- คำนำ
- ๗๑. ประกาศว่าด้วยตราประจำหมายประกาศ
- ๗๒. ประกาศว่าด้วยผู้ที่จะรับทำภาษีอากรต่างๆ ให้ทำเรื่องราวยื่นตามกรม
- ๗๓. ประกาศว่าด้วยเขตรที่ซึ่งฝรั่งจะเช่าฤๅซื้อได้
- ๗๔ ประกาศว่าด้วยการประพฤติต่อฝรั่งเศสอังกฤษและอเมริกัน ที่มาอยู่ในเมืองไทย
- ๗๕ ประกาศเตือนให้ราษฎรซื้อข้าว เพราะจะเปิดให้จำหน่ายออกนอกประเทศ
- ๗๖ ประกาศเรียกอากรมะพร้าว ๓ ต้นสลึง
- ๗๗ ประกาศอนุญาตให้ชาวกรุงฯ รับจ้างฝรั่ง
- ๗๘ ประกาศห้ามไม่ให้คนตื่นข่าวเรื่องเรือรบไปมา
- ๗๙ ประกาศว่าด้วยกลับตั้งอากรค่าน้ำและลดค่านาคู่โค
- ๘๐ ประกาศพิกัดอากรค่าน้ำ
- ๘๑. ประกาศเตือนสติผู้ซื้อข้าวขายข้าว
- ๘๒. ประกาศให้ใช้เงินเหรียญนอก (ครั้งที่ ๑)
- ๘๓ ประกาศทรงตักเตือนไม่ให้ทิ้งศพสัตว์ลงในน้ำ และให้ทอดเตาไฟอย่าให้เปนเชื้อเพลิง และให้คิดทำลิ่มสลักรักษาเรือน
- ๘๔ ประกาศเรื่องให้หนังสือคุ้มภาษีอากรโดยพลการ
- ๘๕ ประกาศกำหนดเวลาถวายฎีกา
- ๘๖ พระบรมราโชวาทพระราชทานรางวัลเพิ่มเบี้ยหวัดพระบรมวงศานุวงศ์
- ๘๗ พระบรมราโชวาทพระราชทานเงินและทรงสั่งสอนพระเจ้าลูกเธอฯ
- ๘๘ ประกาศห้ามไม่ให้ใช้คำบางคำกราบบังคมทูล ฯ
- ๘๙ ประกาศสงกรานต์ปีมะเสงนพศก
- ๙๐ ประกาศตักเตือนเรื่องซื้อข้าวขายข้าวในปีมะเสง
- ๙๑ ประกาศอนุญาตให้คนในบังคับสยามรับทำงานของกงสุลอังกฤษได้
- ๙๒ ประกาศกำหนดอำนาจเจ้าบ้าน และเจ้าพนักงานในการจับกุม
- ๙๓ ประกาศห้ามไม่ให้เอาทองเหรียญเงินเหรียญแต่งตัวให้เด็กและอนุญาตให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๔ ประกาศยกเลิกการยิงกระสุนและอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๙๕ ประกาศเรื่องความทาสลูกหนี้และภรรยาหนีไปอยู่วังเจ้าบ้านผู้มีบรรดาศักดิ์สูง
- ๙๖ ประกาศให้ใช้เงินเหรียญครั้งที่ ๒
- ๙๗ ประกาศแผ่พระราชกุศลซ่อมแซมถนน
- ๙๘ ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้เงินเหรียญนอก
- ๙๙ ประกาศห้ามไม่ให้พระสงฆ์สามเณรเที่ยวแตร่ในทางเสด็จพระราชดำเนิร
- ๑๐๐ ประกาศการรักษาพระนคร คราวเสด็จประพาสหัวเมืองชายทเลตวันออก
- ๑๐๑ ประกาศให้ผู้ที่ไปราชการหัวเมืองและต่างประเทศทำหนังสือกราบบังคมทูลโดยตรง
๘๔ ประกาศเรื่องให้หนังสือคุ้มภาษีอากรโดยพลการ
(ปีมะโรงอัฐศก)
มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่ข้าราชการบรรดาที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดทั้งปวง ตั้งแต่เจ้าต่างกรมและเจ้ายังไม่ได้ตั้งกรมลงไปจนถึงคนที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดชั่งหนึ่ง เบี้ยหวัด ๑๕ ตำลึง ๑๐ ตำลึงเปนที่สุดให้ทราบว่า เงินซึ่งพระราชทานแจกเบี้ยหวัดแก่ข้าราชการทุกปีๆ นั้น มิใช่เงินได้มาแต่บ้านเมืองอื่นนอกประเทศ คือเงินในจำนวนภาษีอากรนั้นเอง ถ้าเจ้าต่างกรมและเจ้ายังไม่ได้ตั้งกรมองค์ใด และข้าราชการผู้ใดได้มีหนังสือปิดตราคุ้มห้ามภาษีอากรสมพักสรค่าน้ำค่านาตลาดให้ไปไว้สำหรับตัวบ่าวไพร่และพวกพ้องเท่าใด ก็ให้เร่งไปเก็บเอาหนังสือนั้นกลับคืนมาเสียให้สิ้นเชิงแต่ในก่อนเบี้ยหวัดปีมะโรงนักษัตรอัฐศกนี้ แล้วให้ทำทานบลถวายในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ ในคำทานบลนั้นให้ว่า ข้าพเจ้ามิได้ให้หนังสือคุ้มภาษีอากรไปกับบ่าวไพร่ผู้ใดผู้หนึ่งเลย ฤๅข้าพเจ้าได้ให้หนังสือคุ้มภาษีอากรไปกับผู้นั้นๆ แต่ข้าพเจ้าได้เก็บคืนมาเสร็จแล้ว ถ้ามีผู้จับหนังสือภาษีอากรมีชื่อและดวงตราของข้าพเจ้าชำระได้ความจริงแล้ว ให้หักเอาเบี้ยหวัดของข้าพเจ้าในปีมะโรงนักษัตรอัฐศกนี้ไว้ให้สิ้น ถ้าผู้ใดได้ถวายทานบลอย่างนี้ในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์แล้ว ก็จะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเบี้ยหวัดแก่ผู้นั้นเต็มคงที่ไม่ลดหย่อน ถ้าผู้ใดมิได้ทำทานบลถวายในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ตามพระบรมราชโองการดำรัสไซ้ จะพระราชทานเบี้ยหวัดแก่ผู้นั้นแต่ ๒ ส่วนลดเสียส่วน ๑ ที่เคยได้รับพระราชทาน ๓๐ ชั่งจะพระราชทานแต่ ๒๐ ชั่ง ที่ ๒๐ ชั่งจะพระราชทานแต่ ๑๒ ชั่ง ที่ ๑๕ ชั่งจะพระราชทานแต่ ๑๐ ชั่ง ที่ ๑๒ ชั่งจะพระราชทานแต่ ๘ ชั่ง ที่ ๑๐ ชั่งจะพระราชทานแต่ ๖ ชั่ง ลดตลอดลงไปจนถึงเบี้ยหวัด ๑๕ ตำลึงจะพระราชทานแต่ ๑๐ ตำลึง เบี้ยหวัด ๑๐ ตำลึงจะพระราชทานแต่ ๗ ตำลึงเปนที่สุดเพียงนั้น ที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดต่ำกว่า ๑๐ ตำลึงลงไป แม้นมิได้ถวายทานบลก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานคงไว้ตามที่.
อนึ่งผู้ที่ถวายทานบลแล้ว สืบไปภายหน้ามีผู้จับหนังสือคุ้มห้ามภาษีอากรเปนชื่อและดวงตราของผู้นั้นชำระได้ความจริง ก็จะหักเบี้ยหวัดในปีนั้นเสีย ถ้าเปนแต่เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บาญชี พี่เลี้ยงข้าในกรมในเจ้าต่างกรมแลยังไม่ได้ตั้งกรม ลอบลักอ้างพระนามใส่ไปในหนังสือคุ้มห้ามภาษีอากรเจ้ามิได้ทรงทราบด้วย ฤๅเสมียนทนายลอบอ้างเอาชื่อนายใส่ไปในหนังสือคุ้มภาษีอากรนายมิได้รู้เห็น ถ้าเปนอย่างนี้มีผู้จับได้ชำระได้ความว่าเจ้านายมิได้รู้เห็นจริงแล้ว ให้ลงพระราชอาญาผู้ให้หนังสือนั้นส่งไปเปนตะพุ่นหญ้าช้าง.
อนึ่งถ้าข้าราชการในพระราชวัง ให้หนังสือคุ้มภาษีอากรไปไว้กับบ่าวไพร่พวกพ้องผู้ใดผู้หนึ่ง ถ้ามีผู้จับได้ชำระเปนสัจ จะให้ปรับไหมรายละ ๓ ชั่งบ้าง ๕ ชั่งบ้างตามข้อความฉกรรจ์และมิได้ฉกรรจ์ ถ้าเร่งเงินค่าปรับไหมไม่ได้จะให้ลงพระราชอาญาส่งไปณคุก จ่ายใช้ราชการคิดค่างารเดือนลดให้ทุกเดือนกว่าจะครบจำนวนเงินค่าปรับไหมนั้น.
อนึ่งผู้สำเร็จราชการและกรมการเมืองใดๆ กลับเข้ากับคนผิดเกียจกันคนที่ถือหนังสือคุ้มห้ามภาษีอากรไว้มิได้ส่งตัวมาชำระทั้งนี้ ก็เพราะผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการคิดเห็นว่าพระแสงดาบในแผ่นดินประจุบันนี้ไม่คม คิดกลัวแต่ดาบในอนาคตภายหน้า เพราะฉนั้นก็จะต้องให้ผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการรู้จักคมพระแสงดาบในแผ่นดินประจุบันนี้เสียบ้าง.
หมายประกาศนี้ออกในปีมะโรงนักษัตรอัฐศก ๑๒๑๘