปการะที่ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านในประเทศไทย ได้อำนวยให้ระหว่างสงครามกับญี่ปุ่น และอนุวรรตน์ตามคำมั่นที่มีอยู่ในหนังสือความตกลงซึ่งผู้มีอำนาจเต็มของออสเตรเลีย และประเทศไทยได้แลกเปลี่ยนกัน ณ สิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖ จึงมีความปรารถนาที่จะให้สถานะสงครามระหว่างออสเตรเลีย กับประเทศไทยสิ้นสุดลงโดยทันที

ฉะนั้น รัฐบาลแห่งออสเตรเลียฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลแห่งประเทศไทยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีความปรารถนาที่จะกลับสถาปนาสันติภาพตามมูลฐานอันยุติธรรมและเป็นธรรมระหว่างประเทศแต่ละฝ่าย จึงได้ตกลงกระทำความตกลงเพื่อความมุ่งประสงค์ดังกล่าว และเพื่อการนี้ ได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็ม คือ

/*912ฝ่ายรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย

นายแฟรงก์ คีท ออฟฟิเซอร์, โอ. บี. อี., เอม ซี.,

รัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม;

ฝ่ายรัฐบาลแห่งประเทศไทย

นายดิเรก ชัยนาม, ป.ช., ป.ม.,

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ผู้ซึ่ง เมื่อได้ส่งหนังสือมอบอำนาจเต็มให้แก่กันและกัน และได้ตรวจเห็นว่า เป็นไปตามแบบที่ดีและถูกต้องแล้ว ได้ทำความตกลงกันดังต่อไปนี้

ข้อ ๑.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยตกลงว่า จะบอกปฏิเสธบรรดากระบวนการเนื่องจากการประกาศสงครามดังกล่าวแล้วข้างต้น อันมีผลเป็นการเสียหายแก่ออสเตรเลีย และฝ่ายพันธมิตร และจะจัดบรรดากระบวนการทางนิติบัญญัติ และทางปกครองที่จำเป็น เพื่อให้เป็นผลแก่การบอกปฏิเสธเช่นว่านั้น

ข้อ ๒.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยรับว่า จะกระทำข้อตกลงอันเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย เพื่อการบำรุงรักษาที่ฝังศพสงครามฝ่ายออสเตรเลีย และเพื่อการจัดตั้งกับการดูแลในภายหน้า บรรดาสุสานสงครามฝ่ายออสเตรเลียในประเทศไทย

ข้อ ๓.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยรับว่า จะให้ความช่วยเหลือทุกประการ ในการจับกุมบุคคลในอำนาจศาลของตน ซึ่งต้องสงสัยโดยชอบด้วยเหตุผลว่า ได้กระทำอาชญากรรมสงครามต่อชาวออสเตรเลีย

ข้อ ๔.

(ก) รัฐบาลแห่งประเทศไทยตกลงว่า จะยอมรับผิดชอบในการพิทักษ์รักษา และคืนในสภาพไม่เสื่อมเสีย บรรดาทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์ทุกชนิดในประเทศไทย ของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย และของชาวออสเตรเลีย ไม่ว่าจะถือไว้ในฐานบุคคลเอกชน หรือในฐานที่เป็นสมาชิกในห้าง, หุ้นส่วน หรือบริษัท จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม และในการใช้ค่าทดแทนให้แก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย เพื่อความวินาศหรือความบุบสลายที่ได้รับเกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์เหล่านั้น อันเป็นค่าทดแทนที่ปรากฏแก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย หรือสภากรรมการ คณะกรรมการ หรือคณะกรรมาธิการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ว่าเป็นการสมควรและเพียงพอ

(ข) คำว่า “ทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์” ให้กินความรวมตลอดถึงทรัพย์สินทางราชการของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ทรัพย์สินที่ได้โอนกรรมสิทธิ์ภายหลังวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ บรรดาสต๊อกดีบุกและโภคภัณฑ์อื่น ๆ และบรรดาสัญญาเช่า และสัมปทานที่ให้ไว้แก่ห้างร้านหรือบุคคลเอกชนฝ่ายออสเตรเลียก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ และยังคงสมบูรณ์อยู่ในวันนั้น

ข้อ ๕.

