- พระพุทธภาษิต
- ผู้เขียนขออุทิศ...
- คำนำในการพิมพ์ครั้งที่สอง
- คำนำในการพิมพ์ครั้งแรก
- ภาคหนึ่ง เริ่มสงครามด้านยุโรป ถึงเริ่มสงครามด้านเอเซีย
- ภาคสอง ระหว่างสงคราม
- บทที่ ๑ ไปญี่ปุ่น
- บทที่ ๒ สถานการณ์ทั่ว ๆ ไปของญี่ปุ่นก่อนเกิดสงคราม
- บทที่ ๓ ในญี่ปุ่นระหว่าง มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- บทที่ ๔ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
- บทที่ ๕ เหตุการณ์ระหว่าง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ถึง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- ข้อเขียนของนายทวี บุณยเกตุ
- ข้อเขียนของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
- ข้อเขียนของพระพิศาลสุขุมวิท
- รายชื่อนักเรียนไทยในอเมริกาซึ่งได้สมัครเข้าร่วมงานต่อต้านญี่ปุ่น (คณะเสรีไทยในอเมริกา)
- ภาคสาม หลังสงคราม
- ภาคผนวก
- ๑. สัญญาไม่รุกรานกับฝรั่งเศส
- ๒. สัญญาไม่รุกรานกับอังกฤษ
- ๓. สัญญาไม่รุกรานกับญี่ปุ่น
- ๔. อนุสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศส
- ๕. ความตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ
- ๖. หนังสือแลกเปลี่ยนและหัวข้อความตกลงกับภาคผนวก
- ๗. สนธิสัญญาทางไมตรีกับจีน
- ๘. ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุด ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย
- ๙. ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
- ๑๐. คำแปลรายงานของคณะกรรมการการประนอมฝรั่งเศส-ไทย
- ๑๑. รายงาน ความเห็นคณะกรรมาธิการวิสามัญสอบสวนสะสางทรัพย์สินของชาติ ซึ่งคณะเสรีไทยได้ใช้จ่าย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
คำนำในการพิมพ์ครั้งที่สอง
สำนักพิมพ์แพร่พิทยาได้มาแจ้งความจำนงว่าใคร่ที่จะตีพิมพ์เรื่อง ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกหมดลงเร็วกว่าคาดมาก ข้าพเจ้ายินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ใหม่ได้ โดยถือโอกาสแก้ไขคำผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยบ้าง แต่หาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องหรือข้อความแต่ประการใดไม่
ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจที่มหาชนพากันต้อนรับหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างดี ท่านผู้ใหญ่ในราชการและนอกราชการ ครูอาจารย์ นิสิตนักศึกษา ตลอดจนหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ ก็พากันให้ความสนใจ และแสดงการต้อนรับต่อหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างดี ข้าพเจ้าขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ตลอดจนหนังสือพิมพ์ทั่วไปด้วย ทั้งนี้ด้วยความจริงใจ
ข้าพเจ้าขอกล่าวยืนยันในที่นี้อีกครั้งว่า ที่ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นก็เพื่อประโยชน์ในทางวิชาความรู้เป็นที่ตั้ง เพื่อให้หนังสือนี้เป็นเอกสารอ้างอิงในทางวิชาการได้ ข้าพเจ้าจึงเล่าได้จำเพาะแต่ประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าเผชิญมาเท่านั้น ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ต่อเมื่อมีหนังสือชนิดนี้มาก ๆ นั่นแหละ นักประวัติศาสตร์ในอนาคตก็จะสามารถสรุปผลและวินิจฉัยการกระทำต่าง ๆ ในระยะเวลาที่กล่าวไว้ในหนังสือนี้ได้โดยถูกต้อง
((ดิเรก ชัยนาม))
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๐
๒๕ ซอยสันติสุข ถนนสุขุมวิท