- คำนำ
- ๑. พระเจ้าเต้สุ่น
- ๒. เล่าไล่จื๊อ
- ๓. เจ็งชาม
- ๔. เมี่ยนจือเคียน
- ๕. จือหลู
- ๖. ทั่มจื๊อ
- ๗. พระเจ้าฮั่นบุ่นเต้
- ๘. ก้วยกื๊อ
- ๙. ฉั่วสุน
- ๑๐. เต็งหลัง
- ๑๑. กังเก๊ก
- ๑๒. เกียงซี
- ๑๓. ตังอ๎ย้ง
- ๑๔. อึ่งเฮียง
- ๑๕. เล็กเจ้ะ
- ๑๖. เฮ่งเพา
- ๑๗. เม่งจง
- ๑๘. เฮ่งเสียง
- ๑๙. นางเอี้ยเฮียง
- ๒๐. โง่วแม้
- ๒๑. ยูงิมหลู
- ๒๒. นางทั่งฮูหยิน
- ๒๓. จูซิ่วเชียง
- ๒๔. อึ้งเท่งเกียน
๑๐. เต็งหลัง
ครั้งราชวงศ์อ่าวฮั้น ในระหว่างพุทธศักราช ๕๖๘ ถึง ๗๖๒ ที่เมืองฮ่อไหล มีชายคนหนึ่งชื่อเต็งหลัง เป็นคนกตัญญูอย่างแน่วแน่ แม้บิดามารดาเต็งหลังจะได้ตายไปแล้ว แต่เต็งหลังยังรำลึกถึงบุญคุณของบิดามารดาอยู่เสมอ คิดจะหาหนทางคอยแทนบุญคุณให้สมกับความรู้สึกอยู่ในใจของตน จึงให้ช่างสลักรูปบิดามารดาไว้เป็นที่สักการบูชา และจัดหาอาหารเส้นไหว้ทุกเช้าค่ำเหมือนดังว่าบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ทั้งสองคน วันหนึ่งเต็งหลังไม่อยู่ เตียซกที่เป็นเพื่อนบ้านมาขอยืมสิ่งของเครื่องใช้ ภรรยาเต็งหลังจะปฏิเสธไม่ให้ยืมก็เกรงใจ จึงจุดธูปเทียนบูชารูปพ่อผัวแม่ผัว แล้วเสี่ยงทายเป็นเชิงถามว่าจะควรให้เตียซกยืมสิ่งของหรือไม่ควรให้ยืม ครั้นเสี่ยงทายแล้วได้ความว่าไม่ควรให้ยืม นางก็บอกกับเตียซกตามความจริงว่ารูปทั้งสองนั้นไม่ยินดีให้ยืมสิ่งของ บังเอิญขณะนั้นเตียซกกำลังเมาสุราจัด เมื่อได้ฟังคำของนางก็โกรธ จึงเข้าไปด่าว่าและเอาไม้ตีหัวรูปนั้นด้วย
ฝ่ายเต็งหลังกลับมาเห็นรูปบิดามารดาเศร้าหมองดังนั้น ก็ไม่สบายใจ จึงถามภรรยาว่ามีเหตุสิ่งใดเกิดขึ้นหรือ ภรรยาเต็งหลังก็เล่าความทั้งปวงให้เต็งหลังฟัง เต็งหลังได้ทราบเรื่องตลอดแล้วก็มีความโกรธแค้นเตียซกยิ่งนัก จึงฉวยกระบี่วิ่งไปโดยเร็ว ด้วยหมายใจจะแทงเตียซกให้ถึงแก่ความตาย ฝ่ายเตียซกรู้เท่าก็เตรียมตัวฉวยกระบี่ออกมาต่อสู้ ภรรยาเตียซกเห็นว่าสามีของตนจะสู้เต็งหลังมิได้ จึงรีบไปบอกให้ผู้ใหญ่ให้มาช่วยห้ามปราม ขณะนั้นเต็งหลังกวัดแกว่งกระบี่แทงเตียซกอย่างว่องไว เตียซกรับมิอยู่ถูกแทงล้มลง เต็งหลังกำลังเงื้อจะแทงซ้ำให้เตียซกถึงแก่ความตายเป็นการชดเชยต่อความหมิ่นเหม่ของเตียซก ซึ่งได้แสดงแก่รูปเคารพนั้น พอดีญาติมิตรมาถึงช่วยกันกั้นกาง และขอร้องให้เต็งหลังกรุณางดชีวิตเตียซกไว้ เต็งหลังก็ยอมไม่ทำร้ายเตียซกยิ่งไปกว่านั้นอีก แต่มีความพอใจที่ได้ตอบแทนแก่เตียซกแล้ว ฝ่ายเตียซกมีความเจ็บแค้นที่ตนถูกเต็งหลังแทงล้มลง ได้รับความเจ็บปวดแม้ไม่ถึงเสียชีวิตแต่ก็ได้รับทั้งเจ็บทั้งอาย รุ่งขึ้นจึงไปฟ้องต่อเจ้าเมืองกรมการ กรมการเห็นเตียซกมีบาดเจ็บสมคำฟ้อง ก็ให้พนักงานไปเกาะตัวเต็งหลังไปไต่สวน ครั้นพนักงานไปถึงจะเกาะตัวเต็งหลัง ๆ อ้อนวอนว่า ไหน ๆ ข้าพเจ้าก็จะถูกจับไปแล้ว ขอให้ข้าพเจ้าทำพิธีบอกบิดามารดาเป็นคำนับก่อนเถิด ว่าแล้วก็จุดธูปเทียนบูชารูปที่เคารพทั้งสองนั้น คุกเข่าลงคำนับจนครบกำหนดตามธรรมเนียม ฝ่ายพนักงานตามเข้าไปดูรูปเคารพของเต็งหลัง เห็นตาของรูปทั้งสองนั้นมีน้ำตาไหลออกมามีกลิ่นคาวเหมือนน้ำตาคน เมื่อพนักงานเห็นอัศจรรย์ดังนั้นก็จุดธูปเทียนบูชาและทำความเคารพบ้าง แล้วเกาะตัวเต็งหลังไปส่งให้เจ้าเมือง พร้อมทั้งเล่าเรื่องทีตนได้เห็นมาด้วยตาของตนเองนั้นด้วย เจ้าเมืองมีความสงสัยจึงรีบไปยังบ้านเต็งหลังก่อน สอบปากคำคนทั้งหลายและพิเคราะห์ดูรูปที่เคารพทั้งสอง เห็นคราบน้ำตาเป็นดำงคำของพนักงานเล่าก็ยิ่งอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ในที่สุกปรับเตียชกให้ไปขอขมารูปที่เคารพทั้งสองนั้นแล้ว ปล่อยเต็งหลังให้พ้นข้อหาไป และบอกเสนอความดีของเต็งหลังในข้อที่มีความกตัญญูกตเวทีมั่นคงต่อบิดามารดา ไปยังเมืองหลวงตามระเบียบนิยม
ฝ่ายเตียซกเห็นเจ้าเมืองปล่อยเต็งหลัง และยังยกย่องเต็งหลังว่าเป็นคนมีความกตัญญูกตเวทีแรงกล้า ก็เกิดรู้สึกสำนึกตนว่าได้ทำความผิดรุนแรงเกินไปมาก จึงจัดหาสิ่งของเครื่องคำนับพร้อมด้วยญาติผู้ใหญ่ไปเส้นไหว้ขมารูปที่เคารพทั้งสองนั้น เต็งหลังรับรองผู้ใหญ่ที่ไปตามธรรมเนียม และพูดจาปราสัยด้วยเตียซกเป็นอันดี เพราะแต่ก่อนมาก็เคยรักใคร่สนิทสนมกันอยู่แล้ว หากแต่เตียซกทำการอุกอาจล่วงเกินจึงแตกร้าวกัน
อยู่มาไม่นานเจ้าเมืองได้รับหนังสือเมืองหลวง ยกย่องเต็งหลังเป็นเฮาเหลี่ยมและให้ไปทำราชการที่เมืองหลวง เจ้าเมืองก็เชิญพระราชโองการประกาศให้ประชาชนทราบ และเชิญเต็งหลังให้ไปทำราชการที่เมืองหลวง แต่เต็งหลังไม่ปรารถนาจะไปอยู่เมืองหลวง จึงขอผ่อนผันโดยยกเหตุว่าคนเป็นคนมีโรคภัยเบียดเบียฬ อยู่ที่บ้านเดิมมีความผาสุกดีแล้ว เกรงว่าต้องไปอยู่เมืองหลวงจะไม่กินอยู่นาน เจ้าเมืองก็ยอมผ่อนผันตามอัธยาศัยเต็งหลัง.