- คำนำ
- ๒๘๗ ประกาศขนานนามพระพุทธปฏิมากรประจำรัชกาล
- ๒๘๘ ประกาศเรื่องเถรจั่นแทงผู้มีชื่อแล้วหนีไป และห้ามไม่ให้บวชกุลบุตรอายุพ้น ๒๔ ถึง ๗๐ เป็นเถรเป็นเณร
- ๒๘๙ ประกาศเรื่องให้สึกพระสงฆ์สามเณรที่สูบฝิ่น
- ๒๙๐ ประกาศให้เรียกชื่อพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ว่า พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พระที่นั่งพุทธาสวรรย์ให้เรียกว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
- ๒๙๑ ประกาศให้ทำบาญชีพระสงฆ์สามเณรที่เปนช่างทองและช่างอื่นๆ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๒๙๒ ประกาศให้พระสงฆ์บูชาพระแก้วมรกฎในเดือน ๘ แรม ๘ ค่ำ
- ๒๙๓ ประกาศเรื่องภิกษุสามเณรรักใคร่ผู้หญิงจนถึงเปนปาราชิก ให้มาลุกะโทษ จะยกโทษให้
- ๒๙๔ ประกาศห้ามไม่ให้เอาแผงไม้ไผ่ จาก, มาทำเปนพะเพิงในพระอารามหลวง
- ๒๙๕ ประกาศห้ามไม่ให้ชักสื่อแลชวนภิกษุสามเณรประพฤติอนาจาร
- ๒๙๖ ประกาศให้ใช้คำว่าฉศกแทนฉ้อศก
- ๒๙๗ ประกาศห้ามมิให้ภิกษุสามเณรคบผู้หญิงมาพูดที่กุฎี
- ๒๙๘ ประกาศเรื่องพระราชาคณะ ถานา เปรียญ สึกมากเกินไป จะต้องเข้าเดือนทำการพิมพ์
- ๒๙๙ ประกาศเรื่องให้สำรวจคฤหัสถ์อาศรัยวัด
- ๓๐๐ ประกาศว่าด้วยวิธีคิดอธิกมาศ
- ๓๐๑ ว่าด้วยวันธรรมสวนะ
- ๓๐๒ ประกาศวิธีบอกศักราช
- ๓๐๓ คำประกาศเรื่องปวารณา
- ๓๐๔ พระราชกำหนดเรื่องนาฬิกา
- ๓๐๕ ประกาศว่าด้วยพระอาทิตย์ถึงดาวฤกษ์อัสยุชก็เปนมหาสงกรานต์
- ๓๐๖ ประกาศเรื่องพัชวาลวิชนี
- ๓๐๗ ประกาศเรื่องราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี
- ๓๐๘ ประกาศใช้คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์
- ๓๐๙ ประกาศให้ใช้คำต่อแลคำตาย
- ๓๑๐ ประกาศให้คงใช้คำที่เรียกภูษามาลาแลวัดพนัญเชิง
- ๓๑๑ ประกาศให้เรียกคลองผดุงกรุงเกษมแลถนนเจริญกรุง
- ๓๑๒ ประกาศให้ใช้คำว่าใส่ในที่ควร
๒๙๑ ประกาศให้ทำบาญชีพระสงฆ์สามเณรที่เปนช่างทองและช่างอื่นๆ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
(ณวันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๙๖)
ด้วยพระธรรมการบดีศรีวิสุทธสาสนวโรประการ จางวางกรมพระธรรมการ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า พระสงฆ์ซึ่งเปนพระราชาคณะ พระครู ถานา เปรียญ เจ้าอธิการพระอนุจร แลสามเณรเปรียญ อนุจร ที่อยู่ในพระอารามหลวง แลวัดบางขึ้นกับพระอารามหลวงกรุงเทพฯ กับเมืองนครเขื่อนขัณฑ์ เมืองสมุทปราการ เมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี เมืองประทุมธานี กรุงเก่า แลเมืองขึ้นแขวงกรุงเก่านี้เล่า ก็เปนเมืองใกล้กรุงเทพฯ จะมีพระสงฆ์สามเณรซึ่งเปนช่างทำทองรูปพรรณต่างๆ แลช่างเงิน ช่างหุงทอง ช่างตีเหล็ก เปนนักเลง เล่นเแร่ แปรธาตุปรอด โดยที่สุดมีเตาต้มน้ำร้อนนั้นก็ดี มีอยู่มากน้อยเท่าใดจะทรงทราบ ให้พระครูทักษิณคณิสร พระครูอุดรคณารักษ์ พระครูอมรวิไชย เจ้าคณะใหญ่วัดพระเชตุพน มีลิขิตประกาศไปทุกพระอารามในกรุงเทพฯ แลเมืองขึ้น ซึ่งมีรายชื่อในบาญชี พระราชาคณะพระครู พระถานา พระเปรียญ เจ้าอธิการ พระสงฆ์อนุจร สามเณรเปรียญ อนุจร ซึ่งเปนช่างทำทองรูปพรรณต่างๆ แลเปนช่างเงิน ช่างหุงทอง ช่างตีเหล็ก มีเตาสูบไม่มีเตาสูบ แลมีเตาสูบเล่นแร่ แปรธาตุ ปรอท ต้มน้ำร้อน มาส่งเจ้าพนักงานผู้รับสั่งจงเลอียดลออ ให้จดวัสสาอายุ สังกัดเจ้านาย กับว่าสักแล้วยังไม่ได้สัก ทั้งนายประกันผู้บอกด้วยให้แน่นอนจงทุกกรม กำหนดให้เอาบาญชีมายื่น พระอารามหลวงนั้นกำหนดเอามาส่งให้เสร็จแต่ในวันเดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีฉลูเบ็ญจศก วัดบางที่ขึ้นกับพระอารามหลวง ส่งบาญชีให้เสร็จในวันเดือน ๗ แรม ๑๕ ค่ำ ปีฉลูเบ็ญจศก แต่หัวเมืองนั้นให้ส่งบาญชีแล้วเสร็จที่สุดเพียงณวันเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปฐมาสาฒปีฉลูเบ็ญจศกให้จงได้ จะได้ทำบาญชีรายชื่อขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าลอองไว้ ถ้าจะทรงสร้างรูปพระปฏิมากรฤๅพระเจดีย์เปนเครื่องทองคำ แลของที่เปนพระราชกุศลต่างๆ เมื่อใด ก็จะได้นิมนตรพระสงฆ์สามเณรที่เปนช่างทองมาช่วยทำฉลองพระเดชพระคุณกับพวกช่างทองหลวง ให้แล้วโดยเร็วทันพระราชประสงค์ เหมือนอย่างพระสงฆ์สามเณรที่เปนช่างเขียนช่างปั้นนั้นเล่า แต่ก่อนๆ มาก็เคยนิมนตรมาช่วยช่างหลวง เขียน-ปั้น-พระอุโบสถ-วิหาร แล้วมาเปนหลายพระอารามหลวง จนบาญชีรายชื่อพระช่างก็ยังปรากฎมาเท่าทุกวันนี้นั้นฉันใด พระสงฆ์สามเณรที่เปนช่างทองนั้น ก็จะได้มีบาญชีรายชื่อตำบลวัดแลสังกัดเจ้านายให้แน่นอนไว้ในกรมพระธรรมการให้เหมือนกัน อนึ่งหมายฉบับใหญ่ที่จะว่าให้เลอียดนั้น เจ้าพนักงานเรียงเสร็จแล้ว จะให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อใด จะโปรดเกล้าฯ ประการใด จึงจะได้เอาคำประกาศหมายมาให้ทราบต่อครั้งหลังอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
หมายมาณวันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีฉลูเบ็ญจศก