- คำนำ
- ๗๑. ประกาศว่าด้วยตราประจำหมายประกาศ
- ๗๒. ประกาศว่าด้วยผู้ที่จะรับทำภาษีอากรต่างๆ ให้ทำเรื่องราวยื่นตามกรม
- ๗๓. ประกาศว่าด้วยเขตรที่ซึ่งฝรั่งจะเช่าฤๅซื้อได้
- ๗๔ ประกาศว่าด้วยการประพฤติต่อฝรั่งเศสอังกฤษและอเมริกัน ที่มาอยู่ในเมืองไทย
- ๗๕ ประกาศเตือนให้ราษฎรซื้อข้าว เพราะจะเปิดให้จำหน่ายออกนอกประเทศ
- ๗๖ ประกาศเรียกอากรมะพร้าว ๓ ต้นสลึง
- ๗๗ ประกาศอนุญาตให้ชาวกรุงฯ รับจ้างฝรั่ง
- ๗๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนตื่นข่าวเรื่องเรือรบไปมา
- ๗๙ ประกาศว่าด้วยกลับตั้งอากรค่าน้ำและลดค่านาคู่โค
- ๘๐ ประกาศพิกัดอากรค่าน้ำ
- ๘๑. ประกาศเตือนสติผู้ซื้อข้าวขายข้าว
- ๘๒. ประกาศให้ใช้เงินเหรียญนอก (ครั้งที่ ๑)
- ๘๓ ประกาศทรงตักเตือนไม่ให้ทิ้งศพสัตว์ลงในน้ำ และให้ทอดเตาไฟอย่าให้เปนเชื้อเพลิง และให้คิดทำลิ่มสลักรักษาเรือน
- ๘๔ ประกาศเรื่องให้หนังสือคุ้มภาษีอากรโดยพลการ
- ๘๕ ประกาศกำหนดเวลาถวายฎีกา
- ๘๖ พระบรมราโชวาทพระราชทานรางวัลเพิ่มเบี้ยหวัดพระบรมวงศานุวงศ์
- ๘๗ พระบรมราโชวาทพระราชทานเงินและทรงสั่งสอนพระเจ้าลูกเธอฯ
- ๘๘ ประกาศห้ามไม่ให้ใช้คำบางคำกราบบังคมทูล ฯ
- ๘๙ ประกาศสงกรานต์ปีมะเสงนพศก
- ๙๐ ประกาศตักเตือนเรื่องซื้อข้าวขายข้าวในปีมะเสง
- ๙๑ ประกาศอนุญาตให้คนในบังคับสยามรับทำงานของกงสุลอังกฤษได้
- ๙๒ ประกาศกำหนดอำนาจเจ้าบ้าน และเจ้าพนักงานในการจับกุม
- ๙๓ ประกาศห้ามไม่ให้เอาทองเหรียญเงินเหรียญแต่งตัวให้เด็กและอนุญาตให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๔ ประกาศยกเลิกการยิงกระสุนและอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๙๕ ประกาศเรื่องความทาสลูกหนี้และภรรยาหนีไปอยู่วังเจ้าบ้านผู้มีบรรดาศักดิ์สูง
- ๙๖ ประกาศให้ใช้เงินเหรียญครั้งที่ ๒
- ๙๗ ประกาศแผ่พระราชกุศลซ่อมแซมถนน
- ๙๘ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๙ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์สามเณรเที่ยวแตร่ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๑๐๐ ประกาศการรักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทเลตวันออก
- ๑๐๑ ประกาศให้ผู้ที่ไปราชการหัวเมืองและต่างประเทศทำหนังสือกราบบังคมทูลโดยตรง
๗๖ ประกาศเรียกอากรมะพร้าว ๓ ต้นสลึง
(วันพฤหัสบดี เดือน ๙ ขึ้น ๖ ค่ำ ๒ ปีมะโรงอัฐศก)
ด้วยพระยาพิพิธโภไครับพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า แต่ก่อนเจ้าภาษีน้ำมันมะพร้าวมาร้องว่าลางตำบลบ้านที่คนต่างๆ ไม่ได้เข้าออกคลุกคล่ำมักมีผู้ทำน้ำมันมะพร้าวปลอมแซกซื้อขายเปนอันมาก ครั้นจะแต่งคนพวกพ้องเจ้าภาษีให้ไปจับ ก็มักมีถ้อยความวิวาทชกตีและทุ่มเถียงกัน ต้องเปนคดีขึ้นโรงศาลป่วยการทำอากรภาษี จึงหารู้ที่จะทำอย่างไรไม่ จะขอทำภาษีผลมะพร้าวที่ในสวนของราษฎรทีเดียว เจ้าภาษีจะจัดซื้อ ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟื้อง จะจำหน่ายขายให้กับผู้ที่จะทำน้ำมัน ๑๐๐ ละ ๕ สลึง จึงท่านเสนาบดีปฤกษากันเห็นว่าราคามะพร้าวปรกติธรรมดาราษฎรซื้อขายกัน เมื่อคราวมะพร้าวชุมฤๅผลเล็กขายกัน ๑๐๐ ละ ๒ สลึง สลึงเฟื้องก็มีบ้าง เมื่อคราวมะพร้าวแพงที่ผลใหญ่ขายกัน ๑๐๐ ละบาทก็มี ๕ สลึงก็มี จึงให้เจ้าภาษีซื้อ ๑๐๐ ละ ๒ สลึงเฟื้อง เปนราคากลางควรอยู่แล้ว แต่ถ้าสวนของผู้ใดเจ้าของจะใช้สอยกินเอง ฤๅจะทำน้ำมันใช้สอยที่บ้านที่เรือนของตัวก็ไม่ห้าม แต่มิให้ขายให้กับผู้อื่นไปทำน้ำมัน ด้วยน้ำมันมะพร้าวเปนสินค้าใหญ่บรรทุกไปขายต่างประเทศมีกำไรมาก ครั้นสืบมาได้ความว่า เจ้าภาษีหาทำตามพิกัดอัตราไม่ ซื้อมะพร้าวของราษฎรชาวสวนก็ลดราคาเสียบ้าง เรียกเอามะพร้าวแถมปะดนร้อยหนึ่ง ๒๐ ผลบ้าง ๓๐ ผลบ้าง แล้วเที่ยวจับปรับไหมลงเอาเงินกับราษฎร โดยความเท็จบ้างจริงบ้าง ราษฎรได้รับความเดือดร้อนต่างๆ ครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลิกภาษีผลมะพร้าวน้ำมันมะพร้าวเสีย ให้ราษฎรขายผลมะพร้าวและทำน้ำมันขายตามชอบใจของตัวเปนสุขสบาย แต่ยังขัดอยู่ด้วยต้องการน้ำมันมะพร้าวจับจ่ายใช้สอยราชการในพระบรมมหาราชวัง และพระบวรราชวัง บูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวง และพระราชทานน้ำมันประจำเดือนกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายในเสมอทุกเดือนเปนอันมาก ครั้นจะยกเสียไม่ให้เรียกค่ามะพร้าวเลยทีเดียว ก็หามีกำลังอื่นมาใช้แทนในที่จะจัดซื้อน้ำมันมะพร้าวจับจ่ายในราชการไม่
จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกค่าอากรมะพร้าวที่เรียกต้นละ ๑๐๐ เบี้ยในหน้าโฉนดเก่านั้นเสีย ให้เรียกเอา ๓ ต้นเปนเงินสลึงหนึ่ง เปนอันสมทบอากรมะพร้าวในสวนและภาษีเปนอันเดียวกันเสียทีเดียว มิให้ราษฎรได้ความลำบาก คิดเปนเงินพอครบจำนวนที่จัดซื้อน้ำมันมะพร้าวจับจ่ายราชการ และผลมะพร้าวต้นหนึ่งที่ผลดกก็เก็บได้ปีละ ๗๐ ผล ๘๐ ผลบ้าง ลางต้นที่ไม่สู้ดกก็เก็บได้ปีหนึ่งกว่า ๓๐ ผล ๔๐ ผล เรียกค่าต้นดังนี้ ราษฎรจะได้ทนุบำรุงต้นมะพร้าวให้งามดี ก็คงจะมีผลประโยชน์กับราษฎรกว่าแต่ก่อน ตั้งแต่ปีมะโรงนักษัตรอัฐศกนี้ไป ภาษีผลมะพร้าวและน้ำมันมะพร้าวเปนอันเลิกแล้ว ให้ราษฎรที่มีสวนมะพร้าวเสียเงินค่าอากรมะพร้าวให้กับนายระวาง ๓ ต้นเปนเงินสลึงหนึ่ง ตามบาญชีในหน้าโฉนดใหญ่เสมอจงทุกปีตามรับสั่ง
หมายประกาศมาณวันพฤหัสบดี เดือน ๙ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรงนักษัตรอัฐศก