- อธิบาย
- ตอน ๑ ว่าด้วยอักษร และ ศัพท์
- ว่าด้วยอักษร ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ใช้ตัว ห นำไม่ได้
- ว่าด้วยคำ สำเร็จ เสร็จ กับคำว่า สำเรทธิ เสรทธิ ใช้ต่างกัน
- ว่าด้วยคำว่า ทรง เขียนเป็น ธรง ไม่ได้
- ว่าด้วยลักษณะใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ ใน ยัง
- ว่าด้วยลักษณะคำว่า ใส่
- ว่าด้วยคำ ทแกล้ว
- ว่าด้วยศัพท์ ศพ
- ว่าด้วยศัพท์ พระอิศวร และประติทิน
- ว่าด้วยคำ ภูษามาลา และ วัดพนัญเชิง
- ว่าด้วยศัพท์ สัทธรรมเทศนา และคำ ทูลเกล้าฯ ถวาย
- ว่าด้วยคำ พระเมรุทอง และพิหารหลวง พิหารราย
- ตอน ๒ ว่าด้วยนามข้าราชการ
- ตอน ๓ ว่าด้วยนามสถานที่ต่างๆ
- นามพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ และ พุทไธศวรรย์
- ว่าด้วยนามวัดรัชฎาธิฐาน วัดกาญจนสิงหาสน์
- ว่าด้วยนามท้องสนามหลวง และท้องสนามไชย
- ว่าด้วยนามเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเมืองปัจจันตคิรีเขตต์
- ว่าด้วยนามคลองเจดีย์บูชา
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งชลังคพิมานและพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งท่าที่ประทับราชวรดิฐ
- ว่าด้วยคลองผดุงกรุงเกษม คลองถนนตรง และถนนเจริญกรุง
- ว่าด้วยนามวัดมหาธาตุ วัดราชประดิษฐ และวัดราชบูรณะ
- ว่าด้วยเรื่องแขกเรียกเมืองมะกะและเมืองมะดีนะว่าเมืองกบิลพัสดุ์
ว่าด้วยศัพท์ พระอิศวร และประติทิน
หนังสือพิมพ์ลงชื่อว่าพระอินสวน ผู้ลงหนังสือพิมพ์ก็มีครูอาจารย์ให้ถามครูอาจารย์ว่ามีหรือที่ชื่อว่าพระอินสวน ดูเป็นตาอินไม่ได้อยู่ในเมือง เป็นคนอยู่สวน ถูกแล้วหรือ หนังสือในราชการเขียนอย่างหนึ่ง ครูโรงพิมพ์อุตตริยักไปเป็นหลายอย่าง อย่าง ภาย เขียนว่า ผ่าย ลมพยุห์ เขียนว่า ลมพายุ และอะไรๆ อื่นอีกเป็นอันมาก ก็พระอินสวนนี้หนังสือราชการก็ไม่เคยเขียนเคยใช้ เป็นแต่คำผู้หญิงเรียกไม่ถูกเรียกเล่น ถามครูดูก่อนเถิด ถูกแล้วหรือ หรือจะเกี่ยงว่าทำตามเสียงคนอ่าน ก็หนังสืออังกฤษเป็นอะไร ในภาษาอังกฤษเองเขียนแลลงพิมพ์ตามลัทธิหนังสือแทบทั้งนั้น เสียงคนอ่านไปอย่างหนึ่ง ตัวหนังสือไปอย่างหนึ่ง สิอ่านกันได้เขียนกันได้ หนังสือไทยภาษาไทยก็เป็นภาษาเป็นหนังสือลูกศิษย์มีครู แต่ทำไมพวกโรงพิมพ์มาคิดว่าเป็นหนังสือและภาษาอาภัพอัปลักษณ์นักหนา ตัวตามหนังสือต้องกับภาษาสันสกฤตก็ไม่ยอมเขียนและลงพิมพ์หรือสำเนียงเสียงผู้ดี แลผู้รู้อ่านก็ไม่เอา ฉะเพาะจะเอาแต่เสียงไพร่เลวที่ไม่รู้หนังสือ ที่เรียกอะไรไม่ถูก มาใช้เอาเป็นประมาณ
หนังสือจำพวกเรียงรายวัน นับคติพระอาทิตย์พระจันทร์และอื่นๆ ที่ลงเป็นตรางนั้น ภาษาไทยเช่นเขียนว่าประฏิทิน และคำเพ็ททูลแลคำอ่านก็ว่าประฏิทิน แต่คำคนไม่รู้เรียกว่าประนินทิน คำนี้พวกครูของพวกโรงพิมพ์จะไม่รู้ดอกกระมัง ด้วยมิใช่ของข้างวัดวาอารามบาล่ำบาลีอะไร
คัดจากชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ไม่ปรากฏ วัน เดือน ปี