- คำนำ
- คำชี้แจง
- คำนำในการจัดพิมพ์ครั้งแรก
- คำปรารภ
- GENERAL PREFACE
- พระราชประวัติพญาลิไทย
- สังเขปประวัติวรรณคดีไทย
- เตภูมิกถา รตนตยปณามคาถา
- คำแปล
- ความนำ
- บทนำ
- บทที่ ๑ แดนนรก
- บทที่ ๒ แดนของสัตว์เดรัจฉาน
- บทที่ ๓ แดนเปรต
- บทที่ ๔ แดนอสุรกาย
- บทที่ ๕ แดนมนุษย์
- บทที่ ๖ แดนสวรรค์ชั้นฉกามาพจร
- บทที่ ๗ รูปาวจรภูมิ
- บทที่ ๘ อรูปาวจรภูมิ
- บทที่ ๙ อวินิโภครูป
- บทที่ ๑๐ ความพินาศและการเกิดของโลก
- บทที่ ๑๑ นิพพาน
- อวสานพจน์
- ภาคผนวก ๑ คัมภีร์ที่กล่าวอ้างไว้ในไตรภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง)
- ภาคผนวก ๒ รายชื่อคัมภีร์ที่ผู้รจนาไตรภูมิใช้เป็นหนังสืออุเทศ
- ภาคผนวก ๓ แผนภูมิโครงสร้างไตรภูมิ
- ภาคผนวก ๔ ภาพลายเส้นไตรภูมิ
- ภาคผนวก ๕ เส้นทางเดินพระอาทิตย์
- ภาคผนวก ๖ เนื้อหาสาระในแดนต่าง ๆ
- ภาคผนวก ๗ อธิบายเหตุแห่งมรณะ ๔
- ภาคผนวก ๘ ทศพิธราชธรรม
- บรรณานุกรม
- รายนามคณะทำงาน โครงการวรรณกรรมอาเซียน
มหาอวีจีนรก
บรรดาสัตว์ที่เกิดในมหาอวีจีนรกนี้ได้รับทุกขเวทนาเป็นเวลานานถึงกัลป์หนึ่งจึงจะพ้นทุกข์ กัลป์หนึ่งนั้นมีระยะเวลานานเท่าใด จะนับด้วยปีและเดือนก็มิอาจนับได้ อุปมาเหมือนภูเขาเทือกหนึ่ง สูง ๑ โยชน์ กว้างโดยรอบ ๓ โยชน์ เมื่อถึง ๑๐๐ ปี ถึมีเทวดาองค์หนึ่งนำผ้าทิพย์ ที่บางอ่อนราวควันไฟมากวาดภูเขา แต่ละครั้งที่เทพยดากวาดภูเขาให้ราบเรียบลงเป็นแผ่นดินก็เรียกว่าสิ้นกัลป์หนึ่ง หากมีผู้ถามว่าผู้ที่กระทำบาป ๕ ประการ[๑] แล้วไปเกิดในมหาอวีจีนรก เหตุใดจะนับว่าครบ ๑ กัลป์ เพราะกัลป์หนึ่งผ่านไปแล้ว ๓ ส่วน ยังเหลืออีก ๑ ส่วน และ ไฟบรรลัยกัลป์ก็จะไหม้ขึ้นครั้งหนึ่ง
มีคำตอบดังนี้ บรรดาสัตว์ที่เกิดในมหาอวีจีนรกนั้นก็ยังไม่ครบ ๑ กัลป์ ดังกล่าวแล้ว ถ้าไฟบรรลัยกัลป์ไหม้ก็จะไม่ไหม้คนนรก ทั้งนี้เพราะเมื่อไฟบรรลัยกัลป์ไหม้มาถึงมหาอวีจีนรก ก็จะมีลมชนิดหนึ่งเกิดจากบาปกรรมได้พัดพาตัวคนนรกไปยังนรกขุมอื่นซึ่งไฟยังไหม้ไปไม่ถึง ลมนี้พัดเร็วมาก เปรียบดังนกตัวหนึ่งจับอยู่บนต้นไม้สูงมาก ขณะเมื่อนกบินไปจากต้นไม้ก็จะเห็นเงานกตกลงกลางพื้นดินพร้อมกัน ไม่ทันรู้ว่านกและเงาของนกนั้น สิ่งไหนเกิดก่อนสิ่งไหนเกิดทีหลัง ตราบใดที่ยังไม่ครบกัลป์หนึ่ง คนนรกก็ยังไม่พ้นบาปตราบนั้น ดังเช่นบาปของพระเทวทัตซึ่งไหม้อยู่ในมหาอวีจีนรกนั้น
ระยะทางจากมนุษย์โลกถึงยมโลกคือ ๑๔๐ โยชน์ จากยมโลกถึงมหาอวีจีนรกคือ ๑,๐๐๐ โยชน์ แผ่นดินที่เราอยู่นี้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ น้ำที่พยุงแผ่นดินไว้หนา ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ลมซึ่งพยุงน้ำและดินไว้มิให้จม มิให้ไหวหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ บรรดาสัตว์นรกทั้งหลายนั้นอยู่ใต้แผ่นดินที่เราอยู่นี้ เรื่องของบรรดาสัตว์ที่เกิดในนรกภูมิ บทที่ ๑ มีข้อความย่อ ๆ ดังกล่าวแล้วเพียงเท่านี้
[๑] บาป ๕ ประการนั้น คือ ปัญจานันตริยกรรม ได้แก่ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้โลหิตพระพุทธเจ้าห้อเลือด และยุยงให้สงฆ์แตกกัน