- คำนำ
- คำชี้แจง
- คำนำในการจัดพิมพ์ครั้งแรก
- คำปรารภ
- GENERAL PREFACE
- พระราชประวัติพญาลิไทย
- สังเขปประวัติวรรณคดีไทย
- เตภูมิกถา รตนตยปณามคาถา
- คำแปล
- ความนำ
- บทนำ
- บทที่ ๑ แดนนรก
- บทที่ ๒ แดนของสัตว์เดรัจฉาน
- บทที่ ๓ แดนเปรต
- บทที่ ๔ แดนอสุรกาย
- บทที่ ๕ แดนมนุษย์
- บทที่ ๖ แดนสวรรค์ชั้นฉกามาพจร
- บทที่ ๗ รูปาวจรภูมิ
- บทที่ ๘ อรูปาวจรภูมิ
- บทที่ ๙ อวินิโภครูป
- บทที่ ๑๐ ความพินาศและการเกิดของโลก
- บทที่ ๑๑ นิพพาน
- อวสานพจน์
- ภาคผนวก ๑ คัมภีร์ที่กล่าวอ้างไว้ในไตรภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง)
- ภาคผนวก ๒ รายชื่อคัมภีร์ที่ผู้รจนาไตรภูมิใช้เป็นหนังสืออุเทศ
- ภาคผนวก ๓ แผนภูมิโครงสร้างไตรภูมิ
- ภาคผนวก ๔ ภาพลายเส้นไตรภูมิ
- ภาคผนวก ๕ เส้นทางเดินพระอาทิตย์
- ภาคผนวก ๖ เนื้อหาสาระในแดนต่าง ๆ
- ภาคผนวก ๗ อธิบายเหตุแห่งมรณะ ๔
- ภาคผนวก ๘ ทศพิธราชธรรม
- บรรณานุกรม
- รายนามคณะทำงาน โครงการวรรณกรรมอาเซียน
คำแปล
คาถานมัสการพระรัตนตรัย[๑]
๑ ข้าพเจ้า (พญาลิไทย) ขอกราบนมัสการพระพุทธเจ้า พร้อมพระสหัสธรรม[๒] และพระสงฆ์ผู้มีคุณอันอุดมด้วยเศียรเกล้า ณ ที่นี้แล้ว จักกล่าวไตรภูมิกถาโดยสังเขปนี้ เป็นลำดับไป
๒ ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระพุทธเจ้า ผู้ทรงประสงค์จำแนก(พระสัทธรรม) ให้มั่นคง ให้เป็นศูนย์กลาง (พุทธศาสนา) แห่งนครศรีสัชนาลัย ประทานอมฤตธรรมอันไพเราะ ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระบารมี มีพระฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกดุจช่อฟ้า ทรงพระเกียรติคุณ กลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วสารทิศ ประดุจดอกบัวคือจรณะที่ผุดขึ้นเหนือน้ำให้เกิดความปีติและปราโมทย์
๓ ข้าพเจ้า ขอนมัสการดวงประทีปคือพระธรรมที่พระมุนีเจ้าผู้ประเสริฐทรงตรัสแสดงไว้แล้ว อันกำจัดกิเลสคือความมืดมนแห่งอกุศลให้หมดปรากฏได้ ทำให้เกิดกุศลศวามดี เป็นที่ปลูกฝังศรัทธาความเลื่อมใสแก่ชาวศรีสัชนาลัยที่มีใจแจ่มใสเบิกบานในสถานที่สดับพระสัทธรรมเทศนานั้น
๔ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระสงฆ์เจ้าผู้ทรงศีลอันประเสริฐ ผู้เต็มเปี่ยมด้วยปัญญาดุจแสงสว่าง มีความบริสุทธิ์ดุจน้ำที่สะอาดปราศจากมลทิน ผู้เป็นผลคือทายาทแห่งพระพุทธศาสนา มีดวงใจดุจดังดอกบัวที่เบิกบาน ผู้ปฏิบัติด้วยดีเคารพสักการะในพระสัทธรรม คำสอนที่จำแนกเป็น ๒ อย่าง (คือพระธรรมและพระวินัย) ด้วยความเคารพยิ่ง
๕-๙ พระราชาทรงพระนามว่า “พญาลิไทย” เป็นพระราชากล้าหาญ มีพระปรีชาแตกฉาน เป็นพระโอรสพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย (พญาเลอไทย) มีปัญญาผ่องใสไม่ติดขัด มีเรือนทรัพย์คือพาหุสัจจะ (ความเป็นพหูสูต) ทรงประกาศพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาไม่หวั่นไหว อันปราศจากความมืดมน เป็นพระราชาผู้เป็นนักปราชญ์ มีความรื่นรมย์ มีพระสติปัญญามั่นคง และองอาจยิ่ง เป็นพระราชาผู้ทรงธรรม (ทศพิธราชธรรม) บำเพ็ญทานและศีลเป็นคุณูปการ อุปถัมภ์เลี้ยงดูบุพการีคือมารดาและบิดา มีพระปรีชาสามารถปรากฏในสรรพศาสตร์ทั้งปวง พระองค์ผู้ทรงแตกฉาน มีพระประสงค์จะยกย่องเชิดชู พระ (พุทธ) ศาสนา ด้วยความเคารพตลอดกาลทุกเมื่อ จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ (ไตร) ภูมิกถานี้ขึ้นไว้เป็นภาษาไทย ณ เมืองศรีสัชนาลัย
[๑] นายบุญเลิศ เลนานนท์ นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้แปลไว้ครั้งแรกและเป็นผู้ตรวจชำระคำแปลใหม่ในการพิมพ์ครั้งนี้
[๒] ย่อมาจากคาว่า จตุราสีติลหสฺสธมฺมํ ซึ่งแปลว่า แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ หรืออีกนัยหนึ่งหากแปลตามศัพท์คงไว้ไม่รวมพลความ ซึ่งหมายถึงพระธรรมแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ เช่นเดียวกับคำว่า สหสฺสนโย ซึ่งแปลว่า ท้าวสหัสนัยน์ หมายถึงท้าวสักกเทวราชมีพระเนตรแลดูได้ทุกทิศ