- คำนำ
- อธิบายประเพณีพระราชปุจฉา
- พระราชปุจฉาที่ ๑๗
- พระราชปุจฉาที่ ๑๘
- พระราชปุจฉาที่ ๑๙
- พระราชปุจฉาที่ ๒๐
- พระราชปุจฉาที่ ๒๑
- พระราชปุจฉาที่ ๒๒
- พระราชปุจฉาที่ ๒๓
- พระราชปุจฉาที่ ๒๔
- พระราชปุจฉาที่ ๒๕
- พระราชปุจฉาที่ ๒๖
- พระราชปุจฉาที่ ๒๗
- พระราชปุจฉาที่ ๒๘
- พระราชปุจฉาที่ ๒๙
- พระราชปุจฉาที่ ๓๐
- พระราชปุจฉาที่ ๓๑
- พระราชปุจฉาที่ ๓๒
- พระราชปุจฉาที่ ๓๓
- พระราชปุจฉาที่ ๓๔
- พระราชปุจฉาที่ ๓๕
- พระราชปุจฉาที่ ๓๖
- พระราชปุจฉาที่ ๓๗
- พระราชปุจฉาที่ ๓๘
- พระราชปุจฉาที่ ๓๙
คำนำ
พระยามหิบาลบริรักษ์ กับคุณหญิงอุ๊น มหิบาล ต.จ. จะทำการปลงศพ นางเป้า คุณเสถียร มารดาคุณหญิงมหิบาลบริรักษ์ ปราถนาจะใคร่พิมพ์หนังสือเปนของแจกเนื่องในทักษิณานุปทานการกุศลซึ่งบำเพ็ญนั้นสักเรื่อง ๑ มาขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องหนังสือในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครให้พิมพ์ตามประสงค์
ในขณะนั้นหอพระสมุดฯ กำลังรวบรวมเรื่องพระราชปุจฉาครั้งกรุงศรีอยุธยาแลครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จะพิมพ์เปนหนังสือประชุมพระราชปุจฉาขึ้นใหม่ เปนหนังสือ ๕ ภาค แลมหาอำมาตย์ตรี พระยาประภากรวงศ์ ได้รับพิมพ์ภาคที่ ๑ อำมาตย์โท พระบรรหารภูมิสถิตย์ ได้รับพิมพ์ภาคที่ ๒ แล้ว ข้าพเจ้าจึงชวนให้พระยามหิบาลบริรักษ์กับคุณหญิงมหิบาลบริรักษ์ พิมพ์ภาคที่ ๓ ต่อมา เพราะหนังสือเรื่องนี้ซึ่งใคร่ๆ คงจะชอบใจอ่านโดยมาก
เรื่องประวัติของพระราชปุจฉานี้ หอพระสมุดฯ ได้เคยพิมพ์ในสมุดเล่ม ๑ เปนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ แต่เรื่องพระราชปุจฉารวบรวมได้ในเวลานั้นยังน้อย ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรประการประทานฉบับเพิ่มเติมบ้าง ได้มาจากที่อื่นอิกบ้าง จึงเห็นว่าควรจะรวมพิมพ์ใหม่อิกครั้ง ๑ แต่จะพิมพ์เปนสมุดเล่มเดียวอย่างครั้งแรก เกรงขนาดเล่มสมุดจะใหญ่เกินไป แลทุนที่พิมพ์จะแรงนัก จึงได้คิดทำเปนประชุมพระราชปุจฉาแลแบ่งพิมพ์เปน ๕ ภาคด้วยกัน หวังใจว่าจะมีท่านผู้อื่นรับพิมพ์ภาคหลังๆ ต่อไปจนจบ
ข้าพเจ้าขออนุโมทนากุศลบุญราษี ซึ่งพระยามหิบาลบริรักษ์กับคุณหญิงมหิบาลบริรักษ์ ได้บำเพ็ญในการปลงศพสนองคุณมารดา คุณหญิงมหิบาลบริรักษ์ ด้วยความกตัญญูกตเวที แลได้พิมพ์หนังสือนี้ให้แพร่หลาย หวังใจว่าท่านทั้งหลายผู้ซึ่งได้รับหนังสือนี้ไป คงจะอนุโมทนาทั่วกัน
สภานายก
หอพระสมุดวชิรญาณ
วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๔