- คำนำ
- คำอธิบาย
- ๑๕๙ ประกาศมหาสงกรานต์ปีมะแมเอกศก
- ๑๖๐ ประกาศเรื่องมิให้ละทิ้งคนเสียจริต
- ๑๖๑ ประกาศให้ผู้รับพระบรมราชโองการฟังรับสั่งให้ชัดเจน
- ๑๖๒ ประกาศพระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณรแลศิษย์วัด
- ๑๖๓ ประกาศขนานนามพระที่นั่งในท่าราชวรดิษฐแลพระที่นั่งสร้างใหม่
- ๑๖๔ ประกาศพระราชบัญญัติให้คัดความมรดกทูลเกล้าฯ ถวายใน ๑๕ วัน
- ๑๖๕ ประกาศให้ใช้คำ กับ, แก่, แด่, แต่, ต่อ, ใน, ยัง, ในที่ควร
- ๑๖๖ ประกาศพิกัดอากรค่าน้ำให้เก็บตามเครื่องมือ
- ๑๖๗ ประกาศว่าด้วยทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
- ๑๖๘ ประกาศมหาสงกรานต์ปีวอกโทศก
- ๑๖๙ ประกาศห้ามข้าเจ้ามิให้ปิดบังความผิดของเจ้านาย
- ๑๗๐ ประกาศว่าด้วยลักษณะให้ลงแกงไดลายมือในหนังสือสำคัญ มณฑลกรุงเทพ ฯ
- ๑๗๑ ประกาศว่าด้วยลักษณะให้ลงแกงไดลายมือในหนังสือสำคัญ ในหัวเมืองทั่วไป
- ๑๗๒ พระราชบัญญัติกฎหมายท้องน้ำ บุกรุก ห้ามยิงปืน แลการเที่ยวอาละวาดของพวกกลาสี
- ๑๗๓ ประกาศให้ยกค่าไม้ปกำใบค่าน้ำมัน
- ๑๗๔ ประกาศพระราชบัญญัติให้ภิกษุสามเณรแลศิษย์วัด เมื่อประพฤติอนาจารแล้วให้มาลุแก่โทษเสีย จะยกโทษให้
- ๑๗๕ หมายประกาศเรื่องตัวเลขเปนพาลให้เจ้าหมู่มูลนายกักขัง แลบอกกล่าวเสียจึงจะพ้นความผิด
- ๑๗๖ ประกาศห้ามพระสงฆ์ไม่ให้บอกบ้ายแทงหวยแลประพฤติอนาจาร
- ๑๗๗. ประกาศให้ผู้ที่ทรงรู้จักมาเฝ้าจะพระราชทานเงิน
- ๑๗๘ ประกาศพิกัดราคาเงินเหรียญบาทแลเงินแป
- ๑๗๙ ประกาศให้เจ้าคณะมีหมายประกาศไปตามพระอารามให้ชำระต้นไม้ต่างๆ ที่ขึ้นบนหลังคาแลกำแพง ให้ชำระลานวัดให้หมดจด ในเวลาเสด็จพระราชทานพระกฐิน
- ๑๘๐ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องที่กระหนาบคาบเกี่ยว แลการกู้หนี้ในระหว่างญาติ
- ๑๘๑ ประกาศให้ตรวจตรารักษาบ้านเรือนแลจับกุมโจรผู้ร้าย
- ๑๘๒ ประกาศขอแรงราษฎรบ้านใกล้เคียงตัดถอนต้นโพธิ์ต้นไทร แลต้นไม้อื่นๆ ที่กำแพง, ป้อม, ประตู
- ๑๘๓ หมายประกาศพระราชกระแสซึ่งทรงตัดสินโทษจีนเสงอำแดงอิ่มผู้ทำวิชาอาคม
- ๑๘๔ ประกาศร่างตราภูมคุ้มห้ามค่านาแก่ไพร่หลวงบางเหล่าเปนพิเศษ
- ๑๘๕. ประกาศมหาสงกรานต์ ปีระกาตรีศก
- ๑๘๖ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องพระสงฆ์สามเณรลักเพศ
- ๑๘๗ ประกาศเรื่องบรรจุของในพระเจดีย์ที่เขาพนมขวด
- ๑๘๘ ประกาศเรื่องข้าเจ้าแขงบ่าวนายแรงข่มเหงราษฎร
- ๑๘๙ ประกาศดาวหางปีระกาตรีศก
- ๑๙๐ ประกาศสุริยอุปราคา
- ๑๙๑ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่างๆ
- ๑๙๒ ประกาศร่างพระราชหัดถเลขาพระราชทานนาพระเจ้าลูกเธอ
- ๑๙๓ ประกาศดาวพระเคราะห์พุธเข้าในดวงพระอาทิตย์
- ๑๙๔ ประกาศวางระเบียบให้เจ้านายแต่งพระองค์ในพิธีถือน้ำแลตามเสด็จ
- ๑๙๕ ประกาศทรงอนุญาตให้ข้างในกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ
- ๑๙๖ ประกาศการโสกันต์พระเจ้าลูกเธอแลเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
- ๑๙๗ ประกาศให้นำเลขมารับหนังสือพิมพ์คุ้มสักแลสักหลังมือ
๑๖๕ ประกาศให้ใช้คำ กับ, แก่, แด่, แต่, ต่อ, ใน, ยัง, ในที่ควร
ณวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ ปีมะแมเอกศก
ประกาศมาให้คนเขียนหนังสือทั้งปวงทราบทั่วแล้วสังเกตใช้ ให้ถูกในที่ควรจะว่า (กับ) ว่า (แก่) ว่า (แด่) ว่า (แต่) ว่า (ต่อ) ว่า (ใน) ว่า (ยัง) จงสังเกตให้แน่แล้วใช้ให้ถูก อย่าให้เปนกับไปทุกแห่งแลอย่ากลัว (กับ) งกเงิ่นไปฯ คนสองคนสามคนขึ้นไปทำกิริยาเหมือนกันใช้ว่ากับ ผัวนอนกับเมีย ผัวอยู่กับเมีย นายไปกับบ่าว คนหนึ่งนั่งพูดเล่นกับคนหนึ่ง นายปฤกษากับบ่าว บุตรร่วมสุขทุกข์กับบิดามารดา ลูกค้าซื้อขายกับชาวบ้าน ขุนนางเจรจากับแขกเมือง ลครเล่นกับตลก คนหนึ่งวิวาทกับเพื่อนบ้าน ผู้ร้ายตีรันกันกับเจ้าเรือน คนโทษไปกับผู้คุม อะไรอื่นๆ เช่นนี้มีมากมายนัก เอาที่คนสองคนสามคนฤๅมากทำกิริยาเดียวกัน ทำด้วยกันจึงใช้กับ ฯ อนึ่งถ้าเปนของที่ไปด้วย มาด้วย อยู่ด้วย ได้มาด้วย เสียไปหายไปด้วยกัน ก็ว่ากับได้ เหมือนหนึ่งคนไปกับย่ามของตัว ไปกับดาบแลปืนของตัว ก็ว่าได้ คนมากับหาบสิ่งของ คนแก่มากับไม้เท้า คนมากับช้าง กับม้า กับโค กับกระบือ คนอยู่กับหีบผ้า ทองเก็บไว้กับเงิน ผ้ากับเสื้ออยู่ด้วยกัน คนได้มีดมากับด้าม ได้ขวานมากับสิ่ว ได้ปืนมากับดินดำ ได้เกวียนมากับวัว หีบไฟไหม้เสียกับผ้า เงินหายไปกับถุงด้วยกันฯ ของก็ดี สัตวก็ดี คนก็ดี อยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน ทำอะไรด้วยกัน ต้องที่จะออกชื่อด้วยกัน ว่ากับได้สิ้น คือเงินกับทอง หม้อเข้ากับเชิงกราน บังเหียนกับม้า ตพดกับโค สายสนตพายกับกระบือ นกกับกรง ทหารกับปืน คนกับช้าง ม้ากับรถ โคกับเกวียน คนกับรองเท้า ช้างกับม้า ลากับอูฐ บุตรกับบิดา ข้ากับเจ้า เรือกับคน อะไรๆ เปนอันมากที่ไปด้วยกันมาด้วยกันอยู่ด้วยกัน ทำอะไรด้วยกันว่ากับได้หมด แต่ถวาย แลให้ แลรับ แลเรียกเอา บอกเล่าว่ากับไม่ได้เลย ฯ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในหลวง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายในเจ้าต่างกรม กำนันให้ท่านเสนาบดีฯ ถวายพระพรแด่พระเจ้าอยู่หัว กราบทูลพระกรุณาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบทูลต่อเจ้าต่างกรม เจ้ายังไม่ได้ตั้งกรม เรียนต่อท่านเสนาบดี แจ้งความต่อผู้สำเร็จราชการเมือง กรมการฟ้องต่อลูกขุนณศาลหลวง ให้ใช้ใน แด่ ต่อ โดยสมควร นอกกว่านี้ใช้แก่ คือพระราชทานแก่ ให้แก่ บอกแก่ แจ้งความแก่ ทำโทษแก่ ลงโทษแก่ ใครๆ อะไรๆ ว่าไม่สุดแล้ว คำที่ต่อกับ แจ้งแก่ ร้องเรียกแก่ ทำคุณแก่ ทำให้แก่ บอกให้แก่ แจกจ่ายแก่ เสียไปแก่ ลงพระราชอาญาแก่ ให้ปรับไหมแก่ ได้แก่ เสียแก่ ไว้แก่ ไว้ใจแก่ ไว้ความแก่ เอ็นดูแก่ เห็นแก่ ให้ถ้อยคำแก่ ยอมแก่ โกรธแก่ ไว้ธุระแก่ ให้ศีลให้พรแก่ สมควรแก่ จงมีแก่ สงสารแก่ อนุเคราะห์แก่ ขายให้แก่ ให้ช่องแก่ แลอื่นๆ ที่คล้ายกันให้ว่าแก่อย่าว่ากับเลย เหมือนคำที่จะควรว่าแต่นั้น คือ รับแต่ ขอแต่ เอาแต่ เรียกเอาแต่ ได้พระราชทานแต่ ได้อนุเคราะห์แต่ เรียกภาษีแต่ เอามาแต่ ฟังแต่ มาแต่ ซื้อมาแต่ เรียกเอาแต่ เก็บเอาแต่ รู้แต่ แลอื่นๆ ใช้แต่ในที่ว่าด้วยต้นทางมา
ประกาศมาณวันพฤหัส เดือนยี่ แรมห้าค่ำ ปีมะแมเอ๙กศก