- พระพุทธภาษิต
- ผู้เขียนขออุทิศ...
- คำนำในการพิมพ์ครั้งที่สอง
- คำนำในการพิมพ์ครั้งแรก
- ภาคหนึ่ง เริ่มสงครามด้านยุโรป ถึงเริ่มสงครามด้านเอเซีย
- ภาคสอง ระหว่างสงคราม
- บทที่ ๑ ไปญี่ปุ่น
- บทที่ ๒ สถานการณ์ทั่ว ๆ ไปของญี่ปุ่นก่อนเกิดสงคราม
- บทที่ ๓ ในญี่ปุ่นระหว่าง มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- บทที่ ๔ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
- บทที่ ๕ เหตุการณ์ระหว่าง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ถึง สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
- ข้อเขียนของนายทวี บุณยเกตุ
- ข้อเขียนของนายป๋วย อึ๊งภากรณ์
- ข้อเขียนของพระพิศาลสุขุมวิท
- รายชื่อนักเรียนไทยในอเมริกาซึ่งได้สมัครเข้าร่วมงานต่อต้านญี่ปุ่น (คณะเสรีไทยในอเมริกา)
- ภาคสาม หลังสงคราม
- ภาคผนวก
- ๑. สัญญาไม่รุกรานกับฝรั่งเศส
- ๒. สัญญาไม่รุกรานกับอังกฤษ
- ๓. สัญญาไม่รุกรานกับญี่ปุ่น
- ๔. อนุสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศส
- ๕. ความตกลงสมบูรณ์แบบกับอังกฤษ
- ๖. หนังสือแลกเปลี่ยนและหัวข้อความตกลงกับภาคผนวก
- ๗. สนธิสัญญาทางไมตรีกับจีน
- ๘. ความตกลงสันติภาพฉบับที่สุด ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย
- ๙. ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
- ๑๐. คำแปลรายงานของคณะกรรมการการประนอมฝรั่งเศส-ไทย
- ๑๑. รายงาน ความเห็นคณะกรรมาธิการวิสามัญสอบสวนสะสางทรัพย์สินของชาติ ซึ่งคณะเสรีไทยได้ใช้จ่าย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
บทที่ ๑ ไปญี่ปุ่น
ได้กล่าวในภาคหนึ่ง บทที่ ๕ แล้วว่า เมื่อญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ และเข้าเมืองไทยแล้ว ข้าพเจ้าได้ขอลาออกจากตำแหน่งแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาอีกไม่กี่วัน นายกรัฐมนตรีได้กลับเข้าดำรงตำแหน่งเดิมสองตำแหน่ง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พลเอกมังกร พรหมโยธี กลับลงมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และข้าพเจ้าลงมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในที่สุด ประมาณวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ให้นายพลตำรวจเอกอดุลย์ อดุลยเดชจรัส
ข้าพเจ้ากับนายพลตำรวจเอกอดุลย์ อดุลยเดชจรัส จึงไปพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งเพื่อตอบตกลง ข้าพเจ้าได้เรียนถามนายกรัฐมนตรีว่า ในการให้ข้าพเจ้าไปญี่ปุ่นครั้งนี้ ท่านมีนโยบายจะให้ไปดำเนินอย่างไรบ้าง ท่านนายกรัฐมนตรีตอบว่า แล้วแต่ข้าพเจ้าจะเห็นสมควร อะไรเป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง ก็ทำไปตามนั้น คำสั่งกว้าง ๆ เช่นนี้ข้าพเจ้าได้นำไปตรึกตรองพิจารณา ในที่สุดข้าพเจ้าตัดสินใจว่า ถ้าข้าพเจ้าไม่สามารถติดต่อกับรัฐบาลจอมพลเจียงไคเช็คได้ ข้าพเจ้าก็จะดำเนินนโยบายดังนี้ ๑) ป้องกันเต็มที่ไม่ให้ญี่ปุ่นปฏิบัติกับไทยอย่างเมืองขึ้นหรือทำนองนั้น โดยให้ญี่ปุ่นเห็นว่า ญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์ดีกว่า ๒) เนื่องจากญี่ปุ่นได้ประโยชน์จากไทยไม่น้อย อาทิ การเศรษฐกิจ การเงิน ฯลฯ ตลอดจนยุทธศาสตร์ ฉะนั้น ญี่ปุ่นจะต้องช่วยเหลือไทยตามสมควรเท่าที่จะทำได้ทุกทาง ในขณะเดียวกันจะต้องชี้ให้ญี่ปุ่นเห็นว่า ไทยประเทศเล็กก็จริงแต่ก็สามารถทำประโยชน์ให้ญี่ปุ่นได้ ไม่ใช่ญี่ปุ่นจะเอาข้างเดียวหรือไทยจะเอาข้างเดียว
อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าก็ต้องขอบคุณจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายพลตำรวจเอกอดุลย์ อดุลยเดชจรัส รองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ที่อนุญาตให้ข้าพเจ้าเลือกสรรข้าราชการที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะไปดำเนินงานได้ตามความพอใจทุกอย่าง ข้าพเจ้าจึงได้เลือกผู้มีนามต่อไปนี้ไปด้วย คือ นายทวี ตะเวทิกุล
-
๑. ในขณะนั้นทางตำรวจยังเรียกยศนายพลตำรวจเอก คือใช้คำ “นาย” นำอยู่ ↩
-
๒. พระยาศรีเสนา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี ↩
-
๓. ในการที่ข้าพเจ้าไปญี่ปุ่นครั้งนี้ เซอร์โจซาย ครอสบี้ ทูตอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ “Siam : The Crossroad” หน้า ๑๐๗ ว่า “--นายดิเรกที่ญี่ปุ่นเคยประณามไว้ว่าเป็นเครื่องมือของกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ จำต้องสละตำแหน่ง และถูกบังคับ โดยหลวงพิบูลให้ไปเป็นเอกอัครราชทูตที่โตเกียว แน่นอน ทั้งนี้ญี่ปุ่นต้องการควบคุมการเคลื่อนไหวของเขา--” หนังสือนี้ทูตอังกฤษเขียนระหว่างสงครามเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ↩
-
๔. ในทางปฏิบัติทางการทูต ก่อนตั้งทูต รัฐบาลซึ่งจะส่งทูต ต้องทาบทามขอความเห็นชอบ (agreement) จากรัฐบาลซึ่งทูตจะไปประจำเสียก่อน ↩
-
๕. นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเข้าดำรงตำแหน่งสมาชิกผู้หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ↩
-
๖. ข้าพเจ้าหมายถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม ↩
-
๗. ถึงแก่กรรมแล้ว ↩
-
๘. ปัจุบัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ↩
-
๙. ปัจจุบัน เอกอัครราชทูต ณ กรุงบอนน์ ↩
-
๑๐. ถึงแก่กรรมแล้ว ↩
-
๑๑. ถึงแก่กรรมแล้ว ↩
-
๑๒. ปัจจุบัน เลขานุการโทสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบอนน์ ↩