- คำนำ
- พระราชหัตถเลขา ว่าด้วยพระราโชบายเกี่ยวกับการศึกษาของชาติ
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่อง การศึกษาของประเทศสยาม
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- ลายพระราชหัตถ์ถึงกระทรวงทางราชการ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องเจ้าต่างกรม
- ธรรมเนียมขุนนางไทยโบราณ
- เรื่อง พระมหามนเทียรในกรุงเก่า
- พระบรมราชาธิบาย เรื่อง แบบกราบบังคมทูลพระกรุณานำแขกเมืองถวายเครื่องราชบรรณาการ แลการทูลเบิกกราบถวายบังคมลา
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่องพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้าลูกหลวงเอก
- ว่าด้วยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- กองแก้วกองทอง
- พระบรมราชวินิจฉัย เรื่อง บายศรี
- เรื่องพลับพลาที่เสวยกับเรื่องเสาหงส์
- พระบรมราชาธิบาย ว่าด้วยลายจีนซึ่งเขียนเครื่องถ้วยกระเบื้องกังไส
- พระราชหัตถเลขานิมัยปัจฉิมลิขิตในรัชกาลที่ ๕
พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
สวนดุสิต
วันที่ ๗ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
พระยาไพศาล
ได้รับหนังสือตอบของเจ้าแล้ว ความคิดเป็นหลักฐานถูกต้องดีนัก ได้จดหมายสั่งไปยังพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ฉบับหนึ่ง ให้คิดร่างประกาศ ให้เจ้าช่วยกันเรียบเรียงให้ดี ข้อความในประกาศญี่ปุ่นต้นสมุดเรื่องเอดูเคชันเมืองญี่ปุ่นลงเนื้อความกันกับเมืองเราได้ดี เรื่องราวนั้นก็เป็นเหมือนกัน แต่ต่างด้วยกาลเทศะ ฝ่ายประเทศเขาแบ่งคนเป็นสี่ตระกูล สือ หลง คง เสี่ยง ผู้ที่ถือว่าต้องเรียนแต่สือพวกเดียว แต่สือต้องเรียนก็ว่าเพราะประโยชน์ของรัฐบาล เพียงให้รัฐบาลใช้เงิน เขาจึงประกาศว่าไม่เฉพาะแต่สือ ให้เรียนทั่วกันหมดแลเป็นหน้าที่ของคนทั่วไปจะต้องหาวิชาใส่ตัว
ฝ่ายเมืองเราถึงไม่ได้จำกัดพวกใด แต่ผู้เรียนรู้สึกเสียว่าเรียนสำหรับประโยชน์ราชการ ฤๅประโยชน์ตนอันจะได้ทำราชการความก็เป็นอันรูปเดียวกันนั่นเอง แต่ฝ่ายเขาดูเหมือนจะมีผู้เข้าใจการแข่งขันในระหว่างพลเมืองเขาต่อพลเมืองชาติอื่น แต่ข้างเรานั้นไม่มีเสียเลย ถ้าขึ้นชื่อว่าฝรั่งแล้วก็ยอมแพ้ตายราบ ถ้าเจ๊กก็ดูถูกหนักไป แลเกินไปเสียทั้ง ๒ อย่าง จนจะตกเป็นเย่อหยิ่งไม่เอาการ นี่เป็นข้อที่เดือดเนื้อร้อนใจอยู่มาก ถ้าหากว่าเรียงคำประกาศสะกิดให้เป็นทางความคิด อย่าให้แหลมเฉียบขาดถึงยุฤๅยั่วมากนัก แต่พอให้รู้เค้า ๆ ได้ น่าจะชักนำใจคนให้ดีขึ้น.
(พระบรมนามาภิไธย) สยามินทร์