- อธิบาย
- ตอน ๑ ว่าด้วยอักษร และ ศัพท์
- ว่าด้วยอักษร ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ใช้ตัว ห นำไม่ได้
- ว่าด้วยคำ สำเร็จ เสร็จ กับคำว่า สำเรทธิ เสรทธิ ใช้ต่างกัน
- ว่าด้วยคำว่า ทรง เขียนเป็น ธรง ไม่ได้
- ว่าด้วยลักษณะใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ ใน ยัง
- ว่าด้วยลักษณะคำว่า ใส่
- ว่าด้วยคำ ทแกล้ว
- ว่าด้วยศัพท์ ศพ
- ว่าด้วยศัพท์ พระอิศวร และประติทิน
- ว่าด้วยคำ ภูษามาลา และ วัดพนัญเชิง
- ว่าด้วยศัพท์ สัทธรรมเทศนา และคำ ทูลเกล้าฯ ถวาย
- ว่าด้วยคำ พระเมรุทอง และพิหารหลวง พิหารราย
- ตอน ๒ ว่าด้วยนามข้าราชการ
- ตอน ๓ ว่าด้วยนามสถานที่ต่างๆ
- นามพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ และ พุทไธศวรรย์
- ว่าด้วยนามวัดรัชฎาธิฐาน วัดกาญจนสิงหาสน์
- ว่าด้วยนามท้องสนามหลวง และท้องสนามไชย
- ว่าด้วยนามเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเมืองปัจจันตคิรีเขตต์
- ว่าด้วยนามคลองเจดีย์บูชา
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งชลังคพิมานและพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งท่าที่ประทับราชวรดิฐ
- ว่าด้วยคลองผดุงกรุงเกษม คลองถนนตรง และถนนเจริญกรุง
- ว่าด้วยนามวัดมหาธาตุ วัดราชประดิษฐ และวัดราชบูรณะ
- ว่าด้วยเรื่องแขกเรียกเมืองมะกะและเมืองมะดีนะว่าเมืองกบิลพัสดุ์
ว่าด้วยอักษร ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ใช้ตัว ห นำไม่ได้
อักษร ๔ ตัว คือ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ นี้หาควรจะใส่ ห นำแลกากบาทไม่เมื่อถึงคำว่า ฤๅ ที่เขียนอุตริกว่าโบราณว่า หฤๅ บ้าง ฤ๋ๅ บ้าง ก็ให้เขียน แต่ ฤๅ อย่างนี้ อย่าให้เขียน ห นำแลใส่กากบาทเลย ด้วยตัว ห นั้นเฉพาะนำได้แต่อักษรต่ำ เหมือนอย่าง หมู หนี แหวน อย่างนี้ เป็นอักษรต่ำจึงเอาตัว ห นำได้ อักษรต่ำนั้นคือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ มย ร ล ว ฬ ฮ แลกากบาทนั้นใช้ได้แต่อักษรกลางเหมือนอย่าง เก๋ง เป๋า จ๋า อย่างนี้ เป็นอักษรกลางจึงใส่กากบาทได้ อักษรกลางนั้นคือ ก จ พ ฏ ด ต บ ป อ
คัดจากประกาศลงวันพุธเดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก (พ.ศ. ๒๓๙๖)