รัฐบาลแห่งประเทศไทย -

(ก) แถลงว่าเป็นโมฆะบรรดาหลักสิทธิ, สิทธิ และผลประ โยชน์ซึ่งรัฐบาลแห่งประเทศไทย หรือคนในบังคับของตน ได้มาภายหลังวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ ในอาณาเขตนอกประเทศไทย เนื่องในทรัพย์สิน รวมทั้งเงินตรา ของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย หรือของชาวออสเตรเลีย ไม่ว่าจะถือไว้ในฐานบุคคลเอกชนหรือในฐานที่เป็นสมาชิกในห้าง, หุ้นส่วน หรือบริษัท จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เท่าที่แสดงหลักฐานได้ว่า ได้ให้ค่าอันเป็นธรรมเป็นการแลกเปลี่ยนกันแล้ว

(ข) จะได้คืนบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้น ซึ่งได้ย้ายเอาไปจากอาณาเขตเหล่านี้ และ

(ค) จะได้ใช้ค่าทดแทนให้แก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย เพื่อความวินาศหรือความบุบสลาย เนื่องด้วยเหตุแห่งกิจการกระทำของไทยแก่ทรัพย์สิน สิทธิ และผลประโยชน์ฝ่ายออสเตรเลียในอาณาเขตเหล่านี้ อันเป็นค่าทดแทนที่ปรากฏแก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย หรือสภากรรมการ คณะกรรมการ หรือคณะกรรมาธิการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ว่าเป็นการสมควรและเพียงพอ

ข้อ ๖.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยตกลงว่า จะเลิกการพิทักษ์ธุรกิจการพาณิชย์, การเหมืองแร่ และอื่น ๆ ของฝ่ายออสเตรเลีย และยอมให้กลับดำเนินธุรกิจต่อไป

ข้อ ๗.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยรับว่า จะรับผิดชอบในการใช้เงินเต็มจำนวนสำหรับบรรดาบำนาญ ซึ่งค้างชำระอยู่แก่ชาวออสเตรเลีย การใช้เงินนี้ให้รวมทั้งดอกเบี้ยบรรดาเงินค้างชำระตามอัตราที่สมควร

ข้อ ๘.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยรับว่า จะใช้ค่าทดแทนให้แก่ชาวออสเตรเลีย ซึ่งรัฐบาลแห่งประเทศไทย หรือตัวแทน หรือคนในบังคับของตนได้กักหรือกักคุมไว้ อันเป็นค่าทดแทนที่ปรากฏแก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย หรือสภากรรมการ คณะกรรมการ หรือคณะกรรมาธิการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบของรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ว่า เป็นการสมควรและเพียงพอ เพื่อความวินาศหรือความเสียหายใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการกักหรือกักคุมนั้น และให้แก่ผู้ที่อยู่ในอุปการะของชาวออสเตรเลีย บรรดาที่ถึงแก่ความตายเนื่องด้วยเหตุแห่งการกระทำของรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือตัวแทนหรือคนในบังคับของตน

ข้อ ๙.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยยอมรับนับถือความสำคัญของประเทศ ไทยต่อการป้องกัน, ความมั่นคง และความเป็นอยู่ด้วยดี ของอาเซียตะวันออกเฉียงใต้, เขตแคว้นมหาสมุทรอินเดีย และออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเขตแคว้นปาซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้โดยทั่วไป จึงตกลงว่า ถ้าได้รับคำร้องขอให้กระทำดังนั้น ก็จะมีส่วนร่วมในกระบวนการร่วมมือส่วนภูมิภาคในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ อันชอบด้วยหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และเกี่ยวกับประเทศหรือเขตแคว้นที่ระบุไว้

ข้อ ๑๐.

