- ขะบวนพระราชอิสสริยยศ...
- ไขคำ เล่มปลาย
- ภาคผนวก เล่มปลาย
- ริ้วเสด็จพระราชดำเนีรสู่พระศรีรัตนศาสดาราม โดยขะบวนพยุหยาตราใหญ่
- พระบรมพจนาท ทรงประกาศพระองค์ เป็นเอกอัคระปรมะพุทธศาสนูปถัมภก พระบวรพุทธศาสนา
- แปลคำถวายพระพรชัยมงคลของคณะทูตานุทูต
- พระราชดำรัสตอบคณะทูตานุทูต
- คำถวายพระพรชัยมงคลของคณะมิซซังโรมันขาถอลิข
- คำถวายพระพรชัยมงคลของคณะเปรสบิเตียเรียน
- คำกราบถวายพระพรชัยมงคลของสมาคมพ่อค้าฝรั่ง
- คำถวายพระพรชัยมงคลของสมาคมพ่อค้าญิปุ่น
- คำถวายพระพรชัยมงคลของพวกพ่อค้าจีน
- คำถวายพระพรชัยมงคลของพวกพ่อค้าชาติสิกข์
- คำถวายพระพรชัยมงคลของสภาชาวฮิ่นดู่
- คำถวายพระพรชัยมงคลของคณะ ดาวูดี โบหรา มหะมัด
- คำถวายพระพรชัยมงคลของพวกพ่อค้าไท
- พระราชดำรัสตอบผู้แทนคณะประชาชน ซึ่งเฝ้าถวายชัยมงคลเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘
- ริ้วขะบวนพยุหยาตราใหญ่เลียบพระนครสถลมาร์ค
- เสด็จขะบวนราบ สู่ท่าราชวรดิตถ์ วันเลียบพระนครชลมาร์ค
- ริ้วขะบวนพยุหยาตราใหญ่เสด็จเลียบพระนครชลมาร์ค
- พระนามและนามที่ออก ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเป็นพิเศษ
- กระดาษห่อสมุดชุด พระบรมราชาภิเษก
ไขคำ เล่มปลาย
แปลศัพท์ต่างๆ ซึ่งใช้ในโคลงลิลิตนี้
เรียงตามอักษร
ก
หน้า | ||
กนกะยันตร์ | ยันตร์ (ถมอาคม) ตัวทอง | ๑๕๓ |
กะบิล | ลิง | ๒๖๖ |
กะเรีก | เหมือนเกรีก | [๘๙] |
เกษียรสถาน | ที่ทะเล (ขาว) น้ำนม | ๑๗๑ |
กระดางลาง | อุตรินอกรีตไม่เข้าเรื่อง | ๒๙๕ |
การะวิกวาล | ขน (หาง) นกการะเวก | ๑๖๑ |
กิลา | เหนื่อย | ๒๕๗ |
โกศะ (หรือโกษะ)ราชย์ | คลังราชะสมบัติ | ๑๗๗ |
เกาศะเลส | แยบฉลาดของเจ้า | ๑๙๓ |
เกาไศย์ หรือโกไสย์ | แพร หรือไหม | ๒๕๓ |
เกาศล | ฉลาด | ๒๗๘ |
กัษณุทัย | ขณะอาทิตขึ้น | [๘๘] |
ค
เขบ็จ | เหมือนขะบวน หรือระเบียบ เยื้องกราย | ๒๕๕ |
คระโลง | แผลงจากโคลงให้กะก้ำ | [๙๐] |
