ชีวะประวัติ

ชิต บุรทัต กวีผู้มีชื่อรุ่งโรจน์ของประเทสไทย

[ชีวประวัติของนายชิต บุรทัตนี้ เขียนโดย “รสสุคนธ์” และลงพิมพ์ไนหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุสรายวันตั้งแต่สมัยเมื่อนายชิต บุรทัตยังมีชีวิตหยู่]

ประมานสิบปีเสสมาแล้ว เมื่อฉันค้นหาหนังสือพิมพ์รายเดือนเก่าๆ ไนสมัยรัชชกาลที่ ๖ ที่มีหยู่ไนตู้สมุดที่บ้านขึ้นมาอ่านนั้นนาม “เจ้าเงาะ” “แมวคราว” และชิต บุรทัต ดูเหมือนจะปรากตหยู่ไนหนังสือพิมพ์รายเดือนไนสมัยนั้นแทบทุกฉบับ เช่นหนังสือเสนาสึกสาและแผ่วิทยาสาตร สัพท์ไทย ไทยเขสม สรีกรุง ทั้งยุคเก่าและยุคหลัง ไนหนังสือสมุทรสาร อันเปนหนังสือพิมพ์รายเดือนของราชนาวีสมาคม ซึ่งหยู่ไนพระบรมราชูปถัมภ์ไนพระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวโดยตรงนั้น ฉันได้พบรูปถ่ายของกวีผู้มีชื่อเสียงพิมพ์หยู่ข้างหน้าฉันท์อันไพเราะของเขา ความสง่าราสรีบนไบหน้าและท่าทางที่ปรากตหยู่ไนรูปถ่าย อีกทั้งความเรียบร้อยและโอ่โถงไนเครื่องแต่งกายนั้น หัวคิดเด็กๆ ของฉันไนขนะนั้นเห็นสมควนแก่ความมีชื่อเสียงโด่งดังและความอุตสาหะไนการประพันธ์ซึ่งปรากตหยู่ไนหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับของท่านผู้นี้เปนอันมาก ฉันวาดภาพชิต บุรทัต “แมวคราว” และ “เจ้าเงาะ” ไนห้วงนึก เช่นนี้.

เช่นเดียวกับท่านผู้อ่านที่พอไจเรื่อง “ผจนบาป” และ “ข้างหลังภาพ” ของ “สรีบูรพา” หรือเรื่อง “ธาตุหยิง” และเรื่องสั้นๆ ของ “แม่อนงค์” จะวาดภาพผู้แต่งไนลักสนะซึ่งท่านคิดว่าเหมือนตัวเขาที่ท่านเห็นไนหนังสือที่เขาเขียน ฉันวาดภาพ ชิต บุรทัต ไนลักสนะของคนร่างสูง ท่าทางเปนสง่าผ่าเผย มีชีวิตเรียบร้อยราบรื่นเปนสุขหยู่ไนบ้านและสวนอันงามสงัดเงียบตามที่แลเห็นลักสนะของเขาไนภาพถ่าย และการประพันธ์ซึ่งงดงามสแดงความคิดสูง และสุขุม ไนขนะนั้นฉันยังเชื่อว่าคนที่มีดวงความคิดสูงและสุขุมนั้นจะต้องมีชีวิตที่ราบรื่นผาสุกและงดงาม ต่อมาอีกสิบปีฉันก็ได้พบชายกลางคนขาพิการผู้หนึ่งที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ชายผู้นั้นแต่งตัวปอนๆ ไม่ไคร่สวมรองเท้า ฉันไม่สนไจว่าชายขาพิการท่าทางอ่อนน้อมต่อคนทั่วไปนี้คือไคร จนกะทั่งไนวันหนึ่งเมื่อไปเที่ยวหาบ้านชิต บุรทัต กวีเอกคนหนึ่งของประเทสไทยสมัยปัจจุบัน เราได้พบชายขาพิการ แต่งตัวตามสบาย นอนเอกเขนกหยู่ไนบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งมีลักสนะคล้ายบ้านสวนไนถนนวิสุทธิกสัตร เมื่อได้รับคำเชินไห้นั่งลงบนเตียงไม้เก่าๆ รกไปด้วยหมอนดำๆ มีปลอกบ้างไม่มีบ้าง หนังสือกองพะเนินไม่ได้จัดไห้เปนระเบียบและได้รับคำแนะนำไห้รู้จักกับชายชราขาพิการผู้มีลักสนะท่าทางผิดกว่าเครื่องแต่งกายของเขาแล้ว ฉันก็ถึงแก่ตลึงงัน ยิ่งเมื่อกวีเอกของเราบอกอายุด้วยแล้ว ฉันก็ยิ่งประหลาดไจมากขึ้นไนชั่วอายุเพียง ๔๘. ชิต บุรทัตมองดูเหมือนคนที่มีอายุ ๕๘ ปีเสส ความซุดโซมทั้งถานะและร่างกายยากจะนำไห้เรานึกถึง ชิต บุรทัต ผู้ช่วยบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทยไนยุคโน้น, หนังสือพิมพ์ไนพระบรมราชูปถัมภ์ไนรัชชกาลที่ ๖, ชิต บุรทัต ผู้ที่สมเด็ดกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์สภานายกหอพระสมุดวชิรานซงยกย่อง. ชิต บุรทัต ผู้เปนคนโปรดปรานของสมเด็จพระมหาสมนะเจ้า.

ถ้าหากโชคชะตาของคนเราจะได้เปนไปตามพรหมลิขิตดังที่โหราจารย์ได้จำแนกแจกแจ้งไว้พร้อมด้วยคำพยากรน์หย่างแม่นยำแน่แท้ดุจโชคชาตาของสุนทรภู่ ซึ่งเปนจิงตามที่โหราจารย์ผู้หนึ่งได้ผูกดวงชาตาไว้แล้วไห้คำพยากรน์สั้นๆ ว่า “สุนทรภู่อาลักสน์ขี้เมา” คือหมายความว่าสุนทรภู่จะได้เปนนักแต่งหนังสือผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียง ได้รับราชการไกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน แต่ทว่าจะเปนนักเลงสุราแล้ว ดวงชาตาของชิต บุรทัต นักแต่งหนังสือผู้มีชื่อเสียงไนสมัยปัจจุบันก็น่าจะมีอะไรแปลกพิสดาร ถ้าหากว่ามีโหราจารย์ที่ทำนายแม่นยำเหมือนผู้ที่ทำนายสุนทรภู่ได้พยากรน์มาแล้ว ทางจันทรคติ ชิต บุรทัตเกิดวันเดียวเดือนเดียวกับพระบาทสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวง กำเนิดก็ปีเดียวกับรัชชกาลที่ ๖ ซึ่งเขาได้เริ่มชีวิตการประพันธ์และมีชื่อเสียงโด่งดังไนรัชชกาลนั้น ต่างแต่ รัชชกาลที่ ๖ มีพระราชสมภพก่อนชิต บุรทัต รอบหนึ่ง ความเปนหยู่ไนชีวิตของ ชิต บุรทัต ไม่สูงเลิดกว่าสามัชนทั้งหลายก็จิงหยู่ แต่ความลำบากทุขยากของกวีเอกผู้นี้ ความมีปัาเฉียบแหลมไนทางแต่งฉันท์ซึ่งไช้คำธัมดาสามัอันเปนงานที่เขาได้ทำมาแล้วและยังคงทำหยู่นั้นเปนที่น่ารู้น่าฟังน่าสนไจและดูเหมือนจะมีข้อที่น่าสลดไจหยู่ด้วย

ไนขนะนี้ ชิต บุรทัต พร้อมด้วยภรรยาผู้เปนคู่ทุขคู่สุขแต่ดั้งเดิม และเปนคู่ยากร่วมชีวิตไนบัดนี้ได้อาสัยหยู่กับาติผู้ไหย่คนหนึ่ง ซึ่งเขาเรียกว่า “คุนแม่” มีรายได้อันเกิดจากการประพันธ์บทกวีส่งหนังสือพิมพ์ต่างๆ และจากหนังสือสามัคคีเภทคำฉันท์ ซึ่งกะซวงสึกสาธิการไห้ไช้เปนบทเรียนของมัธยมตอนปลาย ราว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ทุกครั้งที่พิมพ์จำหน่าย รายได้เหล่านี้เมื่อคิดดูสำหรับคนที่ไม่ครอบครัว ก็ย่อมจะต้องเบียดกรอการไช้จ่ายหยู่แล้ว แต่สำหรับ ชิต บุรทัต ถึงแม้ว่าการดำรงชีพด้วยปัจจัยเพียงเล็กน้อยเท่านี้จะฝืดเคืองหย่างเหลือแสน หากอาสัยด้วยเขาเปนนักปรัชามองดูโลกไนเหลี่ยมของเมธี จึงดูเขาแจ่มไสร่าเริงเหมือนคนที่สมบูรน์ไปด้วยความสุข ทั้งนี้น่าจะไห้คติแก่ผู้ที่ได้ไปเยี่ยมเยียนเขาได้รู้สึกดังที่ฉันได้สำนึกไนหลักธัมอันนี้หยู่บ้าง

“ครั้งที่ฉันเล่าเรียนเพียรไล่ได้ ลำดับไปเปนขั้นชั้นประถม ตลอดถึงซึ่งประโยคมัธยม ก็ปรารมภ์หยู่ไนเรื่องเนื่องเล่าเรียน สิ่งวิตกผู้ปกครองจะต้องซื้อ ก็ “หนังสือ” หรือว่า “ค่าเครื่องเขียน” มีเครื่องแบบบ้างก็พอแนบเนียน ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อยทั้งน้อยชิ้น เรื่อง “ค่าเล่าเรียน” นั้นเปนอันงด ไม่ต้องหมดต้องเปลืองเรื่องทรัพย์สิน เพราะ “ค่าเทอม” เดิมทีไม่มี “บิล” เมื่อจบสิ้นภาคเรียนมาเวียนทวง เมื่อสอบไล่ได้มัธยมแล้ว ก็แน่แน่วไนไจหย่างไหย่หลวง ไคร่จะรับราชการงานกะซวง ที่ทะบวงกรมไหย่ย่อมได้ดี รักเรียนหยู่?—หยากเปน “ครู” หรือเปน “หมอ” ตัวหย่างย่อต่อมาไนหน้าที่ “โรงเรียนครู”-“โรงเรียนหมอ”—นั้นก็มี เงินเดือนยี่สิบบาทพระราชทาน หยากเรียนอะไรๆตามไจสมัค เช่นจะรักเรียนข้างทางทหาน จะ บก, เรือ, หรืออะไรเพียงได้งาน สอบไล่ผ่านเพียงตกยกคะแนน อาดเปนได้ด้วยคนไนสมัยนั้น คนน้อยครันไคร “เก็ง” หย่างเก่งแสน สอบได้ขั้นชั้นสูง?-“ยูงรำแพน” ก็แม่นแม้นเหมือนกันนั่นเทียวละ เรื่องจะหาวิชาสืบไห้คืบออก นั่น, เปนบอกเด็ตได้ไม่มีหละ “เพียงเท่านั้น-ฉันก็...พอถานะ” โดยมากจะนึกฉนี้ดีไม่เบา

เมื่อสอบไล่ได้เปน “ครู” ก็หรูหรา เปน “แพทย์ยา” เยี่ยมชื่อคนลือเล่า เปน “นายเรือ-นายร้อย” ก็พร้อยเพรา เดินเขย่ากะบี่สึกสวยลึกซึ้ง แสนวิเสสเนติบันดิตนิติสาตร หย่างสามาถมากมีไนปีหนึ่ง จะสอบได้ถึง ๑๕-หย่าคำนึง ๗-๘ ถึง ๙ แหละมากแยะเยอะ”

บทกลอนข้างบนนี้ ชิต บุรทัต แต่งปากเปล่าไห้เราฟังไนขนะที่สนทนากันถึงเรื่องชีวิตไนการประพันธ์ของเขาหยู่ เขาอนุาตไห้ลงแซกไนชีวะประวัติตอนต้นของเขาเปนการวาดภาพการสึกสาเล่าเรียนไนสมัยนั้น ไห้ผู้อ่านรุ่นหนุ่มๆ สาวๆ แลเห็น, ว่าสถานะของการสึกสาเล่าเรียนสมัยโน้นกับสมัยนี้มีผิดแผกแตกต่างกันหย่างไรบ้าง.

ชิต บุรทัต เปนคนเชาวน์ไว เฉียบแหลมไนการเรียนเปนที่ผิดสังเกตมาตั้งแต่เด็ก วิชาที่เขาเก่งก็คือภาสาไทย ทั้งนี้เปนเพราะเขาชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เล็กๆ อีกประการหนึ่ง บิดาของเขาก็เปนครูสอนภาสาบาลีหยู่ด้วย ไนยามพักผ่อนเวลาเย็นค่ำ ถ้าไม่สอนหนังสือแก่บุตร ก็อธิบายสัพท์ โรงเรียนวัดราชบพิธเปนสถานสึกสาแห่งแรกของชิต บุรทัต เพราะท่านบิดาของนายบุรทัต สอนภาสาบาลีประจำนะวัดนั้น เขาเล่าว่า ไนครั้นกะโน้น ครูที่สอนมักไม่ชอบสวมเสื้อ ไม่ชอบแม้แต่เสื้อชั้นไน “สอนหนังสือโดยเชิตหนัง” กันแทบทุกคนแม้แต่ครูไหย่ ไนระหว่างที่เรียนหนังสือ ชิต บุรทัต ได้ไปสวดไนวารเข้าพรรสานะวัดพระสรีรัตนสาสดาราม สวดที่เรียกว่า “สวดโอ้เอ้สาลาราย” นั้นได้ค่าสวดวันละสลึง เด็กนักเรียนน้อยผู้ที่ได้รับคำชมเชยจากผู้ไหย่ว่า สวดเสียงเพราะกว่าเพื่อนนั้นได้เกิด “อารมน์” กวีขึ้นก็นะวัดพระแก้ว ไนขนะที่มาสวดนี้เอง.

ไนเวลาที่หยุดพัก ชิต บุรทัต ก็เดินดูรูปภาพตามฝาผนังระเบียงพระอุโบสถ พลางอ่านโคลงรามเกียรติ์ ความไพเราะของกาพย์โคลงและความวิจิตปรานีตของรูปภาพระบายสี ยังไห้พรทางประพันธ์ประจำตัวชิตตื่นตัวขึ้น เขารู้สึก “ติดไจติดอารมน์” แต่ก็ยังมิได้เริ่มประพันธ์อะไรขึ้นจนกะทั่งอายุ ๑๘ ล่วงแล้ว.

อายุย่างขึ้นปีที่ ๑๕ ชิต บุรทัต ก็สำเหร็ดชั้นมัธยมบริบูรน์ของโรงเรียนวัดสุทัสน์ พอเรียนสำเหร็ดบิดาก็ไห้บวดเปนสามเนรนะวัดราชบพิธ สมเด็ดพระสังคราชเจ้าซึ่งบัดนี้ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ซงเปนอุปัชชาย์ สมเด็ดพระพุทธโคสาจารย์วัดเทพสิรินทร์ไนบัดนี้เปนผู้ไห้สีล ไนขนะที่เปนสามเนรนี้ เนรชิตได้เข้าสอบไล่พระธัมวินัยพร้อมด้วยสามเนรอื่นๆ อีกหลายสิบองค์ ความมีเชาวน์ไวของสามเนรน้อยองค์นี้ปรากตขึ้นไนเวลาสอบไล่คราวนั้นก็คือการสอบเส็ดก่อนผู้อื่นชั่วโมงหนึ่ง เมื่อส่งคำตอบแล้ว ก็ออกไปนั่งพักรับประทานน้ำร้อนน้ำเย็นข้างนอกและยังแถมรับหน้าที่เปนพนักงานเลี้ยงน้ำชาแก่เพื่อนๆ ผู้เข้าสอบด้วยกันเสียอีกด้วย.

ท่านผู้อ่านที่รู้จักหรือเคยเห็นตัวกวีผู้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์ไนรูปร่างของคนที่ไม่ไยดีต่อความสวยงาม มีไม่ค่อยชอบสวมเสื้อชั้นนอก และรองเท้า ชอบหย่อนไจตามร้านที่มีขวดโหลปากผูกผ้าแดงเปนแถวบนม้าสูงทุกวัน และวันหนึ่งตั้งสองสามครั้ง คงจะหยากซาบกันบ้างว่าเขาได้เริ่มหลงไหลไนเครื่องดื่มมึนเมานี้มาตั้งแต่เมื่อได? และไนขนะที่เขายังเยาว์วัยหยู่นั้น เขามีอุปนิสสัยชนิดไดบ้างที่บอก “แวว” ดี? ไนข้อหลังนี้ กวีผู้สามาถไนทางแต่งฉันท์อันนักปราช์ยกย่องกันว่าเปนการประพันธ์ชั้นสูง ได้บอกแก่เราว่า เมื่อเด็กเขาไม่ชอบการทะเลาวิวาท ชกต่อย หรือเกเรหย่างเด็กผู้ชายโดยมากมักชอบตัดสินกันด้วย “หมัด” นอกจากนี้เขายังไม่ชอบทำลายทรัพย์สิ่งของอันเปนของสาธารนะหรือเครื่องประดับธัมชาติเช่นดึงทิ้งดอกไม้ต้นไม้มาขยี้เล่น เขียนรูปหรือตัวอักสรซึ่งควนจะเรียกว่าทำความสกปรกไห้แก่สถานที่มากกว่าหย่างอื่นลงบนฝาผนังเสาระเบียงโบสถ์หรือสาลาวัด ไม่ชอบยิงนก ฯลฯ เมื่อยังเปนเด็กนั้น ชิต บุรทัตเปนคนขยันหมั่นเรียน รักหนังสือ ชอบอ่านหนังสือเปนชีวิตจิตไจ ความพอไจไนของมึนเมาก็ยังไม่มีเลย เขาเริ่มดื่มสุราเมรัยเปนก็เมื่อเขาสำเหร็ดการเล่าเรียนและสึกจากเนรแล้วเข้าทำงานมีรายได้เปนของตนเอง.

เมื่อยังเยาววัย ชิต บุรทัตถูกอบรบหย่างเข้มงวดกวดขัน การกินนอนต้องเปนเวลา การเรียนก็ถูกกวดขัน เวลากลางวันไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน ตอนค่ำซึ่งควนจะเปนเวลาพักผ่อนก็กลับเปนเวลาเรียนภาสาบาลีกับท่านบิดาของเขาอีกเวลาหนึ่ง เมื่อกลับจากโรงเรียน เขาถูกมารดาตรวดหนังสือสมุดเรียน เพื่อปลูกนิสสัยไห้เปนคนรักของ อนุสนธิที่ชิต บุรทัตจะไช้นามแฝงไนการประพันธ์ว่า “แมวคราว” นั้น ก็เนื่องมาแต่เขาเปนคนรักแมวมาแต่ยังเด็กๆ ที่ชอบมากที่สุดก็คือแมวตัวไหย่ๆ เขาเคยประพันธ์โคลงสี่สุภาพเรียกว่า “นิราสแมวคราว” ไว้ไนหนังสือพิมพ์รายเดือน สรีกรุง ปี ๒๔๕๙ บทหนึ่งมีความดังนี้

“แมวคราว” ดึกร้องหง่าว แหงวแหงว
หาคู่มันแหวแหว เหี่ยโอ้
อกเรียมก็เทียม “แมว- คราว” นั่น แหละแม่
เปลี่ยวเปล่าจิต-โท่-โท้ ทุ่มสท้อนซวงถวิน

ชิต บุรทัตบวชเนรหยู่สองพรรสา ก็คิดหยากจะผเชินชีวิตไหม่ๆ ทางโลกซึ่งยังไม่เคยพบเลยดูบ้าง ท่านผู้ไหย่ทางสงค์หยากจะไห้บวดต่อไป แต่เนรชิตก็ไม่ยอม บิดาจึงต้องตามไจ เมื่อสึกแล้วก็เข้ารับราชการไนกรมตำหรวด ตั้งแต่ยังเรียกว่ากองพลตระเวน และไช้ฝรั่งชาติอังกริดคือ มร. ลอซันเปนผู้บังคับการ ชิต บุรทัตได้พระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๒๐ บาท ซึ่งไนขนะนั้นเขารู้สึกตื่นเต้นปลาบปลื้มและเห็นว่ามากเหมือนได้เดือนละสองร้อยบาท

“แอมบิชั่น” ของชิต ไนเวลานั้น ก็คือหยากเปนสารวัตรตำหรวด แต่ก่อนที่จะพากเพียรไห้ได้ดีไนการงาน ชิตบุรทัตซึ่งไนขนะนั้นยังอ่อนต่อโลก ยังไม่เดียงสาไนความสนุกร่าเริงทุกชนิด พอสำเหร็ดการเล่าเรียนก็เข้าหยู่ไนวัดไนเพสพรหมจรรย จึงเมื่อเข้าทำงานได้สักหน่อย เพื่อนฝูงก็ชวนเที่ยว และสอนไห้ลิ้มรสสุราเมรัย ชิตเด็กหนุ่มอายุ ๑๗ ก็หลงไหลระเริงหยู่ไนชีวิตไหม่ที่พึ่งได้รับนี้ เงินเดือน ๒๐ บาท ซึ่งเคยเห็นว่ามากไช้เท่าไรไม่หมด ก็เกิดไม่พอไช้ขึ้น ต้นกับปลายเดือนไม่ชนกัน มิหนำซ้ำยังต้องเที่ยวหยิบยืมเขา เริ่มเปนหนี้สินรุงรังไนครั้งนี้.

บิดาของชิตซึ่งมีหลักการอบรมที่น่าเอาไจไส่คือ เมื่อยังเด็กอบรมเลี้ยงดูไห้มีระเบียบ ยังเข้มงวดกวดขันไนการสึกสามากที่สุด เมื่อจเรินวัยสมควนที่จะวางมือปล่อยไห้บุตรหาความรู้ไนเรื่องชีวิตและรับบทเรียนอันเปนผลของการตัดสินไจที่ผิดพลาดบกพร่องของตนเองได้แล้ว ก็ยังจับตาเฝ้าดูบุตรชายหย่างเอาไจไส่และเปนห่วง จนกะทั่งเห็นว่า “ไม่ได้การ” แน่ จึงจัดแจงส่งไปหยู่จังหวัดสุพรรน อันเปนบ้านเดิมของท่าน และยังมีพี่ป้าอาลุงเปนผู้ไหย่หยู่โน่นอีกมาก ผู้ไหย่ที่สุพรนก็จัดแจงหางานไห้ชิตทำ โดยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดจันทร ตำบนประตูน้ำสุพรรน ไห้ชิตเปนครูสอนหนังสือ เงินค่าเล่าเรียนเก็บได้เท่าไดก็มอบไห้ชิตซึ่งเปนทั้งครูไหย่ครูน้อยคนเดียวเส็ดเปนเงินเดือนทุกเดือนไป.

ที่สุพรรน ชิตซึ่งเริ่มจะแตกเนื้อหนุ่มขึ้นก็เริ่มรู้จัก “โรมานซ์” ขึ้นบ้าง พวกสาวๆ ชาวสุพรรนชอบชายหูชายตาไห้ครูหนุ่มชาวกรุงคนนี้นัก พ่อแม่ผู้หยิงหลายคนก็ไม่รังเกียด ถ้าชิตต้องประสงค์จะปลูกหอลงโรงเอาสุพรรนเปนเรือนตาย แต่ชิตไม่มีนิสสัยทาง “โรแมนติค” เขาชอบเหล้ามากกว่าผู้หยิง ตอนเย็นเลิกสอนแล้วก็ออกนอกทุ่ง ดื่มน้ำตานเมา หรือ “เบียร์ดง” การเคาะแคะเกาะแกะผู้หยิงไม่สนุกเท่านอนดื่มเหล้าเถื่อนหยู่กลางทุ่งกับมิตสหายเพสเดียวกัน ลมพัดเย็นเงียบสงัด ได้ยินแต่เสียงลมต้องยอดไม้และเสียงนกการ้อง ดื่มจุไจแล้วก็นอนหลับสลบไหลหยู่ไนทุ่งนั้นจนน้ำค้างตก เปนหยู่ดังนี้ราวปีครึ่ง ผู้ไหย่ทางสุพรรนก็เห็นท่า “ไม่เปนแก้วเปนการ” เช่นเดียวกับผู้ไหย่ไนกรุงเทพฯ จึงจับบวชเนรอีก การบวชครั้งที่สองนี้เขามีอายุได้ ๑๘ แล้ว เมื่อบวชแล้วตอนแรกๆ นั้นหยู่วัดเทพสิรินทร์กับสมเด็ดพระพุทธโคสาจารย์ผู้เปนอุปัชชาย์ ต่อมาไม่ช้าก็ไปพำนักหยู่นะวัดบวรนิเวสไนพระอุปการะของสมเด็ดกรมพระยาวชิรานวโรรส ผู้ซงเปนสกลมหาสังคปรินายกของประเทสไทยไนสมัยนั้น.

ชิตเริ่มการประพันธ์เมื่อบวดเนรครั้งที่สองนี้เอง บทกวีบทแรกของเขาลงไนหนังสือพิมพ์ “ประตูไหม่” ซึ่งขุนสารัตถธุระธำรงเปนบรรนาธิการ (ต่อมาเปนหลวงพรหมประกาส) โดยไช้นามแฝงว่า “เอกชน” ซึ่งหมายความว่าแต่งโดยคนๆ เดียว กวีที่มีชื่อเสียงมากไนสมัยนั้นและไนสมัยต่อมาที่เปนชาวคนะและแต่งส่งหนังสือพิมพ์นี้เปนประจำก็คือ พระเจ้าบรมวงส์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงส์ สามเนรชิตได้รับรางวันไนการแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ส่งหนังสือพิมพ์นี้หลายร้อยบทเปนเงินหลายร้อยบาท นอกจากเงินแล้ว บรรนาธิการยังส่งของรางวันหย่างอื่น เช่นหนังสือไปถวายเนรผู้ประพันธ์อีกมากจนเนรรับไม่ไหวต้องบอกของด ไนตอนหลังก็ได้รับเชินไปเปนกัมการตรวดโคลงฉันท์ซึ่งผู้อื่นแต่งส่งมาด้วย.

จะเปนด้วยได้รับรางวันเหลือเฟือ อีกทั้งชื่อเสียงเกียรติยสก็ได้รับสมความปราถนาทุกหย่างแล้วหรือจะเปนเพราะกะไรก็ตาม ไนตอนหลังๆนี้ ชิตก็เกิดเบื่อและเกียดคร้านขึ้น ดังคำสารภาพตรงๆ ของเขาว่า “ตอนหลังผมขี้เกียดเขียนเลยหนี เงินก็ไม่ไคร่จะหยากได้แล้ว เพราะมันได้เสียจนไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร ถ้าเปนคราวาสหยู่ก็จะได้ไช้เงินนั้นซื้อเหล้ายากิน นี่เปนเนรเปนพระเหล้าก็กินไม่ได้เลยไม่รู้จะเอาไปทำอะไรกัน”

บทประพันธ์ของสามเนรชิต ซึ่งนำลงไนหนังสือพิมพ์ประตูไหม่นี้ คงจะมีหลายสิบบทที่พระเจ้าบรมวงส์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกะซวงมหาดไทย และองค์สภานายกหอพระสมุดวชิราณได้ทอดพระเนตร์ แต่ที่โปรดมากก็คือบทประพันธ์ ซึ่งชิตแต่งสันเสินพระเกียรติคุน พระบาทสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวง พระปิยะมหาราชเปนกาพย์ จึงมีรับสั่งมายังบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ประตูไหม่ว่า “เอกชน” คือผู้ได เมื่อไดว่างขอไห้ไปเฝ้า “ฉันหยากรู้จักเอกชนคือไคร ว่างเมื่อไรเชินไปหาที่บ้าน คุยกันเล่นบ้าง” หย่างไรก็ตาม ผู้นำสามเนรชิตเข้าเฝ้าสภานายกหอสมุดได้พาไปเฝ้าที่หอพระสมุดไนตอนบ่ายวันหนึ่ง—เปนที่น่าเสียดายหยู่บ้างที่ไนขนะนี้ ชิตบุรทัตจำวันสำคันวันหนึ่งไนชีวิตของตนมิได้เสียแล้วว่าวันนั้นเปนวันอะไร – ไนขนะนั้นองค์สภานายกไม่เสด็ดมาจากกะซวงมหาดไทย จึงพระราชวรวงส์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์ สุปรีชา ผู้ซงเปนเลขานุการของสภานายกฯ ได้เสด็ดออกมารับรองแทน เมื่อเล่ามาถึงตอนนี้ เราผู้ฟังก็สังเกตนิสสัยกวีผู้สามารถไนทางโคลงฉันท์กาพย์กลอนได้ว่า เขาเปนคนช่างสังเกตและมองเห็นแง่ขำดีหยู่คนหนึ่ง “กรมหมื่นกวีพจน์เลขานุการออกมารับ “แหม! เสวยหมากโอถดำเปรอะทีเดียว” นายบุรทัตเล่าพร้อมกับหัวเราะน้อยๆ “รับสั่งว่า ‘เสด็ดหยากรู้จัก ผมเองก็หยากรู้จัก”

คอยหยู่ไม่ช้า องค์สภานายกฯ ก็เสด็ดมาถึง เมื่อเลขานุการกราบทูลไห้ซงซาบแล้วก็เสด็ดออกรับแขก ทอดพระเนตร์พินิจดูสามเนรหนุ่มน้อยหยู่ชั่วขนะหนึ่งก็รับสั่งด้วยความดีพระทัยว่า “แหม ยินดีที่ได้รู้จัก” แล้วเบือนพระพักตร์ไปตรัสสั่งกรมหมื่นกวีพจน์ผู้ซงเปนเลขานุการว่า “ยกหอพระสมุดถวายเนรทั้งหมดเทียวนะ เธอช่วยสั่งไห้จัดหนังสือพิมพ์วชิรานที่มีโคลงฉันท์กาพย์กลอนทั้งหมดถวายเนรด้วย”

เรื่องที่ซงคุยกับสามเนรไนวันนั้นโดยมากเปนเรื่องสัพท์และการแต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอน, การแต่งกลอนของสุนทรภู่. เมื่อเนรชิตทูนลา ก็มีรับสั่งว่า “เนรต้องเปนจินตกวีของรัชกาลที่ ๖ เทียวนะ”

เนรชิตสำนักวัดบวรนิเวสวิหาร ตั้งแต่อายุสิบแปดจนกะทั่งอายุยี่สิบเอ็ด ไนขนะที่สำนักนะวัดบวรนิเวสนั้น เนรชิตเปนคนโปรดปรานของสมเด็จพระมหาสมนะเจ้าเปนอันมาก ถึงแก่ซงแบ่งเครื่องเสวยมาไห้เนรฉันมื้อละกึ่งหนึ่งทุกมื้อ กุติก็ซงจัดไห้พำนักหย่างอิสระหลังหนึ่งต่างหากทีเดียว นอกจากสิสย์หาของเนรชิตและคนรับไช้ซึ่งพระองค์ประทานมาไห้ไช้แล้วก็ไม่มีไครรบกวนความสงบของเนรได้

สมเด็จพระมหาสมนะซงไช้เนรชิตไนหน้าที่เลขานุการคู่กับเจ้าคุนรัชชมงคลมุนี (เทส) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธ์วงส์ไนปัจจุบันนี้ เมื่อเนรชิตมีอายุครบปีบวดก็โปรดไห้บรรพชานะวัดบวรนิเวสพร้อมกับ ม.จ. จุลดิส ดิสกุล พระยามานวราชเสวี ประธานผู้แทนสภาผู้แทนราสดรไนปัจจุบันนี้ และพระยานิพนธ์พจนาถต์เจ้าของกรุงเทพบรรนาคาร พระองค์เองซงเปนพระอุปัชชาย์ สมเด็จพระพุทธโคสาจารย์เปนกัมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วเนรชิตก็สอบพระธัมวินัยได้ที่หนึ่ง ภิกสุที่บวดไหม่และเรียนเก่งไนเวลานั้นมีพระยามานวราชฯ พระยานิพนธ์ และท่านจุลดิส ทั้งสามท่านนี้แย่งกันได้ที่หนึ่งไนการเรียนธัมหยู่เสมอ

เกียรติยสอีกครั้งหนึ่งของเนรชิตก็คือ เมื่อพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพซงอาราธนาไห้แต่งฉันท์สมโภชพระมหาเสวตฉัตรไนงานพระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลที่ ๖ ไน พ.ส. ๒๔๕๔ พร้อมด้วยกวีผู้มีเกียรติอีกบางท่าน มีหลวงธรรมาภิมนท์ (ถึก จิตรกถึก) พระราชวรวงส์เทอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา พระราชวรวงส์เทอ กรมหมื่นพิทยาลงกรน์ ฉันท์สมโภชพระมหาเสวตฉัตรนี้มี ๔ ลา พราหมน์เปนผู้กล่อมไนขนะทำพระราชพิธี เนื่องไนการนี้เนรชิตได้รับพระราชทานเงินตราเปนรางวัลสองชั่ง (๑๖๐ บาท) ขุนพินิจอักสร (ต่อมาเปนพระยาอุดรธานีฯ) เลขานุการพระจำพระองค์เสนาบดีกะซวงมหาดไทยเปนผู้นำมาถวายสามเนรชิตนะวัดบวรนิเวส เงินรางวัลนี้เปนเงินเหรียนบาทไส่ถุงผ้าขาวหนักอึ้งวางหยู่ไนตลุ่มมุกด์ของหลวง

ความปรีชาสามาถของเนรชิตตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฟังดูก็คล้ายนิยายมากกว่าเรื่องจิงๆ ของคนที่ยังมีชีวิตหยู่ เพียงอายุ ๑๘ ปีที่เริ่มการประพันธ์ เนรชิตได้รับความยกย่องจากบุคคลสำคันๆ ไนสมัยนั้น ถึงแก่ได้เข้าร่วมวงการประพันธ์ฉันท์สมโภชพระมหาเสวตฉัตรซึ่งนับถือกันว่าเปนเกียรติยสอันสูงแก่ผู้แต่งไนสมัยนั้น การแต่งฉันท์นั้นไม่ไช่ของง่าย ยิ่งจะแต่งไห้ได้รสทั้งไจความและไพเราะด้วยก็ยิ่งยากขึ้นอีกมาก การแต่งกาพย์กลอนโคลงฉันท์ของเนรชิต คงจะได้รสสูงทั้งไจความการไช้สัพท์ ถ้อยคำและไพเราะจึงเปนที่ต้องพระหรึทัยของเจ้านายไหย่โตผู้ซงไว้ซึ่งพระวัยวุธิและคุนวุธิไนทางวรรนคดีดังกล่าวมาแล้ว

และความสามาถอีกประการหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระมหาสมนะเจ้าซงซาบดี ก็คือการเรียนพระปริยัติธัม เนรชิตได้เรียนตั้งแต่เมื่อบวดเนรครั้งหลังคือ อายุ ๑๘ ตลอดมาจนอุปสมบทแล้วได้เข้าสอบครั้งหนึ่ง สมเด็จพระมหาสมนะซงตรวดข้อสอบด้วยพระองค์เอง พายหลังที่กัมการอื่นๆ ได้ตรวดแล้วก็รับสั่งว่า ไม่ต้องเข้าสอบหรอก ไว้เข้าสอบประโยค ๖-๗ เลยทีเดียวพร้อมๆ กันหลายประโยคดีกว่า โดยนัยฉะนี้เนรชิตจึงได้เรียนพระปริยัติธัมมาจนถึงประโยค ๗

สามเนรชิตเริ่มแต่งบทละคอนร้องไนขนะบวดเนรครั้งที่สองนี้ นายเล็ก (ต่อมาเปนพระโสภนอักสรกิจ) เจ้าของละคอนร้องปราโมทัยเปนผู้อาราธนาไห้แต่ง บทละคอนที่เนรชิตแต่งนี้ไห้ไช้นามแฝงว่า “เจ้าเงาะ” ซึ่งหมายความว่ายังเปนเนรหยู่ยังไม่ได้ถอดรูป เวลานั้นสมเด็ดพระมหาสมนะเจ้าไม่ซงซาบว่า เนรชิตเลขานุการของพระองค์แต่งบทละคอน และเขาถวายค่าประพันธ์เรื่องละ ๕๐ บาท หรือ ๑๐๐ บาท นอกจากถวายเงินและหนังสือประโลมโลกต่างๆ เช่น “กล่อมจิต” และบทละคอนร้องซึ่งรจนาโดยท่านประเสิถอักสร (พระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงส์) แล้วยังถวายผ้าม่วงสีต่างๆ อีกด้วย

ครั้นหยู่มาวันหนึ่ง สมเด็ดพระมหาสมนะเจ้าทอดพระเนตร์เห็นผู้จัดการละคอนปราโมทัย ตรัดถามได้ความมาหาสามเนรชิต ก็ซงนิ่งมิได้รับสั่งว่าประการได ซงคอยหยู่จนกะทั่งผู้จัดการละคอนกลับแล้ว จึงรับสั่งไห้หาเนรหนุ่มน้อยไปเฝ้า ตรัดถามด้วยความซงเปนห่วงว่า “—มาหาด้วยธุระอะไร?”

เนรชิตทูนตามตรงด้วยรู้สึกว่ามิได้ผิดสิลมุสาวาทว่า “มาสนทนากันด้วยเรื่องหนังสือพะย่ะค่ะ”

ซงนิ่งไปชั่วขนะหนึ่ง ทอดพระเนตร์ดูเลขานุการน้อยด้วยความเปนกังวน แล้วยกพระหัตถ์ขึ้นชี้หน้าเนรพลางตรัดว่า “ระวังนะ ระวังนะ”

ไนเวลานั้น มิตรสหายที่สนิธมากที่สุดของเนรชิตก็คือ “สรีสุวรรน” หรือหลวงนัยวิจารน์นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งไนยุคนั้น หลวงนัยวิจารน์เปนผู้ก่อการคนหนึ่งไนคนะนักปติวัติ ร.ส. ๑๓๐ มีหน้าที่แปล “คอนสติติวชั่นลอว์” หรือรัถธัมนูต่างประเทสเปนภาสาไทย นอกจากหลวงนัยฯ หรือ “สรีสุวรรน” แล้ว นักปติวัติอื่นๆ เช่น นาย บ๋วย บุนยรัตนพันธ์ นายอุทัย เทพหัสดินนะอยุธยา ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่เปนมิตรสหายที่รักไคร่คุ้นเคยกันมาทั้งนั้น เนรชิตนั้นเกือบมีส่วนร่วมเปนนักปติวัติไปด้วย

กุติเนรชิตนะวัดบวรนิเวสนั้นเล่าก็เปนที่ทำงานของ “สรีสุวรรน” โดยเหตุที่ว่าเงียบสงัดและมิดชิดไม่มีผู้ไดพลุกพล่าน “สรีสุวรรน” จึงเลือกเปนที่แปลและเรียบเรียงคอนสติติวชั่นลอว์เปนรัถธัมนูภาสาไทย เนรชิตมีความรู้ดีไนทางภาสาบาลีจึงเปนผู้ช่วยไนการค้นหาสัพท์ที่มีความหมายตรงกับภาสาอังกริสและช่วยเรียบเรียงต้นฉบับแปลของ “สรีสุวรรน” ไห้สละสลวยไห้คนไทยๆ อ่านฟังเข้าไจซึมซาบดียิ่งขึ้น แต่เปนเคราะห์ดีหย่างยิ่ง ที่เนรชิตมิได้พลอยถูกจับกุมด้วยเมื่อคนะนักปติวัติถูกจับขึ้นสาล “สรีสุวรรณ” ถูกสาลตัดสินจำคุกยี่สิบปี แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวซงพระมหากรุนาพระราชทานอภัยโทสไห้ปล่อยตัวไป คงจำคุกแต่ผู้ที่ได้รับคำพิพากสาไห้ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตโดยลดลงมา ๒๐ ปี ซึ่งพายหลังก็ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ อภัยโทสไห้ปล่อยตัวไปเมื่อเสวยราชย์ครบสิบห้าพรรสา เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิสหล้านภาลัย

เมื่อแต่งบทละคอนไปไห้เขาสแดงแล้ว จะเปนกี่เรื่องต่อกี่เรื่องก็ตาม เนรชิตก็ไม่มีโอกาสได้ดูละคอนที่สแดงเรื่องซึ่งตนประพันธ์ขึ้นเลยแม้แต่เรื่องหนึ่ง และเมื่อได้รับของถวายเปนผ้าม่วงสีต่างๆ ฉูดฉาดสวยสด พร้อมกับคำปวารนาว่า “สึกเมื่อไดรับรองเต็มที่” การแต่งบทละคอนซึ่งได้ “ค่าป่วยการ” เรื่องละ ๕๐ บาท หรือ ๑๐๐ บาท (ถ้าสแดงทั้งวันเสาร์และอาทิจ) ก็ดูไม่ยากเย็นอะไรเลย เขียนสองวันก็จบเรื่อง ถ้าเปนคราวาสรายได้หย่างน้อยเดือนละ ๑๕๐-๒๐๐บาทคงไม่หนีไปข้างไหน ความคิดเหล่านี้วนเวียนหยู่ตั้งแต่ยังเปนเนร หากคิดถึงว่า ไหนๆ ก็ได้บวดมาหลายพรรสาแล้วบวดเปนพระรับกถินไห้บิดาและาติพี่น้องปลื้มไจ ไห้มารดา “ได้เห็นชายผ้าเหลือง” ไนสัมปรายภพโน้นเสียก่อนจะได้เปนที่ชื่นไจแก่ทุกฝ่าย สามเนรจึงระงับไจหยู่ได้ ความหยากสึกนี้ทำไห้เร่งวันเร่งคืนกำหนดบวด และเมื่อบวดแล้วก็นับวันออกพรรสารับพระกถินหย่างทุรนทุรายไจเต็มที

สมเด็ดพระมหาสมนะเจ้าคงจะซงซาบวี่แววหยู่บ้าง จึงมักจะรับสั่งแก่นายชูบิดาของพระชิต และคนอื่นๆ เมื่อพูดถึงความรู้และความหลักแหลมเชาวน์ไวของพระกวีหนุ่มองค์นี้ว่า “ไม่ยอมไห้สึกหรอกจะเอาไว้ไช้” คำว่า “เอาไว้ไช้” ของพระองค์ไนที่นี้ก็หมายถึงตำแหน่งเลขานุการไนพระองค์ซึ่งซงไช้พระชิตหยู่แล้ว ด้วยเหตุที่มีพระกะแสรับสั่งดังนี้ และด้วยความโปรดปรานถึงขนาด มีแบ่งเครื่องที่เสวยมาไห้ครึ่งหนึ่ง เวลาอุปสมบทนาคไนพระอุปการะก็ได้บวดเปนองค์ที่หนึ่ง ฯลฯ เหล่านี้ บิดาและาติพี่น้อง อีกทั้งพระสงค์องคเจ้าจึงมักจะกล่าวกันว่าตำแหน่งท่านเจ้าและสมเด็ด (สมเด็ดพระราชาคนะ) คงไม่หนีไปข้างไหน พระชิตคงจะได้รับพระราชทานเครื่องถมปัทม์ (เครื่องยสของพระราชาคนะ) แต่หนุ่มๆ เปนแน่แท้

แต่สิ่งเหล่านี้หามีอำนาดยับยั้งความหยากสึกของพระชิตแม้แต่น้อยได้ไม่ คงมุ่งยืนกรานหยู่แต่จะลาสมนะเพสเมื่อรับกถินแล้วท่าเดียว นอกจากนี้การได้สังสรรค์สนทนากับพระยามานวราชเสวีซึ่งบวดเปนพระและสำนักวัดเดียวกัน พระยามานฯ เปนทั้งเนติบันดิตไทยและอังกริสก็ย่อมจะเห็นว่าการเรียนกดหมายนี้ดีเลิส พระชิดได้ฟังได้สังเกตเห็นความพากพูมและอนาคตอันรุ่งเรืองของเนติบันดิตเข้าก็เกิดเคลิบเคลิ้มหยากสึกออกมาเรียนกดหมายเปนเนติบันดิตกะเขาบ้าง นี่เองเปนเหตุไห้ความหยากสึกที่มีหยู่เดิมแล้วลุกกะพือขึ้นเหมือนไฟได้เชื้อ นอกจากนี้ พระชิตยังเกิดเปนโรค – “โรคเวร โรคกัม” – เจ็บหน้าอกขึ้นอีกเล่า

ที่ควนจะเรียกโรคเจ็บหน้าอกนี้ว่า “โรคเวร โรคกัม” ก็เพราะโรคนี้รักสาด้วยยาขนานไดไม่หาย จำเพาะต้องแช่เถาวัลย์เปรียงกับปูนขาวไนแอลกอฮอล์ แล้วชุบผ้าขาวปิดหน้าอกจึงจะหายเจ็บได้ พระชิตได้กลิ่นแอลกอฮอล์เข้าก็ชักพลุ่งพล่านไนไจ—หวลคำนึงถึงนอกทุ่งเมืองสุพรรน---กลิ่นไอรสชาติอาตมายังจำได้—หย่างไรก็ตามความคนองของพระชิตก็ยังมีคนเห็นสนุกด้วย รับอาสาซื้อของต้องห้ามสำหรับพระมาไห้พระชิตดื่ม เมื่อดื่มแล้วก็กลับรู้สำนึกตัวจึงเข้ากราบทูลสมเด็ดพระมหาสมนะเจ้าว่า หยากจะขอลาสิกขาบท พระองค์ไม่โปรดฯ อนุาต ตรัดหย่างเดียวกับที่เคยตรัดแก่ไครๆ มาแล้วว่า “ไม่ไห้สึก จะเอาไว้ไช้เปนเลขานุการประจำตัว” พระชิตไม่ซาบจะวิงวอนหย่างไรไห้พระหทัยของพระอาจารย์อ่อนได้ก็ต้องกลับมายังกุติที่หยู่และผลที่สุดก็ต้องระงับความพลุ่งพล่านไจด้วยของต้องห้ามเด็ดขาดของพระนั้นอีกครั้งหนึ่ง---

ตามปรกติสมเด็ดพระมหาสมนะเจ้าโปรดซงงานไนเวลากลางคืน ดึกๆ ดื่นๆ เมื่อซงนึกอะไรขึ้นได้ก็รับสั่งไห้หาพระชิตไปเขียนคำบอก ข้างพระชิตก็ไม่กล้า “ดื่ม” เวลาอื่นนอกจากตอนกลางคืน เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว มีคนมาตามว่ารับสั่งไห้หาก็ไม่กล้าขัดรับสั่ง เมื่อผู้ไหย่เรียกก็ต้องไป แต่ได้จัดแจงล้างปากและฉันหมากแก้กลิ่นเสียก่อน ตอนแรกๆ ก็สำรวมควบคุมสติไว้มั่น แต่เมื่อเห็นสมเด็ดไม่สแดงว่าซงสงสัยก็เลยลดหย่อนการบังคับตัวลงบ้าง- ต่อมาพายหลังพระชิตจึงได้ซาบด้วยความเสียไจยิ่งว่าพระอาจารย์ของตนนั้น ท่านไม่ซงรู้จักว่ากลิ่นเหล้าเปนหย่างไร- โดยเหตุนี้พระชิตก็ได้ไจต่อมา ครั้งหลังๆ จึงซงสงสัย ว่าไนตอนค่ำคืนเลขานุการคนโปรดของพระองค์มักมีกลิ่นปลาดหยู่ไนตัว และกิริยาอาการก็วิปริตผิดธัมดาไป แต่ไม่ตรัดออกมาว่ากะไร เปนแต่รับสั่งไห้หาไนตอนกลางคืนบ่อยขึ้น

ต่อมาก็มีคนอื่นได้กลิ่นปลาดของพระชิตนี้เข้าบ้าง แต่คนอื่นนี้ไม่ได้เข้าวัดเมื่อยังเยาว์วัยและบริสุทธิ์ผุดผ่องต่อทางโลกเหมือนสมเด็ดพระมหาสมนะเจ้า จึงเมื่อเขาได้กลิ่นนี้แล้วก็ย่อมคอยจับพิรุธเปนธัมดา เมื่อไม่รู้ตัวว่าถูกสงสัย ฝ่ายผู้ผิดก็ย่อมจะเปิดช่องไห้เขาเห็นความผิดลี้ลับที่ซ่อนหยู่ได้วันหนึ่ง จึงไนวันหนึ่งก็มีผู้นำความขึ้นกราบทูนสมเด็ดฯ ว่าพระชิตไช้กอฮอล์ปิดหน้าอก อันเปนการผิดวินัยพุทธบััติและดูเหมือนจะดื่ม—เสียอีกด้วย สมเด็ดฯ รับสั่งว่า “ฉันก็สงสัยหยู่เหมือนกัน แต่ไม่ซาบว่ากลิ่นอะไร” ไนตอนกลางคืนวันนั้นเองก็มีรับสั่งไห้หาพระชิตไปเฝ้า ซงสังเกตเห็นกิริยาอาการของเลขานุการประจำพระองค์ผิดธัมดาหย่างวันก่อนๆ ก็ตรัดถาม พระชิตทูนรับสารภาพ มีพระอาการเสียพระหรึทัยแล้วตรัดพ้อ และรับสั่งถามว่า “ทำไมถึงทำดังนี้เล่า?”

“เพราะข้าพระพุทธเจ้าหยากสึก ทูนขอตรงๆ ก็ไม่โปรดอนุาตไห้สึก กะทำดังนี้โดยเห็นว่าคงจะได้ลาสมนะเพสสมหวัง”

พายหลังเมื่อถูกลงโทสตามอาาวัดแล้ว พระชิตก็ได้นุ่งผ้าม่วงสีและได้ไปดูละคอนปราโมทัยสแดงเรื่องรจนาโดย “เจ้าเงาะ” สมความประสงค์.

เมาภาสิต

ที่ไดมีดื่มเหล้า เมาเฮ
ที่นั่นมีการเซ หยู่ด้วย
เหตุว่า สุรา, เม- รัยไช่ น้ำเพื่อน
ดื่มหนักมากมากถ้วย อาดสิ้นสติเผลอ

“แมวคราว”

เมื่อชิตสึกนั้นราวปลาย พ.ส. ๒๔๕๔ อาชีพไนขนะนั้นก็คือการแต่งบทละคอนไห้คนะละคอนปราโมทัยสแดงและพักผ่อนหย่อนไจ หยู่กับเพื่อนฝูงซึ่งเปนนักกวีและนักเลงหนังสือด้วยกัน บำเรอไจ ด้วยผู้หยิงและสุราเมรัย ชีวิตคราวาสไนขนะนี้ ช่างเก๋ สวยสด น่ารัก และสำเริงสำรานเหมือนชีวิตไนโลกไหม่ ท่านบิดาเห็นบุตรยังไม่ได้ทำงานการประจำไห้เปนหลักถาน ก็ร้อนไจ ตามวิสัยของผู้ไหย่ เล็งการไกลและรอบคอบไม่ประมาท ด้วยการแต่งบทละคอนนี้ รายได้ก็งามดีดอก แต่ทว่าไม่ควนจะวางไจนัก มันอาดไม่ยั่งยืนไปนานเท่าไดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ พอขึ้นพุทธสักราช ๒๔๕๖ ชิตจึงต้องไปสมัคเข้าเปนครูกับเจ้าพระยาพระสเด็ดสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกะซวงธัมการไนสมัยนั้น.

ท่านเสนาบดีได้ซาบเรื่องราวทั้งหลายแหล่ของนายชิตมาตลอดแล้ว ท่านยืนมือไขว้หลัง เทสนากันท์ไหย่ด้วยไบหน้าอันเคร่งขรึม.

“เหล้าน่ะไครๆ ก็กิน” ท่านเริ่มสั่งสอน “ฉันเองก็กินเหมือนกัน แต่เราต้องมีขีดขั้น หย่าตามไจตัว เทอยังอายุน้อยนัก พอจะทำประโยขน์ไห้แผ่นดินไทยได้อีกหลายสิบปี หลายสิบปี” ท่านย้ำหน้าเคร่งเครียดขึ้นเปนลำดับ. “แต่ถ้าเทอเริ่มบั่นทอนตัวเองเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ตามไจความหยากของตนเองโดยไม่ประมานกำลังแล้ว เทอก็จะเสียทั้งตัว และความตั้งไจที่จะไม่ไห้เสียทีที่เกิดมาเปนมนุสรกแผ่นดินไทย”

เมื่อสั่งสอนด้วยความปรานีฉันบุตรหลานตามวิสัยผู้ไหย่ที่มีความปราถนาดีต่อคนทั่วไปไม่เลือกหน้าแล้ว ท่านเจ้าพระยาจึงไห้ ร.ร. ฝึกหัดครูรับนายชิตเข้าเปนนักเรียนสอนได้รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๒๐ บาท เมื่อฉันถามเขาว่าได้เงินเดือนเท่ากับเมื่อหยู่กองพลตระเวนอายุ ๑๗ นี่ไม่รู้สึกเดือดร้อนเพราะไม่พอไช้บ้างหรือ ท่านกวีเอกก็ตอบแกมหัวเราะว่า “ผมจะทุขร้อนอะไร ผมแต่งบทละคอนได้เรื่องละ ๕๐-๑๐๐ บาท แล้วยังจะได้ทางหนังสือสรีกรุงคุนสุกรีไห้อีกเล่า”

วันเสาร์วันอาทิจ “เจ้าเงาะ” นักประพันธ์บทละคอนซึ่งไนบัดนี้ได้ถอดรูปแล้วก็แต่งตัวสวย นุ่งผ้าม่วงสีสดตามวัน ค่อนข้างจะฉูดฉาดนิดหน่อย วันเสาร์มักจะนุ่งสีเม็ดมะปราง หรือม่วงดอกมะเขือ วันอาทิจก็นุ่งแดง ถุงน่องรองเท้าสีดำ หรือขาว ผัดหน้านวล หวีผมเรียบไม่กะดิกสักเส้น เดินไปเดินมาหยู่ทางหลังฉากไนโรงละคอน หรือมิฉะนั้นก็หยู่แถวอัธจันท์ชั้นกลาง ดูละคอนบ้าง ดูคนที่มาทัสนาละคอนบ้าง ดูหยู่ไม่นานเท่าไดนัก ก่อนละคอนเลิก เพื่อนฝูงที่สนิธคุ้นเคยทั้งเก่าและไหม่ก็มาฉุดตัวไปขึ้นรถยนต์ซึ่งไนกรุงเทพฯ สมัยนั้นมีหยู่ไม่กี่คันนัก แต่ทายาทหนุ่มแห่งกองมรดกจำนวนแสนเช่นนายชวลิต เสถบุตร นักประพันธ์หนุ่มน้อย และนายสุกรี วสุวัต เจ้าของหนังสือพิมพ์รายเดือนสรีกรุง ก็ได้มีชื่อหยู่ไนสมุดทเบียนยานพาหนะของกะซวงนครบาล ไนถานะที่มีรถยนต์เปนสมบัติคนละคันหนึ่งด้วย ขับรถ ‘มอเตอรคาร์’ “กินลม” ไปตามถนนสายต่างๆ ขวดน้อยขวดไหย่วางหยู่ไนรังตรงข้างหน้า แวะเวียนตามร้าน “กุ๊กช๊อบ” บ้าง โรงบิลเลียดบ้าง สโมสรบ้าง เปนที่สุขารมน์ยิ่งนัก

เวลานั้นชิตมีรายได้รวมเบ็ดเส็ดเดือนละ ๑๐๐ กว่า แต่ถึงกะนั้นก็ยังไม่พอไช้สอย ตามร้านเหล้ามักส่ง “บิล” มาทวงเสมอ ชิตสารภาพหย่างเปิดเผยว่า เขาไม่ไคร่ได้ไช้หนี้เหล่านี้นัก โดยมาก “กุมารไหม่” ได้รับเหมาเปนผู้ชำระแทน ด้วยเหตุที่รับไช้หนี้แทนเพื่อน และเลี้ยงดูกันหย่างฟูมฟายนักนี่เอง จึงปรากตว่าเดือนหนึ่งเขาต้องชำระค่าเหล้าถึงพันบาท ไม่กี่มากน้อย “กุมารไหม่” ก็ต้องขอลาจากความเปนคนซื่อ “... ซื่อส่อถนัดยาม ส่งหนี้” เจ้าหนี้ค่าเหล้าจึงต้องไปส่งบิลกับท่านเจ้าคุนบิดา “กุมารไหม่”

ท่านเจ้าคุนตกไจถึงร้องว่า “อะไร ลูกข้าน่ะหรือกินเหล้าถึงพันบาท?”

“ขอรับ บุตรของไต้เท้าน่ะแหละขอรับ” ตอบหย่างมั่นคงและไม่เห็นปลาด.

เมื่อไม่ซาบจะว่ากะไร เพราะหลักถานนั้นเปนลายมือบุตรชายคนเดียวของท่านทั้งหมด เจ้าคุนจึงพูดหย่างขันๆ ว่า “ลูกของข้าก็จิงละแต่ข้าไม่ได้สอนไห้มันกินเหล้านี่หว่า”

“แอมบิชั่น” ของนักกวีเอกไนขณะนั้นก็คือ หยากไปเรียนต่อที่เมืองนอก และหยากเปนอาจารย์ แต่ก่อนที่จะได้ผ่านการสอบคัดเลือกไปสึกสาวิชาครูเพิ่มเติมนะต่างประเทสนั้น เขาจะต้องผ่านการสอบเปนครูเสียก่อน ควนจะกล่าวเพิ่มเติมไว้ไนที่นี้ด้วย ว่าความสามาถของ ชิต บุรทัต อันดูเหมือนความสามาถของคนไนนิทานที่ยังไม่ได้กล่าวอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือการเรียนภาสาอังกริด ชิตได้ซื้อตำราเรียนภาษาอังกริดมาเรียนเอง ไนขนะยังบวชเนรหยู่จนมีความรู้พอจะอ่านหนังสือพิมพ์ภาสาอังกริดได้ ไนเวลานั้นถ้าชิตตั้งไจจะสอบเปนครูก็คงจะสอบได้เพราะเปนคนฉลาดหลักแหลม จับทำอะไรถ้าตั้งไจก็ทำได้ดีหย่างหาที่เปรียบยาก เช่นการแต่งฉันท์อันได้ซาบกันดีแล้ว ว่าเปนการประพันธ์ที่ยากกว่าประเภทอื่น ชิตก็ทำจนได้ชื่อเสียงเปนเยี่ยมพายไนเวลาไม่ถึงปีดังนี้ แต่ที่เขาไม่ตั้งไจจะสอบครู ก็เพราะมีงานที่ต้องเปนธุรกังวลคือแต่งบทละคอนและทำหนังสือพิมพ์สรีกรุงที่เพิ่งเปิดขึ้นไหม่.

ชีวิตของกวีขาพิการไนเวลานั้นสำเริงสำรานจนลืมคิดถึงอนาคต ลืมนึกถึงความจิงที่ว่า นักกวีไทยจะดำรงชีวิตหยู่ไม่ได้ ถ้าอาสัยแต่การประพันธ์หย่างเดียวเปนอาชีพ แต่นั่นแหละท่าน ถ้าหากความไหม่ต่อโลกของคนหนุ่มๆ โลกของความสำเริงสำราน มิได้มีความบูชาอิสรภาพ ความทนงตน พากพูมไนความสามาถของตนประกอบด้วยแล้ว อารมน์กวีของชิตก็คงไม่ทำลายอนาคตของตนเองได้ ชิตรักความอิสระ และมีความทนงตัวเปนหย่างยิ่ง เมื่อถูกซักว่า เพราะเหตุไดจึงมิได้รับพระราชทานบันดาสักดิ์เช่นเดียวกับคนะหนังสือพิมพ์ของตน ทั้งๆ ที่เขามีตำแหน่งเปนผู้ช่วยบรรนาธิการและไนหลวงก็ซงรู้จักความสามาถของเขาดีหยู่ กวีเอกของเราก็หัวเราะพลางตอบว่า “เพราะท่านไม่ไห้ผมน่ะซี ผมเองก็ไม่หยากได้ ผมคอยเลี่ยงคอยหนีเวลาเฝ้าถวายตัวเสียทุกครั้ง ขี้เกียดคุน ผมไม่ชอบยสๆ สักดิ์ๆ”

การเขียนชีวิตของคนสำคัน ถ้าจะเว้นไม่กล่าวถึงนิยายรักของบุคคลนั้นๆ เสียเลยก็ดูเหมือนจะเปนการวาดภาพชีวิตหย่างขาดตกบกพร่องผิดกับชีวิตของคนจิงๆ ไป เพราะถือกันว่า ความรักเปนสิ่งประจำไจของคนที่มีจิตไจปรกติสมบูรน์ สำหรับชีวิตของ ชิต บุรทัต กวีเอกของไทยคนหนึ่งไนยุคปัจจุบันนี้เล่า ถึงแม้ว่านายบุรทัตจะมิได้ไคร่สนไจไนเพสตรงกันข้ามไนเชิงรักๆ ไคร่ๆ นัก แต่กะนั้นก็ยังมีสตรีสาวผู้หนึ่งซึ่งชิตนึกรักและเปนผู้หยิงคนเดียว นอกจากภรรยาที่ชิตมีความรู้สึกดังนี้

ถึงแม้ว่าชิตจะเที่ยวหามรุ่งหามค่ำ กลับบ้านดึกๆ ดื่นๆ เพียงได ชิตก็มีกิจวัตรหย่างหนึ่งซึ่งได้เริ่มกะทำเมื่อสึกจากพระมาแล้ว และซึ่งจะขาดเสียมิได้เลยจนวันเดียว กิจวัตรนี้คือต้องหุงข้าวไส่บาตรด้วยตนเอง ถึงแม้ตอนกลางคืนจะเมามายมาหย่างไรก็ตาม เวลาตีสี่เช้ามืดก็จะต้องลุกขึ้นหุงข้าวเส็ดแล้วกวาดเรือนถูเรือนทั่วบริเวน เส็ดเรียบร้อยก็พอดีเวลารุ่งอรุน ตักข้าวที่หุงด้วยมือของตนเองนั้นไส่ขันทองเหลืองนำเข้าไปไห้บิดาจบ แล้วชิตก็จะไส่บาตรด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง ท่านผู้อ่านได้ซาบมาไนตอนต้นแล้วว่าบิดากวีเอกผู้นี้กวดขันไนการอบรมบุตร ท่านคงสงสัยว่าเมื่อบุตรดื่มหามรุ่งหามค่ำเช่นนี้ บิดาได้ว่ากะไรบ้างหรือหาไม่ ไนข้อนี้ชิตเล่าว่าเวลากลับบ้านตอนดึก เมื่อเขาต้องเคาะประตูบ้านเรียกน้องสาวไห้ออกเปิดรับนั้น การเคาะต้องทำหย่างแผ่วเบาแต่ก็ต้องไห้ดังพอที่น้องจะได้ยินจนตื่นขึ้นได้ เมื่อประตูเปิดแล้วก็ค่อยๆ ย่องเข้าไปเหมือนหนูย่องไนครัวเพราะกลัวแมวที่นอนหยู่หัวเตาไฟ เพื่อจะทดแทนการเที่ยวเตร่หย่างหามรุ่งหามค่ำกะมัง กวีของเราจึงต้องลุกขึ้นหุงข้าวไส่บาตรและทำความสอาดเหย้าเรือนดังนี้

เพื่อนบ้านคนหนึ่งของกวีเอกเปนหยิงสาวชื่อแม่เนียม อายุแก่กว่านายบุรทัตหลายปี แต่ยังพริ้งเพรา รูปโฉมหน้าตาน่ารัก แม่เนียมมีกิจวัตรตอนเช้าเวลาเดียวกับชิตคือไส่บาตรทุกเช้า เมื่อบังเกิดความรู้สึกอันเปนธัมชาติของชายหนุ่มขึ้น ทางระบายอารมน์รักของกวีผู้นี้ก็คือ ประพันธ์เรื่องประโลมไจร้อยแก้วขึ้นเรื่องหนึ่งไช้ชื่อ “เนียม” เปนชื่อตัวนางเอกไนเรื่องซึ่งไห้ชื่อว่า “ดิฉันผู้วาสนาน้อย” ไนเรื่องนั้นมีโคลงบทหนึ่งซึ่งกวีเอกตั้งไจเขียนเพื่อเนียมโดยแท้ โคลงบทนั้นมีข้อความดังนี้

“เนียมผสมเสพอร่อยได้ โดยเนียม เดียวนา
เนียมกลิ่นหอมนักเรียม รื่นเคี้ยว
เนียมหอมจักหอมเทียม เทียบขนิสถ์ เนียมรือ
เนียมชื่อเนียมชวนเกี้ยว กอดเนื้อเนียมถนอม

แต่ถึงจะเปนผู้หยิงคนแรกที่ทำไห้เขาบังเกิดความรักขึ้น ชิตก็หาได้ขวนขวายหาทางทำความรู้จักและบอกความรู้สึกไนไจแก่เทอไม่ ที่ไม่ได้เอาไจไส่ถึงแก่ติดต่อกันก็เปนเพราะชิตกลัวบิดาของตนมากหย่างหนึ่ง อีกหย่างหนึ่งโดยที่ชิตเปนคนชอบเที่ยวและมีมิตรสหายมาก ไม่เคยเกิดความรู้สึกเหว่เลย จึงชาๆ ไปเองโดยมิได้พยายาม และไนตอนหลังก็รู้สึกว่าเปนอารมน์อันเลื่อนลอย หาจิงจังไม่

ชิตลาออกจากครูเมื่อทำหนังสือพิมพ์รายเดือนสรีกรุง ชีวิตไนขนะนี้ก็ยังคงแวดล้อมด้วยมิตรสหายและเที่ยวเตร่สนุกสนานกันหย่างเดิม เหล้า ผู้หยิง เปนเครื่องบำรุงไจไห้เพลิดเพลินไนยามพักผ่อน แต่รายได้ไนการแต่งบทละคอนตกไปเพราะรายได้ของโรงละคอนตกต่ำ ตอนหลังๆ ค่าเขียนบทละคอนลดลงมาเหลือ ๓๐ บาท ชิตเห็นว่ากิจการที่ทำนี้ไม่เปนล่ำเปนสัน จึงไปหาขุนสันทัดอักสรสาร (ต่อมาเปนพระไนราชทินนามนี้) ผู้จัดการและพระยาธนกิจรักสา (ต่อมาเปนพระยาอิสสรพันธ์โสภน) ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทย พระยาธนกิจฯ ไห้เข้ารับหน้าที่ประพันธ์ภาสิตเปนกาพย์กลอนโคลงฉันท์ ซึ่งไห้หัวเรื่องว่า “นิจกาลานุสร” เงินเดือนคั่นต้น ๔๐ บาท ด้วยความสามารถไนการประพันธ์ และขยันขันแข็ง ทำงานจิงจึงได้เลื่อนตำแหน่งและเงินเดือนเปนคั่นๆ ขึ้นไปไนเวลาไม่ช้านาน ก็ได้รับตำแหน่งเปนผู้ช่วยบรรนาธิการ ได้เงินเดือนๆ ละ ๑๑๕ บาท

ตลอดไนเวลาที่ทำงานไนหนังสือพิมพ์ไทย ชิตยังคงทำหนังสือรายเดือนสรีกรุงหยู่จนกะทั่งหยุดการพิมพ์ และเมื่อนายสุกรี วสุวัต กับ นายกิจ สาราภรน์ ร่วมมือกันจัดตั้งหนังสือพิมพ์รายวันสยามราสตร์ (หรือไทยราสตร์) ชิตก็ยังคงช่วยเหลือตามแต่จะช่วยได้ โดยแบ่งเวลาทำงานเปนสองตอน เลิกจากพิมพ์ไทยก็มาทำสยามราสตร์ไนตอนเย็น นอกจากเที่ยวเตร่และเกี่ยวข้องกันด้วยการทำหนังสือพิมพ์แล้ว นายสุกรี วสุวัตยังได้ช่วยเหลือชิตไนเรื่องพิมพ์หนังสือประโลมไจเปนเล่มๆ ซึ่งประพันธ์โดย “เจ้าเงาะ” “แมวคราว” อีกด้วย.

