- คำนำ
- พระราชหัตถเลขา ว่าด้วยพระราโชบายเกี่ยวกับการศึกษาของชาติ
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง การศึกษาของประเทศสยาม
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ลายพระราชหัตถ์ถึงกระทรวงทางราชการ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องเจ้าต่างกรม
- ธรรมเนียมขุนนางไทยโบราณ
- เรื่อง พระมหามนเทียรในกรุงเก่า
- พระบรมราชาธิบาย เรื่อง แบบกราบบังคมทูลพระกรุณานำแขกเมืองถวายเครื่องราชบรรณาการ แลการทูลเบิกกราบถวายบังคมลา
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้าลูกหลวงเอก
- ว่าด้วยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- กองแก้วกองทอง
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่อง บายศรี
- เรื่องพลับพลาที่เสวยกับเรื่องเสาหงส์
- พระบรมราชาธิบาย ว่าด้วยลายจีนซึ่งเขียนเครื่องถ้วยกระเบื้องกังไส
- พระราชหัตถเลขานิมัยปัจฉิมลิขิตในรัชกาลที่ ๕
(สำเนา) ลายพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๑
ที่ ๘
กระทรวงโยธาธิการ
วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๑
ขอเดชะ ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายร่างรูปอภิเษกพระสิทธารถด้วยอาการที่ตั้งบายศรี ซึ่งเป็นแต่ร่างชั้นแรก ค้นหาทรงที่งามเท่านั้น ยังไม่ได้ที่ ยังหาได้จักเส้นไม่นั้น มาทอดพระเนตรโดยพระราชประสงค์เป็นอันกุละ๑ทั้งสิ้น ในหนังสือปฐมสมโพธิมีแต่เพียงว่า “สมเด็จบรมกษัตริย์ก็ราชาภิเษกพระมหาบุรุษให้เสวยราชสมบัติ ตั้งพระพิมพาเป็นองค์อัครมเหสี” สิ้นความเพียงเท่านี้ ดูไม่มีทางวิวาหะอาวาหะเจือเลย รูปร่างเป็นอันนับว่าถูก แต่เป็นอย่างใหม่ไม่ใช่ครั้งพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าออกเสียดายที่จะยกเสีย ไม่เอาเข้าคอมปีตกัน เพราะว่าดูทีงามอยู่ ถ้าหากจะเขียนแก้เป็นบายศรีตองจะเข้าคอมปีตได้ ข้าพระพุทธเจ้าจะรับใส่เกล้าฯ แก้เสีย แลจัดเส้นขึ้นให้ดี
จะควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ
(ลงพระนาม) ข้าพระพุทธเจ้า นริศ
-
๑. เป็นศัพท์แผลง ใช้ในความหมายว่า ทำหรือกล่าวเกินจริงเกินไป ↩