(๑) รัฐบาลแห่งประเทศไทยรับว่า ถ้าได้รับคำร้องขอให้กระทำดังนั้นก็จะเจรจากับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย เพื่อทำสนธิสัญญาการตั้งถิ่นฐาน การพาณิชย์ และการเดินเรือ และความตกลงการกงสุล ตามมูลฐานแห่งการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน ในสนธิสัญญาและความตกลงเช่นว่านี้ จะให้ชาวออสเตรเลียได้รับสิทธิและผลปฏิบัติอันเป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ให้แก่คนในบังคับและพลเมืองของประเทศอื่นใด

(๒) ในระหว่างที่ยังไม่ได้ทำสนธิสัญญา การตั้งถิ่นฐานการพาณิชย์และการเดินเรือ และความตกลงการกงสุลเช่นว่านั้นให้เสร็จ รัฐบาลแห่งประเทศไทยจะ

(ก) ให้ผลประโยชน์ทางพาณิชย์, ทางอุตสาหกรรม และทางทะเลของฝ่ายออสเตรเลีย ได้รับผลปฏิบัติอันเป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ให้แก่ผลประโยชน์เช่นเดียวกันของประเทศอื่นใด และ

(ข) ให้ผู้แทนทางกงสุลใด ๆ ของฝ่ายออสเตรเลีย ซึ่งจะพึงได้รับแต่งตั้งให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ได้รับสิทธิเอกสิทธิ์ และความคุ้มกันอันเป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ให้แก่ผู้แทน เช่นเดียวกับของประเทศอื่นใด

ข้อ ๑๑.

เพื่อส่งเสริมผลประโยชนแห่งออสเตรเลีย และประเทศไทยให้ได้ผลยิ่งขึ้น รัฐบาลแห่งประเทศไทยรับว่า ในระหว่างที่ยังไม่ได้เจรจาสนธิสัญญาดังกล่าวไว้ในข้อ ๑๐ (๑) จะแจ้งความ และเมื่อได้รับคำร้องขอดังนั้น ก็จะหารือกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย เกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศใด ๆ ที่เสนอขึ้นเนื่องด้วย ดีบุก ยาง น้ำมัน หรือโภคภัณฑ์อื่น ๆ และรับว่า จะไม่ทำข้อตกลงเช่นว่านั้นให้เสร็จ นอกจากจะได้ให้โอกาสแก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ที่จะเข้าเป็นภาคีด้วย

ข้อ ๑๒.

รัฐบาลแห่งประเทศไทยจะได้ให้สายการเดินอากาศฝ่ายพลเรือนแห่งออสเตรเลียได้รับผลปฏิบัติในเรื่องการจัดตั้ง, บำรุงรักษา และเดินสายการเดินอากาศเป็นระเบียบประจำ ซึ่งเป็นการอนุเคราะห์ ไม่น้อยกว่าที่ให้แก่อิมปีเรียล แอร์เวย์ส โดยหนังสือที่ได้แลกเปลี่ยนกัน ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๓๗

ข้อ ๑๓.

รัฐบาลแห่งประเทศไทย และรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย รับรู้ว่า สิทธิที่ให้และหน้าที่ที่บังคับแก่ตน หรือคนในบังคับของตน ตามความในสนธิสัญญา ความตกลง และอนุสัญญา ซึ่งผูกพันรัฐบาลทั้งสองอยู่ ณ วันก่อนวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ ย่อมคงมีอยู่โดยมีค่าบังคับและมีผลอย่างเดียวกับที่มีอยู่ ณ วันก่อนวันที่ว่านั้น และสิทธิที่ให้และหน้าที่ที่บังคับเช่นว่านั้น จะได้ถือตามและรักษาไว้จนกว่ารัฐบาลทั้งสองจะได้เจรจา และตกลงทำสนธิสัญญา ความตกลง และอนุสัญญากันใหม่

ข้อ ๑๔.

โดยคำนึงถึงคำมั่นสัญญาซึ่งรัฐบาลแห่งประเทศไทยให้ไว้ข้างบนนี้ รัฐบาลแห่งออสเตรเลียตกลงว่าจะจัดการในทันใด ตามที่จำเป็น เพื่อให้สถานะสงครามที่มีอยู่ระหว่างออสเตรเลียกับประเทศไทยสุดสิ้นลง และจะดำเนินการทันทีในอันจะกลับเจริญความสัมพันธ์ทางไมตรีกับประเทศไทย

ข้อ ๑๕.

ความตกลงนี้ให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ได้ลงนามและประทับตราความตกลงนี้ไว้เป็นสำคัญ

ทำคู่กันเป็นสองฉบับ เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่สาม เมษายน คริสตศักราชพันเก้าร้อยสี่สิบหก ตรงกับพุทธศักราชสองพันสี่ร้อยแปดสิบเก้า

(ลงนามและประทับตรา) ดิเรก ชัยนาม

(ลงนามและประทับตรา) คีท ออฟฟิเซอร์

 

FINAL PEACE AGREEMENT

BETWEEN THE GOVERNMENT OF

AUSTRALIA AND THE GOVERNMENT OF SIAM

WHEREAS by a proclamation made in Bangkok on 16th August, 1945, the Regent of Siam did, in the name of His Majesty the King of Siam, proclaim the declaration of war made by Siam on 25th January, 1943, against the United Kingdom to be null and void in that it was made contrary to the will of the Siamese people and in violation of the constitution and laws of Siam, and

WHEREAS the proclamation of 16th August, 1945, aforesaid was the same day unanimously approved dy the National Assembly of Siam, and

WHEREAS the Government of Siam have repudiated the alliance entered into by Siam with Japan on 21st December, 1941, together with all other Treaties, Pacts, or Agreements concluded between Siam and Japan, and

WHEREAS, in pursuance of the formal agreement of 18t January, 1946, between the Government of the United Kingdom and the Government of India on the one hand and the Government of Siam on the other, the state of war existing between the United Kingdom and Siam and between India and Siam has been terminated, and

WHEREAS a state of war between Australia and Siam exists in pursuance of a proclamation by the Governor - General of Australia of 2nd March, 1943, and

WHEREAS the Government of Australia, taking into account the acts of repudiation already effected by the Government of Siam and the services rendered by the resistance movement in Siam daring the war with Japan, and in pursuance of the assurances contained in letters of agreement exchanged at Singapore on 1st January, 1946, by the plenipotentiaries of Australia and Siam, desire to bring to an immediate end the state of war between Australia and Siam,

NOW, THEREFORE, the Government of Australia on the one hand and the Government of Siam on the other, being desirous of re-establishing on a just and equitable basis peace between their respective countries, have resolved to conclude an agreement for these purposes and have accordingly appointed as their plenipotentiaries :

/*913Government of Australia :

Mr. Frank Keith Officer, O.B.E., M.C.,

an Envoy Extraordinary and Minister Plenipotentiary ;

Government of Siam :

Nai Direck Jayanima, G.C.W.E., G.C.C.S.,

Minister of Foreign Affairs ;

WHO, having communicated their full powers, found in good and due form, have agreed as follows :-

ARTICLE I.

The Government of Siam agree to repudiate all measures pursuant to the above-mentioned declaration of war operating to the detriment of Australia and her allies and to take all necessary legislative and administrative measures to give effect to such repudiation.

ARTICLE II.

The Government of Siam undertake to enter into arrangements acceptable to the Government of Australia for the up-keep of Australia war graves and for the establishment and future care of Australian war cemeteries in Siam.

ARTICLE III.

The Government of Siam undertake to render every assistance in the apprehension of persons in their jurisdiction reasonably suspected of having committed war crime against Australians.

ARTICLE IV.

(a) The Government of Siam agree to assume responsibility for safeguarding, maintaining and restoring unimpaired the property rights and interests of all kinds in Siam of the Government of Australia and of Australians whether held by them individually or as members of firms, partnerships or companies whether incorporated or unincorporated and for the payment to the Government of Australia of such compensation for loss or damage suffered in respect thereof as appears reasonable and adequate to the Government of Australia or to a Board, Committee or Commission approved by the Government of Australia ;

(b) The term “property rights and interests” shall include inter alia the official property of the Government of Australia, property whose ownership has been transferred since 8th December, 1941, all stocks of tin and other commodities and all leases and concessions granted to Australian firms or individuals prior to 8th December, 1941, and still valid at that date.

ARTICLE V.

The Government of Siam –

(a) declare as null and void all titles, rights and interests acquired since 8th December, 1941, in territories outside Siam by the Government of Siam or by their subjects in and to property, including currency, of the Government of Australia or of Australians whether held by them individually or as members of firms, partnerships or companies whether incorporated or unincorporated, except to the extent to which it can be established that fair value has been given in exchange ;

(b) shall restore all such property removed from these territories ; and

(c) shall pay to the Government of Australia for loss or damage occasioned by Siamese activity to Australian property rights and interests in these territories such compensation as appears reasonable and adequate to the Government of Australia or to a Board, Committee or Commission approved by the Government of Australia.