ชิตประพันธ์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้นไน พ.ส. ๒๔๕๒ ไช้เวลาแต่งและแก้รวมเวลาเดือนหนึ่ง ก็สำเหร็ดบริบูรน์ พระสันทัดอักสรสารเปนผู้จัดการพิมพ์จำหน่ายครั้งแรก ไนจำนวน ๕๐๐ เล่ม ต่อมากะซวงธัมการ พิจารนาเห็นว่าหนังสือเรื่องนี้เปนทั้งวรรนคดีและสแดงธัมไนหมู่คนะและชาติ จึงเลือกเปนหนังสือแบบเรียนของมัธยมตอนปลายซึ่งยังคงไช้หยู่จนกะทั่งไนปัจจุบันนี้.

เหตุที่นักกวีชิต ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวก็มีข้อความที่น่ารู้น่าฟังหยู่บ้าง ไน พ.ส. ๒๔๕๘ ชิตได้แต่งกาพย์ปลุกไจส่งไปไห้หนังสือพิมพ์สมุทสาร ซึ่งเปนหนังสือพิมพ์รายเดือนของราชนาวีสมาคม อันหยู่ไนพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง ไนสมัยนั้นเปนสมัยที่พระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวซงตั้งกองเสือป่าขึ้นไหม่ๆ นอกจากกองเสือป่าก็ซงตั้งสมาคมหาทุนซื้อเรือรบไห้แก่กะซวงทหานเรือหรือราชนาวีไทยอีกด้วย พระราชทานนามสมาคมจัดหาทุนซื้อเรือรบนี้ว่า “ราชนาวีสมาคม” การปลุกไจประชาชนพลเมืองไห้รักชาติ ยอมเสียสละเพื่อชาติ และคำนึงถึงภัยซึ่งอาดจะบังเกิดขึ้นได้เปนครั้งที่สองจากการคุกคามของประเทสอื่น เปนรัถประสาสโนบายของต้นรัชชสมัยพระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าฯ และดูเหมือนรัชชกาลที่ ๖ จะซงเปนผู้นำองค์แรกที่ริเริ่มการปลุกไจคนไทยไห้รักชาติ สำนึกถึงชาติและความเปนไทยหรืออิสระภาพหย่างไหย่โตขึ้น ปาถกถา บทเพลง บทละคอน บทความพิเสส ฯลฯ ซึ่งซงพระราชนิพนธ์และซงสแดงด้วยพระองค์เอง ไนสมัยนั้นมีจุดหมายเปนอันหนึ่งอันเดียวกันคือ ปลุกไจไห้รักชาติ ด้วยเหตุนี้กะมัง เมื่อชิตประพันธ์กาพย์ปลุกไจส่งไปไห้บรรนาธิการหนังสือพิมพ์สมุทรสารพิจารนาลงพิมพ์ รัชกาลที่ ๖ ได้ทอดพระเนตรไนถานะที่ซงเปนผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น จึงได้โปรดปรานเปนอันมาก โปรดเกล้าฯ ไห้รับลงพิมพ์พร้อมด้วยดำหรัดสั่งไห้เจ้าหน้าที่ที่ขอรูปกวีชิตมาทำแม่พิมพ์เพื่อลงประกอบบทประพันธ์ของเขาด้วย นอกจากนี้กวีชิตยังมีข้อที่พากพูมไจอีกข้อหนึ่งคือเขาเปนบุคคลพายนอกคนแรกที่ “สมุทสาร” รับเรื่องลงพิมพ์ไนหน้าหนังสืออันนับถือกันว่าเปนหนังสือพิมพ์ชั้นสูงไนสมัยนั้น.

บทประพันธ์ของชิตที่นำลงไนสมุทสารพร้อมด้วยรูปถ่ายนั้น มีข้อความดั่งนี้-

เกิดเปนคนไทย ทั้งไจและนาม
ทั้งสองปองความ หมายคงตรงกัน
ซื่อตนคนไทย แต่ไจเหหัน
เปนอื่นพื้นพรรค์ พาลโหดโฉดเขลา
หมายความนามไทย คือไช่ข้าทาส
ไป่มีไครอาต ลบหลู่ดูเบา
ยืนยงคงทาน มากาลนานเนา
ควนที่ชาวเรา ตรองตรึกนึกดู

เมื่อพระยาธนกิจรักสา ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยเข้าเฝ้าฯ ไนวันหนึ่ง ก็มีพระราชดำหรัดถึงกวีชิตผู้ประพันธ์บทปลุกไจนี้แล้วตรัดว่า “ไห้มันขอนามสกุลมา ข้าจะไห้” ชิตจึงเขียนประวัติของสกุลขึ้นทูลเกล้าถวยขอพระราชทานนามสกุล ไนชั่วระยะเวลาไม่กี่มากน้อย (โดยมากผู้ที่ขอพระราชทานนามสกุลต้องรอกันนานๆ บางทีตั้งปีครึ่งหรือสองปี ทั้งนี้เพราะมีผู้ขอพระราชทานกันมากมายนัก) ก็ได้รับพระราชทานนามสกุลเมื่อต้นพ.ส. ๒๔๕๙ ไนพระราชหัตถเลขามีข้อความว่า “ขอไห้นามสกุลนายชิตผู้ช่วยบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทย ตามที่ขอมานั้นว่า “บุรทัต”...อันเปนมงคลนาม ฯลฯ

ไนพ.ส. ๒๔๕๙ นี้เอง ชิต บุรทัต ซึ่งมีอายุย่างขึ้นปีที่ ๒๕ ก็เกิดรู้สึกเบื่อต่อการเที่ยวเตร่สนุกโลดโผนหย่างชายโสดขึ้นมาบ้าง บิดาของเขาเห็นว่า ถ้าไม่หาภรรยาไห้ก็น่าที่บุตรจะตั้งตัวเปนหลักถานไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงเมื่อมีแม่สื่อมาชักนำหม้ายสาวคนหนึ่งว่าเปนคนดี และรูปโฉมหน้าตาก็หมดจดพอไช้ พี่น้องของนายบุรทัตรวมทั้งตัวเขาเองด้วย จึงได้ไปดูตัวผู้หยิงที่บ้านแม่สื่อ ซึ่งหยู่หลังห้างทิสแมน (บริบูรน์โอสถเดี๋ยวนี้) ไนเวลาเย็นราว ๑๗ นาลิกาเสส.

ไนวันนั้น กวีเอกแต่งตัวสวยมาก นุ่งผ้าม่วงสีโสก เสื้อชั้นนอกแพรสีนวนสวมถุงน่องรองเท้าเรียบร้อย ที่แต่งเต็มที่ดังนี้ก็เพราะเตรียมจะไปดูละคอนด้วย ฝ่ายผู้ที่จะเปนเจ้าสาวของเขานั้น โดยเหตุที่พำนักหยู่บ้านผู้ที่เปนแม่สื่อจึงแต่งตัวเรียบๆ หยู่กับบ้าน แต่ผ้าพื้นที่นุ่งค่อนข้างไหม่ และเลือกนุ่งผืนสีม่วงซึ่งเปนสีโปรดของเทอ ส่วนเสื้อชั้นนอกนั้นเปนผ้ามัสลินสีขาวลงแป้งรีดเรียบร้อย ไนเวลานั้นเทอกำลังเริ่มเอาไว้ผมยาว ผมยาวเพียงประบ่า หวีเรียบๆ แล้วติดคลิบกลมๆ กันผมกะจายที่ตรงจอนหูทั้งสองเท่านั้น มิได้ตกแต่งอะไรอีก แต่ก็คงจะดูงามสอาดหมดจด ชิตและพี่น้องซึ่งเปนผู้แทนของบิดาเขาจึงเห็นพ้องต้องกันที่จะเลือกสตรีสาวผู้นี้เปนภรรยาและสะไภ้.

สตรีสาวผู้นี้ชื่อจั่น ไนขนะนั้นเทอมีอายุได้ ๓๐ แก่กว่ากวี ๕ ปี และเคยแต่งงานมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่หย่ากันเมื่ออายุจั่นได้ ๒๘ สามีเดิมเปนนายทหานเรือ ซึ่งพายหลังจึงรู้ได้ว่าหาไช่คนอื่นไกลไม่หากเปนเพื่อนของชิตเอง เคยเที่ยวเคยดื่มสนุกสนานหย่างหัวหกก้นขวิดมาด้วยกัน สาเหตุที่เลิกร้างกับสามีเดิมนั้นก็คือความเจ้าชู้มีเมียน้อยและดื่มเหล้าต่างน้ำ ไนเวลาที่เทอเจ็บเขามักจะพาผู้หยิงอื่นขึ้นไปสัพยอกหยอกเย้าหยู่บนเรือนซึ่งตรงกับห้องที่เทอนอนเจ็บหยู่ข้างล่าง เทอพยายามสกดไจไม่คิดมาก เพราะเปนเวลาที่กำลังป่วยแต่ถึงกะนั้นก็อดกลั้นความโทมนัสไว้ไม่ได้น้ำตาร่วงไม่ขาดสาย ฉนั้นพอค่อยทุเลาขึ้น สามีบอกว่าได้พาภรรยาน้อยมาหยู่ร่วมบ้านด้วยคนหนึ่ง เทอก็ขอหย่า สามีก็ยอมไห้หย่าโดยดี เมื่อหย่าขาดกันเรียบร้อยแล้ว เทอก็เดินทางออกจากภูเก็ต ซึ่งเทอได้ติดตามสามีไปหยู่ที่นั่น กลับกรุงเทพฯ อันเปนบ้านเกิดถิ่นเดิมของตนอีกครั้งหนึ่ง.

ไนเวลานั้นจั่นเปนกำพร้าทั้งบิดาและมารดา พี่ชายซึ่งรับหน้าที่เลี้ยงดูแทนมารดาตั้งแต่เล็กจนกะทั่งโตก็ถึงแก่กัมไปแล้ว เจ้านายพระองค์ที่เปนผู้อุปการะตั้งแต่มารดาและพี่ชายตลอดจนตัวเทอเองก็สิ้นพระชนม์ไปแล้ว นอกจากเพื่อนฝูงที่คุ้นเคยชอบพอบางคนแล้ว เทอก็ไม่เห็นไครไนกรุงเทพฯ ที่พอจะพึ่งพักได้ แต่ถึงกะนั้นก็ยังขอหย่าขาดจากสามีด้วยความมานะ และบอกกล่าวไห้เขาซาบล่วงหน้าด้วยว่า โดยที่เทอไม่มีที่พึ่ง เทอคงจะต้องมีสามีไหม่ เมื่อไปถึงกรุงเทพฯ แล้ว เขาก็สนองคำบอกกล่าวถึงเทอด้วยพูดว่า

“ถ้าแม่จั่นจะมีไหม่ ก็มีไห้ดีกว่าฉันนะ ถ้ามีไม่ดีไปกว่าฉันแล้ว ก็หย่ามีเสียเลยดีกว่า”

ด้วยความคั่งแค้น เทอจึงตอบไปว่า “ดีหรือไม่ดี ฉันก็จะมี ถึงแม้จะเปนคนลากรถ แต่ถ้ามันไม่เปนคนเจ้าชู้ ไม่คิดคดขบถต่อเมีย หลอกลวงเมียของมันเหมือนหย่างเทอทำแก่ฉันแล้ว ฉันก็จะเลือกมัน” เพราะเหตุว่าคำพูดตอนนี้ของเทอรุนแรงไปหรือหย่างไรก็ตาม เขาจึงหาติดตามงอนง้อขอดีด้วยไม่ แต่พายหลังเมื่อได้ซาบข่าวว่าเทอเปนภรรยาของ ชิต บุรทัต แล้ว ก็เกิดความอาลัยมาก ลงมากรุงเทพฯ และไปคอยพบเทอที่บ้านเพื่อนผู้เปนสื่อชักนำไห้ได้กับนายบุรทัต เมื่อได้พบแล้วก็ตัดพ้อต่อว่าๆ “ไม่รู้เลยว่าแม่จั่นจะเปนยังงี้” เทอตอบตามตรงที่แค้นไจว่า เทอมีไหม่ก็โดยที่แค้นไจสามีเก่า จึงมีเย้ยบ้าง พอได้ยินดังนี้เขาก็ชวนกลับไปหยู่ด้วยกันอีก “ไม่เปนไรหรอกฉันจะไส่ตะกร้าล้างน้ำ ถึงแม่จั่นจะเสียตัวชั่วช้าอีกก็เสียกับผู้เปนผัวเก่า” แต่เทอไม่ยอมไป เทอกล่าวว่าเมื่อเปนภรรยาของชิตแล้ว ก็ต้องจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อเขา ความโลเลกลับไปกลับมาเหมือนไม้ปักเลนไม่ไช่วิสัยของเทอ เทอแต่งงานไหม่ก็เพราะไม่มีที่พึ่ง หาไช่เพราะต้องการจะยั่วไห้สามีเก่ากลับมาง้อขอดีด้วยไม่ เมื่อซาบความตั้งไจแน่วแน่ของเทอดังนี้แล้ว เขาจึงลาจากไปด้วยความอาลัยอาวรน์ แต่ต่อจากนี้แล้วก็มิได้กลับมาดักพบอีกเลยจนกะทั่งถึงแก่กัม ซึ่งเปนเวลาพายหลังที่เลิกร้างกันไปไม่กี่ปีนัก.

“เมื่อพบกันครั้งแรกท่านกวีเอกแกไม่เปนยังงี้นี่คะ” นางบุรทัต กล่าวยิ้มๆ.

