- อธิบาย
- ตอน ๑ ว่าด้วยอักษร และ ศัพท์
- ว่าด้วยอักษร ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ใช้ตัว ห นำไม่ได้
- ว่าด้วยคำ สำเร็จ เสร็จ กับคำว่า สำเรทธิ เสรทธิ ใช้ต่างกัน
- ว่าด้วยคำว่า ทรง เขียนเป็น ธรง ไม่ได้
- ว่าด้วยลักษณะใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ ใน ยัง
- ว่าด้วยลักษณะคำว่า ใส่
- ว่าด้วยคำ ทแกล้ว
- ว่าด้วยศัพท์ ศพ
- ว่าด้วยศัพท์ พระอิศวร และประติทิน
- ว่าด้วยคำ ภูษามาลา และ วัดพนัญเชิง
- ว่าด้วยศัพท์ สัทธรรมเทศนา และคำ ทูลเกล้าฯ ถวาย
- ว่าด้วยคำ พระเมรุทอง และพิหารหลวง พิหารราย
- ตอน ๒ ว่าด้วยนามข้าราชการ
- ตอน ๓ ว่าด้วยนามสถานที่ต่างๆ
- นามพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ และ พุทไธศวรรย์
- ว่าด้วยนามวัดรัชฎาธิฐาน วัดกาญจนสิงหาสน์
- ว่าด้วยนามท้องสนามหลวง และท้องสนามไชย
- ว่าด้วยนามเมืองประจวบคีรีขันธ์ และเมืองปัจจันตคิรีเขตต์
- ว่าด้วยนามคลองเจดีย์บูชา
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งชลังคพิมานและพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
- ว่าด้วยนามพระที่นั่งท่าที่ประทับราชวรดิฐ
- ว่าด้วยคลองผดุงกรุงเกษม คลองถนนตรง และถนนเจริญกรุง
- ว่าด้วยนามวัดมหาธาตุ วัดราชประดิษฐ และวัดราชบูรณะ
- ว่าด้วยเรื่องแขกเรียกเมืองมะกะและเมืองมะดีนะว่าเมืองกบิลพัสดุ์
ว่าด้วยคำ พระเมรุทอง และพิหารหลวง พิหารราย
พระเมรุที่ปลูกเป็นรูปบุษบกสวมพระเบญจา เรียกว่าพระเมรุทอง ทำด้วยดีบุกก็ดีทำด้วยทองอังกฤษก็ดี ทำด้วยทองน้ำตะโกก็ดี หรือจะลงรักปิดทองคำเปลวก็ดี หรือจะหุ้มทองคำจริงก็ดี ก็คงเรียกชื่อว่าพระเมรุทองทุกครั้งทุกคราว จะเรียกอย่างอื่นไม่มีฉันใด พระพิหารใหญ่ที่ต่อกับพระเจดีย์หรือพระปรางค์ ในหลวงจะสร้างก็ดี ผู้อื่นจะสร้างก็ดี ก็เรียกชื่อวิหารหลวง เป็นชื่อของไม่เป็นชื่อตามความจริง ก็พิหารอื่นถึงจะใหญ่จะโตในหลวงจะทรงสร้าง ถ้าไม่มีพระเจดีย์พระปรางค์อยู่หลังมีพระระเบียงล้อมแล้ว ก็ไม่ชื่อว่าพิหารหลวง
สวดหนังสือสวดอย่างเช่นเด็กๆ สวดนั้น เรียกชื่อว่าสวดโอ้เอ้พิหารราย จะสวดที่พิหารรายก็ดี สวดที่พระระเบียงก็ดี สวดที่พิหารใหญ่ที่ศาลากุฎีที่ใดๆ ก็ดี ก็คงเรียกชื่อยืนอยู่อย่างเดียวว่าโอ้เอ้พิหารราย ไม่ยักย้ายไปตามที่สวดเลย ไม่รู้เป็นแน่ว่าชื่อเช่นนี้ชื่อพระเมรุทองก็ดี ชื่อพิหารหลวงก็ดี สวดโอ้เอ้พิหารรายก็ดี เป็นแต่ชื่อของตามอาการที่เป็นที่มี ไม่เป็นชื่อตามความจริงที่ชื่อกล่าว อย่าให้เข้าใจผิดไป
คัดจากชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ซึ่งรวมพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ไม่ปรากฏ วัน เดือน ปี