ARTICLE VI.

The Government of Siam agree to desequestrate Australian commercial, mining and other concerns and to permit them to resume business.

ARTICLE VII.

The Government of Siam undertake to accept responsibility for the payment in full of all pensions due by them to Australians, payment to include interest at an appropriate rate on all arrears.

ARTICLE VIII.

The Government of Siam undertake to pay to Australians detained or interned by the Government of Siam or their agents or subjects, compensation which appears reasonable and adequate to the Government of Australia or to a Board, Committee or Commission approved by the Government of Australia, for any loss or injury sustained by them as a result of their detention or internment, and to the dependents of any such Australians whose death was occasioned by the acts of the Government of Siam or their agents or subjects.

ARTICLE IX.

The Government of Siam, recognising the importance of Siam to the defence, security and well-being of South-East Asia, the Indian Ocean area, and Australia, New Zealand and the South West Pacific area generally, agree to participate, if requested to do so, in measures of regional political and economic co-operation consistent with the principles of the United Nations Charter and relating to the countries or areas specified.

ARTICLE X.

(1) The Government of Siam undertake to negotiate with the Government of Australia if requested to do so a Treaty of Establishment, Commerce and Navigation and a Consular Agreement upon a basis of reciprocity. In such treaty and agreement Australians will be given rights and treatment not less favourable than those given to subjects and citizens of any other country.

(2) Pending completion of such Treaty of Establishment, Commerce and Navigation and such Consular Agreement, the Government of Siam will -

(a) accord to Australian commercial, industrial and maritime interests treatment not less favourable than that accorded to similar interests of any other country ; and

(b) accord to any Australian Consular Representatives who may be appointed to reside in Siam rights, privileges and immunities not less favourable than those accorded to similar representatives of any other country.

ARTICLE XI.

With a view to the more effective promotion of the interests of Australia and Siam the Government of Siam undertake, pending the negotiation of the Treaty referred to in Article X (1), to inform and when so requested to confer with the Government of Australia regarding any proposed international arrangements relation to tin, rubber, oil or other commodities and undertake not to complete such arrangements unless the Government of Australia has been given an opportunity to become a party thereto.

ARTICLE XII.

The Government of Siam shall accord to the civil air services of Australia treatment in regard to the establishment, maintenance and operation of regular air services not less favourable than that accorded to Imperial Airways by the Notes exchanged at Bangkok on 3rd December, 1937.

ARTICLE XIII.

The Government of Siam and the Government of Australia acknowledge that the rights conferred and the duties imposed upon them or their subjects under treaties, agreements and conventions by which the two Governments were bound immediately prior to 8th December, 1941, shall continue with the same force and effect as obtained immediately prior to that date, and the rights so conferred and the duties so imposed shall be observed and maintained until new treaties, agreements and conventions are negotiated and agreed upon by the two Governments.

ARTICLE XIV.

In consideration of the above andertakings made by the Government of Siam the Government of Australia agree to take immediately such steps as may be necessary to terminate the state of war existing between Australia and Siam and to proceed at once to the resumption of friendly relations with Siam.

ARTICLE XV.

This agreement shall enter into force as from today’s date.

IN WITNESS thereto the undersigned have signed the present agreement and have affixed thereto their seals.

DONE in duplicate in the English and Siamese languages at Bangkok this third day of April in the one thousand nine hundred and forty-sixth year of the Christian era, corresponding to the two thousand four hundred and eighty-ninth year of the Buddhist era.

(L.S.) Direck Jayanâma.

(L.S.) Keith Officer.

(จาก นายดิเรก ชัยนาม ถึง นายคีท ออฟฟิเซอร์)

คำแปล

กระทรวงการต่างประเทศ

วังสราญรมย์

๓ เมษายน ๑๕๔๖

ท่านอัครราชทูต

อนุสนธิความตกลงสันติภาพฉบับที่สุด ระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทย กับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ซึ่งลงนามกันวันนี้ ข้าพเจ้าขอแจ้งความเข้าใจของรัฐบาลแห่งประเทศไทยดังต่อไปนี้

ก. ข้อ ๔, ข้อ ๕. และข้อ ๘. -

วิธีพิจารณาที่จะใช้สำหรับกำหนดจำนวน เนื่องในคำเรียกร้องเพื่อค่าทดแทนของฝ่ายออสเตรเลีย จะเป็นทำนองเดียวกับที่ใช้สำหรับกำหนดจำนวนเนื่องในคำเรียกร้องของฝ่ายสหราชอาณาจักร

ข. ข้อ ๑๑. -

๑. ข้อนี้ไม่มีวัตถุประสงค์อย่างใด นอกจากการส่งเสริมผลประโยชน์แห่งออสเตรเลียและประเทศไทยให้ได้ผลยิ่งขึ้น ทั้งนี้ไม่มีเจตนาแต่อย่างใดที่จะให้เสื่อมเสียสิทธิอธิปไตยของประเทศไทย นายแฟรงก์ คีต ออฟฟิเซอร์, โอ. บี. อี., เอม.ซี.,

รัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มแห่งออสเตรเลีย

กรุงเทพฯ

๒. รัฐบาลแห่งประเทศไทยยอมรับข้อนี้ก็ด้วยความคาดหมายว่า การเจรจาสนธิสัญญาดังกล่าวไว้ในข้อนี้ จะกระทำกันภายในสามปี

๓. คำว่า “ข้อตกลงระหว่างประเทศ” หมายถึงข้อตกลงหลายฝ่ายระหว่างรัฐบาล

๔. คำว่า “โภคภัณฑ์อื่น ๆ” หมายถึง “ผลิตภัณฑ์มุขสำคัญอื่น ๆ ของประเทศไทย” กล่าวคือ ข้าวและไม้สัก

๕. ในเมื่อรัฐบาลแห่งประเทศไทย ได้แจ้งความให้ทราบข้อตกลงระหว่างประเทศอันใดที่เสนอขึ้นตามความในข้อนี้ รัฐบาลแห่งออสเตรเลียจะแจ้งแก่รัฐบาลแห่งประเทศไทยโดยเร็วที่สุดที่จะกระทำได้ ว่ารัฐบาลแห่งออสเตรเลียสนใจหรือไม่

ในกรณีที่รัฐบาลแห่งออสเตรเลียสนใจ รัฐบาลแห่งประเทศไทยจะแจ้งความให้รัฐบาลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบตามนั้น เพื่อจะให้โอกาสแก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลียที่จะเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงระหว่างประเทศที่เสนอขึ้นนั้น

แต่ทว่า ถ้าหากรัฐบาลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ตกลงตามนั้น จะถือว่ารัฐบาลแห่งประเทศไทย ได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันตามความในข้อนี้แล้ว และจะดำเนินการทำข้อตกลงระหว่างประเทศที่เสนอขึ้นนั้นให้เสร็จไปก็ได้

ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างยิ่งมายังท่านอัครราชทูต

(ลงนาม) ดิเรก ชัยนาม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

(Nai Direct Jayanâma to Monsieur Keith Officer.)

Ministry of Foreign Affairs,

Saraprom Palace.

3rd. April, 1946.

Monsieur le Ministre,

With reference to the Final Peace Agreement between the Government of SIAM and the Government of AUSTRALIA, signed this day, I have the honour to state the understanding of the Government of SIAM as follows :

A. Article IV, Article V and Article VIII.-

The procedure to be adopted for the assessment of Australian claims for compensation will be analogous to that adopted for the assessmet of the United Kingdom claims.

B. Article XI.-

1. This Article has no object other than the more effective promotion of the interests of AUSTRALIA and SIAM : it is not intended in any way to impair the sovereign rights of Siam.

Monsieur Frank Keith Officer, O.B.E., M.C.,

Envoy Extraordinary and Minister Plenipotentiary of Australia,

BANGKOK.

2. It has been accepted by the Government of Siam in the expectation that the negotiation of the treaty therein referred to will take place within three years.

3. The term “international arrangements” refers to multilateral arrangements between Governments.

4. The term other commodities refers to other principal products of Siam , that is to say, rice and teak.

5. On being informed by the Government of Siam of any proposed international arrangement under this Article, the Government of Australia will notify the Government of Siam with the least possible delay whether they are interested or not.

In case they are interested, the Government of Siam will inform the other Governments concerned accordingly, to the end that an opportunity may be given to the Government of Australia to become a party to the proposed international arrangement in question.