“อุบลบอกลึกตื้นวารี โฉดฉลาดจับวาที ตอบโต้” ฉันนึกถึงโคลงโลกนิติทันทีเมื่อได้สนทนากับนางบุรทัต “เวลานั้นคุนชิตเรียบร้อย สวยสอาด เมาก็ไม่เลอะเทอะ” เทอยอมรับว่าเทอรู้สึกชอบหยู่บ้างเมื่อได้เห็นหน้ากันเปนครั้งแรก แต่เทอไม่ด่วนผลีผลามตามไจตัวเอง เทอสังเกตนิสสัยนายบุรทัตเท่าที่จะทำได้ไนวาระที่พบกันชั่วโมงนั้น นอกจากที่ได้ไต่ถามแม่สื่อถึงความประพรึตของนายหนุ่มผู้นี้ ได้ความว่าดื่มเหล้าเมาเหมือนกัน แต่เปนการเมาธัมดาไม่เอะอะโครมครามแล้ว เทอยังชวนแม่สื่อไปคุยกับเพื่อนบ้านไกล้เรือนเคียงของนายบุรทัตอีกด้วย สืบถามได้ความแน่ชัดว่าไม่มีภรรยาและดื่มเหล้าก็ดื่มเปนเวลาไม่ถึงแก่ดื่มเช้าดื่มเย็น เทอจึงตกลงปลงไจ การแต่งงานระหว่างเทอกับชิต บุรทัต ทำหย่างเงียบที่สุด ไม่ได้บอกกล่าวเชินไครเลย เมื่อหยู่กินกันแล้วก็ย้ายมาหยู่บ้านนายบุรทัต ไนเวลานั้นนักกวีหนุ่มเปนผู้ช่วยบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทย และยังทำหนังสือพิมพ์รายเดือนสรีกรุงอีกฉบับหนึ่งด้วย แต่เทอไม่มีความรู้ว่าสามีมีรายได้เท่าไร นอกจากที่เขาส่งไห้เทอเดือนละ ๕๐ บาทเท่านั้น เมื่อแต่งงานแล้ว นายบุรทัตก็หยุดเที่ยว แต่ยังคงกลับบ้านค่ำๆ ทั้งนี้โดยที่ทำงานสองแห่ง ฝ่ายนางบุรทัตก็ช่วยพี่และน้องทำงานบ้านเรือนและปรนนิบัติรับไช้บิดาของเขาเหมือนบิดาของตน ด้วยความขยันขันแข็งรู้จักเอาอกเอาไจ และไม่รังเกียดที่จะทำตนเปนบุตรเปนน้องสาวและพี่สาวไนครอบครัว ไม่ช้านางบุรทัตก็ได้รับความเอ็นดูรักไคร่จากบิดาและพี่น้องของสามีโดยทั่วหน้า

ผู้ที่ได้พบปะสนทนากับภรรยากวีเอกผู้นี้เปนครั้งแรก คงจะรู้สึกอัสจรรย์ไจเหมือนฉันไนความรู้เท่าเทียมกับสามี และการปรับปรุงตนเองไห้มีความรู้ทันสมัยของ นางจั่น บุรทัต ซึ่งเราจะสังเกตได้จากการเจรจาพาทีของเทอไนเมื่อเราพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ ทั่วไป ความฉลาดไนการเลือกไช้ถ้อยคำที่เหมาะเจาะ และไม่ส่อนิสสัยของผู้พูดนั้นหย่างหนึ่ง แต่ความรู้ซึ่งสแดงว่าเปนคนหัวกว้าง หรือแคบนั้นเปนอีกหย่างหนึ่ง ฉันหายประหลาดไจ เมื่อเทอส่งสมุดบันทึกปกแข็งเดินทองเก่าแก่เล่มหนึ่งไห้ดู พลางบอกว่า เทอติดไจไนนิราสสุนทรภู่ เมื่อหยู่ว่างๆ ก็เลยลองแต่งกลอนนิราสดูบ้างโดยที่เมื่อยังเยาว์เทอหยู่ไนพระบวรราชวัง เปนข้าหลวงของพระเจ้าราชวงส์เทอพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ (พระราชธิดาไนพระบาทสมเด็ดพระปิ่นเกล้าเจ้าหยู่หัว) จึงคิดจะบันทึกความจำที่เกี่ยวแก่พระบวรราชวัง ซึ่งคนสมัยนี้คงจะไม่ไคร่ได้ซาบกันนัก เพื่อประดับความรู้ไนทางประวัติสาตรด้วยนัยฉะนี้ เทอจึงแต่งกลอนนิราสพรรนนาถึงความเปนหยู่พายไนบวรราชวังของพระมหาอุปราชสมัยโบรานตามที่ได้พบเห็นมา และไห้ชื่อตามที่คนโดยมากเรียกกันว่า “นิราสวังหน้า” แต่โดยที่เทอมีเวลาว่างน้อยเพราะต้องทำงานบ้านเรือนเอง และบางครั้งก็รู้สึกไม่ปลอดโปร่ง แต่งๆ หยุดๆ จึงยังไม่จบบริบูรน์ แต่เทอก็ได้ตั้งไจแน่วแน่แล้วว่าจะแต่งไห้จบจงได้ เมื่อแต่งเส็ดไปตอนหนึ่งๆ แล้วก็ขอไห้ท่านกวีเอกช่วยตรวดตราแก้สำนวนกลอน และไห้ช่วยลอกคัดไห้ด้วย ทั้งนี้เพราะความรู้ไนทางหนังสือไม่แตกฉาน เกรงว่าจะสกดการันต์ผิด นอกจากสมุดบันทึก เทอยังนำต้นฉบับร่างซึ่งเทอเขียนเองมาไห้อ่านด้วย.

ต่อไปนี้เปนข้อความไนสมุดเก่าแก่นั้น ซึ่งฉันขออนุาตเลือกคัดบางตอนที่เห็นควรมาลงประกอบเรื่องไว้บ้าง นางบุรทัตได้เริ่มคำนำเรื่องดังนี้

นิราสร้างห่างพรากจากวังหน้า  
เคยหยู่รวมร่วมสถานกับมารดา  
อีกทั้งมีพี่ยาร่วมอุทร  
ฯลฯ  
มาถึงนะพระที่นั่งอิสเรสร์  
น่าสังเวชวิเวกล้วนชวนจิตเหงา  
มีแต่หย้าอนิจจาเมื่อข้าเยาว์  
ทุกเย็นเช้ามาเล่นมิเว้นวาย  
ลานชาลาเลี่ยนลื่นพื้นหินลาด  
สิลาสอาดปราสรอยร่อยสลาย  
พรึกสาดื่นรื่นร่มด้วยลมชาย  
มานั่งหายเหือดร้อนผ่อนอารมน์  
พิกุลพุ่มคลุ้มไสวด้วยไบกิ่ง  
ช่างดกจิงผลิดอกดูออกสม  
แสนตระการลานตาน่าพึงชม  
ฯลฯ  
ถึงประตูสวนนะพระตำหนัก  
ที่พำนักน่าบันเทิงสำเริงสม  
ต้นลำดวนระดะดอกออกระดม  
ดูน่าชมช่อผการะย้าย้อย  
ยิ่งคดิไปโหยไห้หทัยหวน  
เห็นลำดวนชวนไจไห้ละห้อย  
นึกขึ้นมาเมื่อเรายังเยาว์น้อย  
เก็บมาไช้ไม้สอยไปร้อยกรอง  
ฯลฯ  
แล้วเดินลัดตัดสถานลานโอ่โถง  
เห็นท้องพระโรงเร้าไจไห้หมกมุ่น  
คิดถึงความยามซึ่งเคยพึ่งบุ  
พระจอมจุลเจ้าหน่อบวรวัง  
ฯลฯ  

หลายปีมาแล้ว นางบุรทัตได้ไปตามสามีซึ่งไปเที่ยวตั้งสองสามวันแล้วไม่กลับบ้าน ไนที่สุดได้พบที่สำนักงานหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่ง ด้วยความแค้นที่อัดอั้นหยู่ไนไจเทอจึงระบายอารมน์ออกมาเปนวาจาซึ่งไม่สู้จะเพราะหูผู้ฟังนัก นักประพันธ์บทละคอนผู้เปนเพื่อนคนหนึ่งของชิต บุรทัตรู้สึกขวางหูจึงแกล้งกล่าวเปรยทำเหมือนตนเมาว่า “เอ๊ะ ชิตเมียเก่าของลื้อไปข้างไหนเสียเล่า? เมียไหม่ของลื้อคนนี้ดูเปนยายแม่ร้าผิดกว่าเมียเก่าของลื้อเปนคนละคนทีเดียว” นางบุรทัตหันขวับมาทางผู้พูด รอไห้เขาพูดจบแล้วก็เอ่ยตอบว่า:

“ถูกของคุน เมื่อก่อนนี้ดิฉันไม่เปนยังงี้ก็เพราะเพื่อนของคุนยังเปลี่ยนแปลงดิฉันไม่ได้หมดทั้งตัว ถูกแล้วค่ะ เดี๋ยวนี้ดิฉันดูเปนยายแม่ร้าตั้งแต่สาระรูป ผ้านุ่งผ้าห่มจนกะทั่งปากคอ ที่ดิฉันทนไห้แก่ทำดิฉันเปนยายแม่ร้าก็เพราะความสงสาร จะปลีกตัวทิ้งไปเสียหรือก็เวทนา กลัวแกจะอายุสั้น เหล้าก็กินจัดหยู่แล้ว ถ้าไม่มีคนคอยปรนิบัติคอยห้ามคอยเตือนก็จะเปลี่ยวดำจับเร็วเข้า คุนๆ ที่นั่งหยู่ที่นี้ก็จะไม่ได้ฟังฝีปากกวีของแกอีก นอกจากดิฉันทนเพราะความเวทนาแกแล้ว ก็เพราะเห็นฝีปากไนทางแต่งหนังสือของแกนี่แหละค่ะ หยากไห้แกหยู่ไม่ไช่อะไร ลำพังตัวดิฉันคนเดียว ดิฉันคงเอาตัวรอดได้ รับจ้างเขาเลี้ยงลูก เปนแม่ครัวหรือทำของขายไม่อดตายแน่”

เมื่อได้ฟังคำบอกเล่าดังนี้ ฉันก็ถึงคำพูดของนางบุรทัตไนวันที่ไปเยี่ยมเทอๆ กล่าวทำนองเดียวกันนี้ ต่างแต่ถ้อยคำ แต่ไจความคงเปนดังที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ นี่เองที่ทำไห้ฉันรู้สึกอัสจรรยไจไนความคิดของเทอซึ่งสแดงภูมิสูงและลึก ไม่ไช่ผิวเผินตื้นๆ ส่วนสำนวนภาสาพูดของเทอที่โต้ตอบกับสามีนั้นเล่าก็มากไปด้วยโวหารอันคมและลึกเท่าทันสามีกวีเอกของเทอหย่างจะดูหมิ่นมิได้.

เมื่อเราได้พบภรรยาที่ไม่เท่าทันสามีไนทางปัา, ความรู้เรารู้สึกสงสารฉันได เมื่อได้พบสตรีผู้สามาถปรับตัวเองไห้เหมาะแก่ความเปนเพื่อนคู่ชีวิตของสามีได้ เราย่อมจะรู้สึกพอไจด้วยฉันนั้น.

แต่ก่อนที่จะเปลี่ยนตัวเองไห้เข้ากับกวีเอก นางบุรทัตเคยหลบหนีไปเสียครั้งหนึ่งแล้ว ที่หนีไปมิไช่เพราะกรนีหย่างเดียวกับที่เทอเคยถูกมาแล้ว แต่ด้วยความเบื่อที่ “เทอ” เมา และไม่ไห้เงินไช้สอย เทอหนีไปหยู่กับาติที่บางช้าง จังหวัดสมุทสงครามก่อนแล้วเมื่อมีเพื่อนส่งข่าวไปว่า สเด็ดไนกรมนราธิป (แต่ยังเปนกรมหมื่น) มีพระประสงค์จะได้พี่เลี้ยงพระโอรสที่เปนคนเชื้อผู้ดี มีกิริยามารยาทเรียบร้อยวาจาอ่อนหวานไพเราะ เทอจึงได้ไปสมัครับหน้าที่นี้ กว่านายบุรทัตจะซาบเรื่องก็เปนเวลาปีหนึ่งเต็มๆ

เมื่อภรรยาหนีไปแล้ว กวีเอกก็ดับความเสียไจด้วยน้ำสุรามริต—สุรามริตก็แม้นสุรามริต ช่วยรดจิตที่เผาผลาน เพลิงโสกจงดับดั่งชลธาร ทิพมริตมารินสรง (สมุทโคส) และเที่ยวเตร่กับเพื่อนฝูงเหมือนหย่างเมื่อก่อนแต่งงานอีกครั้งหนึ่ง ฝ่ายบิดาของเขาก็เล็งเห็นว่า ชิตกับภรรยาคงจะเลิกร้างกันเปนแท้แล้ว ชิตคงจะกลับเนื้อกลับตัวเปนคนดีไม่ได้ ท่านจึงตกลงขายบ้านพร้อมด้วยที่ดินและเข้าของเครื่องไช้ไนบ้านพร้อมโดยไม่บอกกล่าวไห้บุตรชายคนเดียว-ซาบเลยจนคำหนึ่ง ไนวันที่การซื้อขายโอนกัมสิทธิ์กันเด็ดขาดนั้น ชิตซึ่งยังมิซาบเรื่องเลย แต่เกิดนึกสังหรน์ไจหย่างไรไม่ซาบ จึงกลับบ้านตอนเย็น มาถึงได้ซาบความเข้าก็เกิดน้อยไจเปนหนักหนา ท่านบิดาส่งเงินไห้เขา ๕๐ บาท พลางบอกว่า “เอ้า นี่แน่ะมรดกของเองที่ข้าไห้ ข้าไม่มีลูกเลี้ยงดูข้าข้าจะไปอาสัยหยู่กับคนอื่นเขา เอ็งกับข้าจากกันวันนี้แหละ ข้าอโหสิกัมทั้งหมดที่เอ็งทำ ไม่คิดผูกไจแค้นต่อไปแล้ว”

ท่านนักกวีผู้กะเดื่องนามนั่งตลึงงงหยู่เปนครู่ไหย่ มองดูบิดาของตนออกจากบ้านหายลับไปไนบ้านท่านผู้ไหย่ซึ่งมีสักดิ์เปนอาเขา แล้วก็ยกมือขึ้นปิดหน้า เขานั่งเงียบหยู่นาน จึงออกจากบ้านไปหาที่ดื่มแก้กลุ้มจนมึนสีสะแล้วก็กลับมาบ้านอีก บ้านเกิด บ้านเกิดบ้านเก่า บ้านเก่าแต่ครั้งมารดาเพิ่งแต่งงานกับบิดาไหม่ๆ ไนเวลานั้นเจ้าของไหม่ยังมิได้เข้าครอบครองส่งแต่ผู้แทนมาคอยดูแลเท่านั้น ชิตจึงยังไม่ถูกขับไล่ออกจากบ้าน เขาเปนคนเดียวที่คงหยู่ไนบ้านเก่าตลอดคืนซึ่งเขานอนไม่หลับ ชิตมิได้เอะอะโวยวาย หรือสแดงความเสียไจออกนอกหน้า ถึงแม้ว่าไนไจเขาจะรู้สึกเดือดร้อนเหมือนถูกไฟเผาและมึนเมาพอที่จะเอะอะโวยวายได้ก็ตาม เขานั่งและนอนมองท้องฟ้าหยู่เงียบๆ สูบบุหรี่มวนต่อมวนพอท้องฟ้าสาง ชิตก็ออกจากบ้านไปหาอาหารไส่ท้อง เขาคงจะดื่มจนเมา แต่ไม่รู้สึกตัวว่าเมา จึงเมื่อกลับมาบ้านเก่าตอนสาย แลเห็นตู้สมุดไส่หนังสือปกแข็งเดินทอง ซึ่งพระโสภนฯ (เล็ก สมิตสิริ) กำนัลเขาหลายร้อยเล่มรวมราคาตั้งสาม-สี่พันบาทเข้า โทโสก็พลุ่งขึ้นเหมือนไฟลุก เขาทุบกะจกตู้แล้วโยนหนังสืออันที่มีค่านั้นลงไปที่ลานบ้าน หนังสือหมดแล้ว ก็ยกตู้ตามลงไปอีก ทีนี้อะไรที่หยู่ไกล้มือ ซึ่งเขาจำได้ว่าสมบัติส่วนตัวของตนก็ถูกจับขว้าง ตามของที่ลงไปนอนกองหยู่ข้างล่าง โอ่งไหเขาทุบแตกเตียนราบ ฝ่ายผู้แทนเจ้าของบ้านได้แต่ห้าม เมื่อห้ามแล้วไม่ฟังก็ยืนทำตาปริบๆ ชิตทำจนช่ำมือแล้วก็จุดไฟเผาหนังสือ ตอนนี้แหละคนเฝ้าเห็นจะเกิดเหตุไหย่ จึงออกจากบ้านไปรายงานไห้เจ้าของบ้านซาบ ชิตจุดไฟเผาหนังสือแล้วก็ลากที่นอนออกมาที่เฉลียงนอนคว่ำเอามือเท้าคางมองดูไฟที่ลุกโพลงแทบจะท่วมหลังคาบ้าน และมองดูความตื่นตระหนกของชาวบ้านร้านถิ่นแถวนั้นซึ่งพากันวิ่งเข้ามาพร้อมด้วยเสียงพูดจ้อกแจ็กฟังไม่เปนสัพท์เฉยหยู่ ฝ่ายชาวบ้านที่ตื่นตกไจวิ่งเข้ามาดูและเห็นว่าไม่มีอะไรเปนชะนวนไห้ลุกลามไปถึงบ้านเขาแล้วก็ย่อยๆ กันกลับ คงเหลือแต่บางคนซึ่งหยากจะรู้หยากเห็นเปนกำลัง ว่าอีตาคนนี้แกจะคลั่งทำอะไรต่อไปอีก แต่พอไฟโซมท่านกวีของเราก็หลับผลอยเหมือนเด็กๆ โมโหร้าย เมื่อแผลงริทธิ์จนอ่อนไจแล้วก็ง่วงนอน ฝ่ายพวกชาวบ้านที่ยังคนยืนดูหยู่แลเห็นเขาก็พากันหวัวเราะ เสียงโจทก์กันว่านายชิตเมาอาละวาดจึงระบือไปไกล ด้วยเหตุนี้เมื่อเจ้าของบ้านไหม่พาตำหรวดมาบ้านตอนเย็น ตำหรวดจึงแจ้งข้อหาที่ต้องจับกุมแก่ชิตถึงสองกะทงคือ เมาสุราอาละวาดและทำลายทรัพยผู้อื่นไห้เสียหาย.

ไนชีวิตชิต บุรทัต กวีหนุ่มผู้มีเกียรติ ครั้งนี้เปนครั้งแรกที่ถูกจับ และถูกไส่กุนแจมือไปจากบ้านเสียด้วย ชาวบ้านร้านถนนแถบนั้นเดินตามกันเกรียว ฝ่ายผู้ไหย่ที่เปนาติพี่น้องเขาซึ่งหยู่บ้านไกล้เรือนเคียงกันก็ปิดประตูหน้าต่างเพื่อมิไหเด็กเล็กไนบ้านโผล่ออกมาดู ท่านบิดาของชิตก็ไม่เอาธุระด้วยตลอดเวลาที่เขาอาละวาดทุบโอ่งไห พังตู้และเผาหนังสือ ท่านไม่ได้เยี่ยมกรายออกมาดูเลย ฉนั้นเมื่อชิตไปถึงโรงพักแล้ว จึงหาผู้ประกันตัวไม่ได้.

กวีผู้ต้องตกจำเลยไนคดีอาชา จึงขอร้องแก่นายร้อยตำหรวดเวน จะโทรสัพท์ส่งข่าวแก่มิตรสหายของเขา ซึ่งหลายคนมีหลักถานมั่นคงพอที่จะประกันจำเลยได้นับสิบ แต่ถูกปติเสธ นอกจากนี้เขายังไม่ได้รับอนุาตไห้สูบบุหรี่ กินหมาก อันเปนของโปรดของเขาอีกด้วย เมื่อถูกขังดังนี้นายบุรทัตก็เดือดขึ้นมาอีก ความเดือดของเขาที่พลุ่งออกมาคราวนี้ จึงเปนผรุสวาจาหรือหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน เขาด่าแม่ตำหรวดหยู่ได้ไม่กี่คำ ก็ถูกลากและผลักไสเข้ากรงเหล็ก เมื่อเข้าไปหยู่ไนห้องขังแล้วเขาก็ยังไม่ยอดลดละ “เฮ้ย เอ็งไม่เคยอ่านหนังสือหรือจึงไม่รู้จักว่าข้า คือชิต บุรทัต ‘แมวคราว’ และ ‘เจ้าเงาะ’ และผู้ช่วยบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทย มาทำกับข้าเหมือนคนหูป่าตาเถื่อนยังงี้ไม่กลัวถูกฟ้องกะบี่หลุดมั่งหรือ?”

ชิตค้างคืนหยู่ไนห้องขังคืนหนึ่ง พอรุ่งเช้าก่อนถูกส่งตัวไปสาลก็พบ พ.ต.อ. พระนรากรบริรักส์ซึ่งไนขนะนั้นยังเปนขุนอยู่ คุนพระหัวเราะพลางปราสัยว่า “เอ๊ะ นายชิตก็ถูกเปนจำเลยกะเขาด้วยหรือ” นายบุรทัตจึงเล่าเรื่องไห้ฟัง นายตำหรวดหัวเราะพลางว่า “รับสารภาพเสียเห็นจะไม่เปนไรหรอก” และด้วยเหตุที่ได้พบคนที่รู้จักว่าหนังสือคืออะไร ชิตจึงได้รับอนุาตไห้ส่งข่าวไปยังมิตรสหายของเขาได้.

เมื่อมิตรสหายมีนายสุกรี วสุวัต นายชวลิตเสถบุตร ฯลฯ ได้ซาบเรื่องก็ได้ประกันตัวไป ไนวันนั้นเขาได้ซาบข้อหาว่ามีถึง ๔ กะทง ตั้งแต่เมาสุราอาละวาด หมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน จนกะทั่งบุกรุกเข้าไปไนบ้านผู้อื่นและทำลายทรัพย์ไห้เสียหาย.

สาลตัดสินไนวันต่อมา พิพากสาไห้ปรับท่านกวีผู้มีเกียรติและมีตำแหน่งเปนผู้ช่วยบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทย ๓๐ บาท ได้รับความปรานีลดหย่อนไนถานรับสารภาพ และผู้แทนหนังสือพิมพ์ไทยก็นำเงินไปวางสาลไนทันทีนั้น.

นับตั้งแต่ครั้งนั้นมาจนถึงบัดนี้ กวีเอกของเราก็ถูกจับอีกสามครั้ง ล้วนแต่เรื่องเมาสุราเช่นเดียวกันทั้งนั้น แต่ทว่านอกจากอาละวาดด้วยความเสียไจไนครั้งแรกแล้ว ครั้งหลังๆ ที่ถูกจับนี้ควนจะเรียกว่า “เก็บ” มากกว่า ไนเมื่อเจ้าหน้าที่ตำหรวดแลเห็นชายแก่คนหนึ่งนั่งฟุบหลับหยู่ตามบาทวิถี หรือเดินตุปัดตุเป๋พูดถามก็ไม่รู้เรื่อง ได้แต่กลิ่นเหล้าฟุ้งแล้ว ทางที่เจ้าหน้าที่ควนจะทำ จึงเปนการพยุง (หรือดึงครึ่งลาก) ไป “เก็บ” ไว้นะโรงพักต่อรุ่งเช้าส่างเมาพูดจากกันรู้เรื่องแล้วจึงไขกุนแจปล่อยตัวกลับบ้าน หรือมิฉะนั้นก็คอยไห้มีผู้มารับรองจึงจะปล่อยตัวไป.

เมื่อคดีที่ถูกฟ้องเรียบร้อยไปแล้วโดยโจทก์ไม่ติดไจอุธรน์ นายบุรทัตก็ได้ซาบความว่าภรรยาไปเปนพี่เลี้ยงพระโอรสไนกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงส์ และเวลาที่ซาบนั้นเทอตามสเด็ดไปหัวหิน ถึงแม้ว่าไนขนะที่ชิตยังสมบูรน์พูนสุขหยู่นั้น จะมีหยิงสวยๆ บางคนมาทอดสนิทผูกพันเขา จนถึงยอมไห้พาไปเที่ยวค้าง ตลอดจนพามาค้างที่บ้านนายบุรทัตเอง และยอมไห้บอกแก่ภรรยาว่าเปนหลาน แต่พอตกกลางคืนเข้า—แต่นายบุรทัตก็ยังคงเสน่หาอาลัยไนภรรยาของตนหยู่ ด้วยเหตุนี้เมื่อได้ซาบว่าภรรยาหยู่แห่งได ก็รีบติดตามไปไม่ย่อท้อ เมื่อไปถึงตำหนักที่พักแทนที่จะซุ่มซ่อนคอยพบภรรยาเหมือนหย่างชายโดยมาก นายบุรทัตได้สแดงตนหย่างองอาดตรงเข้าไปทางหน้าตำหนักขอเฝ้าสเด็ดไนกรม ซึ่งไนขนะนั้นเสวยเส็ดแล้วและยังประทับซงคุยกับพระราชวรวงส์เทอกรมหมื่นพิทยาลงกรน์หยู่ ไนกรมพระนราตรัดไห้เชินขึ้นไปเฝ้า เมื่อทอดพระเนตร์เห็นแขกก็ซงอุทานขึ้นว่า “นี่น่ะหรือ นายชิต บุรทัต” กวีผู้มีชื่อเสียงถวายความเคารพเจ้านายผู้ซงเปนกวีที่มีอาวุโสกว่าแล้วทูนสนอง และทูนต่อไปว่ามาตามภรรยา สเด็ดไนกรมรับสั่งว่าเวลานี้แม่จั่นไม่หยู่ ตามสเด็ดท่านชายน้อยซึ่งเทอเลี้ยงไปเที่ยวเล่น แล้วก็ซงชวนนายชิต บุรทัตคุยถึงเรื่องหนังสืออันเปนของโปรดด้วยกันทุกฝ่าย นายบุรทัตทูนไห้ซงซาบว่าเมื่อตนบวดเนรสำนักวัดเทพสิรินทราวาสมีความติดไจไนโคลงพระนิพนธ์ไว้อาลัยซึ่งจารึกไนแผ่นสิลาที่ฝังพระสพหม่อมเจ้าพรรนพิมลวรวรรนพระธิดาองค์ไหย่ของพระองค์ท่านเปนอันมาก แทบทุกวันที่เดินเล่นจะต้องไปหยุดยืนอ่านพระนิพนธ์นี้ครั้งละนานๆ จนจำได้ติดไจ ทั้งนี้จะนับว่าเปนเครื่องเร้าไจไห้ตนเกิดทะเยอทะยานไคร่จะเปนกวีบ้าง นอกจากที่ได้เกิดเมื่ออ่านโคลงเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้วแล้วก็ว่าได้ ไนกรมซงพระสวนแล้วรับสั่งว่า “ฉันแต่งเก่งไหม” ตลอดเวลาที่สังสรรค์สนทนากันไนระหว่างกวีเอกทั้งสามท่านไนวันนั้น ล้วนแล้วแต่เปนเรื่องการแต่งหนังสือ, ภาสา และสัพท์และเรื่องของกวีผู้มีเกียรติอื่นๆ

“อันนิสัยไนประเทสทุกเขตแคว้น  
ถึงโกรธแค้นความรักย่อมหักหาย  
เปนความจิงหยิงก็ม้วยลงด้วยชาย  
ชายก็ตายลงด้วยหยิงจิงดังนี้”  

คติพจน์บทนี้ของสุนทรภู่ได้แก่สามีภริยาคู่นี้ เมื่อนางบุรทัตเห็นสามีติดตามมาวิงวอนงอนง้อ ทั้งๆ ที่จากกันไปตั้งปีแล้วก็ยังมิได้มีภรรยาไหม่ ประกอบด้วยเทอเองก็ยังคงคิดถึงความหลังหยู่—ถึงแม้ว่าความหลังนั้นจะหลายครั้งหลายคราวที่ไห้รู้สึกขมขื่นทั้งเรื่องเหล้า ผู้หยิงอื่น และข่มเหงด้วยริทธิ์เมาก็ตาม แต่ความชื่นไจไนความดีบางหย่างและรักไคร่ของสามีก็ยังระคนปะปนกันหย่างจะแยกจากกันมิได้—อีกประการหนึ่ง มนุสหย่างเราๆ ที่จะดีพร้อมไม่บกพร่องเลยนั้นหาไม่มี ไหนๆ ก็ได้ “ตกล่องปล่องชิ้น” กันมาแล้ว จะมาเด็ดบัวไม่ไว้ไยหาควนจะเปนสมบัติของลูกผู้หยิงไม่ ด้วยความคำนึงหลายประการฉนี้ นางบุรทัตจึงยอมกลับคืนมา เปนเพื่อนคู่ชีวิตร่วมทุขยากด้วยกวีเอกต่อไปตามเดิม.

เมื่อยังหนุ่มแน่น และเมื่อเสพสุราเมาถึงขนาดแล้ว ชิต บุรทัต ก็มีโทโสร้ายเปนอารมน์หย่างคนอื่นเหมือนกัน นางบุรทัตเล่าว่า เมื่อก่อนนี้ถ้าเมาจัดๆ กลับมาแล้ว พบอะไรขวางหูขวางตานิดหนึ่งเปนไม่ได้ อะไรหยู่ไกล้ตัวจับทุบขว้างหมด ถ้าโกรธเทอจัดแต่ไม่ถึงขนาดที่จะข่มเหงคะเนงร้าย ก็ขนเสื้อผ้าของเทอไปเผาเสีย นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า กวีและนักประพันธ์ที่แต่งหนังสือดีถึงขนาดมักเปนคนเจ้าอารมน์หรือมีความรู้สึกรุนแรง (แต่คนที่มิได้เปนนักแต่งเช่นนี้ก็มีหยู่มาก) ความกะเทือนไจ (เช่นโกรธ เสียไจ) มักนำหน้าเหตุผลหรือความรู้สึกผิดชอบเสมอ เมื่อฉันถามว่าความเปนคนโทโสไนเวลาเมาทำไห้ท่านกวีลืมตัวจนถึงข่มเหงภรรยาบ้างหรือไม่ ก็ได้ยินเสียงตอบสวนควันออกมาหย่างหนักแน่นว่า “ไม่มีเลย มีแต่เขาจะทำผมข้างเดียว”

“เมื่อก่อนนี้มีเจ้าค่ะ เมื่อเทอยังหนุ่มๆ หยู่ เพราะเทอข่มเหงดิฉันถึงสองครั้งสิคะ ดิฉันจึงได้หนีไป แลท่านบิดาของเทอเลยคิดว่า คงจะเลิกกันเปนแน่ทีเดียว ต่อตอนมาหลังๆ ดิฉันจึงสู้เอาบ้าง เดี๋ยวนี้เทอถอดเขี้ยวถอดเล็บหมดแล้วเจ้าค่ะ มีหยู่หย่างเดียวคือหนีไปหาเพื่อนฝูงเปนแขกรับเลี้ยงเขาหยู่ตั้งสิบกว่าวันก็เคยมี”

ท่านกวีเอกหัวเราะ แล้วตอบคำถามที่ว่าเขาเคยตั้งไจจะอดเหล้าบ้างหรือไม่ ด้วยเสียงแกมหัวเราะว่า.

“เคยนึกเหมือนกัน นึกอดสักวันหนึ่ง แต่มันอดไม่ได้เลย.”

เมื่อลงพิมพ์ชีวะประวัติตอนเริ่มต้นวันหรือสองวันแล้ว ฉันได้พบท่านกวีเอกอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้เขานึกขึ้นได้ว่า พระยาโหราธิบดี (ชุ่ม) โหรหลวงไนรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเปนมิตสนิทของบิดาได้ผูกดวงชาตาของเขาแล้วไห้คำทำนายว่า “ลูกของท่านมหา (นายชู บุรทัต) คนนี้ ดวงชาตาเหมือนคนปีนขึ้นต้นไม้ ขึ้นไป แล้วตกลงมา แล้วปีนขึ้นมาอีก ตกลงมาอีก---ไม่มีที่สุด” บอกพลาง นายบุรทัตก็หัวเราะแล้วกล่าวว่า “อันที่จิง ชีวิตของผมก็เปนดังนี้จิงๆ”

คนะบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทยอันเปนหนังสือพิมพ์ไนพระบรมราชูปถัมภ์ แทบทุกคนได้รับพระราชทานบรรดาสักดิ์ เว้นแต่นายชิต บุรทัตผู้ช่วยบรรนาธิการคนเดียวเท่านั้น ที่ยังคงเปนนายชิต บุรทัตหยู่ นอกจากเจ้าตัวเองจะหลีกเลี่ยงเพราะไม่นิยมยสสักดิ์ดังกล่าวแล้วไนตอนต้น สมเด็ดพระเจ้าแผ่นดินยังได้มีพระราชดำรัสราวกับจะซาบ ฯลฯ ว่าชิต บุรทัตก็ไม่แสวงหา—ว่า “...เลี้ยงมันไว้เท่านี้แหละ จะไห้ลาภไห้ผลก็จะเอาไปกินเหล้าเสียหมด มันจะตายเร็วเสียเปล่าๆ ไว้ฟังโวหารของมันดีกว่า” ทั้งนี้ควนสันนิถานได้ว่า พระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัวได้ซงซาบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถึงชีวะประวัติของนายชิต บุรทัตตั้งแต่เปนเนรจนสึกจากพระตลอดแล้ว ส่วนความเปนหยู่ไนขนะทำงานหนังสือพิมพ์ไทย เช่นพอตอนเย็นเลิกงานลงมาห้องแผนกธุระการ พระสันทัดอักสรสาร (ยังเปนขุน) ผู้จัดการก็มีคำถามสำหรับนายบุรทัตเหมือนเปนคำปราสัยก่อนอำลาจากกันว่า “ไง คุนชิต วันนี้ จะ ‘เบิก’ เท่าไหร่เล่า” “ยี่สิบครับ” นายชิต มักจะตอบเหมือนๆ กันเช่นนี้แทบทุกวันและท่านผู้จัดการก็จะท้วงหย่างคนไจดีตามเคยว่า “มากนักนี่ เอาเพียงครึ่งหนึ่งเปนยังไง?” และเมื่อ “เบิก” ได้ธนบัตรไส่กะเป๋าแล้ว ผู้ช่วยบรรนาธิการหนุ่มก็แวะร้านเครื่องดื่มๆ พอเปนที่ชื่นไจกลางทางก่อนไปทำงานโรงพิมพ์สรีกรุง ---- เหล่านี้ ย่อมมีผู้กราบบังคมทูนไห้ซงซาบ, หย่างไม่มีปันหา จึงได้มีพระราชกะแสรับสั่งดังข้างต้นนั้น.

ชีวิตของชิต บุรทัต ตั้งแต่ พ.ส. ๒๔๕๗ จนถึง พ.ส. ๒๔๖๘ ซงหยู่ไนลักสนะพอมีพอกิน หาได้มาก็ไช้หมดไป ไม่กะทบกะเทือนถึงแก่ร้อนไจ ก็เพราะยังมีทางได้หยู่ เปนชีวิตของนักเขียนไม่ไช่นักการค้า ความร่ำรวยเปนอันไม่ต้องพูดถึง เราย่อมรู้กันหยู่ดีแล้วว่านักเขียนเมืองไทยมีรายได้ขนาดไหน แต่ถึงกะนั้น ความพอมีพอกินของชิตก็ต้องพบกับความสิ้นสุดเหมือนดั่งคนและวัตถุสิ่งของต้องพบกันมาแล้ว ไนปี ๒๔๖๘ ปลายปี พายหลังที่ได้รับความโสกสลดเนื่องจากพระบาทสมเด็ดพระมงกุดเกล้าเจ้าหยู่หัว สเด็ดสวรรคตมาแล้ว คนะบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทยก็ได้ประสพความวิปโยค ชิต บุรทัต ผู้ช่วยบรรนาธิการ ลาออกตามบรรนาธิการ ทั้งนี้ เพราะหนังสือพิมพ์ไทยต้องโอนเข้าเปนสมบัติของพระคลังข้างที่ สมเด็ดพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระสวัสดิวัดนวิสิถ เปนผู้ซงอำนวยการ เมื่อบรรนาธิการหนังสือพิมพ์เปลี่ยนตัวไหม่ ผู้ช่วยบรรนาธิการก็ควนจะเปลี่ยนตามด้วย ชิต บุรทัตคิดดังนี้จึงยื่นไบลาออกจากตำแหน่งของตน.

รายได้เดือนละ ๑๐๐ บาทต้องถึงซึ่งกาลอวสานไนคราวนี้ เมื่อออกจากพิมพ์ไทยแล้วชิตก็กลับไปหยู่สรีกรุงอีกครั้งหนึ่ง ไนขนะนี้ นายสุกรี วสุวัตผู้กัลยานมิตรของเขาถึงแก่กัมไปแล้ว ชิต บุรทัตได้เงินเดือนๆ ละ ๕๐ บาท ความทนงตนของเขาคงยังมีหยู่อีกมาก จึงเมื่อรู้สึกว่าไม่เปนที่พอไจของคนบางคนก็เลยลาออกมาหยู่กับบ้านเฉยๆ ถึงสองปี จน พ.ส. ๒๔๗๑ จึงไปทำหนังสือพิมพ์ “โฟแท๊กซ์” กับนายประสาท สุขุม คราวนี้ได้เงินค่าจ้างเปนรายวันๆ ละ ๑ บาท พอ “โฟแท๊กซ์” เลิก ก็ได้รับคำชักชวนจากนายหอม นิลรัตน นะอยุธยา ไห้ไปหยู่หนังสือพิมพ์ไทยหนุ่ม ซึ่งไนขนะนั้นการจำหน่ายขึ้นหน้าขึ้นตาหนังสือพิมพ์อื่นๆ มาก ไนขนะที่หยู่หนังสือพิมพ์ไทยหนุ่มกวีเอกของเราได้เงินค่าจ้างเปนรายสัปดาห์ๆ ละ ๑๐ บาท ค่าเช่าบ้านต่างหาก พอจะค่อยได้รับความสุขขึ้นบ้าง หนังสือพิมพ์ไทยหนุ่มก็เลิกกิจการเสียอีก อาสัยด้วยแต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอนไนวาระที่ระลึก เช่น เฉลิมพระชนมพรรสา วิสาขะบูชา ฯลฯ ส่งตามหนังสือพิมพ์รายวัน มิตรสหายอีกทั้งสิสย์หาแลผู้อื่นที่ถือคติของอารยะชนดังโคลงพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ ว่า “นานาประเทสล้วน นับถือ ผู้ที่รู้หนังสือ แต่งได้” ต่างก็มีไจเผื่อแผ่คอยอุดหนุนจุนเจือเปนครั้งเปนคราว กวีผู้มีเกียรติไนสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงดำรงชีพหยู่เปนขวันของกวีประเทสไทยต่อมา.

การงานของนายบุรทัตไนเวลาต่อมาคือหยู่บริสัทยาทองกับนายเสวียน โอสถานุเคราะห์ ได้ ๖ เดือน แล้วย้ายมาทำงานหนังสือพิมพ์ซึ่งตนถนัด คือเทอดรัถธัมนูของขุนเลิสดำริการ จนกะทั่งหยุดการพิมพ์ การจ่ายเงินเดือนซึ่งชิด บุรทัตได้รับคงจะแปลกพิสดานกว่าของคนอื่น โดยมากเขามักได้รับเปนรายวันๆ ละ ๑ บาท เจ้าตัวได้รับเพียงครึ่งหนึ่ง เหลืออีกครึ่งหนึ่งนั้น บริสัทและโรงพิมพ์ไห้ที่บ้านไปรับเมื่อสิ้นเดือนแล้ว.

สิบปีล่วงไปแล้ว ท่านผู้ช่วยบรรนาธิการหนังสือพิมพ์ไทยยุคแรกก็ได้กลับไปหยู่โรงพิมพ์ไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่การไปหยู่ครั้งหลังนี้ มิได้ไปหยู่ไนตำแหน่งของผู้ช่วยบรรนาธิการหากไปหยู่ไนตำแหน่งของคนตรวดปรู๊ฟ ซึ่งได้เงินเดือน ๒๐ บาท และเบี้ยเลี้ยงรายวันๆ ละ ๓๐ สตางค์ แต่ถึงกระนั้นชิตบุรทัตก็รู้สึกพอไจที่ได้กลับไปนั่งหยู่ไนสำนักงานซึ่งตนเคยหยู่มาถึงสิบปีแล้ว.

ตั้งแต่เกิดจนอายุล่วงเข้ามัชชิมวัย กวีเอกก็มีร่างกายปรกติธัมดาเช่นเดียวกับเราท่าน เหตุที่เขาจะกลายเปนคนขาเป๋นั้น ก็เมื่อ พ.ส. ๒๔๗๔ ไปทำงานหนังสือพิมพ์นารีนาถ วันหนึ่งกลับจากสำนักงานมาลงรถที่เชิงสพานเทเวสร์ ก้าวเท้าพลาดเลยตกรถขาแพลง รักสาหายแล้วก็เลยกลายเปนคนขาเป๋ตลอดมา.

ชีวิตไนปัจจุบันของชิต บุรทัต และคู่ทุขยากของเขาเปนชีวิตที่มองดูน่าสงสารมาก แต่เขาและเทอก็ยังเปนสุขกันตามประสายาก ไนเวลาแดดอ่อนลมโชยตอนเย็น ตายายสองคนมักจะนอนและนั่งหยู่บนเสื่อเก่าๆ ขาดๆ ที่ริมรั้วบ้าน ไกล้ร่มต้นแคและกอกล้วยคุยกันถึงเรื่องต่างๆ ซึ่งกวีเอกได้ไปพบมาเมื่อตอนเช้าขนะไป “ภิกขาจาร” มิตสหายและสิสย์มา ซึ่งบางทีก็มีบทกวีนิพนธ์ เช่นกาพย์กลอนโคลงฉันท์ไปกำนัน ไนวันที่ระลึกของท่านเหล่านั้น คุยกันไปบ้าง สัพยอกหยอกล้อกันบ้าง ขัดคอกันบ้าง กิริยาที่นางบุรทัตสแดงต่อสามีซึ่งฉันยังเห็นติดตาไม่หายก็คือปัดก้อนดินและโคลนแห้งที่ติดหยู่ตามเท้าและขาของสามีออกพลางปากก็บ่น ความรักและปรานีสแดงหยู่ไนดวงหน้าอันยิ้มน้อยๆ ของเทอ “แหม ดูคุนสิ สกปรกจิงๆ เทียว” และกวีเอกของเราก็ตอบว่า “ช่างฉัน ช่างฉัน” แต่ดูท่าทางเปนสุขที่มีเพื่อนคู่ชีวิตคอยเอาไจไส่ไม่ห่างข้าง ผิดกว่าชายแก่คนหนึ่งซึ่งฉันได้เห็นชีวิตของแกตั้งแต่ตนเองจำความได้จนกะทั่งแกตาย ชายแก่ผู้นี้ไม่มีบุตร ภรรยาก็ไม่มีเปนเนื้อเปนตัว ผู้หยิงสาวหน้าตาหมดจดที่ฉันและคนไนบ้านเห็นมายืนพูดกับแกที่หน้าต่างครัวไนเวลาเงินเดือนแกออก ก็ไม่ได้ตั้งไจจะมาชวนคุยไห้เพลิดเพลินหายเหงา เจ้าหล่อนไห้แกชื่นไจหย่างเดียวแต่ที่ได้บริจาคเงินไห้เจ้าหล่อนเท่านั้น ตามปรกติเมื่อเลิกงานแล้ว ชายแก่ผู้ไร้บุตรและภรรยาคนนี้มักจะนั่งกอดเข่าตาเหม่อหยู่บนขอนไม้มองดูต้นหมากรากไม้ ซึ่งจำเรินงอกงามขึ้นด้วยฝีมือแกหยู่ได้วันหนึ่งๆ

วันหนึ่งเมื่อฉันรู้เดียงสาขึ้นแล้วก็ถามแกตรงๆ ว่า “มีเรื่องอะไรกลุ้มไจหรือตาแก้ว” “มิได้” แกยิ้มน้อยๆ ไบหน้าแกตามปรกตินั้นขรึมและน่ากลัวแต่เวลาที่แกยิ้ม ไบหน้าแกมีทั้งเส้าและสำรวม “ผมนึกถึงนังหนูลูกผม ถ้าหยู่ป่านนี้มันคงโตเปนสาวแล้ว มันแก่กว่าคุนหลายปี” ความรู้สึกไนไจบอกฉันว่าแกเหงาและเหงาตลอดเวลาหลายปีที่ฉันเห็นจนกะทั่งแกตายไนกะท่อมเล็กๆ ทางท้ายบ้าน เมื่อฉันแลเห็นความเปนหยู่ที่น่าเส้าชวนสงสารของชิต บุรทัตกวีเอกและภรรยา แต่ได้เห็นความแช่มชื่นรื่นรมน์ไนขนะที่ได้หยู่กับเพื่อนร่วมทุขคู่ยากและได้สังเกตเห็นความคิดไนแง่ดีอีกทั้งอารมน์อันเบิกบานจากสมองของเขาแล้ว ฉันจึ่งเข้าไจว่าที่กวีของเราดำรงชีวิตหยู่ได้ด้วยความสุข ทั้งๆ ที่ต้องอาสัยความเกื้อหนุนของคนอื่น และทั้งๆ ที่ต้องอาสัยเขาหยู่เช่นนี้ ไม่ไช่อื่นไกลเลย เขามีผู้คอยร่วมทุขประทังเข็น ถึงจะค่นแค้นก็อาดจะผ่อนหนักไห้เปนเบาได้.

ไนขนะนี้ชิต บุรทัตกำลังเริ่มงานเปนชิ้นเปนอันเช่นเดียวกับสามัคคีเภทที่แต่งมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง งานไหม่ของเขานี้คือแปลคาถาธัมบทแล้วแต่งเปนฉันท์ นายบุรทัตอวดว่า จะได้ค่าจ้างบทละ ๑๐ สตางค์ เมื่อแต่งไปแล้วได้บทหนึ่งๆ ก็คัดลงสมุดปกแข็งเล่มไหย่ด้วยลายมือหวัดแกมบันจงอันงามของเขาเองหย่างเรียบร้อยปรานีต ส่วนนางบุรทัตก็ไช้เวลาว่างของเทอด้วยการแต่งกลอน “นิราสวังหน้า” เมื่อเราถามถึงหนังสือที่เขาชอบ นายบุรทัตก็ตอบแกมหัวเราะว่า “ฮื้อ จะไปชอบเรื่องของคนอื่นมากกว่าเรื่องของเราเองได้หย่างไรคุนก็ เรื่องที่ผมชอบมากที่สุดก็เรื่องของผมเองน่ะซี”

ไนคืนวันที่ ๕ พรึสภาคม ได้มีการรื่นเริงและรับประทานอาหารไนระหว่างชาวคนะหนังสือพิมพ์ประชามิตร-สุภาพบุรุสกับมิตรสหายเนื่องไนวันที่ระลึกคล้ายกับวันกำเนิดของบริสัทไทยวิวัธน์และหนังสือพิมพ์ประชามิตร ชิต บุรทัต กวีเอกได้รับเชินมาร่วมสโมสรด้วย ไนขนะที่เสียงคุยสวนเสเฮฮากังวานหยู่ไม่ขาดระยะ กวีเอกก็แต่งฉันท์อวยพรปากเปล่า โดยไช้ความคิดไม่กี่วินาทีนัก.

เมื่อแลเห็นความปรีชาสามาถซึ่งประจักส์แจ้งไนค่ำวันนั้น ทำไห้ฉันนึกไปถึงคำถามของเราข้อที่ว่า การทำงานของท่านกวีเอกต้องเลือกเวลา และเลือกสถานที่บ้างหรือไม่ แล้วก็ได้ยินเสียงตอบหย่างหนักแน่นมั่นคงไนทันทีนั้นเองว่า “ไม่ต้อง ขอไห้ผมสบายไจผมเปนเขียนได้ไม่ว่าที่ไหน และเมื่อไร เขียนได้ทุกเวลาและทุกแห่ง ไม่ว่าจะหนวกหูสักเพียงได” ซึ่งเปนความจิงทีเดียว และไนข้อหลังนี้ผู้ที่เคยทำงานหนังสือพิมพ์มาแล้วย่อมจะเปนพยานช่วยรับรอง จะต่างกันก็แต่ว่า เราไม่ได้แต่งหนังสือเปนกาพย์กลอนโคลงฉันท์ และกาพย์กลอนโคลงฉันท์ย่อมแต่งยากกว่าร้อยแก้วเปนธัมดา.

ก่อนที่จะยุติเรื่องของกวีเอกสมัยปัจจุบันอันได้ตีพิมพ์ต่อยืดยาวมานับสองสัปดาห์เสสเพียงฉบับนี้ เราจะเว้นการสแดงความระลึกถึงบุคุนท่านผู้เจ้าของเรื่องและภรรยาไว้นะที่นี้เสียไม่ได้ นอกจากการต้อนรับหย่างดีตามมีตามเกิด แต่มีความอารีอารอบตามวิสัยคนไจดีเผื่อแผ่ไม่เลือกหน้าแล้ว ยังไจกว้างพอที่จะไห้รายละเอียดอันเปนไปไนชีวิตได้ผ่านมาแล้วทุกระยะและทุกมุม เพื่อไห้ท่านผู้ที่ชอบอ่านชีวะประวัติได้แลเห็นว่าชีวิตของคนทุกคนย่อมมีทั้งดีและชั่ว ทุขและสุขปะปนกันหยู่ และความทุขกับสุข มีกับจน ดีกับเลว ไนชีวิตขอคนหนึ่งๆ นี้เล่าเราจะเลือกเอาแต่ดีมิได้ ถ้ามิฉะนั้นก็หาไช่ที่เรียกกันว่า “ชีวิต” นั้นไม่.

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