ฉอไวพจน์
๏ แต่นี้จะตั้งต่อ | เติมบท |
แก้หมวดฉอไวพจน์ | พากยเพี้ยน |
เปนกลอนสวดโสฬศ | เลาแบบ ฉบับนา |
สอนศิศยคือเกลาเสี้ยน | หากเสี้ยมส่งแหลม ๚ะ |
๑๖๏ จักเริ่มเติมต่อสารา ฉอไวพจนา จะแนะนำคำเคียง
๏ จัดคู่ลม้ายคล้ายเสียง ลำดับนับเรียง ในเบื้องยุบลแบบสอน ๏ คิดเค้าเกลากลั่นสรรกลอน สบศับท์สุนทร ทุกพจน์ทุกพากย์หลากคำ ๏ กุมารอ่านอุส่าห์จำ เลาเลศลำนำ จะร่ำจะเรียนเพียรดู ๏ ให้ชัดให้ชินลิ้นหู อย่างแยบแบบครู อย่าทำจู่ลู่ละเลย ๏ หมวดฉอไวพจน์บทเฉลย แจกจัดตามเคย คือคำว่าเลิศเฉิดฉัน ๏ แปลว่างามพริ้งพรายพรรณ หนึ่งนิมนต์ฉัน ที่ใช้แต่ในพระสงฆ์ ๏ ยักให้แปลกคำกินตรง จึ่งใช้นอคง ดังคำว่างามเฉิดฉัน ๏ บมิต้องมิตัวการันต์ เป็นคำสามัญ บัญญัติขึ้นใช้ในสยาม ๏ ฉันทะมคธคำงาม แปลโดยเนื้อความ ว่าปกปิดโทษโดยไนย ๏ เช่นว่าพากย์ฉันท์อันไพ เราะเร้าเอาใจ นักเลงกระวีปรีดา ๏ ชมชื่นรื่นเริงหรรษา ในรศวาจา ที่จัดประพันธ์สรรกลอน ๏ เอกะฉันทนั้นอุทาหรณ์ แปลอัดถ์อาทร ว่ารวมฤไทยปราถนา ๏ น้ำหนึ่งใจเดียวกันนา พูดใช้เจรจา ในพากย์สยามความตรง ๏ ฉันทานุรักษ์จำนง คำนี้ใช้คง แต่ในบาฬีมีความ ๏ คือศับท์คำยาวกล่าวตาม บังคับในคาม ภีร์ฉันท์เปนสั้นวาจา ๏ ญาตีเปนญาตินา เพื่อจะรักษา คณะบให้แปรผัน ๏ คำเบาเป็นหนักเช่นกัน จงรู้สำคัญ ตามข้อบังคับคำควร ๏ แม้บมิทราบกระบวน แก้เลอะลามลวน ที่ควรคะรุกลับเบา ๚ะ
ฉิน๏ โฉมฉินเฉิดฉินคำเรา พูดกันสำเนา ก็เนื่องกับคำเฉิดฉัน ๏ สัมพัจฉรฉินท์หากสรร ใช้คำสามัญ การันต์ที่ส่อทอทาน ๏ แปลว่าตัดปีตามกาล ขาดสิ้นวันวาร พิธีเมื่อตรุศสุดปลาย ๚ะ
ฉัด๏ หนึ่งพูดว่าช้างฉัดฉาย ภาษาคำหมาย เรียกตามกรมช้างเจรจา ๏ จัดเป็นสามัญวาจา บต้องมีกา รันต์เพิ่มแลเติมต่อคำ ๏ ฉัตรนี้มคธพจนำ ตอรอประจำ สกดใช่บทสามัญ ๏ ว่าร่มสำหรับกางกัน ฝนแลตาวัน เย็นร้อนได้ผ่อนเบาไป ๏ หนึ่งบหาเสวตรฉัตรไชย เก้าชั้นอำไพ ลดชั้นนั้นเจ็ดห้าสาม ๏ ฉัตราติฉัตรโดยนาม สำหรับยศตาม ที่สูงแลต่ำท่ามกลาง ๏ ฉัตรนาคทองเงินระยะวาง เบญจรงค์รายทาง ฉัตรผ้ากระดาษหลากหลาย ๏ เรียกฉัตรเพราะรูปร่มกลาย มีด้ามคันคล้าย กับร่มที่สมญาเดิม
เฉด๏ คำเฉดสองคำเพิ่มเสริม เปนข้อต่อเติม ให้ติดให้เนื่องเรื่องความ ๏ เฉดตวาดนี้คำอยาบหยาม ผักกระเฉดหนึ่งนาม สองนี้เปนเฉดคำไทย ๏ บริจเฉทเช่นคำมีใน มคธขานไข ว่าตัดว่าขาดข้อความ ๏ หนึ่งว่าที่กำหนดตาม เหตุบ่ลวนลาม บล้นบล่วงเขตรแดน ๏ เดิมจอสกดแบบแผน ใช้เนิ่นนานแคลน เคลื่อนลดตัวจอบมี ๏ จะใช้ให้ตรงบาฬี สกดจอมี แลเฉทสกดทอทาน ๏ หมวดฉอไวพจนบรรหาร สิบคำประมาณ ประมวนที่ควรใช้คำ ๚ะ
๏ หมวดฉอคำพูดน้อย | นับสับ คำนา |
เลือกที่ควรยกหยิบ | อย่างใช้ |
ไม่เล่าก็ลืมฉิบ | คลำเปล่า ไปเฮย |
น้อยมากหากจำได้ | สดวกแล้วดีหลี |