In the event, however, of the other Governments concerned not agreeing thereto, the Government of Siam will be deemed to have discharged its obligation under this Article and may then proceed with the completion of the proposed international arrangement in question.

I avail myself of this opportunity, Monsieur le Ministre, to express to you the assurance of my highest consideration.

(Signed) Direck Jayanâma.

Minister of Foreign Affairs.

(จาก นายคีท ออฟฟิเซอร์ ถึง นายดิเรก ชัยนาม)

คำแปล

กรุงเทพฯ

๓ เมษายน ๑๙๔๖

ฯ พณ ฯ

อนุสนธิความตกลงสันติภาพฉบับที่สุดระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ซึ่งลงนามกันวันนี้ ข้าพเจ้าขอรับทราบความเข้าใจของรัฐบาลแห่งประเทศไทยไว้ดังต่อไปนี้

ก. ข้อ ๔, ข้อ ๕ และข้อ ๘.-

วิธีพิจารณาที่จะใช้สำหรับกำหนดจำนวนเนื่องในคำเรียกร้องเพื่อค่าทดแทนของฝ่ายออสเตรเลีย จะเป็นทำนองเดียวกับที่ใช้สำหรับกำหนดจำนวนเนื่องในคำเรียกร้องของฝ่ายสหราชอาณาจักร

ข. ข้อ ๑๑.-

๑. ข้อนี้ไม่มีวัตถุประสงค์อย่างใดนอกจากการส่งเสริมผล ประโยชน์แห่งออสเตรเลียและประเทศไทยให้ได้ผลยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ไม่มีเจตนาแต่อย่างใดที่จะให้เสื่อมเสียสิทธิอธิปไตยของประเทศไทย

๒. รัฐบาลแห่งประเทศไทยยอมรับข้อนี้ ก็ด้วยความคาดหมายว่า การเจรจาสนธิสัญญาดังกล่าวไว้ในข้อนี้ จะกระทำกันภายในสามปี

๓. คำว่า “ข้อตกลงระหว่างประเทศ” หมายถึงข้อตกลง หลายฝ่ายระหว่างรัฐบาล

๔. คำว่า “โภคภัณฑ์อื่น ๆ” หมายถึง “ผลิตภัณฑ์มุขสำคัญอื่น ๆ ของประเทศไทย” กล่าวคือ ข้าวและไม้สัก

๕. ในเมื่อรัฐบาลแห่งประเทศไทยได้แจ้งความให้ทราบข้อตกลงระหว่างประเทศอันใดที่เสนอขึ้นตามความในข้อนี้ รัฐบาลแห่งออสเตรเลียจะแจ้งแก่รัฐบาลแห่งประเทศไทยโดยเร็วที่สุดที่จะกระทำได้ ว่ารัฐบาลแห่งออสเตรเลียสนใจหรือไม่

ในกรณีที่รัฐบาลแห่งออสเตรเลียสนใจ รัฐบาลแห่งประเทศไทยจะแจ้งความให้รัฐบาลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบตามนั้น เพื่อจะให้โอกาสแก่รัฐบาลแห่งออสเตรเลียที่จะเข้าเป็นภาคีในข้อตกลงระหว่างประเทศที่เสนอขึ้นนั้น

แต่ทว่า ถ้าหากรัฐบาลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ตกลงตามนั้น จะถือว่ารัฐบาลแห่งประเทศไทยได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันตามความในข้อนี้แล้ว และจะดำเนินการทำข้อตกลงระหว่างประเทศที่เสนอขึ้นนั้นให้เสร็จไปก็ได้

ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างยิ่งมายัง ฯพณฯ

(ลงนาม) คีท ออฟฟิเซอร์

ฯพณฯ

นายดิเรก ชัยนาม ป.ช., ป.ม.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

(Monsieur Keith Officer to Nai Direck Jayanâma)

BANGKOK.

3rd. April, 1946.

Your Excellency,

With reference to the Final Peace Agreement between the Government of SIAM and the Government of AUSTRALIA, signed this day,

I have the honour to note the understanding of the Government of SIAM as follows:

A. Article IV, Article V and Article VIII.

The procedure to be adopted for the assessment of Australian claims for compensation will be a palogous to that adopted for the assessment of the United Kingdom claims.

B. Article XI.

1. This Article has no object other than the more effective promotion of the interests of AUSTRALIA and SIAM: it is not intended in any way to impair the sovereign rights of SIAM.

