- คำนำ
- ๗๑. ประกาศว่าด้วยตราประจำหมายประกาศ
- ๗๒. ประกาศว่าด้วยผู้ที่จะรับทำภาษีอากรต่างๆ ให้ทำเรื่องราวยื่นตามกรม
- ๗๓. ประกาศว่าด้วยเขตรที่ซึ่งฝรั่งจะเช่าฤๅซื้อได้
- ๗๔ ประกาศว่าด้วยการประพฤติต่อฝรั่งเศสอังกฤษและอเมริกัน ที่มาอยู่ในเมืองไทย
- ๗๕ ประกาศเตือนให้ราษฎรซื้อข้าว เพราะจะเปิดให้จำหน่ายออกนอกประเทศ
- ๗๖ ประกาศเรียกอากรมะพร้าว ๓ ต้นสลึง
- ๗๗ ประกาศอนุญาตให้ชาวกรุงฯ รับจ้างฝรั่ง
- ๗๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนตื่นข่าวเรื่องเรือรบไปมา
- ๗๙ ประกาศว่าด้วยกลับตั้งอากรค่าน้ำและลดค่านาคู่โค
- ๘๐ ประกาศพิกัดอากรค่าน้ำ
- ๘๑. ประกาศเตือนสติผู้ซื้อข้าวขายข้าว
- ๘๒. ประกาศให้ใช้เงินเหรียญนอก (ครั้งที่ ๑)
- ๘๓ ประกาศทรงตักเตือนไม่ให้ทิ้งศพสัตว์ลงในน้ำ และให้ทอดเตาไฟอย่าให้เปนเชื้อเพลิง และให้คิดทำลิ่มสลักรักษาเรือน
- ๘๔ ประกาศเรื่องให้หนังสือคุ้มภาษีอากรโดยพลการ
- ๘๕ ประกาศกำหนดเวลาถวายฎีกา
- ๘๖ พระบรมราโชวาทพระราชทานรางวัลเพิ่มเบี้ยหวัดพระบรมวงศานุวงศ์
- ๘๗ พระบรมราโชวาทพระราชทานเงินและทรงสั่งสอนพระเจ้าลูกเธอฯ
- ๘๘ ประกาศห้ามไม่ให้ใช้คำบางคำกราบบังคมทูล ฯ
- ๘๙ ประกาศสงกรานต์ปีมะเสงนพศก
- ๙๐ ประกาศตักเตือนเรื่องซื้อข้าวขายข้าวในปีมะเสง
- ๙๑ ประกาศอนุญาตให้คนในบังคับสยามรับทำงานของกงสุลอังกฤษได้
- ๙๒ ประกาศกำหนดอำนาจเจ้าบ้าน และเจ้าพนักงานในการจับกุม
- ๙๓ ประกาศห้ามไม่ให้เอาทองเหรียญเงินเหรียญแต่งตัวให้เด็กและอนุญาตให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๔ ประกาศยกเลิกการยิงกระสุนและอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๙๕ ประกาศเรื่องความทาสลูกหนี้และภรรยาหนีไปอยู่วังเจ้าบ้านผู้มีบรรดาศักดิ์สูง
- ๙๖ ประกาศให้ใช้เงินเหรียญครั้งที่ ๒
- ๙๗ ประกาศแผ่พระราชกุศลซ่อมแซมถนน
- ๙๘ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๙ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์สามเณรเที่ยวแตร่ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๑๐๐ ประกาศการรักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทเลตวันออก
- ๑๐๑ ประกาศให้ผู้ที่ไปราชการหัวเมืองและต่างประเทศทำหนังสือกราบบังคมทูลโดยตรง
๙๘ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้เงินเหรียญนอก
ณวันพุธ เดือนสิบสอง แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเสง นพศก
