- คำนำ
- คำอธิบาย
- ๑๕๙ ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะแมเอกศก
- ๑๖๐ ประกาศเรื่องมิให้ละทิ้งคนเสียจริต
- ๑๖๑ ประกาศให้ผู้รับพระบรมราชโองการฟังรับสั่งให้ชัดเจน
- ๑๖๒ ประกาศพระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณรแลศิษย์วัด
- ๑๖๓ ประกาศขนานนามพระที่นั่งในท่าราชวรดิษฐแลพระที่นั่งสร้างใหม่
- ๑๖๔ ประกาศพระราชบัญญัติให้คัดความมรดกทูลเกล้าฯ ถวายใน ๑๕ วัน
- ๑๖๕ ประกาศให้ใช้คำ กับ, แก่, แด่, แต่, ต่อ, ใน, ยัง, ในที่ควร
- ๑๖๖ ประกาศพิกัดอากรค่าน้ำให้เก็บตามเครื่องมือ
- ๑๖๗ ประกาศว่าด้วยทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
- ๑๖๘ ประกาศมหาสงกรานต์ปีวอกโทศก
- ๑๖๙ ประกาศห้ามข้าเจ้ามิให้ปิดบังความผิดของเจ้านาย
- ๑๗๐ ประกาศว่าด้วยลักษณะให้ลงแกงไดลายมือในหนังสือสำคัญ มณฑลกรุงเทพ ฯ
- ๑๗๑ ประกาศว่าด้วยลักษณะให้ลงแกงไดลายมือในหนังสือสำคัญ ในหัวเมืองทั่วไป
- ๑๗๒ พระราชบัญญัติกฎหมายท้องน้ำ บุกรุก ห้ามยิงปืน แลการเที่ยวอาละวาดของพวกกลาสี
- ๑๗๓ ประกาศให้ยกค่าไม้ปกำใบค่าน้ำมัน
- ๑๗๔ ประกาศพระราชบัญญัติให้ภิกษุสามเณรแลศิษย์วัด เมื่อประพฤติอนาจารแล้วให้มาลุแก่โทษเสีย จะยกโทษให้
- ๑๗๕ หมายประกาศเรื่องตัวเลขเปนพาลให้เจ้าหมู่มูลนายกักขัง แลบอกกล่าวเสียจึงจะพ้นความผิด
- ๑๗๖ ประกาศห้ามพระสงฆ์ไม่ให้บอกบ้ายแทงหวยแลประพฤติอนาจาร
- ๑๗๗. ประกาศให้ผู้ที่ทรงรู้จักมาเฝ้าจะพระราชทานเงิน
- ๑๗๘ ประกาศพิกัดราคาเงินเหรียญบาทแลเงินแป
- ๑๗๙ ประกาศให้เจ้าคณะมีหมายประกาศไปตามพระอารามให้ชำระต้นไม้ต่างๆ ที่ขึ้นบนหลังคาแลกำแพง ให้ชำระลานวัดให้หมดจด ในเวลาเสด็จพระราชทานพระกฐิน
- ๑๘๐ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องที่กระหนาบคาบเกี่ยว แลการกู้หนี้ในระหว่างญาติ
- ๑๘๑ ประกาศให้ตรวจตรารักษาบ้านเรือนแลจับกุมโจรผู้ร้าย
- ๑๘๒ ประกาศขอแรงราษฎรบ้านใกล้เคียงตัดถอนต้นโพธิ์ต้นไทร แลต้นไม้อื่นๆ ที่กำแพง, ป้อม, ประตู
- ๑๘๓ หมายประกาศพระราชกระแสซึ่งทรงตัดสินโทษจีนเสงอำแดงอิ่มผู้ทำวิชาอาคม
- ๑๘๔ ประกาศร่างตราภูมคุ้มห้ามค่านาแก่ไพร่หลวงบางเหล่าเปนพิเศษ
- ๑๘๕. ประกาศมหาสงกรานต์ ปีระกาตรีศก
- ๑๘๖ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องพระสงฆ์สามเณรลักเพศ
- ๑๘๗ ประกาศเรื่องบรรจุของในพระเจดีย์ที่เขาพนมขวด
- ๑๘๘ ประกาศเรื่องข้าเจ้าแขงบ่าวนายแรงข่มเหงราษฎร
- ๑๘๙ ประกาศดาวหางปีระกาตรีศก
- ๑๙๐ ประกาศสุริยอุปราคา
- ๑๙๑ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่างๆ
- ๑๙๒ ประกาศร่างพระราชหัดถเลขาพระราชทานนาพระเจ้าลูกเธอ
- ๑๙๓ ประกาศดาวพระเคราะห์พุธเข้าในดวงพระอาทิตย์
- ๑๙๔ ประกาศวางระเบียบให้เจ้านายแต่งพระองค์ในพิธีถือน้ำแลตามเสด็จ
- ๑๙๕ ประกาศทรงอนุญาตให้ข้างในกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ
- ๑๙๖ ประกาศการโสกันต์พระเจ้าลูกเธอแลเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
- ๑๙๗ ประกาศให้นำเลขมารับหนังสือพิมพ์คุ้มสักแลสักหลังมือ
๑๗๘ ประกาศพิกัดราคาเงินเหรียญบาทแลเงินแป
ณวันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีวอกโทศก
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่เจ้านายฝ่ายหนึ่งฝ่ายในแลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย แลราษฎรแลพระสงฆ์แลสามเณรคฤหัสถ์ชาววัดชาวบ้านในกรุงนอกกรุงทั้งปวงให้ทราบทั่วกัน ว่าในพระราชอาณาจักรนี้ แต่ก่อนเมื่อผู้ครองแผ่นดินจะใคร่ให้ผู้ซื้อผู้ขายจ่ายรับสิ่งของทั้งปวงด้วยใช้เงินใช้ทองเปนราคานั้น ถ้าเปนตัวเงินฤๅทองที่มีเนื้อเงินเนื้อทองต่างๆ แลมีกำหนดไม่ได้จำกัดคงรูปนั้นๆ ครั้นเมื่อเวลาซื้อขายใช้จ่ายต่อกันก็เปนที่ต้องถุ้งเถียงเกี่ยงเลี่ยงกันด้วยเนื้อเงินเนื้อทองต่ำสูง แลต้องชั่งต้องตรวจสอบสวนน้ำหนักในตราชูตราชั่งต่างๆ ก็เปนที่ถุ้งเถียงวิวาทบาดคล้องกันเนือง ๆ แล้ว เปนเหตุให้ช้าเสียเวลาประสงค์นั้นๆ ไป จึงได้คิดอ่านตั้งพนักงานเปนกองเดียว เลือกน้ำเงินให้เสมอกันเปนอย่างเดียวแล้ว ตัดชั่งตั้งรูปให้มีน้ำหนักเสมอกัน เปนเงินเฟื้องเงินสลึงเงินบาทเงินกึ่งบาทขึ้นได้แล้ว จึงตีตรารูปต่างๆ ตามแผ่นดินนั้นๆ เปนสำคัญ ให้คนเชื่อว่าทำไปแต่โรงช่างเงินใหญ่เปนของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าพนักงานได้สอบน้ำเงินแลน้ำหนักแล้วไม่คลาดไม่ขาดไม่เกิน เพราะเชื่อต่อรูปพดด้วงแลตราหลวงที่ประทับแล้ว ก็ไม่มีใครเสียเวลาสอบชั่งฤๅดูน้ำเงินเลย ซื้อขายจ่ายใช้กันได้คล่องๆ ไม่ต้องลำบากเนิ่นช้าเสียเวลาไปดังหนึ่งใช้เงินใช้ทองเปล่าที่เปนรูปเปนแท่งต่างๆ ตัดชั่งใช้แก่กันดังในเมืองพม่านั้น ครั้นเมื่อราษฎรใช้เงินพดด้วงตีตราหลวงดังนี้ ไม่มีสอบน้ำหนักแลดูเนื้อเงินแล้ว มีพวกช่างเหล็กช่างทองช่างเงินในกรุงบ้างนอกกรุงบ้างลอบทำเงินเจือทองแดงแลเงินดีบุกเปนรูปพดด้วงตีตราแกะปลอมให้เหมือนตราหลวง ทำเงินทองแดงเงินดีบุกขึ้นได้เปนอันมากแล้ว ก็ลอบเอาเข้าเปลี่ยนปลอมซื้อขายเองบ้าง ขายให้แก่ชายหญิงซึ่งเปนคนโกงๆ รับไปเปลี่ยนปลอมใช้สอยบ้าง เงินปลอมจึงชุกชุมขึ้นในแผ่นดิน เมื่อการเปนดังนี้พระเจ้าแผ่นดินซึ่งตั้งโรงเงินหลวงพดด้วงตีตราให้ราษฎรใช้นั้น ก็เหมือนกับเปนนายประกันให้อ้ายผู้ร้ายที่ทำเงินทองแดงเงินดีบุกเหรียญตราหลวงแล้วทำขึ้นนั้นไป เปนที่ขัดเคืองพระราชหฤทัยทรงโทมนัสมากนักมาช้านาน แลเมื่อการค้าขายในกรุงเจริญขึ้น มีเงินเหรียญเมืองต่างประเทศเข้ามามาก ลูกค้านอกประเทศเมื่อเอาเงินเหรียญมาซื้อของลูกค้าในประเทศก็หาใคร่จะยินดีรับไม่ ด้วยรังเกียจเนื้อเงินว่าต่ำกว่าเงินบาทบ้าง ว่ากลัวจะเปนเหรียญปลอมบ้าง ฤๅถึงจะยอมรับก็ต้องคิดกลับเปนบาทเปนสลึงเปนเฟื้องโดยมาตราธรรมเนียมไทย เปนที่ถุ้งเถียงกันวุ่นวายไปกับลูกค้าต่างประเทศ กว่าจะตกลงกันก็ช้าเลยเวลาค้าขายไป ครั้นนั้นผู้ครองฝ่ายไทยได้พร้อมใจกันกับกงสุลต่างประเทศทั้งปวงแล้วตัดสินว่า ให้คิดเงินเหรียญสามเหรียญเปลี่ยนกับเงินไทยห้าบาทประกาศไปแล้วก็ยังมีผู้เถียงเกี่ยงเลี่ยงไปต่างๆ ว่าอย่างนั้นก็เสียเปรียบด้วยเหตุนั้นเหตุนี้ตามแต่จะว่าไป ทั้งผู้ให้เงินก็ว่าเสียเปรียบจนจะฟังเอามิได้ ครั้นจะคิดเปนหุนเปนเซนเปนสลึงเปนเฟื้องแลปลายเบี้ยก็เปนที่จะให้คิดกันยาก จึงตัดสินมาว่าสามเหรียญเปนเงินห้าบาทขาดตัวลง ถึงกระนั้นราษฎรฝ่ายไทยก็ยังว่าเข้าใจยาก ซึ่งเปนทั้งนี้ก็เพราะมาตราเงินเหรียญเงินรูเปียไม่ต้องกับมาตราของไทย เพราะเหตุนั้นบัดนี้จึงได้ทรงพระราชดำริห์การให้ตั้งโรงจักรทำเงินแปเงินเหรียญขึ้นเปนอย่างใหม่ ทำหมดจดสอาดได้งามดีเหมือนกับเงินมาแต่เมืองยุโรปที่เรียกว่าเมืองฝรั่ง โดยกำหนดเหรียญอย่างไทยเหรียญละบาทเปนพื้นแล้ว มีเงินแปๆ ละสองสลึงบ้าง สลึงบ้าง เฟื้องบ้าง ในเงินเหรียญเงินแปเหล่านี้ หน้าหนึ่งมีตรารูปพระมหาพิชัยมงกุฏอยู่กลาง