- คำนำ
- คำชี้แจง
- คำนำในการจัดพิมพ์ครั้งแรก
- คำปรารภ
- GENERAL PREFACE
- พระราชประวัติพญาลิไทย
- สังเขปประวัติวรรณคดีไทย
- เตภูมิกถา รตนตยปณามคาถา
- คำแปล
- ความนำ
- บทนำ
- บทที่ ๑ แดนนรก
- บทที่ ๒ แดนของสัตว์เดรัจฉาน
- บทที่ ๓ แดนเปรต
- บทที่ ๔ แดนอสุรกาย
- บทที่ ๕ แดนมนุษย์
- บทที่ ๖ แดนสวรรค์ชั้นฉกามาพจร
- บทที่ ๗ รูปาวจรภูมิ
- บทที่ ๘ อรูปาวจรภูมิ
- บทที่ ๙ อวินิโภครูป
- บทที่ ๑๐ ความพินาศและการเกิดของโลก
- บทที่ ๑๑ นิพพาน
- อวสานพจน์
- ภาคผนวก ๑ คัมภีร์ที่กล่าวอ้างไว้ในไตรภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง)
- ภาคผนวก ๒ รายชื่อคัมภีร์ที่ผู้รจนาไตรภูมิใช้เป็นหนังสืออุเทศ
- ภาคผนวก ๓ แผนภูมิโครงสร้างไตรภูมิ
- ภาคผนวก ๔ ภาพลายเส้นไตรภูมิ
- ภาคผนวก ๕ เส้นทางเดินพระอาทิตย์
- ภาคผนวก ๖ เนื้อหาสาระในแดนต่าง ๆ
- ภาคผนวก ๗ อธิบายเหตุแห่งมรณะ ๔
- ภาคผนวก ๘ ทศพิธราชธรรม
- บรรณานุกรม
- รายนามคณะทำงาน โครงการวรรณกรรมอาเซียน
คำชี้แจง
หนังสือ “ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ” นี้ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดพิมพ์ประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “คติไตรภูมิ : อิทธิพลต่อวิถีสังคมไทย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ - ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ ณ โรงแรม เอส. ดี. อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพมหานคร เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไตรภูมิ โดยมุ่งหวังให้คนในชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของเนื้อหาสาระอันเป็นปรัชญาแห่งพุทธศาสนา และน้อมนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขอย่างยั่งยืน
ไตรภูมิกถาฉบับนี้ถอดความจากเรื่องไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ลิไทย พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ รวมอยู่ในหนังสือชุดวรรณกรรมอาเซียน เป็นฉบับที่ปรับสำนวนภาษาให้เข้าใจง่าย จึงเหมาะสำหรับผู้อ่านในยุคปัจจุบันที่สนใจศึกษาเรื่องราว การจัดพิมพ์ครั้งนี้เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ซึ่งยังคงรักษารูปแบบและเนื้อหาตามฉบับพิมพ์ครั้งแรกเกือบทั้งหมด ยกเว้นคาถาภาษาบาลีบทนมัสการ พระรัตนตรัยและคำแปลต้นเรื่อง ซึ่งนายบุญเลิศ เสนานนท์ หัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ตรวจสอบชำระ แปลและเรียบเรียงใหม่ รวมทั้งเพิ่มเติมข้อความบางแห่งที่ขาดหายไป นอกจากนี้คณะบรรณาธิการยังได้ปรับแก้ไขราชาศัพท์ คำที่พิมพ์ผิด พิมพ์ตก และคำที่ใช้ลักลั่นกันให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับปรุงวรรคตอนตามหลัก การใช้ภาษาเพื่อความสมบูรณ์ของหนังสือด้วย
ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และอดีตประธานคณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน ซึ่งดำเนินการจัดพิมพ์ “ไตรภูมิกถา ฉบับถอดความ” เป็นครั้งแรก ได้กรุณามอบเงินจากบัญชีโครงการวรรณกรรมอาเซียนสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือ “ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ” “ไตรภูมิกถา” พระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ลิไทย และ “ไตรภูมิฉบับท้องถิ่น” รวม ๓ เล่ม เพื่อใช้เป็นหนังสือประกอบการสัมมนาดังกล่าว และแจกจ่ายให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต่อไป สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จึงขอขอบพระคุณในความกรุณาของคุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ เป็นอย่างยิ่งไว้ ณ โอกาสนี้
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์หวังว่า หนังสือ “ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ” ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ จะอำนวยประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้สนใจศึกษาให้ได้รับรู้ถึงคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้ ทั้งด้านวรรณศิลป์ และเนื้อหาสาระซึ่งให้แนวคิดและปรัชญาอันเป็นรากฐานสืบทอดลักษณะไทยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน