กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับกรุงธนบุรี
หน้าต้น ๏ สมุด นามชื่อชี้ | ขัตติยวงศ์ |
กฤษณา ปัญญายัง | หญิงไซร้ |
สอน จริตรักษาองค์ | นุชนาถ |
น้อง รับคำจำไว้ | ใส่เกล้าเป็นเฉลิม[๑] |
๏ ขอถวายกรเกศกฤษฎางค์ | ดุษฎินทร์วรางค์[๒] |
บรมไตรรัตโน | |
๏ พระสยมภูวนุตโม[๓] | มหันตนาโถ |
ดิลกคุณนิจไตร[๔] | |
ปองโปรดชคสัตว์สบสมัย | เมื่อโมควาลัย |
ปลาต[๕]บ่วงเบญจมาร | |
สุตตันตปิฎกพิสดาร[๖] | โลกุตมาจารย์ |
จะนำนิพิทมรรคผล[๗] | |
๏ เผด็จบาปบรรเทาทุกข์ดล | อวยศุภมงคล |
คุณาดิเรกคงตรง[๘] | |
๏ อสีติอัษฎางคริยสงฆ์ | ศากยบุตรทรง[๙] |
วิสุทธศีลสังวร | |
๏ บริรักษ์พระศาสน์สโมสร | มโนสาทร |
จะลองจะล้างราคิน[๑๐] | |
๏ เสร็จถวายสิโรตมาจินต์ | สรวมสวัสดิ์กมลินท์ |
อมเรศอิศโรราเชนทร์[๑๑] | |
๏ สรวมพระพิรุณราชนาเคนทร์ | โสโมสุริเยนทร์ |
เชิญช่วยบำบัดอันตราย | |
๏ ขอแถลงแต่เบื้องบรรยาย | ประสมต้นปลาย |
เป็นบทโศลกกล่าวกลอน | |
๏ มีกษัตริย์องค์หนึ่งบวร | ทรงนามภูธร |
พรหมทัตธิราชราชินทร์ | |
๏ วิชาชำนาญธนูศิลป์ | เข่นฆ่าอรินทร์ |
พินาศด้วยฤทธิรงค์[๑๒] | |
๏ กรรมสิทธิ์สมบัติเอกองค์ | เสวยสุขสมพงศ์ |
พิพิธโภไคสูรย์[๑๓] | |
๏ เนาในกรุงราชประยูร | โดยนามนุกูล |
พาราณสีโสภณ | |
๏ กำแพงป้อมก่อเป็นกล[๑๔] | เสมามณฑล |
มีล่องล่อปืนเรียงรัน | |
๏ เชิงเทียนเทียมสิงขรขัณฑ์ | หอห้างนางจรัล |
ขนัดคูกระทั่งสายสินธุ์[๑๕] | |
๏ แสนสนุกเอี่ยมเทียมอินทร์[๑๖] | มาตยาพลพฤนท์ |
สะพรั่งสะพร้อมเนืองนันต์ | |
๏ แสะสารสุนทรเข้มขัน[๑๗] | รถรัตนาพรรณ |
พิจิตรแกล้งบรรจง | |
๏ มีปรางค์รัตนาสน์บรรยง[๑๘] | ยิ่งเทพอลง- |
กตกาญจโนดำเกิง | |
๏ เหมห้องสิงหาสน์บันเถลิง[๑๙] | ฉลุฉลักชั้นเชิง |
รุจิเรขด้วยรงรจนา[๒๐] | |
๏ มีมิ่งมเหสีสมญา | นามนางบุษบา[๒๑] |
ทรงลักษณ์ล้ำสาวสวรรค์ | |
๏ ปวงสนมนัดหมื่นหกพัน[๒๒] | พิศเพียงสาวสวรรค์ |
สุรางคนาถอมรินทร์ | |
๏ เฝ้าแหนเป็นประดิทิน | ทิวาราตริน[๒๓] |
พรั่งพร้อมประจำจับงาน | |
๏ สมเด็จพรหมทัตมหิบาล[๒๔] | เสวยแสนศฤงคาร |
ทิปัตติเทียมเทวา[๒๕] | |
๏ มีหน่อสองราชธิดา | ทรงเบญจกัลยา |
เยาวรูปยอดยิ่งกษัตรี[๒๖] | |
๏ ท้าวสงวนดุจดวงชีวี | เนาวรัตน์ปรางศรี |
แวดล้อมด้วยแสนจัตุรงค์ | |
๏ หมู่นางนั่งเฝ้ากรรกง | ถนอมวรองค์[๒๗] |
ทุกวัน บ เว้นเวลา | |
๏ แม้นมาตรเทเวศวิทยา | ธรองค์อสุรา |
บ อาจจะเอื้อมคิดคม[๒๘] | |
๏ สองนาถพนิดาอุดม | มีชันษาสม |
ควรคู่จะพึงพิสมัย[๒๙] | |
๏ สมเด็จบิตุราชฤทธิไกร[๓๐] | สั่งเสนาใน |
รุจรังโรงราชพิธี[๓๑] | |
๏ ศุภวารชัยฤกษ์มหุดี | ชุมมุขมนตรี[๓๒] |
วิวาหการมิ่งมงคล[๓๓] | |
๏ อภิเษกธิดาสององค์ | กับราชนุวงศ์ |
เวนวรรณสมบัติคั่งคาม[๓๔] | |
๒๘ กล่าวเรื่องนางกษัตริย์ | |
ทั้งสองศรีสวัสดิ์ | สุริยวงศ์ทรงนาม |
นางแก้วกฤษณา | แน่งเนื้อเยาวราม[๓๕] |
เฉิดโฉมเฉลิมกาม[๓๖] | กำดัดโลกีย์ |
๏ ปัญญาเปรมปราชญ์ | |
มีทั้งมารยาท | ชั้นเชิงพาที[๓๗] |
รู้รอบชอบผิด | ในกิจกษัตรี[๓๘] |
ปรนนิบัติสวามี | ห้าองค์ราชา[๓๙] |
๏ บำเรอเชอภักดิ์ | |
อยู่ร่วมรสรัก | รมเยศปรีดา |
ห่อนให้เคียดขึ้ง[๔๐] | เท่ากึ่งเกศา |
ผลัดเวรเวลา | ประโลมสมสอง |
๏ ห้าองค์กษัตริย์ | |
เสวยสุขโสมนัส | ประเวศเรือนทอง |
[๔๑]ผทมทิพอาสน์ | อลงกตกระหนกกรอง |
สนมนางเนืองนอง | รอบล้อมซ้ายขวา |
๏ พระขนิษฐ์นารี | |
พระนามเทวี | ชื่อจรับประภา[๔๒] |
ดุจสาวโสฬส | แบ่งองค์ลงมา[๔๓] |
ทรงพระเยาวภา[๔๔] | นิ่มเนื้อนฤมล |
๏ มีภัสดาเดียว | |
บ ได้กลมเกลียว | ราคร้างกามกล |
เนาในปรางค์มาศ | เอกากังวล[๔๕] |
หฤทัยทุกข์ทน[๔๖] | เทวศเศร้าเดือดดาล |
๏ ถ่อมเสวยโภชนา[๔๗] | |
เสวยชลธารา | แหบไห้แลลาญ[๔๘] |
สวาทดิ้นแดเดียว | เปล่าเปลี่ยวสงสาร[๔๙] |
เช้าค่ำรำคาญ | เพียงสิ้นสุดสกล |
๏ วันหนึ่งกัลยา | |
สระสรงคงคา[๕๐] | ลูบไล้สุคนธ์ |
[๕๑]ทรงทิพอาภรณ์ | พิจิตรเสด็จดล |
ยังห้องไหรณ | นางแก้วกฤษณา |
๏ [๕๒]น้อมเกล้าโอนองค์ | |
ถวายบังคมลง | กับบาทพี่ยา |
ส่วนพระพี่นาง | เห็นนาถขนิษฐา |
มีเสาวนีย์ปรา- | ศรัยถ้อยถามพลัน |
๏ อาดูรน้องรัก[๕๓] | |
แต่ก่อนวรพักตร์[๕๔] | ผ่องแผ้วเพียงจันทร์[๕๕] |
บัดนี้เป็นไฉน | เห็นเศร้าโศกศัลย์ |
พระวรฉวีพรรณ[๕๖] | นิ่มนวลหมองหมาย[๕๗] |
๏ พระขนิษฐ์นารี | |
รับราชเสาวนีย์ | ทูลถ้อยแถลงถวาย |
พี่เอยตัวน้อง | บ มีสิ่งสบาย[๕๘] |
มีแต่ความอาย | ติดข้องอุรา |
๏ ความโศกแสนเข็ญ | |
ตายดีกว่าเป็น | อยู่ไยอกอา |
มีผัวผู้เดียว | ดุจแก้วดวงตา[๕๙] |
ควรฤาแลมา[๖๐] | ตัดมิ่งไมตรี |
๏ บุญน้องน้อยนัก[๖๑] | |
ผัวไม่ร่วมรัก | ผลักหน้าหน่ายหนี |
ทิ้งขว้างร้างไว้[๖๒] | ให้อายอัปรีย์ |
คิดแค้นบัดสี | สุดที่เจรจา[๖๓] |
๏ ไม่ชอบอัชฌาสัย[๖๔] | |
อยู่ใกล้เหมือนไกล | สุดมุ่งพสุธา[๖๕] |
ไม่ทอดทฤษฎี | โดยทางเสน่หา |
ไม่ทราบกรุณา | สะสร่างจาบัลย์[๖๖] |
๏ ธรรมดาสวามี | |
ปฏิพัทธ์ยินดี | ดิ้นโดยด้วยกัน |
สุขสมสำเริง[๖๗] | สำราญแดยัน |
ย่อมนำกิจอัน[๖๘] | อมฤตมาพูน |
๏ น้องอาภัพนัก | |
เสียชาติมีศักดิ์ | สมบัติบริบูรณ์ |
ตละหญิงช่างชั่ว[๖๙] | ผัวไม่อนุกูล |
ร้างไว้อาดูร[๗๐] | เดือดร้อนลำเค็ญ |
๏ น้องไข้ใจนัก | |
มีผัวมิรัก[๗๑] | แค้นข้าใครเห็น[๗๒] |
ในทรวงแสบร้อน | ร้อนยิ่งไฟเข็ญ |
กรรมให้จำเป็น[๗๓] | วิโยคเอองค์ |
๏ พระพี่เนียรทุกข์ | |
เสวยแสนเกษมสุข | ปรากฏยศยง |
สมบูรณ์บุญญา | ทั้งห้าพระองค์[๗๔] |
เนวแนบทรวงทรง | รักร่วมหฤทัย[๗๕] |
๏ พี่ได้คุณเวท | |
กฤตยาวิเศษ[๗๖] | ศาสตราคมใคร |
ประสิทธิ์ประสาท | ประสงค์จงใจ |
ให้ชายพิสมัย | รักใคร่เมามัว |
๏ นางแก้วกฤษณา | |
ฟังน้องพจนา[๗๗] | คะค่อยคิกหัว |
ตรัสห้ามว่าอย่า | สิ่งนี้พี่กลัว |
มนต์ดลเมามัว | มิใช่คุณเรา |
๏ เราเป็นกษัตรี[๗๘] | |
ชอบแต่ภักดี | โดยเลศลำเนา[๗๙] |
กิริยาอัชฌาสัย[๘๐] | กิจการแห่งเรา |
ปรนนิบัติบรรเทา[๘๑] | ทุกข์โศกสวามี |
๏ เสน่หาอย่าย่ำ[๘๒] | |
แม้นประสิทธิ์ทำ[๘๓] | ให้ดิ้นยินดี |
รักกันพลันจาง | ราคร้างหน่ายหนี[๘๔] |
รักด้วยไมตรี | ตราบเท่าวันตาย |
๏ ช้างแล่นจะฉุด | |
ฉวยหางให้หยุด[๘๕] | อย่าควรคิดหมาย |
ค่อยลูบตระโบม[๘๖] | ค่อยโลมให้สบาย |
จะค่อยผันผาย[๘๗] | คืนด้าวโดยถวิล |
๏ โคไม่นำพา | |
ระบัดใบหญ้า | งอกแน่นแผ่นดิน |
ใครห่อนข่มเขา | ขืนให้วัวกิน[๘๘] |
ผิดจริตระบิล | แต่เบื้องโบราณ[๘๙] |
๏ พี่จักสอนนาถ | |
เป็นวรโอวาท[๙๐] | จำไว้เยาวมาลย์ |
เจ้าจักรักชาย[๙๑] | ชมชื่นหึงนาน |
มิให้รำคาญ | วิโยคเจียนไกล |
๏ สุดแต่ความสัตย์ | |
กับทางปรนนิบัติ[๙๒] | ให้ชอบน้ำใจ |
อีกทั้งถ้อยคำ | อัชฌาอาศัย[๙๓] |
สิ่งนี้ทรามวัย | จำไว้เจริญศรี |
๏ นามชื่อบุรุษ | |
เป็นปิ่นมงกุฎ | เกิดเกล้ากษัตรี[๙๔] |
ดุจดวงเพชรรัตน์ | พลอยวงแหวนดี |
จะหาสวามี | ยากนักควรสงวน[๙๕] |
๏ ธรรมดากษัตรี[๙๖] | |
เป็นสาวก็ดี | ปากคนเสสรวล |
[๙๗]จะอยู่เป็นหม้าย | ไม่พ้นสำรวล |
ประพฤติโดยควร | คิดยากนักหนา[๙๘] |
๏ แม้นชายรูปชั่ว[๙๙] | |
งุนโง่คือวัว | ไม่รู้วิชา[๑๐๐] |