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยและลูกค้าพานิชในประเทศ นอกประเทศ และราษฎรนอกกรุงในกรุง และหัวเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี เมืองจัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือให้จงรู้ทั่วกัน ด้วยแต่ก่อนได้มีหมายประกาศว่า ให้ใช้เงินเหรียญกับความแจ้งอยู่ในหมายประกาศทั้ง ๒ ฉบับนั้นแล้ว และทุกวันนี้ลูกค้าในประเทศนอกประเทศ คุมเงินเหรียญเข้ามาใช้ซื้อสินค้าในกรุงเทพฯ มากขึ้นทุกคราวเรือไป คิดดูตามบาญชีถึงสามสิบแสนเหรียญเศษแล้ว เจ้าของเงินเหรียญคุมเงินเข้าไปแลกเงินบาท เจ้าพนักงานทำเปนเงินบาทก็ไม่ใคร่จะทันการที่จะใช้ จนถึงเดือนกำหนดเบี้ยหวัดก็ต้องแจกเบี้ยหวัดเปนเงินเหรียญไปแก่ข้าราชการ และข้าราชการทั้งปวงรับเงินเหรียญไปแล้วจะเอาไปใช้ก็มีผู้จะรับบ้างไม่มีผู้รับบ้าง ได้ความลำบากเพราะจะต้องไปแลกเงินบาท หมายประกาศไปให้ใช้เงินเหรียญถึง ๒ ครั้งแล้วก็ยังหาใช้เงินเหรียญทั่วกันไปได้ไม่ และตั้งแต่นี้ไปจะต้องมีพระราชบัญญัติให้มีเบี้ยปรับเสียบ้าง เพราะไม่ฟังทำตามบังคับพระเจ้าแผ่นดินและเสนาบดีพร้อมกันบังคับประกาศมา
บัดนี้จึงมีพระราชบัญญัติพร้อมกับความคิดท่านเสนาบดีมาให้รู้ทั่วกันว่า ตั้งแต่นี้ไป ถ้าข้าราชการก็ดีลูกค้าในประเทศนอกประเทศ และราษฎรคนใดที่มีเงินเหรียญ จะใช้ถ่ายข้าตัวทาสและใช้หนี้ เงินกู้ เงินยืม และใช้เงินค่าสินค้าซึ่งเกี่ยวค้างกันมาแต่ก่อน ก็ให้ผู้เจ้าหนี้นายเงินรับเงินเหรียญคิดสามเหรียญเปนเงินตราห้าบาทตามพิกัดซึ่งหมายแต่ก่อน ถ้าเจ้าหนี้นายเงินไม่รับเงินเหรียญไว้จะรับแต่เงินตราบาทฝ่ายเดียว ที่กรุงเทพฯ ให้ผู้เปนลูกหนี้มาร้องต่อเจ้าพนักงานพระคลังสินค้า ซึ่งได้ตั้งรับแลกเงินเหรียญอยู่ณพระคลังสินค้า ที่หัวเมืองให้ผู้เปนลูกหนี้มาร้องต่อผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการ จะได้หมายไปหาตัวเจ้าหนี้นายเงินผู้ไม่รับเงินเหรียญมาว่ากล่าวให้รับเงินเหรียญไป แล้วให้เจ้าพนักงานพระคลังสินค้า และผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการ คิดหักไว้เปนพิไนยหลวงร้อยละห้าตามเงินมากและน้อย เพราะเจ้าหนี้นายเงินมิได้ทำตามหมายประกาศแต่ก่อน และลูกค้าในประเทศนอกประเทศจะซื้อขายต่อไปภายหน้าว่าราคาสินค้าตกลงกันแล้ว จะสัญญาใช้กันเปนเงินตราเงินเหรียญก็ให้มีหนังสือสัญญาสำคัญเปนพยานกันไว้ ถ้าไม่มีหนังสือสัญญาเปนสำคัญจะมีความทุ่มเถียงต่อกัน ก็ให้เจ้าพนักงานและผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการ ตัดสินให้ใช้เงินเหรียญกันได้ แล้วให้ชักไว้เปนเงินพิไนยร้อยละห้า ตั้งแต่ณวันพุธ เดือนอ้าย เริ่มค่ำ ๑ ปีมะเสงนพศกทุกราย ด้วยมิได้มีหนังสือสัญญาสำคัญต่อกันดังหมายประกาศนี้
ประกาศมาณวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเสงนักษัตรนพศก