- คำนำ
- พระราชหัตถเลขา ว่าด้วยพระราโชบายเกี่ยวกับการศึกษาของชาติ
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง การศึกษาของประเทศสยาม
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ลายพระราชหัตถ์ถึงกระทรวงทางราชการ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องเจ้าต่างกรม
- ธรรมเนียมขุนนางไทยโบราณ
- เรื่อง พระมหามนเทียรในกรุงเก่า
- พระบรมราชาธิบาย เรื่อง แบบกราบบังคมทูลพระกรุณานำแขกเมืองถวายเครื่องราชบรรณาการ แลการทูลเบิกกราบถวายบังคมลา
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้าลูกหลวงเอก
- ว่าด้วยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- กองแก้วกองทอง
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่อง บายศรี
- เรื่องพลับพลาที่เสวยกับเรื่องเสาหงส์
- พระบรมราชาธิบาย ว่าด้วยลายจีนซึ่งเขียนเครื่องถ้วยกระเบื้องกังไส
- พระราชหัตถเลขานิมัยปัจฉิมลิขิตในรัชกาลที่ ๕
ลายพระราชหัตถ์ถึงกระทรวงทางราชการ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
(สำเนา)
(ลายพระราชหัตถ์ถึงกระทรวงทางราชการ)
ที่ ๒๑/๘๐๐
สวนดุสิต
วันที่ ๑๑ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
ถึง พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์
ได้นึกปรารภถึงที่จะอุดหนุนการเล่าเรียนในเมืองเรา ซึ่งอยู่ข้างจะตันอยู่ในเวลานี้ ให้ดำเนินแพร่หลายเร็วขึ้น เบื้องต้นก็เดินทางให้ถูก คือ ทำพื้นให้กว้างจึงจะได้ยอดที่งามตามที่ได้ปรารภแล้วนั้น แต่การที่จะปรารภอย่างไร เมื่อไม่มีกำลังหนุนก็จะสำเร็จไม่ได้ จึงจะได้หากำลังในเวลานี้ เห็นว่าลูกหญิงเล็กเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกย์ตายลง ทรัพย์สมบัติมีอยู่ ซึ่งจะชักออกน้อมไปเพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับแก่ชาติไทย ประมาณสัก ๘๐,๐๐๐ บาท จะยอมให้เงินรายนี้ใช้ในการศึกษา เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การเล่าเรียนของชาติ แลให้เป็นส่วนข้างสมบัติตั้งอยู่ไม่ใช้จ่ายสูญไป เพื่อจะได้เป็นที่ระลึกถึงผู้ตาย ให้ญาติพี่น้องเขาได้อนุโมทนา จะเป็นสร้างโรงเรียนที่วัดเทพศิรินทร์ซีกข้างใต้หรืออย่างไรก็ตามแต่จะคิดเห็นเป็นประโยชน์ ถ้าเงินจะยังขาดเพียง ๑๐,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ บาท คงจะหาเติมได้
การที่ลงมือเช่นนี้ เพื่อจะให้ปรากฏเป็นแบบอย่างแก่ผู้ซึ่งจะมีใจศรัทธาสามารถจะทำได้ ข้อสำคัญนั้นต้องรักษาความยินดีของผู้บริจาคอย่าให้ตกไปเสียได้นั้นเป็นข้อสำคัญ ถ้าดำเนินทางให้พอสมควรดี น่าจะมีความยินดีต่อไป การครั้งนี้ขอให้นึกว่า ทำตัวอย่างให้คนเห็น ต้องหมายใจไว้ว่า ภายหน้ายังมีอีกมาก จะคิดแบบอย่างต้องการอย่างไร ฤๅมุ่งหมายจะทำอย่างอื่นเป็นประโยชน์กว่า ก็ขอให้คิดมาให้ทราบ
(พระบรมนามาภิไธย) สยามินทร์