คระไลหงส์ | พระพรหม | [๘๘] |
คิวา | ฅอ | [๘๘] |
ฆาเรศ ฆะเรศ หรือคาเรศ | พระตำหนักเจ้า หรือราชมนเทียร | ๒๗๐ |
คุณะวันต์ | ผู้ทรงพระคุณ | ๑๘๓ |
ขันตยางค์ | องค์แห่งความอดกลั้น | ๒๘๔ |
ขัษณะ หรือขณะ | แผลงจากกษณะ (สันสถฤต) | ๒๓๔ |
ง
หงอนกาฬ | ขนนกสีดำติดหมวกเหมือนหงอนดำ | ๑๔๘ |
ง้วน | ขยุย หรือก้อนย่อย ๆ | ๑๗๑ |
จ
จเรียง | อย่าง จำเรียง | ๙๐ |
จิโรษะ หรือจิโรสระรัชย์ | เสวยราชย์รุ่งเรืองอยู่ยืนนาน | ๙๐ |
จุลีย์ | องค์น้อย | ๑๙๕ |
จักรตรี | จักรและตรีศูล | [๘๘] |
จัตตาฬีสะ | สี่สิบ | ๒๔๐ |
ช
ฉะกามาวะจร | หมายหกชั้นพ้า (คือ ๑ จาตุมหาราช ๒ ดาวดึงส์ ๓ ยามา ๔ ดุสิต ๕ นิมานรดี และ ๖ ปรินิมมิตสวัดดี) | ๑๖๔ |
ชะนุม | เหมือนชุมนุม คือประชุม | ๒๕๖ |
ชเนศวร์ | เจ้าคน | ๑๗๑ |
ชะยัจฉะ | หมีตัวชนะ | ๑๔๙ |
ฉะฬายัตน์ | เครื่องติดต่อ ๖ อย่าง คือ ๑ ตากับรูป ๒ หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส ๕ ตัวกับสิ่งถูกต้อง ๖ ใจกับข้อคิด | ๓๐๘ |
ชะลาลัย | พระตำหนักน้ำ | ๒๗๖ |
ชะเลียง | นามมณฑลเมืองเหนือ (แคว้นสุโขทัย) | [๘๘] |
เฉียง | เบื้อง | [๙๐] |
ชะรุม | เหมือมชุมรุม ที่ประชุมพัก | ๒๕๒ |
แฉวก | ด้าน หริอฝ่าย | ๒๕๖ |
ฉาริกา | ขี้เท่า | ๓๐๗ |
ชีโวษ | รุ่งโรจราวกะอาภรณ์พระพฤหัสบดีเทวะ | ๒๗๐ |
ชละฆาเรศ หรือชลคาเรศ | พระตำหนักน้ำ | ๒๗๐ |
ฉัตรชัย | นามพระกันภิรมย์องค์ที่ ๒ คือ ๑ พระเสนาธิปัติ์ (เรียกเสมาธิปัตย์) สำหรับผู้บัญชาการทัพ ๒ พระฉัตรชัย สำหรับพระมหากษัตร์เจ้า ออกศึกสนาม และ ๓ พระเกาวะพ่าห์ สำหรับอย่าทัพ | ๑๕๓ |
ชัยะธุช | ธงชัย | ๑๙๓ |
ชัยะสีห์ | พระมหากษัตร์เจ้า ทรงเดชเหมือนราชะสีห์ตัวชนะ | ๑๕๓ |
ซ
เสนีญ หรือสำเนีญ | ชมลับหลัง | ๑๖๙ |
สมาชญะ | ชื่อ | [๘๘] |
สยม | เอง | ๓๐๓ |
สะลิล | น้ำ | ๓๑๒ |
สวังคุลิศ | นิ้วงาม | ๑๖๙ |
ศิวะ | พระอิศวรเป็นเจ้า | ๒๑๐ |
ศิเนมา | หนังฉายกระดุกกระดิกได้ | ๒๕๓ |
ศิวาเศียร | พระพรพระอิศวร | [๘๙] |
ศิเวศ | พระอิศวรเป็นเจ้า | ๙๘ |
สิริภัณฑ์ | สิ่งเป็นศรี | [๘๘] |
สุทัยะทิศ | อยู่ทิศตวันออก | ๔ |
สุภัทร์ | จำเรีญอย่างดี | ๒๘๔ |
สุโรบาย | แบบอย่างแกล้วกล้า | ๓๐๗ |
เสริศวร์ | เจ้าผู้เบ็นเอกะระทำได้ตามลำลอง | ๖ |
เสวะนะ | คบหาสะมาคม | ๒๘๙ |
แสระ | ม้า | ๒๒๖ |
ไศวะ | ผู้นับถือพระอิศวรเป็นเจ้า | ๙๙ |
โศภี | ผู้มีความงาม | ๑๘๗ |
โศภิต | งาม | ๑๘๗ |
โสฬสะนาฬีก์ | ๑๖ นาฬิกา | ๑๙๘ |
สันนิยาตน์ | มอบ หรือตั้งแต่งครบ | ๑๖๔ |
ษัฬมะศัตก์สมัย | ยุคร้อยปีที่ ๖ | ๑๙๒ |
สังขะลิก | เครื่องจองจำทำโทษ | ๒๐๖ |
สังสรรค์ | คบหา | ๑๘๓ |
เซี้ง | ร้องรำออกท่าร่าเรีง | [๘๘] |
สัปดะพิสดิม์ | วันที่ ๓๗ | ๑๙๗ |
ศัศิวาเรศ | วันจันทร์เจ้า | ๒๑๐ |
ด
ดิเรก (อะดิเรก สระอะ หายกลืน ในสระหน้า) | มากยิ่ง | ๒๐๔ |
ต
ตริแนว | ๓ แนว | ๑๑๕ |
ตรึงษะสงฆ์ | พระภิกษุ ๓๐ รูป | ๙๗ |
ไตรจักร | ๓ รอบ | [๘๙] |
ตาว | ดาพ (คำเดียวกัน ต เป็น ด. ว เป็น พ) | ๒๖๙ |
ท
ฒะ | ฒ. อุณาโลม เวียก ฒ.ขัดสมาธิ์ | [๘๘] |
ไทฺวศัต | สองร้อย | ๑๕๘ |
ธวัช | ธง | [๘๘] |
ทีฆะรัชย์ | ครองราชะสมบัติอยู่นาน | ๑๙๙ |
ทึ่ง | อยากรู้อยากเห็น | ๒๗๖ |
ธัญญาปะรัณ | เข้าเปลือก และ เมล็ดถั่วงาเป็นต้น | ๔๙ |
ทุพพะลินทรีย์ | ร่างกายฟก ไร้กำลัง | ๒๓๘ |
ธุช หรือ ธวัช | ธง | ๒๓๕ |
ธรรมภาส | แสงธรรม | ๒๘๑ |
ธุมะวะดี | บุหรี่ | ๑๖๘ |
น
นะภีสี | สีฟ้า | ๑๗๑ |
นิติราชย์ | ตำรับราชะการ | ๒๑๐ |
นิติไสยะ | ตำรับประเสรีฐ | ๒๓๑ |
นิพัทธ | เนื่องนิจ | [๘๙] |
นิมิต | เครื่องสังหรณ์ หรือ ลาง | [๘๙] |
นิโรธ | ว่าดับ ในที่นี้หมายพระนิพพาน | ๑๖๕ |
นิเวศะมาร์ค | ทางในวัง | ๑๕๘ |
นีนาท | ดังมาก | ๒๐๓ |
นนทิการ | เทวะดาสนิธพระศิวะเจ้า | [๘๘] |
นักษัตร | หมายสัตว์ประจำปี | [๘๙] |
บ
บุรณะมี | ราตรีมีพระจันทร์เต็มดวง | ๑๘๒ |
เบ็ญจะดล | ห้าชั้น อย่างปะฎลว่าชั้น แต่ดลว่าพื้น | ๑๕๓ |
บัณณะรัสะนาฬีก์ | ๑๕ นาฬิกา หรือบ่าย ๓ โมง | ๑๙๗ |
บาทะบงสุ์ | ขี้ตีน | ๒๐๓ |
ป
ปะฏิมา | ว่ารูปเปรียบ คือพระบรมรูปจำลอง | ๒๕๔ |
ปะฐมะสุทิน | วันที่ ๑ | ๒๑๐ |
ปะณิธาน | ตั้งหฤหัย | ๑๘๘ |
ประจันตะทวาร | พระทวารสุดโต่ง | ๑๘๓ |
ประหลาท | เบีกบาน ยินดี | ๓๑๕ |
ปาสาณาสน์ | แท่นหิน | ๑๔๒ |
พ
ผะเดียง | อัญเชีญ | ๑๙๓ |
พะลัคร์ | กำลังเลีส หมายทหาร | ๒๔๖ |
พะลัฑฒ์ (เขียนพะลัทธ์นั้นผิด) | รวยแรง (ได้แรง) | ๒๔๐ |
พะลิศยะ | พลหมี (พระราม) | ๒๔๐ |
พะลัมภังค์ | ปืนใหญ่ เครื่องทำลาย | ๒๒๐ |
พะหุณหะ | ร้อนมาก | ๒๗๓ |
พะหุละสุข | สุขเกลื่อนกล่นมาก | ๑๙๓ |
พ่าห์ | เครื่องพาไปไหนๆ ได้ | [๘๘] |
พิเนษะกรมณ์ หรือ พินิกษกรมณ์ | เสด็จออกทรงพระผนวช | ๒๕๔ |
พิเลปน์ | ผัด ทา ชะโลม หรือไล้ | ๒๓๒ |
ภีศะ | อาทิต | ๒๕๒ |
พรรลึก | เหมือนพิลึก แปลกตาน่าพิศวง | ๒๔๓ |
ภิญโญตม์ | ยิ่งๆ อย่างสูงสุด | ๑๗๘ |
ผุล | มากเกลื่อนกล่น คือ ชุกชุม | ๑๙๓ |
พฤกษะพรรณ | สิ่งที่ทำเป็นต้นไม้ | ๑๖๒ |
พิธะพรรค | พวกต่าง ๆ | ๒๐๓ |
พิส | ญี่สิบ | ๒๐๑ |
พฤติการ | การประดิบัติ หรือกระทำ | ๒๘๑ |
พฤติคุณ | ความดีแห่งข้อประดิบัติ หรือกระทำ | ๒๘๐ |
พฤฒิธรรม | ธรรมะเครื่องทำให้เจรีญ ธรรมะผู้เฒ่า (ประดิบัติ์มาก่อนเก่าแก่) | ๑๔๒ |
พฤทธิ | เจรีญ | [๘๘] |
พฤษภ | งัว | [๘๘] |
ภิยโย | ยิ่ง ๆขึ้นไป | [๘๘] |
ม
มะณียุค | ยุคเพชร์ หมายสมัยดียอดเยี่ยม | ๑๕๙ |
มรกฎ | ลิง | ๑๙๓ |
มะหัคฆะภัณฑ์ | สิ่งมีค่ามากยิ่งยวด | ๒๘๗ |
มะหุตะมะพร | พระพรเลีสสูงยิ่งใหญ่ | ๓๐๐ |
มะหุตสะวินทร์ | เจ้าแต่งงานพระราชพิธีมะหระสพใหญ่ | ๑๗๑ |
มะหุตสะวามาตย์ | ข้าราชะการเข้าขะบวนพระราชะพิธีฉลองนั้น | ๑๔๕ |
โมระนัฎ | นกยูงรำแพน | [๘๘] |
มนตระศาสตร์ | ตำรับพระมนตร์ | [๘๘] |
มัญจาอาสน์ | พระแท่นพระบรรทม | ๑๗๗ |
มัญชุส | หีบ กล่อง หรือกลักจนห้องก็เรียก | ๒๐๐ |
เมีล หรือทะเมีล | ดู หรือเห็น | ๒๓๕ |
มาร์ค | หนทาง | ๒๕๗ |
มัจฉะรีย์ | ขี้ตระหนี่ | ๓๐๔ |
มะเหนทร์ | พระเจ้าแผ่นดินใหญ่ | ๑๗๑ |
ย
ญิก่ากาญจณ์ | กนกทองคำ (ลงยาด้วย) ที่เสียบ ขนนกการะเวกปักพระมะหามาลา | ๑๕๘ |
ยรรยง | งดงามรัดกุม | ๑๗๑ |
ยาจะนาภัย | ขอพระราชะทานอะภัย | ๑๙๖ |
ยวช | เครื่องประกอบ | ๒๖๕ |
ล
เลอไท | พระนามราโชรสพระร่วงรามกำแหง หมายความว่า พระร่วงพระองค์น้อย | [๘๘] |
รัชดะ หรือ รัชตะ | เงิน | ๑๗๑ |
รัชะนี | กลางคืน | ๑๖๙ |
รัฐะทูต | กงสุล | ๑๘๗ |
ว
วะณิชะภารัตถะ | ประโยชน์เพื่อธุระพ่อค้า | ๑๙๐ |
วะสา | ปี่ | [๘๙] |
วาทะปะฏิวาท | พูดและพูดโต้ตอบ | ๒๘๙ |
วิจิตร | ปรองเพราะ,งาม | [๙๐] |
วิมาดา | พระมารดาเลี้ยง | ๑๗๘ |
วิโรจน์ | เหมือนไพโรจน์ รุ่งเรืองยิ่ง | ๑๘๓ |
ไวกูณฐ์ | หมายพระนารายณ์ | [๘๘] |
ไวรัติ์ | เว้น | ๒๘๙ |
วัลละภางค์ | ตัวคนสนิธ | ๒๖๙ |
วากย์ | คำพูด | ๓๐๐ |
วัชิรุเรศะ | พระทรวงเจ้าประดับเป็นเพชร์ | ๑๗๑ |
วีชนี | พัด | [๘๘] |
เวียงวิลาต | กรุงลอนดอน (คำเบงคลี) | ๑๙๑ |
อ
อะธึก | มากยิ่ง | ๒๑๐ |
อาณัติ์ | สัญญาณออกคำสั่งบังคับ | ๒๔๘ |
อุภัยะชินทร์ | เจ้าเกีดจากเจ้าทั้งสองฝ่าย เหมือนอุภะโตปักษ์ หรืออุภะโตสุชาติ์ ทั้งชะนกและชนะนีเป็นเจ้า | ๑๗๕ |
อุไรพรรณ | สีทองคำ | ๑๔๘ |
อุไรรัตะนะกะรัณฑ์ | กล่อง หรือหีบทองคำ (ลงยาด้วยก็ได้) ประดับเพชร์พลอย | ๑๖๘ |
อุรค | งู | ๒๗๒ |
อุฬาร | หรูหรา | ๒๐๔ |
เอกะบัญญาส | ห้าสิบเอ็จ | ๑๗๗ |
โอม | ทำนองสาธุการ | [๘๙] |
อัญขยม | ข้าพเจ้า | ๒๙๔ |
อุณหิส | กรอบพระพักตร์ หรือ เซีด ปันจุเร็จ และ มงกุฏก็ใช้ | [๘๘] |
อัจฉะรีย์ | ประหลาด | ๑๙๓ |
อัฐะพิสดิม์ | วันที่ ๒๘ | ๒๐๖ |
ฮ
หะนุ | คาง (มักใช้เป็นราชาศัพท์เจ้า) | ๓๐๙ |
หิตะ | ประโยชน์เกื้อกูล | ๒๐๕ |
หิตาภรณ์ | เครื่องประดับกายเกื้อประโยชน์ | ๓๐๕ |
---