- คำนำ
- ๗๑. ประกาศว่าด้วยตราประจำหมายประกาศ
- ๗๒. ประกาศว่าด้วยผู้ที่จะรับทำภาษีอากรต่างๆ ให้ทำเรื่องราวยื่นตามกรม
- ๗๓. ประกาศว่าด้วยเขตรที่ซึ่งฝรั่งจะเช่าฤๅซื้อได้
- ๗๔ ประกาศว่าด้วยการประพฤติต่อฝรั่งเศสอังกฤษและอเมริกัน ที่มาอยู่ในเมืองไทย
- ๗๕ ประกาศเตือนให้ราษฎรซื้อข้าว เพราะจะเปิดให้จำหน่ายออกนอกประเทศ
- ๗๖ ประกาศเรียกอากรมะพร้าว ๓ ต้นสลึง
- ๗๗ ประกาศอนุญาตให้ชาวกรุงฯ รับจ้างฝรั่ง
- ๗๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนตื่นข่าวเรื่องเรือรบไปมา
- ๗๙ ประกาศว่าด้วยกลับตั้งอากรค่าน้ำและลดค่านาคู่โค
- ๘๐ ประกาศพิกัดอากรค่าน้ำ
- ๘๑. ประกาศเตือนสติผู้ซื้อข้าวขายข้าว
- ๘๒. ประกาศให้ใช้เงินเหรียญนอก (ครั้งที่ ๑)
- ๘๓ ประกาศทรงตักเตือนไม่ให้ทิ้งศพสัตว์ลงในน้ำ และให้ทอดเตาไฟอย่าให้เปนเชื้อเพลิง และให้คิดทำลิ่มสลักรักษาเรือน
- ๘๔ ประกาศเรื่องให้หนังสือคุ้มภาษีอากรโดยพลการ
- ๘๕ ประกาศกำหนดเวลาถวายฎีกา
- ๘๖ พระบรมราโชวาทพระราชทานรางวัลเพิ่มเบี้ยหวัดพระบรมวงศานุวงศ์
- ๘๗ พระบรมราโชวาทพระราชทานเงินและทรงสั่งสอนพระเจ้าลูกเธอฯ
- ๘๘ ประกาศห้ามไม่ให้ใช้คำบางคำกราบบังคมทูล ฯ
- ๘๙ ประกาศสงกรานต์ปีมะเสงนพศก
- ๙๐ ประกาศตักเตือนเรื่องซื้อข้าวขายข้าวในปีมะเสง
- ๙๑ ประกาศอนุญาตให้คนในบังคับสยามรับทำงานของกงสุลอังกฤษได้
- ๙๒ ประกาศกำหนดอำนาจเจ้าบ้าน และเจ้าพนักงานในการจับกุม
- ๙๓ ประกาศห้ามไม่ให้เอาทองเหรียญเงินเหรียญแต่งตัวให้เด็กและอนุญาตให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๔ ประกาศยกเลิกการยิงกระสุนและอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๙๕ ประกาศเรื่องความทาสลูกหนี้และภรรยาหนีไปอยู่วังเจ้าบ้านผู้มีบรรดาศักดิ์สูง
- ๙๖ ประกาศให้ใช้เงินเหรียญครั้งที่ ๒
- ๙๗ ประกาศแผ่พระราชกุศลซ่อมแซมถนน
- ๙๘ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๙ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์สามเณรเที่ยวแตร่ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๑๐๐ ประกาศการรักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทเลตวันออก
- ๑๐๑ ประกาศให้ผู้ที่ไปราชการหัวเมืองและต่างประเทศทำหนังสือกราบบังคมทูลโดยตรง
๗๒. ประกาศว่าด้วยผู้ที่จะรับทำภาษีอากรต่างๆ ให้ทำเรื่องราวยื่นตามกรม
(ณเดือน ๕ ปีมะโรงอัฐศก)
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ตีพิมพ์ประกาศแก่ผู้ที่จะเดินเหินเปนเจ้าภาษีนายอากรทั้งปวงให้รู้ทั่วกัน ว่าตั้งแต่นี้ไปจีนฤๅไทยผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเปนเจ้าภาษีรายใหม่ยังไม่เคยมีแต่ก่อน เมื่อเห็นว่าพอจะเก็บพระราชทรัพย์ทูลเกล้าฯ ถวายเปนประโยชน์กับแผ่นดินได้ ถ้าผู้นั้นขึ้นในกรมมหาดไทย ก็ให้ทำเรื่องราวมายื่นกรมมหาดไทย ถ้าขึ้นในกรมพระกลาโหม ก็ให้มายื่นกับกรมพระกลาโหม ถ้าขึ้นในกรมท่าก็ให้มายื่นกรมท่า ถ้าขึ้นในพระคลังสินค้าก็ให้ยื่นกับพระคลังสินค้า ฤๅผู้ซึ่งจะเปนเจ้าภาษีนั้นอยู่ในกรุงฯ จะทำเรื่องราวไปยื่นทั้ง ๓ กรมฤๅกรมใดกรมหนึ่งก็ตาม ฤๅจะไปยื่นกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ นรเนตรนาถราชสุริยวงศ์ก็ได้ ถ้าใน ๑๕ วันว่าไม่แล้ว ก็ให้หานายหน้าข้างหน้าข้างใน นำเรื่องราวขึ้นกราบทูลพระกรุณา ให้พร้อมกับหนังสือประกันและตัวนายประกันที่ทรงรู้จักฤๅที่ควรจะทรงรู้จัก จะทรงตัดสินให้แล้ว แต่ในเรื่องราวนั้นอย่าให้ว่าแบ่งปันตั้งพิกัดเอาเองว่าเท่านี้เท่านั้น ขึ้นที่นั้นเท่านั้น ที่นั่นเท่านั้นให้แรงไป ให้ว่าอ่อนน้อมเข้ามาพอสมควร
ถ้าภาษีอากรรายเก่าที่มีอยู่แล้ว เห็นเจ้าภาษีนายอากรคนเก่าทำมีกำไร แต่หาบวกขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายไม่ จะมาประมูลพระราชทรัพย์ให้ทวีมากขึ้นไปนั้น ถ้าขึ้นพระคลังมหาสมบัติ ก็ให้ยื่นเรื่องราวกับเจ้าพนักงารพระคลังมหาสมบัติ ขึ้นพระคลังสินค้าก็ให้ยื่นกับเจ้าพนักงารพระคลังสินค้า ถ้าสงสัยเจ้าพนักงานว่าจะเห็นกับหน้าผู้อื่นจะไม่ทำโดยซื่อสัตย์สุจริต ก็ให้หานายหน้าข้างหน้าฤๅข้างใน ให้นำเรื่องราวขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ให้ทรงทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทพร้อมทั้งผู้ประกัน เมื่อทรงเห็นว่าควรจะได้แก่ผู้ใด ก็จะโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพนักงารให้กับผู้นั้นทำไป.
ประกาศมาณวันเดือน ๕ ปีมะโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