- คำนำ
- ๒๘๗ ประกาศขนานนามพระพุทธปฏิมากรประจำรัชกาล
- ๒๘๘ ประกาศเรื่องเถรจั่นแทงผู้มีชื่อแล้วหนีไป และห้ามไม่ให้บวชกุลบุตรอายุพ้น ๒๔ ถึง ๗๐ เป็นเถรเป็นเณร
- ๒๘๙ ประกาศเรื่องให้สึกพระสงฆ์สามเณรที่สูบฝิ่น
- ๒๙๐ ประกาศให้เรียกชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ว่า พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระที่นั่งพุทธาสวรรย์ให้เรียกว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
- ๒๙๑ ประกาศให้ทำบาญชีพระสงฆ์สามเณรที่เปนช่างทองและช่างอื่นๆ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๒๙๒ ประกาศให้พระสงฆ์บูชาพระแก้วมรกฎในเดือน ๘ แรม ๘ ค่ำ
- ๒๙๓ ประกาศเรื่องภิกษุสามเณรรักใคร่ผู้หญิงจนถึงเปนปาราชิก ให้มาลุกะโทษ จะยกโทษให้
- ๒๙๔ ประกาศห้ามไม่ให้เอาแผงไม้ไผ่ จาก, มาทำเปนพะเพิงในพระอารามหลวง
- ๒๙๕ ประกาศห้ามไม่ให้ชักสื่อแลชวนภิกษุสามเณรประพฤติอนาจาร
- ๒๙๖ ประกาศให้ใช้คำว่าฉศกแทนฉ้อศก
- ๒๙๗ ประกาศห้ามมิให้ภิกษุสามเณรคบผู้หญิงมาพูดที่กุฎี
- ๒๙๘ ประกาศเรื่องพระราชาคณะ ถานา เปรียญ สึกมากเกินไป จะต้องเข้าเดือนทำการพิมพ์
- ๒๙๙ ประกาศเรื่องให้สำรวจคฤหัสถ์อาศรัยวัด
- ๓๐๐ ประกาศว่าด้วยวิธีคิดอธิกมาศ
- ๓๐๑ ว่าด้วยวันธรรมสวนะ
- ๓๐๒ ประกาศวิธีบอกศักราช
- ๓๐๓ คำประกาศเรื่องปวารณา
- ๓๐๔ พระราชกำหนดเรื่องนาฬิกา
- ๓๐๕ ประกาศว่าด้วยพระอาทิตย์ถึงดาวฤกษ์อัสยุชก็เปนมหาสงกรานต์
- ๓๐๖ ประกาศเรื่องพัชวาลวิชนี
- ๓๐๗ ประกาศเรื่องราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี
- ๓๐๘ ประกาศใช้คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์
- ๓๐๙ ประกาศให้ใช้คำต่อแลคำตาย
- ๓๑๐ ประกาศให้คงใช้คำที่เรียกภูษามาลาแลวัดพนัญเชิง
- ๓๑๑ ประกาศให้เรียกคลองผดุงกรุงเกษมแลถนนเจริญกรุง
- ๓๑๒ ประกาศให้ใช้คำว่าใส่ในที่ควร
๓๐๒ ประกาศวิธีบอกศักราช
ลัทธิบอกศักราชอย่างเก่าเปน ๒ อย่าง อย่างหนึ่งตั้งแต่เพ็ญเดือน ๖ ล่วงแล้ว ก็บอกยืนอยู่อย่างปีไม่มีอธิกมาศ ว่าล่วงเศษวัน (เท่านั้น) ยัง ๑๑ เดือนเศษวัน (เท่านี้) เมื่อพ้นเดือน ๗ เพ็ญไปแล้วก็ว่าล่วงแล้วเดือน ๑ กับเศษวันยัง ๑๐ เดือนกับเศษวัน เมื่อล่วงเดือน ๘ ปฐมาสาฒเพ็ญแล้วบอกล่วง ๒ เดือนกับเศษวัน แล้วจึงบอกยั่งยืนอยู่ว่า ๑๐ เดือนกับเศษวัน ด้วย อำนาจสามารถ แห่งอธิกมาศ ครั้นล่วงถึงเพ็ญเดือน ๘ ทุติยาสาฒแล้ว ก็บอกล่วง ๓ เดือนกับเศษวัน แล้วบอกยัง ๙ เดือนกับเศษวัน ด้วยสามารถฤๅอำนาจแห่งอธิกมาศ ดังนี้ ลดหลังเพิ่มหน้าไปจนถึงเพ็ญเดือน ๕ ก็บอกว่าล่วงแล้ว ๑๒ เดือนกับเศษวัน ด้วยสามารถฤๅอำนาจแห่งอธิกมาศ เอาไว้ข้างหลัง ตั้งแต่เพ็ญเดือน ๘ ปฐมาสาฒจนเดือน ๖ ขึ้นปีใหม่ อย่างหนึ่งตั้งแต่แรมเดือน ๖ มาแล้ว ก็บอกว่าเศษวันล่วงแล้ว (เท่านี้) ยัง ๑๒ เดือนกับเศษวัน ด้วย อำนาจสามารถ อธิกมาศ ว่าอย่างนี้ไปทุกเดือนเพิ่มหน้าลดหลังไปจนขึ้นเดือน ๖ ปีใหม่ว่าข้างหลังเสมออยู่
พวกที่ใช้อย่างหลังติอย่างก่อน ว่าการก็รู้อยู่แล้วว่าจะมีอธิกมาศด้วยคำณวนได้เอง ฤๅฟังหมายสงกรานต์สำหรับปี ว่าปีนั้นจะมีอธิกมาศ ก็มาบอก ๑๑ เดือนตั้งแต่เพ็ญเดือน ๖ มาจนเพ็ญเดือน ๗ แลบอกว่ายัง ๑๐ เดือน ตั้งแต่เพ็ญเดือน ๗ มาจนเพ็ญปฐมาสาฒนั้น ทำเปนไม่รู้ไม่เห็นว่าจะมีอธิกมาศ แล้วทำเปนพึ่งรู้เข้าว่าปีนั้นมีอธิกมาศเมื่อวันเพ็ญเดือน ๘ ปฐมาสาฒนั้น จึงซ้ำบอกว่ายัง ๑๐ เดือน ด้วย อำนาจสามารถ อธิกมาศดังนั้นเปนปดไป อวดตัวว่าไม่รู้ไม่เห็นอะไรข้างโหร ต่อไม่ได้เข้าพรรษาจึงรู้ว่ามีอธิกมาศ แก้ตัวใหม่นั้นไม่ดีเลยไม่งามเลย อย่างหลังนี้ดี ลัทธิเก่าเปน ๒ อย่างๆ นี้แล คงว่าแต่ข้างทั้งหลังทั้ง ๒ อย่าง
ในพวกธรรมยุติกา คิดว่าผิดปรกติอยู่ที่ไหนอยู่ที่นั้นจึงชอบ คือบอกว่าล่วงแต่เศษวันแต่หน้าเพ็ญเดือน ๖ แลบอกล่วงเดือน ๑ แต่หน้าเพ็ญเดือน ๗ บอกล่วง ๒ เดือนแต่หน้าเพ็ญเดือน ๘ การเปนปรกติไม่ผิดที่เคยทุกปี แต่ที่บอกว่าล่วง ๑๒ เดือน แต่หน้าเพ็ญเดือน ๖ บอกว่ายัง ๑๑ เดือน แต่หน้าเพ็ญเดือน ๗ บอกว่ายัง ๑๐ เดือนแต่หน้าเพ็ญเดือน ๘ นั้นผิดปรกติที่เคยบอกทุกปีที่ไม่มีอธิกมาศจึงต้องวางข้างหลัง ข้างยังแก้ตัวที่บอกผิดปรกติ ก็ตั้งแต่เพ็ญเดือน ๘ ทุติยาสาฒไปแล้ว ต้องยกเอามาวางข้างล่างทุกเดือนไป เพราะบอกว่าล่วงแล้ว ๓ เดือนหน้าเพ็ญเดือน ๘ แลเดือนอื่นต่อๆ ไป จนบอกว่าล่วงแล้ว ๑๒ เดือน ในเบื้องหน้าเพ็ญเดือน ๕ นั้นผิดปรกติที่เคยบอกทุกเดือนๆ ในปีที่ไม่มีอธิกมาศ จึงต้องวางไว้ข้างล่าง ก็บอกว่ายัง ๙ เดือนในเบื้องหน้าเพ็ญเดือน ๘ ทุติยาสาฒไป แลบอกว่ายัง ๘ เดือน ๗ เดือน แต่หน้าเพ็ญเดือน ๙ แลเดือน ๑๐ ไป จนบอกว่ายังแต่เศษวัน ในกาลเบื้องหน้าเพ็ญเดือน ๕ นั้นเปนคำไม่ผิดปรกติที่เคยบอกจึงไม่ให้ว่าข้างบอกยังว่าสั้นๆ ลัทธิธรรมยุติกานั้น ปีมีอธิกมาศให้วางข้างบอกยังตั้งแต่แรมเดือน ๖ ไป จนถึงขึ้นเดือน ๘ ทุติยาสาฒ ตั้งแต่แรมเดือน ๘ ทุติยาสาฒไปให้วางข้างบอกล่วง ข้างบอกยังยกเสีย การเปนแยบคายโยนิโสการิตาอยู่อย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้พวกธรรมยุติกาไม่สังเกตุสังกา ถือแต่ลัทธิตามๆ กันงุ่มง่ามไปไม่พิจารณา จะไล่เข้าก็จะเลอะไม่รู้จักลัทธิเก่าใหม่เขาเราเลย