His Excellency,

Nai DIRECK Jayanâma, G.C.W.E., G.C.C.S.,

Minister of Foreign Affairs.

2. It has been accepted by the Government of SIAM in the expectation that the negotiation of the treaty therein referred to will take place within three years.

3. The term international arrangements refers to multilateral arrangements between Governments.

4. The term other commodities refers to other principal products of SIAM , that is to say, rice and teak.

5. On being informed by the Government of SIAM of any proposed international arrangement under this Article, the Government of AUSTRALIA will notify the Government of SIAM with the least possible delay whether they are interested or not.

In case they are interested, the Government of SIAM will inform the other Governments concerned occordingly, to the end that an opportunity may be given to the Government of AUSTRALIA to become a party to the proposed international arrangement in question.

In the event, however, of the other Governments conoerned not agreeing thereto, the Government of SIAM will be deemed to have discharged its obligation under this Article and may then proceed with the completion of the proposed international arrangement in question.

I avail myself of this opportunity to express to Your Excellency the assurance of my highest consideration.

(Signed) Keith Officer

(จาก นายดิเรก ชัยนาม ถึง นายคีท ออฟฟิเซอร์) คำแปล

กระทรวงการต่างประเทศ

วังสราญรมย์

๓ เมษายน ๑๙๔๖

ท่านอัครราชทูต

อนุสนธิความตกลงสันติภาพฉบับที่สุดที่ลงนามกันวันนี้ระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ซึ่งได้ทำเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยนั้น ข้าพเจ้าขอแจ้งความแก่ท่านว่า ในกรณีที่มีความแตกต่างกันอย่างใดในการตีความให้บังคับตามตัวบทภาษาอังกฤษ

ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างยิ่งมายังท่านอัครราชทูต

(ลงนาม) ดิเรก ชัยนาม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายแฟรงก์ คีท ออฟฟิเซอร์, โอ.บี.อี., เอม.ซี.,

รัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มแห่งออสเตรเลีย

กรุงเทพฯ

(Nai Dircck Jayanâma to Monsieur Keith Officer.)

Ministry of Foreign Affairs

Saranrom Palace.

3rd. April, 1946.

Monsieur le Ministre,

With reference to the Final Poace Agreement signed this day between the Government of Siam and the Government of Australia, which is drawn up in the English and Siamese languages, I have the honour to inform you that, in case of any divergence of interpretation, the English text shall be authoritative.

I avail myself of this opportunity, Monsieur le Ministro, to oxpress to you the assurance of my highest consideration.

(Signed) Direck Jayanâma

Minister of Foreign Affairs.

Monsieur Frank Keith Offioor, O.B.E., M.C.,

Envoy Extraordiuary and Minister Plenipotentiary

of Australia,

BANGKOK

(จาก นายคีท ออฟฟิเซอร์ ถึง นายดิเรก ชัยนาม)

คำแปล

กรุงเทพ ฯ

๓ เมษายน ๑๙๔๖

ฯ พณ ฯ

อนุสนธิความตกลงสันติภาพฉบับที่สุดที่ลงนามกันวันนี้ระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลีย ซึ่งได้ทำเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยนั้น ข้าพเจ้าขอรับทราบคำมั่นของท่านไว้ว่า ในกรณีที่มีความแตกต่างกันอย่างใดในการตีความ ให้บังคับตามตัวบทภาษาอังกฤษ

ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างยิ่งมายัง ฯพณฯ

(ลงนาม) คีท ออฟฟิเซอร์

ฯ พณ ฯ

นายดิเรก ชัยนาม, ป.ช., ป.ม.,

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

(Monsieur Keith Officer to Nai Direck Jayanâma)

BANGKOK.

3rd. April, 1946.

Your Excellency.

With reference to the Final Peace Agreement signed this day between the Government of SIAM and the Government of AUSTRALIA, which is drawn up in the English and Siamese languages, I have the honour to note your assurance that, in case of any divergence of interpretation, the English text shall be authoritative.

I avail myself of this opportunity to express to Your Excellency the assurance of my highest consideration.

(Signed) Keith Officer.

His Excellency,

Nai DIRECK JAYANÂMA, G.C.W.E, G.C.C.S.,

Minister of Foreign Affairs.

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