- คำนำ
- พระราชหัตถเลขา ว่าด้วยพระราโชบายเกี่ยวกับการศึกษาของชาติ
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง การศึกษาของประเทศสยาม
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ลายพระราชหัตถ์ถึงกระทรวงทางราชการ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องเจ้าต่างกรม
- ธรรมเนียมขุนนางไทยโบราณ
- เรื่อง พระมหามนเทียรในกรุงเก่า
- พระบรมราชาธิบาย เรื่อง แบบกราบบังคมทูลพระกรุณานำแขกเมืองถวายเครื่องราชบรรณาการ แลการทูลเบิกกราบถวายบังคมลา
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้าลูกหลวงเอก
- ว่าด้วยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- กองแก้วกองทอง
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่อง บายศรี
- เรื่องพลับพลาที่เสวยกับเรื่องเสาหงส์
- พระบรมราชาธิบาย ว่าด้วยลายจีนซึ่งเขียนเครื่องถ้วยกระเบื้องกังไส
- พระราชหัตถเลขานิมัยปัจฉิมลิขิตในรัชกาลที่ ๕
สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ร.ศ. ๑๒๙
(สำเนา)
วันที่ เดือน ร.ศ. ๑๒๙
ขอเดชะฝ่าลอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๙ เดือนนี้ พระราชทานพระบรมราชกระแสเรื่องหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ อวดอ้างทำเป็นทีหนึ่งว่า สงเคราะห์ญาติชาติภูมิ แต่กลับเป็นสำแดงความเขลาความคับแคบของตัวเองนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้รับทราบเกล้าฯ ทุกประการแล้ว พระมหากรุณาเป็นล้นเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบทราบความตลอดว่า เอดิเตอร์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เป็นนักเรียนโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบรุ่นก่อนข้าพระพุทธเจ้า ได้สอบไล่ประโยค ๒ ได้แต่รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ แลได้ออกรับราชการมาแล้วหลายกระทรวง ได้เคยอยู่กรมราชเลขานุการ แล้วในที่สุดไปอยู่กรมเจ้าท่า เที่ยวเร่ร่อนจับจดอยู่เช่นนี้ จนกระทั่งตกมาเป็นเอดิเตอร์หนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์ แล้วมาเป็นเอดิเตอร์หนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ รู้ภาษาอังกฤษบ้างเล็กน้อยไม่ได้เคยเรียนในโรงเรียน แต่มีคนครึ่งชาติเป็นกำลังช่วยในการแปลอยู่คนหนึ่ง เมื่อพบกับข้าพระพุทธเจ้าก็ได้สารภาพว่า เป็นผู้กะให้แปล แลเป็นผู้ตรวจแก้เอง แต่พลอยตื้นไปตามผู้ช่วย จะขอลงแก้ไม่ให้เป็นการลวงเด็กที่เกิดชั้นหลัง ๆ ให้หลงผิดต่อไป
คนเช่นนี้ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าฯ ว่า คงจะมีได้อีกหลายคน แต่เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่ได้เล่าเรียนทั้งหมดแล้ว หวังด้วยเกล้าฯ ว่าจะเป็นแต่ส่วนน้อยนิดเดียว ถ้ามีมากก็จะยิ่งเพิ่มความลำบากในการฝึกสอนเด็กชั้นเล็กๆ ต่อไปไม่ใช่น้อย เพราะนักเรียนจำจะต้องเป็นผู้ได้อ่านได้ฟังเป็นลำดับไป ถ้าไปอ่านหรือฟังที่ผิด ก็จะพลอยหลงผิดแลเขลาไปตามกันด้วย
ความข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้มีวิตกอยู่มาก ยิ่งขยายการเล่าเรียนให้แพร่หลาย จำนวนครูจะต้องทวีขึ้นโดยรวดเร็ว ครูที่ความรู้อ่อนคงจะมีมากต่อมาก การจัดจำต้องแลดูให้กว้างแลไกล ข้าพระพุทธเจ้าได้พยายามเต็มสติกำลังภายในหน้าที่แลความสามารถที่จะทำได้ แม้กระนั้น พระราชอาญาก็คงไม่พ้นเกล้าฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
(ลงนาม) ข้าพระพุทธเจ้า พระยาไพศาลศิลปศาสตร์
ขอเดชะ