- คำนำ
- อธิบายประเพณีพระราชปุจฉา
- พระราชปุจฉาที่ ๑๗
- พระราชปุจฉาที่ ๑๘
- พระราชปุจฉาที่ ๑๙
- พระราชปุจฉาที่ ๒๐
- พระราชปุจฉาที่ ๒๑
- พระราชปุจฉาที่ ๒๒
- พระราชปุจฉาที่ ๒๓
- พระราชปุจฉาที่ ๒๔
- พระราชปุจฉาที่ ๒๕
- พระราชปุจฉาที่ ๒๖
- พระราชปุจฉาที่ ๒๗
- พระราชปุจฉาที่ ๒๘
- พระราชปุจฉาที่ ๒๙
- พระราชปุจฉาที่ ๓๐
- พระราชปุจฉาที่ ๓๑
- พระราชปุจฉาที่ ๓๒
- พระราชปุจฉาที่ ๓๓
- พระราชปุจฉาที่ ๓๔
- พระราชปุจฉาที่ ๓๕
- พระราชปุจฉาที่ ๓๖
- พระราชปุจฉาที่ ๓๗
- พระราชปุจฉาที่ ๓๘
- พระราชปุจฉาที่ ๓๙
พระราชปุจฉาที่ ๒๖
(ไม่พบพระราชปุจฉา มีแต่คำถวายวิสัชนา)
ว่าด้วยผู้ที่ไม่เปนอุปสัมบันแลปาราชิก บุคคลให้อุปสมบทกุลบุตรแลทำสังฆกรรมต่างๆ จะเปนสังฆกรรมฤๅไม่
----------------------------
แก้พระราชปุจฉาที่ ๒๖
๏ อาตมภาพ พระราชาคณะ ๑๐ ถานานุกรม ๒ รวม ๑๒ รูป สมเด็จพระสังฆราช พระพนรัต พระพุทธโฆษา พระเทพกระวี พระพรหมมุนี พระญาณวิริย พระสุเมธ พระญาณรักขิต พระมงคลเทพ พระญาณสังวร พระปลัดสุเมธ พระวินัยธรรมวัดพระยาธรรม รวม ๑๒ รูป พร้อมกันปฤกษาขอพระราชทานขอถวายพระพร ด้วยข้อเนื้อความผู้กระทำทุจริตผิดด้วยพระพุทธจักรพระอาณาจักร ถึงอันติมวัตถุปาราชิกเปนข้อใหญ่ สงไสยในกาลจะลงพระอุโบสถปวารณาพระวัสสา แลเปนอุปัชฌาย์กรรมวาจาอนุสาวนะบวชกุลบุตร ๆ นั้นจะเปนภิกษุฤๅไม่เปน พิจารณาดูในคัมภีร์ปาจิตติยอรรถกถาปาจิตติย มหาวัคค อรรถกถามหาวัคคธรรมสมุหวินัย ได้พระบาฬีว่า โอณวีสติวสฺสํ ปน ปริปุณฺณวีสติ สฺาย ฯ ล ฯ สเจ ปน ทสวสฺสํ จ เยน อฺญํ อุปสมฺปาเทติ ตฺเจ มฺุจิตวา ตโนณปุรติ อุปสมฺปนฺโน ฯ แปลเนื้อความว่ากุลบุตรซึ่งมีอายุยังมิครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ภิกษุสำคัญว่าครบ ๒๐ บริบูรณ์แล้วให้อุปสมบทแก่กุลบุตรนั้น ๆ หาเปนอุปสมบทไม่ แต่ทว่าสำคัญว่าตนเปนภิกษุ ครั้นได้ ๑๐ พระวัสสาเปนอุปัชาย์ให้อุปสมบทบวชกุลบุตรผู้อื่น ถ้าแลว่าคณะสงฆ์เว้นพระอุปัชฌาย์นั้นครบ ๑๐ รูปบริบูรณ์อยู่แล้ว กุลบุตรผู้บวชนั้นได้ชื่อว่าอุปสมบทบวชเปนอันดี ถ้าแลกรรมวาจาอนุสาวนะเปนทุศีล คณะสงฆ์สำคัญว่ากกรรมวาจาอนุสาวนะนั้นมีศีลบริบูรณ์อยู่ ให้อุปสมบทบวชกุลบุตร ๆ นั้นก็ได้ชื่อว่าภิกษุเปนอันดี เหตุภิกษุทุศีลสวดกรรมกาจานั้นสวดด้วยอำนาจสงฆ์ได้ชื่อสงฆ์สวด เหตุพระบาฬีว่า สํโฆ อุปสมฺปาเทยฺย สํโฆ อุปสมฺปาเทติ อุปสมฺปนฺโน สํเฆน นาโค ฯ อนึ่งภิกษุสงฆ์จะกระทำอุโปสถนั้น ถ้าคณะสงฆ์ ๔ รูป กับทั้งภิกขุทุศีลนั้น อุโบสถนั้นมิเปนอันกระทำ อนึ่งภิกษุสงฆ์จะกระทำปวารณากรรมนั้นถ้าคณะสงฆ์ ๕ รูป กับทั้งพิกษุทุศีลขั้นปวารณากรรมนั้นมิเปนอันกระทำ ถ้าภิกษุปรกติครบ ๔ รูปในอุโบสถกรรมครบ ๕ รูปในปวาระณากรรมอยู่แล้ว แม้นว่าภิกษุทุศีลแทรกปนอยู่ด้วยแลคณะสงฆ์มิได้รู้ อุโบสถกรรมปวารณากรรมนั้นเปนอันกระทำ ถ้าคณะสงฆ์รู้แล้วแลกระทำอุโบสถกรรมปวารณากรรมกับภิกษุทุศีล อุโบสถกรรมปวารณากรรมนั้นไม่เปนอันกระทำ คณะสงฆ์นั้นก็ต้องอาบัติทุกกฎ แลซึ่งวินัยสิกขาบทนี้เปนพุทธวิไสยลึกซึ้งสุขุมภาพยิ่งนัก อาตภาพทั้งปวงพิพากษามาทั้งนี้ตามวาระพระบาฬีอรรถกถาฎีกาฉลองพระเดชพระคุณ ได้เนื้อความแต่เพียงนี้ ขอถวายพระพร ๚