ครั้นเป็นสวามี[๑๐๑] | มีคุณอุปการ์ ๔[๑๐๒] |
อาจคุ้มรักษา | ทุกสิ่งโพยภัย[๑๐๓] |
๏ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว | |
ไม่รู้คุณผัว | ไม่สงวนน้ำใจ[๑๐๔] |
ลิ้มลมข่มเหง[๑๐๕] | ล้อเลียนไยไพ |
ต่อหน้าปราศรัย | ลับหลังนินทา |
๏ [๑๐๖]คอยข้อผัวผิด | |
เก็บไว้จำจิต | พูดเล่นเจรจา |
ประมาทไม่กลัว | หัวร่อระรา |
ไม่เป็นนำพา[๑๐๗] | การกินการนอน |
๏ ว่ากล่าวไม่ฟัง[๑๐๘] | |
เมิดเมินผินหลัง | บ ยินคำสอน |
ว่าใดว่าด้วย[๑๐๙] | ไม่ท้อง้องอน |
เป็นหญิงสาระวอน | ผิดจริตทำนอง |
๏ ไม่เกรงผู้ชาย | |
ปากกล้าท้าทาย | เจรจาจองหอง |
ผัวว่าคำหนึ่ง | ไปได้ถึงสอง |
มีควรคู่ครอง | ราศร้างห่างไกล |
๏ อย่าเยี่ยงหญิงโฉด | |
มักหึงขึ้งโกรธ[๑๑๐] | วิวาทครุ่นไป |
การเรือนการเหย้า | ไม่เอาใจใส่ |
สะดึงรึงไหม | สำหรับกษัตรี[๑๑๑] |
๏ แม้จักปักเก็บ[๑๑๒] | |
ตัดเสื้อจะเย็บ[๑๑๓] | เนิ่นช้าเป็นปี[๑๑๔] |
ยกไนมาตั้ง | นั่งกุมสำลี |
ไม่ชักสักที | นั่งซิกขิกหัว[๑๑๕] |
๏ บริโภคโภชนา | |
ค่ำเช้าเวลา[๑๑๖] | ใช้ชายต่างครัว[๑๑๗] |
ถ้วยโถจอกจาน[๑๑๘] | ทำใช่การตัว |
ละไว้ให้ผัว | ลำดับตั้งวาง |
๏ แขกไปไทยมา | |
เป็นที่ทักหา[๑๑๙] | เจรจาขัดขวาง |
กลัวเปลืองหมากพลู | ดูตาผัวพลาง |
นั่งเอียงเคียงข้าง[๑๒๐] | อึดอัดขัดใจ |
๏ อย่าเยี่ยงหญิงบาป | |
เห็นแต่โลภลาภ[๑๒๑] | โลกียวิสัย |
ความอายไม่คิด | คิดแต่สนุกใจ |
ไม่เกรงโพยภัย | อาชญาสวามี |
๏ เสงี่ยมตัวต่อหน้า[๑๒๒] | |
ครั้นเมื่อลับตา | ทำการอัปรีย์ |
แม้นั่งหันลอด[๑๒๓] | สอดตาดูที[๑๒๔] |
วางระวิงจับหวี | หวังหาแต่สบาย |
๏ กระทบหูฉับฉับ | |
ตีนเหยียบหูตรับ[๑๒๕] | ฟังเสียงผู้ชาย |
ตามุ่งพุ่งกระสวย | หลุดหล่นลงทราย[๑๒๖] |
ไม่กลัวความอาย | ปากคนเย้ยหยัน[๑๒๗] |
๏ แง่งอนซ่อนชู้ | |
ไม่ให้ผัวรู้ | แยบคายคมสัน |
ต่อหน้าว่าฟัง | ลับหลังดึงดัน |
เร่เล่ากล่าวขวัญ | กลับตัวเป็นดี |
๏ พ่อผัวแม่ผัว | |
บ ได้เกรงกลัว[๑๒๘] | ถ้อยคำย่ำยี |
พี่น้องเพื่อนบ้าน | พาลด่าดาลตี[๑๒๙] |
ไม่มีไมตรี | ร่วมรักสักคน |
๏ แหวนทองเงินตรา | |
แพรพรรณผืนผ้า | ซ่อนแต่ตน |
ไม่ให้ผัวเห็น | ทำเป็นเล่ห์กล |
หญิงอย่างนี้คน | ชาติชั่วหินา[๑๓๐] |
๏ หมู่นี้เป็นโทษ | |
จักถอยประโยชน์ | ยศศักดิ์เสน่หา[๑๓๑] |
ภูตพราย บ เกรง | ผีสางนินทา |
เทเวศอสุรา | ดูหมิ่นถิ่นแคลน |
๑๖ ตัวเจ้าคือนางเมืองแมน | สุดสิ้นดินแดน |
จะเปรียบก็ยากถึงสอง | |
๏ เป็นหน่อกษัตริย์ครอบครอง[๑๓๒] | สมบัติเนืองนอง |
อเนกอนันต์สาวสนม[๑๓๓] | |
๏ ประพฤติโดยชอบสบสม[๑๓๔] | รักวงศ์อุดม |
แลรักองค์อาตมา[๑๓๕] | |
๏ รักทั้งเกียรติยศกษัตรา[๑๓๖] | รักความสัตยา |
เอาเยี่ยงอย่างทรายจามรี[๑๓๗] | |
๏ เป็นสัตว์ตระกูลชาติอันดี[๑๓๘] | โลมามากมี |
ประดับดูงามเรืองรอง | |
๏ ขนนั้นละเอียดใยยอง[๑๓๙] | ละเส้นคือทอง[๑๔๐] |
แลเลื่อมประพรายเป็นแสง[๑๔๑] | |
๏ แม้ข้องขัดป่าซัดแซง[๑๔๒] | บ คลาโดยแรง[๑๔๓] |
เกรงขนจะขาดเสียดาย | |
๏ สู้เสียชีวิตวอดวาย บ | ให้ขนสลาย[๑๔๔] |
ก็ควรในคงสัตยา[๑๔๕] | |
๏ เจ้าจงมีจิตเสน่หา | รักพระภัสดา[๑๔๖] |
อย่าให้เห็นโทษทั้งหลาย | |
๏ รักตัวสงวนตัวกลัวอาย | กันความระคาย |
ที่ท้าวจะแหนงสงสัย[๑๔๗] | |
๏ ข้าวร้อยพันยุ้งยศไกร | กินหากสิ้นไป |
กินแหนง บ ห่อนสิ้นสูญ[๑๔๘] | |
๏ สิ่งนี้แม่จงอนุกูล[๑๔๙] | จำไว้เป็นมูล |
จะมีพระเกียรติลือชา[๑๕๐] | |
๏ เกิดในอภิชาติกษัตรา | สู้เสียชีวา |
อย่าเสียซึ่งสัตย์แห่งตน[๑๕๑] | |
๏ ไว้ความสรรเสริญสากล | แต่แผ่นภูดล |
ตราบเท่าทั่วโลกลือชา[๑๕๒] | |
๏ ความสัตย์เป็นสัตย์เสน่หา | อัชฌากิริยา |
เป็นสัตย์สวัสดิ์วรกาย[๑๕๓] | |
๏ [๑๕๔]พระขนิษฐ์จะครองใจชาย | ไม่ให้หมองหมาย |
มโนภิรมย์เปรมปรีดิ์ | |
๏ จงรู้พระจริตสวามี | หฤทัยธิบดี |
จะชอบสิ่งใดโดยตาม | |
๏ อย่าทำทรลักษณ์หยาบหยาม[๑๕๕] | ขืนถ้อยทางความ[๑๕๖] |
จะเคืองจะคิดเคียดชัง[๑๕๗] | |
๏ เช้าเย็นเข้าเฝ้าฝ่ายหลัง[๑๕๘] | ตรับโสตระวัง |
เกลือกตรัสนุกิจสิ่งใด | |
๏ ทูลถ้อยอ่อนหวานขานไข | จงชอบอัชฌาสัย |
สมเด็จบพิตรนเรนทรสูร | |
๏ ความจริงจึงแสดงโดยมูล | อย่านำเท็จทูล[๑๕๙] |
จะเสียพระยศสุริยวงศ์ | |
๏ หนึ่งรักชีวิตไฉนจง[๑๖๐] | เสมอเท่ารักองค์ |
บรมราชสวามี | |
๏ เมื่อท้าวเสวยสุขสวัสดี | ร่วมสุขสมศรี[๑๖๑] |
อย่าทุกข์อย่าโศกสิ่งใด | |
๏ เมื่อมีทุรทุกข์พระทัย | ร่วมทุกข์ภูวไนย |
อย่าอยู่สุขเกษมเกลากลาย[๑๖๒] | |
๏ [๑๖๓]เมื่อทรงประชวรไม่สบาย | แนบนั่งใกล้กาย |
ทูลปลอบให้เสวยซึ่งยา | |
๏ อยู่เยี่ยมปรนนิบัติรักษา | ถนอมนวดบาทา |
ค่อยค่อยพอได้แรงลม | |
๏ จงเปลื้องฤทัยชื่นชม[๑๖๔] | ถ้าเคลิ้มบรรทม |
ไสยาสน์อย่าย่างเดินดัง | |
๏ ถ้าตื่นเงี่ยโสตสดับฟัง[๑๖๕] | ระไวระวัง |
จะตรัสจะใช้โดยควร | |
๏ [๑๖๖]แท่นผทมกฤษฎางค์อย่างขบวน | ที่สูงไม่ควร |
จะเอื้อมจะหยิบสิ่งใด | |
๏ [๑๖๗]มาตรว่ามีที่เสด็จไป | อย่าทะนงใจ |
เกลือกรู้จะรังเกียจกล | |
๏ หนึ่งเป็นโทษานิจผล | จะล่วงลามลน |
ใช่เชิงจริตกษัตรี | |
๏ [๑๖๘]เช้าค่ำยำเกรงสวามี | สงวนรักภักดี |
จงรู้ซึ่งสบายมิสบาย | |
๏ ยามท้าวสระสรงสกนธ์กาย | พระทัยสบาย |
บันเทิงในห้องรโหฐาน | |
๏ [๑๖๙]ทรงพระเสสรวลสำราญ | นั่งนอบหมอบกราน |
บังคมยุคลบาทา | |
๏ [๑๗๐]ทูลแถลงประโลมเสน่หา | ปรนนิบัติภรรดา |
จงชอบภิรมย์ฤดี | |
๏ อย่าแสร้งเกียจกลกษัตรี[๑๗๑] | ตามการกามี |
มโนมนัสสมสอง | |
๏ [๑๗๒]กรค่อยถนอมตระกอง | โดยเลศทำนอง |
ทำนุกผดุงเจิมใจ | |
๏ [๑๗๓]ยามร้อนกระหายฤาทัย | ถือพัชนีไกว |
ค่อยโบกระบายวาตา | |
๏ ถวายเครื่องสุคนธมาลา | สำหรับขัตติยา[๑๗๔] |
จะลูบจะไล้อบองค์ | |
๏ [๑๗๕]ถ้ามีพระราชประสงค์ | สาวสนมใดจง |
นุญาตอย่าได้ขัดขวาง | |
๏ [๑๗๖]เมื่อเสด็จสถิตแท่นปฤษฎางค์ | เมินเนตรพิศนาง |
อย่าช้อยชำเลืองตาตาม | |
๏ [๑๗๗]มีโทษทุจริตไม่งาม | ยลแยบทางความ |
เป็นที่ประงอนหวงหึง | |
๏ แม้นไปสุดมุ่งรำพึง[๑๗๘] | จะทรงคำนึง |
นิเวศสถานเคยสบาย | |
๏ [๑๗๙]ดุจน้ำนองเนืองไหลหลาย | ลั่นแทรกแพร่งพราย |
ปริ่มบางแลห้วยโตรกธาร | |
๏ [๑๘๐]มัตสยาเพลินชื่นเชยสนาน | แถกว่ายพิสดาร |
ดิ้นตามกระแสสายสินธุ์ | |
๏ สุดการกำเริบวาริน | ย่อมแห้งโดยถวิล[๑๘๑] |
วิบัติลงสู่สมุทรไทย | |
๏ บุรุษทั่วโลกสบสมัย | บันเทิงอาลัย |
กรกัดกามปูนปอง | |
๏ ครั้นคลายรักษาสมสอง[๑๘๒] | คือสินธุนอง |
แลเลื่อนลงโอฆวารี | |
๏ ชื่อว่าน้ำจิตสวามี[๑๘๓] | ห่อนจากกษัตรี |
ซึ่งรู้ในการกิริยา | |
๏ [๑๘๔]พระแขไขแสงโสภณา | มีดวงดารา |
ประดับดูพริ้มพรายโพยม | |
๏ [๑๘๕]กษัตริย์เสวยแสนสุขโสม- | นัสลืมประโลม |
ด้วยสาวสนมนองเนือง | |
๏ เฉลิมโฉมเฉกนางแมนเมือง | ประดับดูเรือง |
พระเกียรติทั่วภพไตร[๑๘๖] | |
๏ สำหรับขัตติยายศไกร | จักหึงหวงใจ |
จะติดโทษาราคี | |
๏ คือเบื้องบาทสวามี | หนึ่งมุขมนตรี |
ประชาชนราษฎร์ติฉิน | |
๏ หนึ่งเสียจารีตธรณินทร์ | ในขนบนรินทร์ |
บรมกษัตริย์สืบมา | |
๏ เป็นนางเอกอัครชายา | จงรู้รักษา |
พระองค์แลองค์ภูวไนย | |
๏ [๑๘๗]หนึ่งเมื่อมีราชหฤทัย | ชื่นชอบฌาสัย |
จะอวยประทานปวงสนม | |
๏ คือสิ่งเสื้อผ้าแพรพรม | ทองเงินอุดม |
อดิเรกเครื่องโปรดปราน[๑๘๘] | |
๏ [๑๘๙]อย่าควรคิดกลอาการ | ตรัสทักทูลทาน |
เป็นทางจะแกล้งริษยา | |
๏ [๑๙๐]เกลือกเฉลียวพระทัยโทสา | ทั้งความครหา |
จะติดตัวเป็นมลทิน | |
๏ แถลงผิดผู้อื่นติฉิน | มิเท่านรินทร์ |
วรราชไท้ติเตียน[๑๙๑] | |
๏ เสียศรีอาจอายอาเกียรณ์ | ความสุขจำเนียร |
จะนำความโศกมากมี | |
๏ พระขนิษฐ์ระวังองค์จงดี | รักษาทาสี |
สาวใช้ชาวที่ทุกกรม | |
๏ [๑๙๒]ประชุมคชาพระสนม | พี่เลี้ยงพระนม |
แลนางดุริยดนตรี | |
๏ [๑๙๓]ทั้งทวยนักเทศน์ขันที | ตรัสใช้จงดี |
ปลูกเลี้ยงให้ชอบทางธรรม | |
๏ [๑๙๔]อย่าทำลำเอียงเดียดฉันท์ | แม้นมีโทษทัณฑ์ |
ช่วยทูลและเล้าอ้อนวอน | |
๏ ผิดพลั้งครั้งหนึ่งผ่อนผัน | ถึงสองสั่งสอน |
ถึงสามก็ตามโทษา | |
๏ [๑๙๕]จงตรัสเตือนหมู่มลิกา | ให้แต่งโภชนา |
เครื่องคั่วอั่วเจียวบรรจง | |
๏ [๑๙๖]จัดใส่สุพรรณภาชนะทรง | ชามแก้วเบญจรงค์ |
จอกจานสุวรรณอันควร | |
๏ [๑๙๗]ตกแต่งตามราชกระบวน | บังคมเชิญชวน |
พระองค์ให้เสวยเปรมปรีดิ์ | |
๏ เฟี้ยมเฝ้าแทบบาทบทศรี[๑๙๘] | สิ่งใดสวามี |
จะชอบพระโอษฐ์อุดม | |
๏ คือเค็มมันเปรี้ยวหวานขม[๑๙๙] | กำหนดอารมณ์ |
บำเรอจงชอบพระทัย | |
๏ น้ำสรงน้ำเสวยสุทธ์ใส[๒๐๐] | กลั้วกลิ่นมาลัย |
มาลีสุคนธกำจร | |
๏ [๒๐๑]ภูษาโขมพัตถ์อลงกรณ์ | สำหรับมหิศร |
จำเริญอบจรุงจรูญใจ | |
๏ [๒๐๒]เพลาส่องแสงพระอุทัย | ยามย่ำฆ้องชัย |
ประจำนิเวศอัครฐาน | |
๏ [๒๐๓]เจ้าจงตรัสเตือนพนักงาน | แต่งห้องรโหฐาน |
แลแท่นทิพนิทรารมณ์ | |
๏ [๒๐๔]ปูสาดลาดสุจหนี่พรม | เขนยหนุนบรรทม |
ตั้งวางวิจิตรจงควร | |
๏ [๒๐๕]ผูกมุ้งม่านแพรพระขบวน | ประดับดอกลำดวน |
มะลิจำปาอาเกียรณ์ | |
๏ ห้อยย้อยโคมแก้วโคมเวียน[๒๐๖] | จุดตามธูปเทียน |
ประทีปประเทืองชัชวาล | |
๏ [๒๐๗]ยามเสด็จยุรยาตรสู่สถาน | ถนอมนาถภูบาล |
จงชอบมโนสาธร | |
๏ [๒๐๘]รับราชวงศ์บรมองค์อิศร | สุทธรื่นหอมขจร |
โลมลูบบวรบาททั้งสอง | |
๏ เช็ดด้วยพัสตราผืนทอง[๒๐๙] | หมดมลทินละออง |
อัญเชิญยังแท่นทองผจง | |
๏ [๒๑๐]เมื่อเกษมสถิตอาสน์อิงองค์ | พระพักตร์ดุจบง- |
กชมาศแลบานเพริศพราย | |
๏ ทรงพระเสสรวลแสนสบาย[๒๑๑] | กรเกี่ยวเกยกาย |
ตระโบมบรรทมแนบนาง | |
๏ [๒๑๒]ปรนนิบัติปฐมปานกลาง | ที่สุดสิทธินาง |
นุเคราะห์จงชอบเชิงกาม | |
๏ [๒๑๓]เสร็จสองสังโยคย่ำยาม | แนบนั่งประณาม |
อย่าเพิกหลับก่อนสวามี | |
๏ [๒๑๔]ให้ท้าวบรรทมเกษมศรี | ปรนนิบัติพัดวี |
ระวังเรือดไรภัยพาล[๒๑๕] | |
๏ [๒๑๖]เมื่อยามอรุณตระการ | เจ้าจงจากสถาน |
สั่งสาวชาวงานซ้ายขวา | |
๏ เตรียมเครื่องสำอางโอ่อ่า[๒๑๗] | สุวรรณเต้าธารา |
แลไม้ชำระพระทนต์ | |
๏ ทั้งพานพระศรีศุภผล[๒๑๘] | ถวายปิ่นภูวดล |
เมื่อเสด็จจากแท่นบรรทม | |
๏ [๒๑๙]ปรนนิบัติโดยกิจนุกรม | เป็นการอุดม |
วิสัยสำหรับกษัตรี | |
๏ [๒๒๐]หนึ่งเมื่อพระราชสวามี | เสด็จโดยวิถี |
กรีธาจัตุรงคเสนา | |
๏ [๒๒๑]ตามเสด็จสมเด็จภัสดา | ทรงคชโอฬาร์ |
กระโจมมีม่านหน้าหลัง | |
๏ เป็นที่ปิดป้องกำบัง | อย่าแหวกม่านหวัง |
เยี่ยมพักตร์ทอดเนตรพิศผล[๒๒๒] | |
๏ พิศพวกทวยราษฎร์ริมถนน | ไม่ควรแก่ตน[๒๒๓] |
เป็นนางกษัตริย์ขัตติยวงศ์ | |
๏ [๒๒๔]ทราบถึงวรกรรณพระองค์ | กลัวเกลือกจะทรง |
รังเกียจกินแหนงสงสัย | |
๏ [๒๒๕]มาตรว่า บ ตรัสสิ่งใด | จะอยู่ในใจ |
สิ่งนี้จงควรถวิล | |
๏ [๒๒๖]เมื่อเสด็จสถิตปรางค์วัชรินทร์ | ละห้วยกายิน |
ด้วยอายสุริยวาตา | |
๏ [๒๒๗]แม้นมีธุรกิจกังขา | อย่าพร้องพจนา |
จะเคืองพระราชอัชฌาสัย | |
๏ [๒๒๘]เมื่อสบายบันเทิงหฤทัย | ทุกข์โศกสิ่งใด |
คอยได้โอกาสจึ่งทูล | |
๏ [๒๒๙]ได้ถ้อยทางความทั้งมูล | เห็นจักบริบูรณ์ |
มโนรสาสมสาร | |
๏ อย่าเสียจารีตโบราณ[๒๓๐] | พระนุชเยาวมาลย์ |
ทรงพระดำริจงดี | |
๏ หนึ่งจงบริรักษ์ราชี | พระชนกชนนี |
พระญาติวงศ์ทรงชรา[๒๓๑] | |
๏ [๒๓๒]โดยชอบธรรมแท้สัตยา | ตอบแทนคุณา |
ทุกเทพท้าวสรรเสริญ | |
๏ [๒๓๓]พระยศยิ่งจักจำเริญ | ศรีสวัสดิเจริญ |
ในมุขมงคลทั้งหลาย | |
๏ [๒๓๔]มาตรว่าทวยทาสหญิงชาย | นอกในหมวดหมาย |
ทุพพลภาพพิกลแก่ชรา | |
๏ ควรคิดสังเวชอนิจจา[๒๓๕] | ยำเกรงกรุณา |
ผิดพลั้งอดออมเอาใจ | |
๏ อย่าเกรี้ยวโกรธาฟุนไฟ[๒๓๖] | ทำเป็นปากไว |
ด่าด้วยถ้อยคำหยาบหยาม | |
๏ [๒๓๗]มักขึ้งมักเคียดคุมความ | เสียศรีซึ่งงาม |
จะหมองน้ำนวลพักตรา | |
๏ [๒๓๘]หนึ่งโสดคุณบิตุมารดา | เกิดเกล้าเรามา |
ประเสริฐยิ่งภพไตร | |
๏ [๒๓๙]คุ้มครองป้องกันโพยภัย | แต่เยาว์เท่าใหญ่ |
พระคุณก็สุดแสนทวี | |
๏ [๒๔๐]ครั้นเรามีคู่สมศรี | พระคุณสวามี |
เป็นมิ่งมงคลคุ้มตัว | |
๏ [๒๔๑]นามชื่อกษัตรีมีผัว | ดุจแหวนมีหัว |
เห็นงามแก่ตาโลกทั้งหลาย | |
๏ [๒๔๒]เป็นที่สงวนรักกับกาย | อย่าทำให้สลาย |
แสงแก้วจะอับเงางาม | |
๏ [๒๔๓]แม้ทองเนื้อแท้สุกอร่าม | ปราศจากพลอยพลาม |
สุวรรณจะเศร้าหมองมัว | |
๏ [๒๔๔]ดุจหญิงพลัดพรากจากผัว | ปากคนย่อมหัว |
เยาะเย้ากระซิบครหา | |
๏ [๒๔๕]จะกันกลความนินทา | เห็นสุดปัญญา |
ยากนักในอกกษัตรี | |
๏ [๒๔๖]ทำชอบชอบใจสวามี | ทำผิดทุบตี |
วิโยคร้างแรมตาย | |
๏ [๒๔๗]ดวงจันทร์กระจ่างแสงพราย | มลเมฆกลับกลาย |
รัศมีก็มัวมลทิน | |
๏ [๒๔๘]กษัตรีเฉกโฉมกินริน | แปมปนมลทิน |
เทียรย่อมจะเศร้าอัปรา | |
๏ คชสารแม้ม้วยมีงา[๒๔๙] | โคกระบือมรณา |
เขาหนังก็เป็นสำคัญ | |
๏ [๒๕๐]บุคคลถึงกาลอาสัญ | สูญสิ้นสารพัน |
คงแต่ความชั่วกับดี | |
๏ ปรากฏในพื้นปัถพี | กฤษฎิศัพท์จักมี |
ติดปากสรรเสริญนินทา | |
๏ [๒๕๑]ยิ่งเป็นสุริย์วงศ์กษัตรา | ทำชั่วจักปรา- |
กฎจบแว่นแคว้นความตาย | |
๏ [๒๕๒]เป็นคนคิดศรีใส่กาย | แม้นม้วยเสียดาย |
ออกชื่อจะยอวันทนา | |
๏ [๒๕๓]ราชจริตกษัตรีน้องอา | เยี่ยงอย่างมีมา |
พี่สอนจงจำใส่ใจ | |
๏ [๒๕๔]อย่าเบิกบานแกลกว้างใหญ่ | เยี่ยมหน้าดูไป |
ข้างโน้นข้างนี้มิควร | |
๏ อย่าแกล้งส่งเสียงสำรวล[๒๕๕] | อย่าทำลามลวน |
ลุกนั่งจริตสามผลาม | |
๏ [๒๕๖]อย่าย่างด่วนด่วนโครมคราม | พลาดล้มกลางสนาม |
จะอายจะเศร้าโศกแสน | |
๏ [๒๕๗]ตัวเจ้าคือนางเมืองแมน | ในพื้นดินแดน |
ยากรู้ซึ่งอัชฌาสัย | |
๏ อย่าเดินเมินมุ่งดูไกล | เกลือกสะดุดสิ่งใด |
จะเจ็บจะป่วยบาทา | |
๏ อย่าเดินทัดพวงมาลา[๒๕๘] | เสยผมห่มผ้า |
จีบพกแทบทางกลางคน | |
๏ [๒๕๙]อย่าเดินยิ้มย่องยักตน | หัวร่อริมถนน |
สะกิดเพื่อนพูดไปพลาง | |
๏ [๒๖๐]อย่าเดินเฟ็ดผ้านุ่งนาง | กรลูบแก้มคาง |
เหลือบเหลียวดูซ้ายแลขวา | |
๏ [๒๖๑]อย่าเดินเปลี่ยวเปล่าอุรา | ไบบงเฉียงบ่า |
ค่อยเยื้องค่อยย่างตามขบวน | |
๏ [๒๖๒]เดินทางพบชายเสสรวล | ย่าแย้มประยวน |
ตอบถ้อยทำขวยเขินใจ | |
๏ [๒๖๓]เดินตามกิริยาอัชฌาสัย | แม้นลมพัดสไบ |
ระวังปกปิดนมนาง | |
๏ ลุกนั่งระวังผ้าขัดขวาง[๒๖๔] | อย่านั่งท้าวคาง |
ท้าวแขนออกไปไกลตัว | |
๏ อย่านั่งเอาบ่าแบกหัว | อย่าโงกโยกตัว |
จะเป็นทุจริตอัปรีย์[๒๖๕] | |
๏ [๒๖๖]อย่านั่งคาบันไดไม่ดี | สนธยาราตรี |
อย่าเร่นั่งพลอดเรือนคน | |
๏ [๒๖๗]อย่านอนร่มไม้ชายถนน | อย่านอนตากตน |
นอกเกยนอกชานชาลา | |
๏ [๒๖๘]นามชื่อหลับลืมสติญาณ์ | เกลือกเป็นเวทนา |
ปากคนจะฉินเฉยสรวล | |
๏ [๒๖๙]หนึ่งโสดแม้นต้องสำรวล | ดังนักไม่ควร |
หัวร่อค่อยค่อยพอสบาย | |
๏ [๒๗๐]แม้นยิ้มยิ้มพอพริ้มพราย | ยิ้มนักมักสลาย |
เงาฟันจะเศร้าศรีแสง | |
๏ แม้นจามค่อยจามตามแรง[๒๗๑] | แม้นมีกิจแถลง |
อย่าน้อยอย่ามากพอการ | |
๏ [๒๗๒]แม้นนอนอย่าได้นอนนาน | คิดถึงการงาน |
การมือการปากจงดี | |
๏ [๒๗๓]กินน้อยซูบเนื้อเสียศรี | กินมากมักพี |
แต่พอประมาณดูงาม | |
๏ [๒๗๔]จะเดินนอนนั่งทั้งสาม | อุตส่าห์พยายาม |
อิริยาจงพร้อมเสมอสมาน | |
๏ [๒๗๕]จะสบายเอ็นสายสำราญ | ดับโรครำคาญ |
จะพูนความสุขทุกอัน | |
๏ [๒๗๖]ความรู้แม้นเรียนรู้ขยัน | ทุกสิ่งสารพัน |
ครั้นเศร้าก็เสียแรงเรียน | |
๏ มาตรว่าเก็บปักขบวนเขียน[๒๗๗] | ถ้ามีความเพียร |
จะภิญโญยิ่งวิชา | |
๏ [๒๗๘]รู้กานท์รู้กลเจรจา | รู้กันนินทา |
รู้กินรู้รักษา | |
๏ เท่านี้ชอบน้ำใจผัว | รักเราเมามัว |
ยิ่งกว่าทำเสน่ห์เล่ห์กล[๒๗๙] | |
๏ [๒๘๐]รักตัวอุตส่าห์เสงี่ยมตน | ฝ่ายในกุศล |
ถือศีลศรัทธาทำบุญ | |
๏ รักผัวอุตส่าห์คิดคุณ | อย่าทำทารุณ |
ปรนนิบัติให้ชอบน้ำใจ | |
๏ รักสัตว์ของเลี้ยงใดใด[๒๘๑] | จงเอาใจใส่ |
ให้กินอย่ามักทุบตี | |
๏ รักต้นพฤกษาสาขี | ใบยอดอย่ายี[๒๘๒] |
อุตส่าห์รดน้ำพูนดิน | |
๏ [๒๘๓]รักคนคนเห็นแก่กิน | กินอิ่มอาจิณ |
นุ่งห่มอูชูอยู่สบาย | |
๏ ใช้สอยสิ่งใดง่ายดาย[๒๘๔] | รักเราเท่าตาย |
บ ห่อนจะไปไกลตน | |
๏ ผูกงูอยู่มั่นด้วยมนต์ | จักผูกบุคคล[๒๘๕] |
อยู่ด้วยน้ำใจไมตรี | |
๏ [๒๘๖]พี่สอนวรนาถนารี | ทุกสิ่งถ้วนถี่ |
จำไว้เป็นสิ่งสถาพร | |
๏ [๒๘๗]แม้นอยู่ตามคำสั่งสอน | ทวยเทพนิกร |
จะอวยวรมิ่งมงคล | |
๏ [๒๘๘]จะเป็นศรีสวัสดิ์แก่ตน | ทั่วโลกแจ้งยล |
ย่อมล้วนจะยอยศไกร | |
๏ [๒๘๙]เทพอยู่กำภูฉัตร | ชมชื่นพระทัย |
จะโอนศิรสาธุการ | |
๏ จักจำเริญสุขเนานาน | ในนิเวศสถาน |
ตราบเท่าวิโยคเมื่อมรณ์[๒๙๐] | |
๏ วรนาถพนิดา[๒๙๑] | สดับโสตประณมกร |
[๒๙๒]รับเสาวนีย์พร | วโรวาทพระพี่นาง |
๏ เอาอ่อนมโนใน | ประไพพักตรเปรมปราง[๒๙๓] |
เสร็จสนทนานาง | ก็บ่ายบาทประคมลา[๒๙๔] |
๏ [๒๙๕]สู่มิ่งพิมานมน- | ทิโรรัตนไสยา |
[๒๙๖]ดับโศกประโมชา | ฤทัยนาถผดุงองค์ |
๏ เสียผิดเผด็จโทษ | แสวงสวัสดิจำนง |
จำเริญศิลาทรง[๒๙๗] | มนัสตั้ง บ แพร่งพราย |
๏ [๒๙๘]ทุกยามทิวาวัน | บ เว้นว่างจะขวนขวาย |
ความสุขประกอบกาย | สะเดาะกรรม ธ อันมี[๒๙๙] |
๏ [๓๐๐]ทรงลักขณาเนา | ประพฤติพรหมจารี |
คิดคุณสวามี | ชุลิตน้อมนิรันดร |
๏ [๓๐๑]วันหนึ่งประดับโฉม | พาหุรัตนาภรณ์ |
[๓๐๒]ขึ้นเฝ้ามหิศร | บพิตรราชทรงธรรม์ |
๏ ท้าวตรัสประทานโทษ | ประสาทสาธุมิ่งขวัญ[๓๐๓] |
คืนองคแจ่มจันทร์ | ประเวศอัครชายา[๓๐๔] |
๏ ร่วมสุขสโมสร | ตระกองสองเสน่หา[๓๐๕] |
เหิมรักภิรมยา | ประยวนตฤษณาใน[๓๐๖] |
๏ [๓๐๗]ลูบโลมประเลอกาม | ก็ลั่นลงละเลาะใจ |
จุมพิตนุริมไร | ตะพินภาคพธู[๓๐๘] |
๏ [๓๐๙]เพรียกเพราก็เพลินพลาง | อุรุนาถอูชู |
เกี่ยวกรประดับดู | ประดุจลวดลดาวัลย์[๓๑๐] |
๏ มุจลินทร์จุลาการ | ก็บังเกิดมหัศจรรย์ |
คลุ้มคลื่นตรังคัน[๓๑๑] | อุโฆษศัพทเครงโครม |
๏ บุษบันก็ทรงดวง[๓๑๒] | สะเทือนดอกวิลาสโดม |
มัตสยาก็ล่องโลม | ระรื่นเชยกระแสสินธุ์[๓๑๓] |
๏ [๓๑๔]เอิบอาบ บ เอื้ออิ่ม | สโรชสร้อยสวาริน |
[๓๑๕]ตรลบกลิ่นผกาตฤณ | แสยงเศียรสบายกาย |
๏ ส่องแสงสุริโย | พยอนโยกกระแสสาย[๓๑๖] |
ชลทิตประพรายพราย | ปทุมเมศกระจ่างบาน[๓๑๗] |
๏ [๓๑๘]ภุมราภมรมัว | ฤดีร่วมผสานสาร |
เกลือกเคล้าสุคนธาร | ทวีราคนิรารมย์ |
๏ [๓๑๙]สององคอ่าองค์ | สบายองค์เกษมสม |
แสนสนุกนิอุดม | ถวัลย์เวียงวิเจษฎา |
๏ [๓๒๐]ยศศักดิ์สมบูรณ์ | อุกกฤษฏ์เกียรติลือชา |
ทั่วเทพเทวา | นราราษฎร์ก็ชมบุญ |
๏ [๓๒๑]สองทรงศิลาทาน | สถิตรัตนาคุณ |
คุ้งชันษาสุญ | ชราภาพชีวา |
๏ เริ่มกลอน บ พิตรท่าน | พระยาราชสุภา- |
วดีลิขิตตรา[๓๒๒] | แสดงนามโดยมี |
๏ ผู้ช่วยบริรักษ์ | นราโลกพราหมณ์ชี |
ในกรุงนครศรี | ธรรมราชบุรินทร์[๓๒๓] |
๏ [๓๒๔]ทุกกาลผดุงการ | ประกอบชอบ บ เว้นถวิล |
ซึ่งเป็นฉบับจิน- | ตนาท่าน บ ให้สูญ |
๏ [๓๒๕]นางกฤษณานาถ | ก็มีเรื่องบริบูรณ์ |
[๓๒๖]สมุดเดิมก็เศร้าสูญ | สลายลบ บ เป็นผล |
๏ [๓๒๗]เชิญเราชิโนรส | พระนามอินทนิพนธ์ |
พจนารถอนุสนธิ์ | จำหลักฉันทจองกลอน |
๏ ว่าไว้วิสัยโลก | โศลกสารสโมสร |
เป็นสร้อยสถาวร | ประดับเกศกษัตรี |
๏ [๓๒๘]แม้นนางสุริยวงศ์ | พธูราชเทวี |
สามัญกษัตรี | สดับคำประพฤติตาม |
๏ ทั่วโลกก็เล็งยล[๓๒๙] | ก็ย่อมล้วนจะดูงาม |
แผ่นภพทั้งสาม | นราเทวะชื่นชม |
๏ กฤษณาสุภาษิต | ประสาทไว้ทุกสิ่งสม |
ศุภสวัสดิอุดม[๓๓๐] | จะพึงมี บ เว้นวัน[๓๓๑] |
๏ เสร็จสารสฤษฏอนุสนธิ์ | วรจรประจงฉันท์[๓๓๒] |
ลำนำประพฤติคณอัน[๓๓๓] | นุประกอบยุบลกลอน |
๏ แต่งตามวุโฒทยวรา[๓๓๔] | ก็เสนาะสถาวร |
[๓๓๕]เอกโทประดับครุลหุสอน | กลบุตรพึงยล |
๏ มีทั้งสถิรและธนิต | ก็ประเภทอำพล[๓๓๖] |
อักษรสามวรนุกล[๓๓๗] | ก็ประดับประดาการ |
๏ ไม้ทัณฑฆาตนฤคหิต | ก็ประเสริฐโอฬาร |
วิสรรชนีย์ประดิษฐาน | ก็วิเศษนานา |
๏ ฟองมันประมวลนิกรกล่าว | ก็อเนกอเนกา |
[๓๓๘]ฝนทองประกอบกลกถา | คณะเจ็ดประจำลง |
๏ คือสร้อยสุรัตนมุนินทร์ | สุรโลกประดับองค์ |
[๓๓๙]ข้าควรจะจินตนประสงค์ | นุประเสริฐพึงเรียน |
๏ [๓๔๐]ด้วยเดชตะโบมบวรคุณ | ศิลข้าประพฤติเพียร |
[๓๔๑]สารสิทธิจงสถิรเสถียร | ธรณิศประลัยสูญ |
[๑] ปรากฏเฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ปรากฏเพียงความว่า “หน้าต้นกฤษณาสอนน้อง” โดยเฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ปรากฏความในต้นฉบับเลือนหาย เริ่มปรากฏความว่า “วิวาหการมิ่งมงค์”
[๒] น่าจะเป็น “ดุจบดินทร์วรางค์”
[๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๔ และ ๗๗ “พระสยมภุวนุตโม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “พระสยมภุวนตโน” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “พระสยุมภวนุตโม”
[๔] ปรากฏเฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ นอกนั้นว่า “ดิลกคุเณนิจไตร”
[๕] หนังสือสมุดไทยบางฉบับเขียนว่า “ประลาต” เช่น เลขที่ ๗๔ – ๘๖ เป็นต้น
[๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๕ และ ๗๙ ว่า “สุตตันตปิฎกประดิษฐาน”
[๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “นำสัตว์สู่มรรคผล” ส่วนเลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ความเลือน
[๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันตรงบาทสุดท้าย ใช้ว่า “คณา...” แทนคำ “คุณา...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๕ และ ๗๘ ว่า :
“เผด็จบรรเทาทุกข์ทน อวยศุภมงคล คณาดิเรกคงทรง”
[๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า : อสีติอัษฎางค์อริยสงฆ์ สาวกธำรง...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “...ศากยบุตรดำรง...”
[๑๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “...แลเสร็จเสาวล้างราคิน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๘ และ ๗๙ ว่า: “...จะส้องจะสาราคิน” โดยเฉพาะบาทที่สองของหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ใช้คำว่า “นโม” แทนคำว่า “มโน” ซึ่งไม่น่าจะใช้ในความหมายนี้
[๑๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ผนวกความทั้งสองบทเข้าเป็นความบทเดียว คือ
“บริรักษ์พระศาสน์สโมสร สรวมสวัสดิ์กมลินท์ อมเรศอิศโรราเชนทร์”
[๑๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “...เข่นฆ่าอสุรินทร์ พินาศด้วยฤทธิรงค์”
[๑๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ไม่ปรากฏข้อความตั้งแต่บทนี้ (รวม ๘ บท) คือ
“...เหมห้องสิงหาสน์บันเถลิง ฉลุฉลักชั้นเชิง รุจิเรขด้วยรงรจนา” โดยจะเริ่มตั้งแต่ความว่า “มีมิ่งมเหสีสมญา...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ไม่ปรากฏข้อความทั้งสองบทตั้งแต่นี้ คือ “กรรมสิทธิ์สมบัติเอกองค์... พาราณสีโสภณ”
[๑๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “กำแพงป้อมค่ายเป็นกล...”
[๑๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ขนัดคูชรซึ้งสายสินธุ์...”
[๑๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗ ว่า “แสนสนุกเยี่ยมเมืองอินทร์...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “แสนสนุกเทียมเมืองอินทร์”
[๑๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แสะสารสินธเข้มขัน” ซึ่งความไม่ครบลักษณ์คำประพันธ์ คำว่า “สินธ” ควรเป็น “สินธพ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๖ ต่างกันที่คำว่า “แสะ” จะใช้ว่า “แซะ” และ “แสน” ตามลำดับ
[๑๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “มีปรางค์รัตนาสน์ระหง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ไม่ปรากฏความทั้งสองบาทนี้ “พิจิตรแกล้งบรรจง มีปรางค์รัตนาสน์บรรจง” ซึ่งทำให้ความรวบรัดจากสองบทเหลือเพียงหนึ่งบท แต่บาทสุดท้ายของบทจำนวนคำมากเกินไป ปรากฏดังนี้ “แสะสารสุนทรเข้มขัน รถรัตนาพรรณ ยิ่งเทพอลงกตกาญจโนดำเกิง” แสดงว่าความที่ดัดแปลงมาตกหล่น
[๑๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เหมทองสิงห์บันเทิง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “เหมห้องสิงหบัญชรเถลิง”
[๒๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แลดูก็งามรจนา”
[๒๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “นวลนางบุษบา”
[๒๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “นางสนมขนัดหมื่นหกพัน”
[๒๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ที่อาสน์ราษตริน” น่าจะเป็น “ทิวาราษราตริน”
[๒๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “ภูบาล” แทนคำว่า “มหิบาล”
[๒๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “บดินทร์ ธ เทียมเทวา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๖ ว่า “ทิบัติเทียมเทวา” ซึ่งต่างกันเพียงตัวสะกด คือ “ธิ”และ “ทิ”
[๒๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เยาวยอดยิ่งกษัตรี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ความจะคลาดเคลื่อน โดยรวบรัดความในบทต่อไปเข้าในบาทนี้ แล้วความหายไปหนึ่งบท ปรากฏว่า “...เยาวรูปยอดยิ่งแสนจัตุรงค์” ส่วนใจความที่ขาดไป คือ “ท้าวสงวนดุจดวงชีวี เนาวรัตน์ปรางค์ศรี แวดล้อมด้วยแสนจัตุรงค์”
[๒๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ถนอมอรอนงค์” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๙ จะว่า “ถนอมอรองค์”
[๒๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “บ อาจ บ เอื้อมคิดคม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๖ ว่า “บ อาจเอื้อมคิดคม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ จะว่า “บ มิอาจเอื้อมคิดคม”
[๒๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แลควรที่พึงพิสมัย”
[๓๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “สมเด็จบิตุราชจอมไกร” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “สมเด็จบิตุเรศท่านไท”
[๓๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ให้ทำโรงราชพิธี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “จุรังคโรงราชพิธี”
[๓๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ชุมนุมมนตรี”
[๓๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๕ ความเหมือนกัน จะต่างกันเพียงตัวสะกดคำว่า “วิวาห์” และ “วิวาห” (ไม่มีไม้ทัณฑฆาต ในฉบับที่ ๗๕) ความที่ปรากฏคือ “วิวาหการมิ่งมงคล” ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องเพราะผิดสัมผัสระหว่างบท
[๓๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗ – ๗๙ ว่า “เวนวรสมบัติคั่งคาม”
[๓๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แน่งน้อยเยาวราม”
[๓๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “เฉิดโฉมเฉลิมงาม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “เฉิดโฉมเฉลิมคาม”
[๓๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ว่า “เช่นเชิงพาที”
[๓๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ว่า “กิจการกษัตรี”
[๓๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ - ๗๗ และ ๗๙ ว่า “สี่องค์ราชา”
[๔๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ห่อนได้เคียดขึ้ง”
[๔๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “บรรทมทิพอาสน์ อลงกตเรืองรอง พระสนมเนืองนอง ห้อมล้อมซ้ายขวา”
[๔๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๕ ว่า “ชื่อจันทรประภา” ส่วนบางฉบับอาจว่า “...จิรัประภา” (หรือ ...จิรประภา) เช่นในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ - ๗๘
[๔๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แบ่งภาคลงมา”
[๔๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ - ๗๙ ว่า “ทรงพระเยาวรา”
[๔๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “เอกากงกล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “เอ้องค์คงกล”
[๔๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ฤทัยทุกข์ทน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ว่า “พระทัยทุกข์ทน”
[๔๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ - ๗๙ ว่า “ถนอมเสวยโภชนา”
[๔๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ - ๗๗ และ ๗๙ ว่า “แหบไห้เล็งลาญ”
[๔๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ - ๗๗ และ ๗๙ ว่า “เปลี่ยวเปล่าสงสาร”
[๕๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “โสรจสรงธารา”
[๕๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แต่งองค์แล้วเสร็จ เสด็จยังไพชยนต์ สู่นาถนฤมล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “ทรงทิพอาภรณ์ พิจิตรเสด็จยัง ห้องไพชยนต์...”
[๕๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “นบนอบยอบองค์ ถวายบังคม-” ซึ่งบาทที่สองความขาดสัมผัส ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ และ ๗๙ ว่า “น้อมเกล้าโอนองค์ ถวายบังคมบง- กชบาทพี่ยา” ต่างกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ซึ่งใช้คำว่า “คชบาท” แทน “กชบาท”
[๕๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ดูราน้องรัก” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗และ ๗๙ ว่า “ว่าดูละน้องรัก”
[๕๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “แต่ก่อนนวลพักตร์”
[๕๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๖ และ ๗๙ ว่า “ผ่องแผ้วเจียนจันทร์” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “ผ่องแผ้วแจ่มจันทร์”
[๕๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “พระฉวีผิวพรรณ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๗ ว่า “พระวรฉวีวรรณ”
[๕๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “นิ่มน้องหมองหมาย”
[๕๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “บ มีสบาย”
[๕๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ดุจแก้วแววตา”
[๖๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “หรือ” แทนคำว่า “ฤา” ส่วนในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ถัดจากคำว่า “ควร” ความลบเลือนมากอ่านไม่ชัดเจน
[๖๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “น้องไข้ใจนัก” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “หนัก” แทนคำว่า “นัก” ซึ่งไม่น่าจะใช่ “บุญน้องน้อยหนัก” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ บาทแรกว่า “บุญน้องน้องน้อยนัก” ซึ่งคำเกินลักษณะของคำประพันธ์ ส่วนความในบาทที่ ๓ และ ๔ ปรากฏความลบเลือน ดังนี้คือ “ผลักหน้า...” และ “...ร้างไว้”
[๖๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ทิ้งความร้างไว้”
[๖๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “สุดที่จะเจรจา”
[๖๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๖ ว่า “ไม่ชอบฌาสัย”
[๖๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “สุดมุ่งสุดตา”
[๖๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “สว่างจาบัลย์” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ปรากฏความว่า “สว่างรอนจาบัลย์”
[๖๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แสนสุขสำเริง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “สุขสำเริง” ซึ่งคำไม่ครบลักษณะคำประพันธ์ และความบาทถัดมาปรากฏว่าเลือนหลังคำว่า “สำราญ...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ว่า “สุขรมย์สำเริง”
[๖๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ย่อมทำกิจอัน”
[๖๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ - ๗๔ และ ๗๖ – ๗๘ ว่า “ตละหญิงช่วงชั่ว” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ตนหญิงช่องชั่ว” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “ตละหญิงช่องชั่ว”
[๗๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ทนทุกข์อาดูร”
[๗๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “ไม่” แทน “มีผัวไม่รัก”
[๗๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความขาดคำว่า “ข้า” ไม่ปรากฏในบาทนี้ “แค้นใครเห็น”
[๗๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “กรรมใดจำเป็น”
[๗๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “ดุจเทพบรรจง” ซึ่งความต่างจากฉบับอื่น ๆ
[๗๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “รักร่วมฤทัย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ประสงค์จงใจ”
[๗๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “วิทยาวิเศษ”
[๗๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ฟังน้องวจนา”
[๗๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เราฟังสัตรี”
[๗๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ด้วยเล่ห์ลำเนา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “โดยเศษลำเนา”
[๘๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ – ๗๗ ว่า “กิริยาฌาสัย”
[๘๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๙ ว่า “ปฏิบัติบรรเทา”
[๘๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ - ๗๗ และ ๗๙ ว่า “เสน่หาอย่ายำ”
[๘๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๗ ว่า “แม้ประสิทธิ์ทำ”
[๘๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “รักกันพลันจาก เริดร้างหน่ายหนี”ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “ราช” แทนคำว่า “ราค” : “ราชร้างหน่ายหนี”
[๘๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ฉวยหางไว้หยุด” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ความต่างกันตั้งแต่บาทหน้า ซึ่งเพิ่มคำว่า “ฉวย” และบาทหลังใช้คำว่า “หางไว้” แทนคำว่า “ฉวยหาง” ดังนี้ “ช้างแล่นจะฉวยฉุด หางไว้ให้หยุด”
[๘๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ค่อยลูบระโบม” ซึ่งไม่น่าจะใช่
[๘๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “จะค่อยเคลื่อนคลาย คืนเข้าโดยถวิล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ใช้คำว่า “จัก” แทนคำว่า “จะ” แต่จะต่างกันที่บาทหลัง ซึ่งฉบับที่ ๗๙ จะใช้คำว่า “เต้า” แทนคำว่า “ด้าว” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “จะค่อยผัดผาย คืนเข้าโดยถวิล”
[๘๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๕ ว่า “ขืนให้โคกิน” (แทนคำว่า “วัว”) ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ความบาทนี้จะปรากฏอยู่หน้าบาทความว่า “โคไม่นำพา” ด้วย เช่น “...คืนด้าวโดยถวิล ขืนให้วัวกินโคไม่นำพา...”
[๘๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “บุราณ” และ “บูราณ” แทน คำว่า “โบราณ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ใช้คำว่า “เรื่อง” แทนคำว่า “เบื้อง” หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “บุราณ” แทน ต่างกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ซึ่งความในบาทหน้าจะต่างกับฉบับอื่น คือใช้คำว่า “ผิดรีตระบิล” แทนคำว่า “ผิดจริต...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “ระบอบเบาราณ”
[๙๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ใช้คำว่า “พร” แทนคำว่า “วร” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ เขียนว่า “เป็นพระโอวาท”
[๙๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความที่ปรากฏจะต่างกับฉบับอื่นว่า “เจ้ารักษ์รักชาย”
[๙๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ความที่ปรากฏจะต่างกับฉบับอื่นว่า “กับน้องปรนนิบัติ”
[๙๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “อัธยา” แทน และบาทถัดมาใช้คำว่า “ไร” แทนคำว่า “นี้” คือ “อัธยาอาศัย สิ่งไรทรามวัย” อนึ่งความที่ถูกต้องของบาทนี่น่าจะเป็น “อัชฌาสัย” แต่ด้วยเหตุที่ไม่ครบเสียงตามลักษณะของคำประพันธ์ จึงต้องเพิ่มเสียง “อา” เป็น “อัชฌาอาสัย”
[๙๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เกศเกล้าสตรี” (สัตรี) ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “เกศ” แทนคำว่า “เกิด” : “เกศเกล้ากษัตรี”
[๙๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๕ และ ๗๘ ว่า “ยากแท้ควรสงวน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ความบาทนี้ไม่ต่างกัน แต่ความที่ปรากฏหน้าบาทนี้ จะใช้คำว่า “จัก” แทนคำว่า “จะ” : “จักหาสวามี”
[๙๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า ไม่ปรากฏความบาททั้งสามนี้ (ธรรมดากษัตรี เป็นสาวก็ดี ปากคนเสสรวล”
[๙๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ปรากฏความถัดจากบาทนี้ต่างกัน ดังนี้ “จะอยู่เป็นหม้าย ไม่พ้นความอาย ปากคนสำราญ ที่จะดำรงจิต ประพฤติโดยควร ย่าให้คนสรวล คิดยากนักหนา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “จัก” แทนคำว่า “จะ”
[๙๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๗ และ ๗๙ ว่า “คิดยากหนักหนา”
[๙๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ใช้คำว่า “แม้” แทนคำว่า “แม้น”
[๑๐๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “ไป่” แทนคำว่า “ไม่” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ใช้คำว่า “ไป” แทน ซึ่งไม่น่าจะใช่
[๑๐๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “สามี” แทนคำว่า “สวามี”
[๑๐๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “มีคุณอุปการะ” ซึ่งไม่น่าจะใช่
[๑๐๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ เขียนว่า “ทุกข์โศกโรคภัย” หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “ทุกข์โศก” แทนคำว่า “ทุกสิ่ง” เช่นกัน แต่ปรากฏว่าความไม่สมบูรณ์ เนื่องจากคำในบาทไม่ครบลักษณะคำประพันธ์ คือ “ทุกข์โศกภัย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “ทุกข์โศกโพยภัย”
[๑๐๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “สักเท่ายวงใย”
[๑๐๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓-๗๔ และ ๗๘ ว่า “ลิ้นลมคมเหง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ท้าคารมคมเหง” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้ว่า “คุมเหง” แทน
[๑๐๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ไม่ปรากฏความตั้งแต่บาทนี้ถึงหน้า ๓๔๑ บทที่ ๕ ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “คอยคือผัวผิด”
[๑๐๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓-๗๔ และ ๗๘ ว่า “ไม่นับจับนา” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “ไม่นับจับหน้า” ส่วนฉบับที่ ๗๙ ว่า “ไม่ยักนำพา”
[๑๐๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ว่า “ว่ากล่าวมักฟัง”
[๑๐๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “ไร” แทนคำว่า “ใด”
[๑๑๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “มักหึงมักโกรธ”
[๑๑๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “สำหรับสัตรี” (อาจเป็นสตรี)
[๑๑๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๘ และ ๗๙ ใช้คำว่า “แม้น” แทนคำว่า “แม้”
[๑๑๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “จะสอยจะเย็บ” นอกนั้นจะเขียนว่า “ตัดเสี้ยวจะเย็บ”
[๑๑๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “เนิ่นนานเป็นปี”
[๑๑๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ว่า “พูดซิกขิกหัว”
[๑๑๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “เช้าค่ำเวลา”
[๑๑๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ว่า “ใช้ชายเป็นครัว” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ใช้คำว่า ”ทำ” แทนคำว่า “ต่าง” คือ “ใช้ชายทำครัว”
[๑๑๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๖-๗๗ ว่า “ถ้วยโถโอจาน”
[๑๑๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “เป็นที่ทักทา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “เป็นที่ทักทาย”
[๑๒๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ว่า “นั่งเถียงเอียงข้าง”
[๑๒๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓-๗๔, ๗๖ และ ๗๙ ว่า “เห็นเพลินโลภลาภ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “มักมากโลภลาภ”
[๑๒๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓-๗๔ และ ๗๘ ว่า “เสงี่ยมแต่ต่อหน้า”
[๑๒๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๘-๗๙ ใช้คำว่า “แม้น” แทนคำว่า “แม้”
[๑๒๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗-๗๘ ว่า “สอดดูคอยที” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “สอดตาคอยที” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “สอดตาคอยเธอ”
[๑๒๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๙ ว่า “ตีนเหยียบหูปรับ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “กรับ” แทนคำว่า “ตรับ”
[๑๒๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ลุกลนลงทราย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “หลุดหล่นลงสลาย”
[๑๒๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ปากคนเยาะหยัน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ฝูงคนเยาะหยัน”
[๑๒๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “มิได้เกรงกลัว”
[๑๒๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “รุกรานราวี”
[๑๓๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓-๗๔, ๗๖ และ ๗๘-๗๙ ว่า “ชาติช่วงหินา”
[๑๓๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “ยศศักดิ์สิเนหา”
[๑๓๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เป็นหน่อกษัตริย์ควรครอง”
[๑๓๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ว่า “อเนกแสนสาวสนม”
[๑๓๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ประพฤติโดยชอบสม รักองค์อุดม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “ประพฤติโดยชอบพอสม รักวงศ์ดม” ซึ่งความบาทหลัง ไม่ครบตามลักษณะคำประพันธ์
[๑๓๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗-๗๘ ว่า “แลรักทั้งองค์อาตมา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ความที่ปรากฏจะคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ใช้คำว่า “พระสิริ” (เลขที่ ๗๖) และคำว่า “พระสริ” (เลขที่ ๗๙) แทนคำว่า “องค์” คือ “แลรักพระสิริอาตมา”
[๑๓๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “รักทั้งเกียรติวงศ์กษัตรา”
[๑๓๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๖ และ ๗๙ ว่า “เอาเยี่ยงทรายจามจุรี”
[๑๓๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เป็นสัตว์ตระกูลอันดี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “เป็นสัตว์สกุลชาติอันดี”
[๑๓๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ขนนั้นลออละเอียดใยยอง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ขนนั้นลออเอียดใยยอง”
[๑๔๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๙ ว่า “ละเส้นเส้นคือทอง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ละเส้นละเส้นคือทอง” ซึ่งทั้งสามฉบับความเกินลักษณะของคำประพันธ์
[๑๔๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ละเอียดพะพรายเป็นแสง”
[๑๔๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๖ และ ๗๘-๗๙ ใช้คำว่า “แม้น” แทนคำว่า “แม้”
[๑๔๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “จักปล้ำโดยแรง” ซึ่งต่างกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖ และ ๗๙ ใช้คำว่า “จะ” แทนคำว่า “จัก”
[๑๔๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๔ และ ๗๘ ว่า “ไม่ให้ขนสลาย” ซึ่งต่างกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ใช้คำว่า “มิให้” แทน
[๑๔๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ก็ควรในสัตยา” หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ก็ควรคงสัตยา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ว่า “ก็ควรคำสัตยา”
[๑๔๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓-๗๔, ๗๖ และ ๗๘-๗๙ ว่า “เจ้าจงมิตรจิตเสน่หา ในพระภัสดา”
[๑๔๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “รักตัวสงวนตัวกลัวตาย กันความครหาย ท้าวเธอแหนงสงสัย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๘ จะต่างกันเฉพาะบาทหลัง ซึ่งใช้คำว่า “จัก” แทนคำว่า “จะ” “ที่ท้าวจัก แหนงสงสัย”
[๑๔๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓-๗๔, ๗๖ และ ๗๘-๗๙ ว่า “กินแหนง บ รู้สิ้นสูญ”
[๑๔๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๖ และ ๗๘-๗๙ ว่า “สิ่งนี้เจ้าจงอนุกูล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “เจ้าจงอนุกูล” ซึ่งความไม่ครบตามลักษณะของคำประพันธ์
[๑๕๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๖-๗๗ ว่า “จะมีพระเกียรติกฤษฎี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “จะมีพระเกียรติกฤษฎิ์”
[๑๕๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ว่า “เกิดในอภิชาติกษัตรี สู้เสียชีวา อย่าเสียสัตยาแห่งตน”
[๑๕๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ตราบเท่าเทวโลกบูชา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ความไม่ครบ ตามลักษณะของคำประพันธ์ คือไม่ปรากฏคำว่า “ทั่ว” คงเป็น “ตราบเท่าโลกลือชา” ส่วนความที่ปรากฏในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖-๗๗ และ ๗๙ คำประพันธ์บทนี้ว่า “ไว้ความสรรเสริญสาผล แต่แผ่นภูดล ตราบเท่าเทวโลกลือชา”
[๑๕๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖ และ ๗๙ ว่า “เป็นสุงสวัสดิ์วรกาย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “เป็นทรงสวัสดิ์กรกาย”
[๑๕๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ว่า “พระขนิษฐาจักครองใจชาย มิให้หมองหมาย...” ส่วนหนังสือ สมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “พระขนิษฐ์จงครองใจชาย อย่าให้หมองหมาย...”
[๑๕๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ใช้คำว่า “ทุรลักษณ์” แทนคำว่า “ทรลักษณ์” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ความจะต่างกัน ซึ่งใช้คำว่า “กษัตริย์” แทนคำว่า “ทรลักษณ์”
[๑๕๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ขืนถ้อยเถียงความ”
[๑๕๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “จะเคืองจะเคียดเกลียดชัง”
[๑๕๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๖ ความคล้ายคลึงกันว่า “เย็นเช้าเข้าเฝ้าฝ่ายหลัง” แต่จะต่างกันในบาทถัดมาคือ ในบาทที่สองและที่สาม ว่า “ตรับโสตสดับฟัง” (เฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖) และ “เกลือกจะตรัสนุกิจสิ่งใด” (เฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔) ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “เช้าเย็นคืนเฝ้าฝ่ายหลัง” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “เช้าเย็นเข้าเฝ้าภายหลัง”
[๑๕๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “อย่าทำเท็จทูล”
[๑๖๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “หนึ่งรักชีพิตไฉนจง”
[๑๖๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ร่วมรสสมศรี”
[๑๖๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อย่าอยู่เกษมถาวร” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “อย่ายุคนเกศเกลากลาย”
[๑๖๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เมื่อทรงประชวรอาทร แนบนั่งถวายกร ทูลปลอบให้ท้าวเสวยยา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ไม่ปรากฏความบาทที่สาม “ทูลปลอบให้เสวยซึ่งยา” และความถัดไปอีก ๙ บท จนถึง “บังคมยุคลบาทา” แสดงว่าความที่คัดลอกในหนังสือสมุดไทยฉบับนี้ตกหล่นจากฉบับอื่น ๆ
[๑๖๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๙ ว่า “จักปลื้มพระทัยชื่นชม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “จักปลื้มประดิพัทธ์ชื่นชม”
[๑๖๕] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ต่างกันในบาทที่สามว่า “... ... จะตรัสใช้ โดยควร” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรกว่า “ถ้าตื่นตั้งโสตสดับฟัง... ...” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ จะต่างกันที่บาทแรกและ บาทที่สามว่า “ถ้าเดินตั้งโสตสดับฟัง... จะตรัสใช้ได้โดยควร”
[๑๖๖] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที ๗๓ และ ๗๘-๗๙ แตกต่างกันที่บาทแรกว่า “แท่นประทมกฤษฎางค์อย่างกระบวน ... ...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ จะต่างกันที่บาทที่สองว่า “...ต่ำสูงไม่ควร...”
[๑๖๗] ความในบทนี้ต่างกันในบาทที่สองและสามดังนี้ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ๗๘ ว่า “...อย่าทระนงใน แลเกลือกจะรังเกียจกล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๙ ว่า “...อย่าทำทะนงใจ เกลือกจะรู้จะเคียดเกลียดกล”
[๑๖๘] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗-๗๘ แตกต่างกันที่บาทที่สองว่า “...สงวนรักจงดี...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ต่างกันทั้งบทว่า “เช้าค่ำอย่าเกรงสวามี สงวนรักจงดี จงรู้สิ่ง สบายมิสบาย”
[๑๖๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ถ้าทรงสำรวลสำราญ นั่งน้อมกฤษฎาญ...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ต่างกันเฉพาะบาทที่สองว่า “...นอบนั่งกฤษฎาญ...”
[๑๗๐] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ทูลแถลงประดิโลมเสนหา ปรนนิบัติภัสดา จงชอบประโลมยินดี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ เริ่มปรากฏใจความในบทนี้ (จากหน้า ๓๒๘) แต่บาทแรกใจความไม่สมบูรณ์ว่า “...แถลงเสน่หา” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทที่สองว่า “...ประพฤติกามา...”
[๑๗๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อย่าแข็งขัดขืนท่วงที”
[๑๗๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ค่อยค่อยถนอมตระกอง โดยเล่ห์ลำนอง ทำนุบำรุงเลื่อมใส” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ต่างกันที่บาทแรกและบาทที่สองว่า “กรค่อยถนอมกรกอง โดยเลศลำนอง...” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “ค่อยค่อยถนอมประคอง โดยเล่ห์ลำนอง ทำนุบำรุงเลื่อมใส” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ต่างกันที่บาทที่สอง ซึ่งความตรงกับเลขที่ ๗๔ ว่า “...โดยเลศลำนอง...”
[๑๗๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรก ซึ่งใช้คำว่า “หฤทัย” แทนคำว่า “ฤาทัย” ส่วนบาทที่สองเฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ใช้คำว่า “วัชนี” แทนคำว่า “พัชนี”
[๑๗๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “สำหรับราชา”
[๑๗๕] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “หนึ่งมีพระราชประสงค์สาวสนมโดยจง อนุญาตอย่าได้ขัดขวาง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันเฉพาะบาทที่สองว่า “... สาวสนมโดยจง ...”
[๑๗๖] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทสองและสามว่า “... อย่าทำช้อยคาง ชำเลืองหางตาดูตาม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “กฤษฎางค์” แทน คำว่า “ปฤษฎางค์” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ไม่ปรากฏความบทนี้ ถึง “ปริ่มบางแลห้วยโตรกธาร” รวม ๔ บท
[๑๗๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อย่างนี้ทุจริตไม่งาม เห็นแยบกลความเป็นทางประหวัดหวงหึง”
[๑๗๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “แม้ไปสุดมุ่งรำพัน”
[๑๗๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกับฉบับอื่น ๆ คือ ไม่มีความบทนี้ปรากฏรวม ๑๓ บท ตั้งแต่ว่า “ดุจน้ำนองเนืองไหลหลาย ลั่นแทรกแพร่งพราย ปริ่มบางแลห้วยโตรกธาร”... จนถึงว่า “เป็นนางเอกอัครชายา จงรู้รักษา พระองค์แลองค์ภูวไนย” แต่ความที่ปรากฏจะคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงคำในบาทเท่านั้น เช่น หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “อย่าทะนงหวงแหนท้าทาย ขืนน้ำใจชาย สิ่งนี้ บ ควรเลยนา” ส่วนหนังสือ สมุดไทย เลขที่ ๗๘ ต่างกันเฉพาะบาทแรกใช้คำว่า “ทักทาย” แทนคำว่า “ท้าทาย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันเฉพาะบาทที่สองว่า “ลั่นแพรกแพร่งพราย”
[๑๘๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ต่างกันเฉพาะบาทแรก ใช้คำว่า “เชยสถาน” แทนคำว่า “เชยสนาน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทแรกและบาทสองว่า “มัตสยาเพลินเชยสถาน แถกไว้วิสดาร ...” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ต่างกันที่บาทที่สองและสามว่า “... แหวกว่ายวิสดาร เดินตามกระแสสายสินธุ์”
[๑๘๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “หอบแห้งโดยถวิล”
[๑๘๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๗ และ ๗๙ ว่า “ครั้นคลายรสาสมสอง”
[๑๘๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “เชื่อเอาน้ำจิตสวามี”
[๑๘๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “พระแขไขแสงโภชนา มีดวงดารา ประดับดาพริ้มพรายโพยม”
[๑๘๕] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๗ และ ๗๙ บาทที่สองว่า “นัสลืมโลม” (ใช้คำว่า “โลม” แทนคำว่า “ประโลม”) ส่วนบาทที่สามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๙ ว่า “ด้วยสาวสุรางค์นองเนือง”
[๑๘๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “เกียรติทั่วภพไตร” (ไม่ใช้คำว่า “พระเกียรติ”)
[๑๘๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “หนึ่งเมื่อสมเด็จภัสดา ทรงพระกรุณา ...”
