สนธิสัญญาทางไมตรีกับจีน

สนธิสัญญาทางไมตรี

ระหว่าง

ราชอาณาจักรไทย กับ สาธารณรัฐจีน

ลงนาม ณ กรุงเทพฯ

วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๙

สัตยาบัน ณ จุงกิง

วันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙

ประกาศ

ใช้สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทย

กับสาธารณรัฐจีน

มีพระบรมราชโองการให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

โดยที่สนธิสัญญาทางไมตรี ระหว่าง ราชอาณาจักรไทย กับ สาธารณรัฐจีน ซึ่งได้ลงนามกัน ณ กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ มีบทในข้อ ๑๐ ว่าให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันและ

โดยที่สัตยาบันของทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนกัน ณ จุงกิง เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙

ฉะนั้น สนธิสัญญานี้ จึงเป็นอันใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ปรีดี พนมยงค์

นายกรัฐมนตรี

----------------------------

สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทย

กับสาธารณรัฐจีน

ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐจีน มีความปรารถนาเท่าเทียมกัน ที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางไมตรีระหว่างประเทศทั้งสอง และส่งเสริมผลประโยชน์แห่งกันและกัน ของประชาชาติทั้งสองยิ่งขึ้นอีก จึ่งได้ตกลงทำสนธิสัญญาทางไมตรี โดยอาศัยหลักเสมอภาค และต่างฝ่ายต่างเคารพอธิปไตยของกันและกันเป็นมูลฐาน และเพื่อการนี้ ได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็ม คือ :

ฝ่ายสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย :

ฯพณฯ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ฝ่าย ฯพณฯ ประธานาธิบดีรัฐบาลแห่งชาติของสาธารณรัฐจีน :

ฯพณฯ หลี่ เทียะเจิง เอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็ม ประจำประเทศอิหร่าน

ผู้ซึ่ง เมื่อได้ส่งหนังสือมอบอำนาจเต็มของแต่ละฝ่ายให้แก่กันและกัน และได้ตรวจเห็นว่า เป็นไปตามแบบที่ดีและถูกต้องแล้ว ได้ทำความตกลงกันเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ :

ข้อ ๑. จะได้มีสันติภาพนิรันดร และมิตรภาพตลอดกาลระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐจีน กับทั้งระหว่างประชาชาติทั้งสอง

ข้อ ๒. อัครภาคีผู้ทำสัญญาจะได้มีสิทธิที่จะถ้อยทีถ้อยอาศัยส่งผู้แทนทางทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยถูกต้องไปประจำอีกฝ่ายหนึ่ง ในประเทศแห่งรัฐบาลที่ตนได้รับแต่งตั้งไปประจำนั้น ผู้แทนดังกล่าวจะได้รับสิทธิ เอกสิทธิ ความคุ้มกัน และความยกเว้นทั้งปวงที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปโดยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

ข้อ ๓. อัครภาคีผู้ทำสัญญา แต่ละฝ่ายจะได้มีสิทธิที่จะส่งกงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และพนักงานกงสุล ไปยังบรรดาท้องถิ่นภายในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะได้กำหนดด้วยความตกลงร่วมกัน เจ้าพนักงานกงสุลเช่นว่านี้จะได้ปฏิบัติหน้าที่ และได้รับผลปฏิบัติที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป โดยวิธีปฏิบัติระหว่างประเทศ ก่อนเข้ารับหน้าที่ เจ้าพนักงานกงสุลดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติบัตรจากรัฐบาลแห่งประเทศที่ตนเข้ามาอยู่ อนุมัติบัตรนั้นอยู่ภายใต้บังคับที่รัฐบาลดั่งกล่าวจะถอนเสียก็ได้

อัครภาคีผู้ทำสัญญาจะไม่แต่งตั้งบุคคล ซึ่งประกอบการอุตสาหกรรมหรือการพาณิชย์เป็นเจ้าพนักงานกงสุลของตน

ข้อ ๔. คนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญา แต่ละฝ่ายจะได้มีเสรีภาพ ที่จะเข้ามาในหรือออกไปจากอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขอย่างเดียวกันกับคนชาติของประเทศที่สามใด ๆ ตามกฎหมายและข้อบังคับแห่งประเทศพื้นเมืองที่ใช้แก่คนต่างด้าวทั้งปวง

ข้อ ๕. คนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายจะได้รับความคุ้มครองและความมั่นคงเป็นเนืองนิจในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งสำหรับตัวตนและทรัพย์สินของตน และในการนี้จะได้รับสิทธิและเอกสิทธิอย่างเดียวกันกับคนชาติของอัครภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ภายใต้บังคับแห่งการปฏิบัติตามบรรดากฎหมายและข้อบังคับอย่างเดียวกัน

คนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่าย จะได้รับผลปฏิบัติในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับอรรถคดีทั้งปวงและในเรื่องเกี่ยวกับการบริรักษ์ความยุติธรรม และการเรียกเก็บภาษี และข้อที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการนั้น อันเป็นผลปฏิบัติที่เป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ให้แก่คนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

ข้อ ๖. คนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายจะได้มีสิทธิที่จะเดินทาง มีถิ่นที่อยู่ ดำเนินวิชาชีพและอาชีพทุกชนิด ประกอบการอุตสาหกรรมและการค้า และภายใต้บังคับแห่งการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน จะได้มีสิทธิที่จะได้มา รับมรดก ครอบครอง เช่ายึดถือ และจำหน่ายสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ชนิดใดๆ ตลอดทั่วอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขอย่างเดียวกันกับคนชาติแห่งประเทศที่สามใด ๆ ตามกฎหมายและข้อบังคับแห่งประเทศพื้นเมือง

อนึ่ง จะได้มีเสรีภาพที่จะจัดตั้งโรงเรียนเพื่อการศึกษาแห่งเด็กของตน และจะได้รับเสรีภาพในการชุมนุมและการตั้งสมาคมการโฆษณา การสักการบูชา และการศาสนา ตามกฎหมายและข้อบังคับแห่งประเทศพื้นเมือง

ข้อ ๗. ความสัมพันธ์อย่างอื่นระหว่างอัครภาคีผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่าย จะได้อาศัยหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน

ข้อ ๘. อัครภาคีผู้ทำสัญญาตกลงกันว่า จะทำสนธิสัญญาการพาณิชย์และการเดินเรือโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้

ข้อ ๙. สนธิสัญญานี้ทำคู่กันเป็นภาษาไทยภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่มีความแตกต่างกันอย่างใดในการตีความให้บังคับตามตัวบทภาษาอังกฤษ

ข้อ ๑๐. สนธิสัญญานี้ อัครภาคีผู้ทำสัญญาจะได้สัตยาบันโดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ตามความต้องการแห่งรัฐธรรมนูญของแต่ละฝ่าย และจะได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ทำการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกัน และให้คงใช้ต่อแต่นั้นตลอดไป แต่ทว่า อัครภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะบอกเลิกล่วงหน้าสิบสองเดือนก็ได้ เมื่อพ้นเวลาสิบปีไปแล้ว

สัตยาบันสารจะได้แลกเปลี่ยนกัน ณ จุงกิง หรือนานกิง

เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้มีอำนาจเต็มดังกล่าวข้างบนนี้ ได้ลงนามและประทับตราสนธิสัญญานี้ไว้เป็นสำคัญ

ทำ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ยี่สิบสาม เดือนที่หนึ่ง พุทธศักราช สองพันสี่ร้อยแปดสิบเก้า ตรงกับวันที่ยี่สิบสาม เดือนที่หนึ่ง ปีที่สามสิบห้าแห่งสาธารณรัฐจีน และวันที่ยี่สิบสาม มกราคม คริสตศักราชพันเก้าร้อยสี่สิบหก

(ลงนามและประทับตรา) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

(ลงนามและประทับตรา) หลี่ เทียะ เจิง

TREATY OF AMITY BETWEEN THE KINGDOM OF

SIAM AND THE REPUBLIC OF CHINA

The Kingdom of Siam and the Republic of China being equally desirous of establishing friendly relations between the two countries and further promoting the mutual interests of their peoples, have decided to conclude a Treaty of Amity, based on the principles of equality and mutual respect of sovereignty, and have, for this purpose, appointed as their Plenipotentiaries:

His Majesty the King of Siam:

His Excellency Mom Rachawong Seni Pramoj, President of the Council of Ministers and Minister of Foreign Affairs;

His Excellency the President of the National Government of the Republic of China:

His Excellency Monsieur Li Tieh Tsong, Ambassador Extraordinary and Plienipotentiary to Iran;

Who, having communicated to each other their full powers, found in good and due form, have agreed upon the following Articles:

ARTICLE I. There shall be perpetual peace and everlasting amity between the Kingdom of Siam and the Republic of China as well as between their peoples.

ARTICLE II. The High Contracting Parties shall have the right reciprocally to send duly accredited diplomatic representatives, who shall enjoy, in the country to the Government of which they are accredited, all the rights, privileges, immunities and exemptions generally recognized by public international law.

ARTICLE III. Each of the High Contracting Parties shall have the right to send Consuls.General, Consuls, Vice-Consuls and Consular Agents to the localities within the territories of the other which shall be determined by common accord. Such consular officers shall exercise the functions and enjoy the treatment generally recognized by international practice. Prior to their assumption of office, they shall obtain from the Government of the country to which they are sent, exequaturs which are subject to withdrawal by the said Government.

The High Contracting Parties shall not appoint persons engaged in industry or commerce as their consular officers.

ARTICLE IV. The nationals of each of the High Contracting Parties shall be at liberty to enter or leave the territory of the other under the same conditions as the nationals of any third country, in accordance with the laws and regulations of the country applied to all aliens.

ARTICLE V. The nationals of each of the High Contracting Parties shall receive in the territory of the other, the most constant protection and security for their persons and property, and shall enjoy in this respect the same rights and privileges as the nationals of the other High Contracting Party, subject to their compliance with the same laws and regulations.

The nationals of each of the High Contracting Parties shall receive in the territory of the other in regard to all legal proceedings and in matters relating to the administration of justice and the levying of taxes and requirements in connection therewith treatment not less favourable than that accorded to nationals of the other High Contracting Party.

ARTICLE VI. The nationals of each of the High Contracting Parties shall have the right to travel, to reside, to carry on all kinds of professions and occupations, to engage in industries and trade and, subject to reciprocity, to acquire, inherit, possess, lease, occupy and dispose of any kind of movable or immovable property, throughout the whole extent of the territories of the other, under the same conditions as the nationals of any third country, in accordance with the laws and regulations of the country.

They shall also have the liberty to establish schools for the education of their children, and shall enjoy the freedom of assembly and association, of publication, of worship and religion, in accordance with the laws and regulations of the country.

ARTICLE VII. Other relations between the two High Contracting Parties shall be based on the principles of international law.

ARTICLE VIII. The High Contracting Parties agree to conclude as soon as possible a Treaty of Commerce and Navigation.

ARTICLE IX. The present Treaty is drawn up in duplicate in the Siamese, Chinese and English languages. In case of any divergence of interpretation the English text shall be authoritative.

ARTICLE X. The present Treaty shall be ratified as soon as possible by the High Contracting Parties in accordance with their respective constitutional requirements, and shall enter into force on the day on which the exchange of the ratifications takes place. It shall remain in force continuously thereafter. Twelve months notice of termination may however be given by either High Contracting Party after the lapse of ten years.

The instruments of ratifications shall be exchanged at Chungking or Nanking.

In faith whereof, the above mentioned Plenipotentiaries have signed the present Treaty and have affixed thereto their seals.

DONE at Bangkok this Twenty-third Day of the First Month of the Two thousand four hundred and eighty - ninth Year of the Buddhist Era, corresponding to the Twenty-third Day of the First Month of the Thirty - fifth Year of the Republic of China and the Twenty - third Day of January of the One thousand nine hundred and forty - sixth Year of the Christian Era.

(L.S.) M.R. Seni Pramoj

(L.S.) Li Tieh – Tseng

----------------------------

(จาก หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ถึง นาย หลี่ เทียะ เจิง)

คำแปล

กระทรวงการต่างประเทศ

วังสราญรมย์

๒๓ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖

ท่านเอกอัครราชทูต

อนุสนธิสัญญาทางไมตรีซึ่งลงนามกันวันนี้ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ข้าพเจ้าในนามแห่งรัฐบาลไทยขอยืนยันความเข้าใจ ที่เราได้ทำกันไว้ดังต่อไปนี้

๑. บทกำหนดซึ่งมีอยู่ในสนธิสัญญาดังกล่าว ไม่กระทบใช้แทน หรือแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับใด ๆ ว่าด้วยการแปลงชาติ การอพยพเข้าเมืองและความสงบเรียบร้อยสาธารณะ ซึ่งใช้อยู่หรือจะได้ตราขึ้นในอาณาเขตแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดด้วยประการใด ๆ ถ้าหากว่าไม่เป็นวิธีการเลือกปฏิบัติซึ่งมุ่งกระทำเฉพาะต่อคนชาติแห่งภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง

ฯ พณ ฯ

หลี เทียะ เจิง

หัวหน้าคณะทูตจีนที่ส่งมายังประเทศไทย

กรุงเทพ ฯ

๒. ในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน สิทธิซึ่งคนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งได้มาตามกฎหมาย และข้อบังคับในอาณาเขตดังกล่าวนั้นอยู่แล้วในเมื่อเริ่มใช้สนธิสัญญานี้ จะได้เป็นที่คุ้มเกรง ในกรณีการเวนคืน จะใช้ค่าทำขวัญให้ ซึ่งเป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ใช้แก่คนชาติแห่งภาคีอีกฝ่ายหนึ่งหรือคนชาติแห่งประเทศอื่นใด

ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างยิ่งมายัง ฯพณฯ

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

(M. R. Seni Pramoj to Monsieur Li Tieh - Tseng)

Ministry of Foreign Affairs,

Saranrom Palace,

23rd January, 1946.

Monsieur l’Ambassadeur,

With reference to the Treaty of Amity signed this day between Siam and China, I have the honour to confirm on behalf of the Siamese Government, the understanding reached between us as follows:-

1. The stipulations contained in the said Treaty do not in any way affect, supersede or modify any of the laws and regulations with regard to naturalisation, immigration and public order which are in force or which may be enacted in the territories of either High Contracting Party, provided they do not constitute measures of discrimination particularly directed against the nationals of the other Party.

His Excellency

Monsieur Li Tieh - Tseng,

Chief of Chinese Mission to Siam,

BANGKOK.

2. In regard to land-ownership, the rights already acquired by nationals of either High Contracting Party in the territory of the other, in accordance with the laws and regulations in such territory, at the coming into force of this Treaty shall be respected. In the event of expropriation, an indemnity will be paid, not less favourable than that paid to the nationals of the other Party or the nationals of any other country.

I avail myself of this opportunity, Monsieur l’Ambassadeur, to renew to Your Excellency the assurance of my highest consideration.

(Signed) M. R. Seni Pramoj

President of the Council of Ministers

and Minister of Foreign Affairs.

(จาก นายหลี่ เทียะ เจิง ถึง หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช)

คำแปล

กรุงเทพฯ, ๒๓ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖

ท่านนายกรัฐมนตรี

อนุสนธิสนธิสัญญาทางไมตรีซึ่งลงนามกันวันนี้ระหว่างประเทศจีนกับประเทศไทย ข้าพเจ้าในนามแห่งรัฐบาลจีนขอยืนยันความเข้าใจที่เราได้ทำกันไว้ดังต่อไปนี้

๑. บทกำหนดซึ่งมีอยู่ในสนธิสัญญาดังกล่าว ไม่กระทบใช้แทน หรือแก้ไขกฎหมาย และข้อบังคับใดๆ ว่าด้วยการแปลงชาติ การอพยพเข้าเมืองและความสงบเรียบร้อยสาธารณะ ซึ่งใช้อยู่หรือจะได้ตราขึ้นในอาณาเขตแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดด้วยประการใดๆ ถ้าหากว่าไม่เป็นวิธีการเลือกปฏิบัติซึ่งมุ่งกระทำเฉพาะต่อคนชาติแห่งภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง

ฯพณฯ

หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

กรุงเทพฯ

๒. ในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน สิทธิซึ่งคนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งได้มาตามกฎหมายและข้อบังคับในอาณาเขตดังกล่าวนั้นอยู่แล้วในเมื่อเริ่มใช้สนธิสัญญานี้ จะได้เป็นที่คุ้มเกรง ในกรณีการเวนคืน จะใช้ค่าทำขวัญให้ ซึ่งเป็นการอนุเคราะห์ไม่น้อยกว่าที่ใช้แก่คนชาติแห่งภาคีอีกฝ่ายหนึ่งหรือคนชาติแห่งประเทศอื่นใด

ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างยิ่งมายัง ฯพณฯ

หลี เทียะ เจิง

หัวหน้าคณะทูตจีนที่ส่งมายังประเทศไทย

(Monsieur Li Tieh. Tseng to M. R. Seni Pramoj)

Bangkok, 23rd January, 1946.

Monsieur le President,

With reference to the Treaty of Amity signed this day between China and Siam, I have the honour to confirm, on behalf of the Chinese Government, the understanding reached between us as follows:

1. The stipulations contained in the said Treaty do not in any way affect, supersede or modify any of the laws and regulations with regard to naturalisation, immigration and public order which are in force or which may be enacted in the territories of either High Contracting Party, provided they do not constitute measures of discrimination particularly directed against the nationals of the other Party.

His Excellency

Mom Rachawong Seni Pramoj,

President of the Council of Ministers

and Minister of Foreign Affairs,

BANGKOK.

2. In regard to land-ownership, the rights already acquired by nationals of either High Contracting Party in the territory of the other, in accordance with the laws and regulations in such territory, at the coming into force of this Treaty shall be respected. In the event of expropriation, an indemnity will be paid, not less favourable than that paid to the nationals of the other Party or the nationals of any other country.

I avail myself of this opportunity, Monsieur le Président to renew to Your Excellency the assurance of my highest consideration.

(signed) Li Tieh-Tseng

Chief of Chinese Mission to Siam.

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