- อธิบาย
- ตอน ๑ ว่าด้วยอักษร และ ศัพท์
- ว่าด้วยอักษร ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ใช้ตัว ห นำไม่ได้
- ว่าด้วยคำ สำเร็จ เสร็จ กับคำว่า สำเรทธิ เสรทธิ ใช้ต่างกัน
- ว่าด้วยคำว่า ทรง เขียนเป็น ธรง ไม่ได้
- ว่าด้วยลักษณะใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ ใน ยัง
- ว่าด้วยลักษณะคำว่า ใส่
- ว่าด้วยคำ ทแกล้ว
- ว่าด้วยศัพท์ ศพ
- ว่าด้วยศัพท์ พระอิศวร และประติทิน
- ว่าด้วยคำ ภูษามาลา และ วัดพนัญเชิง
- ว่าด้วยศัพท์ สัทธรรมเทศนา และคำ ทูลเกล้าฯ ถวาย
- ว่าด้วยคำ พระเมรุทอง และพิหารหลวง พิหารราย
- ตอน ๒ ว่าด้วยนามข้าราชการ
- ตอน ๓ ว่าด้วยนามสถานที่ต่างๆ
- นามพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ และ พุทไธศวรรย์
- ว่าด้วยนามวัดรัชฎาธิฐาน วัดกาญจนสิงหาสน์
- ว่าด้วยนามท้องสนามหลวง และท้องสนามไชย
- ว่าด้วยนามเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเมืองปัจจันตคิรีเขตต์
- ว่าด้วยนามคลองเจดีย์บูชา
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งชลังคพิมานและพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งท่าที่ประทับราชวรดิฐ
- ว่าด้วยคลองผดุงกรุงเกษม คลองถนนตรง และถนนเจริญกรุง
- ว่าด้วยนามวัดมหาธาตุ วัดราชประดิษฐ และวัดราชบูรณะ
- ว่าด้วยเรื่องแขกเรียกเมืองมะกะและเมืองมะดีนะว่าเมืองกบิลพัสดุ์
ว่าด้วยคำ สำเร็จ เสร็จ กับคำว่า สำเรทธิ เสรทธิ ใช้ต่างกัน
คำว่า สำเร็จ หรือ เสร็จ นี้ถ้าเขียนสังโยคกับตัว จ เห็นว่าจะเป็นคำเขมร แปลว่าแล้ว ว่าจบ ว่าสุดการ แต่คนวัดคนนักบวชสึกออกมามักสงสัยว่าจะเป็นคำมาแต่มคธที่เรียกกันว่าบาลีนั้นว่า สมิทธิ จึงมักเขียนว่า สำเรทธิ บ้าง สำเรทธ บ้าง เสรทธิ บ้าง เสรทธ บ้าง ครั้นพิเคราะห์ดูก็เป็นอันน่ารังเกียจว่าเป็นอุตตริชาววัดหรือนักบวชสึกไป หนังสือโบราณมีเขียนว่า สัมฤทธิ์ เหมือนกับชื่อทองสัมฤทธิก็มี คำนั้นแลเห็นว่ามาแต่ศัพท์ สมิทฺธิ แท้ แปลว่าเต็ม ว่าพร้อม ว่าได้การ ว่าครบถ้วน เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป เนื้อความที่ว่า แล้ว ให้เขียนว่า สำเร็จ และ เสร็จ ดังนี้ทุกแห่ง
คำที่ว่า เต็ม ว่าพร้อม ว่าครบถ้วน ดังคำว่า ผู้สำเรทธิราชการและสำเรทธิศก ให้เขียนว่า สัมเรทธิ ดังนี้เทอญ สำ ใน สำเรทธิ ให้เขียนเป็น สัม ดังนี้จึงจะถูก เหมือนกับคำว่า คัมภีร์ ถ้าเขียนว่า สำ ในสำเรทธิ ก็จะไม่งามเป็นที่รังเกียจ เหมือนว่า คำ ที่ลางคนเขียนในคำว่า คำภีร์ นั้น ก็ฝ่ายคำ สำเร็จ ที่แปลว่า แล้ว ว่าสุด ว่าจบ คงให้เขียนว่า สำเร็จ อย่าหลงเขียนว่า สัมเร็จ เลย
คัดจากประกาศลงวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๔๐๑)