- คำนำ
- ๗๑. ประกาศว่าด้วยตราประจำหมายประกาศ
- ๗๒. ประกาศว่าด้วยผู้ที่จะรับทำภาษีอากรต่างๆ ให้ทำเรื่องราวยื่นตามกรม
- ๗๓. ประกาศว่าด้วยเขตรที่ซึ่งฝรั่งจะเช่าฤๅซื้อได้
- ๗๔ ประกาศว่าด้วยการประพฤติต่อฝรั่งเศสอังกฤษและอเมริกัน ที่มาอยู่ในเมืองไทย
- ๗๕ ประกาศเตือนให้ราษฎรซื้อข้าว เพราะจะเปิดให้จำหน่ายออกนอกประเทศ
- ๗๖ ประกาศเรียกอากรมะพร้าว ๓ ต้นสลึง
- ๗๗ ประกาศอนุญาตให้ชาวกรุงฯ รับจ้างฝรั่ง
- ๗๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนตื่นข่าวเรื่องเรือรบไปมา
- ๗๙ ประกาศว่าด้วยกลับตั้งอากรค่าน้ำและลดค่านาคู่โค
- ๘๐ ประกาศพิกัดอากรค่าน้ำ
- ๘๑. ประกาศเตือนสติผู้ซื้อข้าวขายข้าว
- ๘๒. ประกาศให้ใช้เงินเหรียญนอก (ครั้งที่ ๑)
- ๘๓ ประกาศทรงตักเตือนไม่ให้ทิ้งศพสัตว์ลงในน้ำ และให้ทอดเตาไฟอย่าให้เปนเชื้อเพลิง และให้คิดทำลิ่มสลักรักษาเรือน
- ๘๔ ประกาศเรื่องให้หนังสือคุ้มภาษีอากรโดยพลการ
- ๘๕ ประกาศกำหนดเวลาถวายฎีกา
- ๘๖ พระบรมราโชวาทพระราชทานรางวัลเพิ่มเบี้ยหวัดพระบรมวงศานุวงศ์
- ๘๗ พระบรมราโชวาทพระราชทานเงินและทรงสั่งสอนพระเจ้าลูกเธอฯ
- ๘๘ ประกาศห้ามไม่ให้ใช้คำบางคำกราบบังคมทูล ฯ
- ๘๙ ประกาศสงกรานต์ปีมะเสงนพศก
- ๙๐ ประกาศตักเตือนเรื่องซื้อข้าวขายข้าวในปีมะเสง
- ๙๑ ประกาศอนุญาตให้คนในบังคับสยามรับทำงานของกงสุลอังกฤษได้
- ๙๒ ประกาศกำหนดอำนาจเจ้าบ้าน และเจ้าพนักงานในการจับกุม
- ๙๓ ประกาศห้ามไม่ให้เอาทองเหรียญเงินเหรียญแต่งตัวให้เด็กและอนุญาตให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๔ ประกาศยกเลิกการยิงกระสุนและอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๙๕ ประกาศเรื่องความทาสลูกหนี้และภรรยาหนีไปอยู่วังเจ้าบ้านผู้มีบรรดาศักดิ์สูง
- ๙๖ ประกาศให้ใช้เงินเหรียญครั้งที่ ๒
- ๙๗ ประกาศแผ่พระราชกุศลซ่อมแซมถนน
- ๙๘ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๙ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์สามเณรเที่ยวแตร่ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๑๐๐ ประกาศการรักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทเลตวันออก
- ๑๐๑ ประกาศให้ผู้ที่ไปราชการหัวเมืองและต่างประเทศทำหนังสือกราบบังคมทูลโดยตรง
๘๕ ประกาศกำหนดเวลาถวายฎีกา
(ปีมะโรงอัฐศก)
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยและราษฎรทั้งปวงให้รู้ทั่วกันว่า ใครๆ ผู้ใดในกรุงฯ และหัวเมืองจะมีถ้อยความสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้าในกรุงฯ ให้มาร้องฟ้องยังโรงศาลตามกระทรวง ถ้าหัวเมืองก็ให้ไปฟ้องต่อเจ้าเมืองกรมการ ถ้าเจ้าเมืองกรมการแกล้งกดขี่ฤๅหน่วงเหนี่ยวไม่ชำระให้แล้วโดยเร็ว ก็ให้มาฟ้องอุทธรณ์เจ้าเมืองกรมการต่อเจ้ากระทรวงตามกรมที่หัวเมืองนั้นขึ้นอยู่ ถ้าเจ้ากระทรวงตัดสินมิได้เปนยุติธรรม ฤๅแกล้งหน่วงเหนี่ยวไว้ให้เนิ่นช้าเกินกำหนด ก็ให้ทำเรื่องราวถวายฎีกาเถิด แต่ความในเรื่องราวฎีกานั้น อย่าให้อ้อมค้อมยืดยาวนัก และอย่าให้หยาบคาย ให้ว่าไปตรงๆ ตามความจริงของตัว ถ้าจะเขียนและจะเรียงความแต่ลำพังสติปัญญาของตัวมิได้ ก็ให้ไปขอเสมียนในกรมล้อมพระราชวังซึ่งเปนศาลรับสั่งให้ช่วยเรียบเรียงถ้อยคำและเขียนให้ เมื่อจะถวายนั้นจะให้ญาติและพวกพ้องซึ่งเปนข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในช่วยถวายให้ในที่ใดที่หนึ่งก็ได้ ถ้าญาติและพวกพ้องซึ่งเปนข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในไม่มี เมื่อถึงวัน ๗ ค่ำ ๑๔ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินออกณพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ โปรดให้ตีกลองวินิจฉัยเภรีร้องเรียกคนร้องฎีกาเมื่อใด ก็ให้นำเรื่องราวของตนมาทูลเกล้าฯ ถวายที่น่าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ถ้าถึงวันกำหนดพระราชกิจอื่นๆ มีมากจะมิได้เสด็จพระราชดำเนินออกไป ก็จะทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเสด็จไปทรงคอยรับฎีกาของราษฎรอยู่ที่ชาลาหน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ให้ราษฎรผู้จะถวายฎีกานำเรื่องราวของตนถวายแด่พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเทอญ.
ประกาศมาณปีมะโรงนักษัตรอัฐศก