มีฉัตรกระหนาบอยู่สองข้าง มีกิ่งไม้เปนเปลวแซกอยู่ในท้องลาย หน้าหนึ่งเปนรูปจักร กลางใจจักรมีรูปช้างประจำแผ่นดิน รอบวงจักรชั้นนอกเหรียญบาทมีดาวอยู่แปดทิศคือบอกว่าแปดเฟื้อง แปสองสลึงมีดาวอยู่สี่ทิศคือบอกว่าสี่เฟื้อง แปสลึงมีดาวอยู่ข้างบนข้างล่างสองดาวคือบอกว่าสองเฟื้อง แปเฟื้องมีดาวอยู่ข้างบนดาวเดียวแปลว่าเฟื้องเดียว เงินจำพวกนี้มีพระราชประสงค์จะให้เจ้านายแลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย แลราษฎรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งปวง ใช้ได้เสมอเงินบาทเงินกึ่งบาทเงินสลึงเงินเฟื้อง ไม่ให้อ้ายผู้ร้ายทำเงินแดงเปลี่ยนปลอมได้เลย เพราะจะทำขึ้นได้โดยยาก อีกอย่างหนึ่งมีแปทองคำเนื้อแปดเศษสอง น้ำหนักเฟื้องหนึ่งกับวิศางค์หนึ่ง คือหนักกว่าเงินเฟื้องขึ้นไปเท่าส่วนที่ยี่สิบของเฟื้อง ฤๅถ้าจะสนัดเรียกอย่างจีนก็ควรจะว่าเฟื้องหนึ่งกับกึ่งหุน แปเช่นนี้ราคาสิบแปดหนักเปนราคาแปละสิบสลึงที่เรียกว่าตำลึงจีน แปเช่นนี้ผู้ได้ไปเมื่อต้องการทองแล้วจะยุบทำรูปพรรณก็ได้ไม่เสียเปรียบนัก เพราะสิบแปดหนักนั้นก็ใกล้ราคาทองอย่างสูงอยู่แล้ว แต่ถ้าว่าเมื่อไม่ชอบใจก็ให้เอาแปทองนั้นมาเปลี่ยน เอาเงินสิบสลึงที่เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งไปคอยรับหมายใช้แทนเงินอยู่ตามเคยนั้น ก็จะได้เงินไปในทันทีไม่มีขัดขวาง ถึงเงินเหรียญบาทแลแปกึ่งบาทแปสลึงแปเฟื้องที่ใครๆ ได้ไป ถ้าใช้ไม่คล่องไม่ชอบใจก็ให้มาเปลี่ยนเอาเงินบาทเงินกึ่งบาทเงินสลึงเงินเฟื้องตามกำหนดนั้นเถิด ก็จะได้เงินพดด้วงซึ่งเปนเงินบาทเงินกึ่งบาทเงินสลึงเงินเฟื้องตามรูปไปในทันที เหมือนกระดาษหมายแทนเงินเหมือนกัน เงินเหรียญเงินแปแลทองแปที่มีลักษณดังว่าแล้วนั้น จะได้พระราชทานแลจับจ่ายออกไป ตั้งแต่วันอาทิตย์เดือนสิบเอ็จขึ้นแปดค่ำปีวอกโทศก ซึ่งเปนปีที่สิบในรัชกาลปัตยุบันนี้ไป จึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตีพิมพ์ประกาศนี้มาให้ทราบทั่วกันก่อน
ประกาศมาณวันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีวอกโทศก เปนวันที่ ๓๔๑๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
พระศรีสุนทรโวหารผู้ว่าที่พระอาลักษณ์ แลพระศรีไกรลาสราชเศรษฐี เปนผู้รับสั่ง