[๑๘๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อดิเครื่องโปรดประทาน”
[๑๘๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อย่าขืนแข็งขัดทัดทาน ทูลเสร็จอาการ ...”ส่วนหนังสือ สมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ คำว่า “ทักทูล” ในบาทที่สอง ใช้ว่า “ทัดทูล” แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ จะแตกต่างกันเล็กน้อยที่บาทที่สอง ใช้คำว่า “ทัด” แทนคำว่า “ตรัส” และที่บาทที่สาม จะไม่มีคำว่า “ทาง” ปรากฏในความนี้
[๑๙๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เกลือกเฉลียวทรงพระโกรธา ... จะติดเป็นมูลมลทิน” ซึ่งความในบาทที่สามนี้เหมือนกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔
[๑๙๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “ธิราช” แทนคำว่า “วรราช” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “วรราชได้ติเตียน”
[๑๙๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ประชุมชาวคณาพระสนม พี่เลี้ยงนางนมแลนางดุริยางคดนตรี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทแรก และบาทที่สองว่า “ประทุมชาพระสนม พี่เลี้ยงนางนม ...” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ จะเหมือนกับเลขที่ ๗๖ เฉพาะบาทแรกและบาทที่สาม
[๑๙๓] หนังสือสมุดไทย ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “ทั้งนางนักเทศน์ขันที” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทที่สองว่า “... ใช้สอยจงดี ...” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่ในบาทแรกจะต่างกันว่า “หนึ่งทวยนักเทศน์ขันที”
[๑๙๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรกและบาทที่สามว่า “อย่าควรลำเอียงเดียดฉันท์ ... ชอบทูลทุเลาอ้อนวอน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ต่างกันเฉพาะบาทที่สามว่า “... ชอบทูลละเล้าอ้อนวอน ...”
[๑๙๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๗ และ ๗๙ ว่า “หนึ่งจงตรัสเตือนพัทธกา แต่งวรโภชนา ...”
[๑๙๖] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “สุวรรณ” แทนคำว่า “สุพรรณ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทที่สองใช้คำว่า “จาน” แทนคำว่า “ชาม”
[๑๙๗] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันเฉพาะบาทแรกว่า “ตบแต่งตามอย่างกระบวน ... ...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “ขบวน” แทนคำว่า “กระบวน” และบาทที่สามไม่ปรากฏคำว่า “ให้” ในความนี้
[๑๙๘] ความบาทนี้ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “เพียบ” แทนคำว่า “เฟี้ยม”
[๑๙๙] ความบาทนี้ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๘ ว่า “คือส้มมันเปรี้ยวหวานขม ... ...” ส่วนในบาทที่สามหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ว่า “ดำรงให้ชอบพระทัย” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “บำรุงให้” แทนคำว่า “บำเรอจง” หรือ “ดำรงให้”
[๒๐๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “น้ำเสวยสุทธ์ใส” ส่วนบาทที่สามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “กลาดสุคนธกำจร”
[๒๐๑] ความในบทนี้หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๗ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรกว่า “โขมพัตถ์ภูษาอลงกรณ์” และบาทที่สามไม่ปรากฏคำว่า “อบ” ในความดังกล่าว ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทที่สามว่า “... ... จำเริญอบรมเอาใจ”
[๒๐๒] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ต่างกันที่บาทแรก และบาทที่สามว่า “เพลา ล่วงแสงพระอุทัย ... ประจำนิเวศวรสถาน” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ แต่ในบาทแรกจะใช้คำว่า “พระไถง” แทนคำว่า “พระอุทัย” ส่วนบาทที่สามในหนังสือสมุดไทย ลขที่ ๗๙ ปรากฏว่าใช้คำว่า “วังสถาน” แทน คำว่า “วรสถาน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทแรกและบาทที่สามว่า “เพลาย่ำแสงพระสุริย์ใส ... นิวัตินิเวศอันธการ”
[๒๐๓] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “จำตรัสตักเตือนพนักงาน ... ...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ต่างกันที่บาทที่สองว่า “... แต่งห้องมโหฬาร ...” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ และ ๗๙ แต่ใช้คำว่า “มเหาฬาร” แทนคำว่า “มโหฬาร”
[๒๐๔] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทที่สามว่า “ตั้งวางวิตถารจงควร” นอกนั้นต่างกันที่บาทแรกคือ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ปูพระวิสัชนิพรม” ซึ่งไม่ได้ความหมาย ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖-๗๗ และ ๗๙ ว่า “ปูพระวิสุทชนิพรม”
[๒๐๕] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “กระบวน” แทนคำว่า “ขบวน” และบาทที่สามใช้คำว่า “มาลา” แทนคำว่า “มะลิ” ส่วนหนังสือ สมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่ บาทที่สองและสามว่า “...พู่กลิ่นกลิ่นหวน ประดับประดาอาเกียรณ์”
[๒๐๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ห้อยย้อยระย้าโคมเวียน”
[๒๐๗] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทที่สองใช้คำว่า “ยุบาล” แทนคำว่า “ภูบาล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ต่างกันที่บาทที่สามใช้คำว่า “จะ” แทนคำว่า “จง” เช่นเดียวกับหนังสือ สมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ แต่ความต่างกันว่า “... ... ด้วยน้ำอันหอมอบตรอง”
[๒๐๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ล้างลูบบัวบาททั้งสอง หมดกมลละออง อัญเชิญยังแท่นทองพราย” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ แต่ต่างกันในบาทแรก ซึ่งใช้คำว่า “เบื้อง” แทนคำว่า “บัว” และบาทที่สาม คำว่า “อัญเชิญ” ใช้ว่า “เชิญ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ว่า “สำหรับองค์วิศร สุทธิรื่นหอมขจร ล้างลูบวรบาททั้งสอง” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่ต่างกันบ้างในบาทแรกและบาทที่สองว่า “สำหรับบรมองค์อิศร สุทธรินหอมขจร ...”
[๒๐๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ไม่ปรากฏความรวม ๔ บท นับแต่บาทนี้ แต่คงปรากฏความเพียงบทเดียวว่า “เมื่อทรงศรีวิลาสสบาย ตามโลกหญิงชาย ปรนนิบัติให้ชอบเชิงกาม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ต่างกันที่บาทแรก ใช้คำว่า “พื้นผ่อง” แทนคำว่า “พื้นทอง” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ แต่ใช้ คำว่า “ผืนผ่อง” แทน
[๒๑๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “เสด็จ” แทนคำว่า “เกษม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทที่สองใช้คำว่า “พระพักตร์คือบง-” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ต่างกันที่บาทที่สาม ปรากฏไม่มีคำว่า “แล” ในบาทดังกล่าว
[๒๑๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖ และ ๗๙ ว่า “ทรงพระเสสรวลสบาย” (ไม่ปรากฏคำว่า “แสน” ในบาทดังกล่าว)
[๒๑๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ต่างกันที่บาทที่สองว่า “ที่สุดมโนนาง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า“ปฏิบัติ” แทนคำว่า “ปรนนิบัติ”
[๒๑๓] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “สมโยค” แทนคำว่า “สังโยค” โดยเฉพาะเลขที่ ๗๓ ไม่ปรากฏคำว่า “สอง” ในบาทดังกล่าว และในบาทที่สามจะใช้คำว่า “เคล้น” (น่าจะเป็น “เคลิ้ม”) แทนคำว่า “เพิก” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ (ซึ่งต่างกับเลขที่ ๗๘) ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ต่างกันเฉพาะบาทที่สามว่า “อย่าเคลิ้มหลับก่อนสวามี”
[๒๑๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ละอองเรือดไรภัยพาล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “ระวังระไวภัยพาล”
[๒๑๖] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “เมื่อใกล้รุ่งราตรีกาล คืนก่อนภูบาล สั่งชาวพนักงานซ้ายขวา” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ แต่ต่างกันที่บาทที่สองใช้คำว่า “ตื่น” แทนคำว่า “คืน” และบาทที่สามใช้คำว่า “สรง” แทนคำว่า “สั่ง” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทที่สามว่า “สั่งสารชาวเวรซ้ายขวา” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่ใช้คำว่า “สาว” แทนคำว่า “สาร”
[๒๑๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เตรียมเครื่องบ้วนพระโอษฐ์ราชา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖ และ ๗๙ ใช้คำว่า “โอษฐา” แทนคำว่า “โอ่อ่า”
[๒๑๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “จงแต่งพานพระศรีศุภผล” ส่วนบาทที่สามของบทนี้เฉพาะฉบับที่ ๗๘ ปรากฏใช้คำว่า “เมื่อเมื่อ” แทนคำว่า “เมื่อ”
[๒๑๙] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “กิจนี้เป็นการอุดม จำไว้ทรามชม เป็นศรีสวัสดิ์กษัตรี” (ในบาทที่สองน่าจะเป็นคำว่า “ทราบ” แทนคำว่า “ทราม”) ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖-๗๗ ต่างกันเฉพาะบาทแรกใช้คำว่า “อนุกรม” แทนคำว่า “นุกรม” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่ใช้คำว่า “ปฏิบัติ” แทนคำว่า “ปรนนิบัติ”
[๒๒๐] ความในบทนี้แตกต่างกันดังนี้ : หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันเฉพาะบาทที่สามว่า “ตรีทางจัตุรงคเสนา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ต่างกันที่บาทที่สองใช้คำว่า “พิถี” แทนคำว่า “วิถี”
[๒๒๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “ตามเสด็จสมเด็จพระภัสดา” และบาทที่สาม ใช้คำว่า “ประนัง” แทนคำว่า “หน้าหลัง”
[๒๒๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เยี่ยมพักตร์เล็งแลรี้พล”
[๒๒๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕-๗๖ และ ๗๙ ใช้คำว่า “ไป่” แทนคำว่า “ไม่” ความในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ เริ่มปรากฏตั้งแต่บทนี้ แต่ในบาทแรกความเลือนเริ่มปรากฏคำว่า “... ริมถนน” เป็นต้นไป และต่างกันที่บาทที่สามไม่ปรากฏคำว่า “นาง” ในความดังกล่าว
[๒๒๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ทราบถึงพระกรรณพระองค์ เกรงเกลือกจักทรง รังเกียจแหนงพระทัย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “... ผิวเกลื้อนจักทรง รังเกียจซึ่งความสงสัย” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทแรกและบาทที่สองว่า “ราษฎร์จะถึงวรกรรณพระองค์ เยียเกลือกจะทรง ...” ซึ่งความในบาทที่สองเช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ และ ๗๙
[๒๒๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “แม้นมาตรไม่ตรัสสิ่งใด ... สิ่งนี้ บ ควรคิดถวิล” หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ก็เช่นเดียวกัน แต่บาทที่สองจะต่างกันใช้คำว่า “จง” แทนคำว่า “จะ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “มาตรว่า มิตรัสสิ่งใด ... สิ่งนี้จงควรคิดถวิล” ซึ่งความหมายในบาทที่สามนี้ปรากฏในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ เช่นกัน แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ จะต่างกันว่า “สิ่งนี้เจ้าควรคิดถวิล”
[๒๒๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เมื่อเสด็จสถิตปรางค์นรินทร์ ละห้อยกามิน ด้วยแสงสุริยวาตา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “... ระทวยกายิน ด้วยอายสุวียวาตา” ซึ่งความในบาทที่สามไม่น่าจะใช่ แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทที่สอง ใช้คำว่า “ละห้อย” แทนคำว่า “ละห้วย” และในบาทที่สามไม่ปรากฏคำว่า “อาย” ในความ ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทที่สาม ใช้คำว่า “สุรินท” แทนคำว่า “สุริย”
[๒๒๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “แม้นมีกิจธุระหนักหนา อย่ายืนเจรจา ทูลความจะเสียท่วงที” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๗ และ ๗ ๙ ต่างกันที่บาทที่สามว่า “... จะเคืองพระราชฌาสัย” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “อาศัย” แทนคำว่า “อัชฌาสัย” หรือ “ฌาสัย”
[๒๒๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ไม่ปรากฏความบทนี้ และถัดไปอีก ๒ บท (รวม ๓ บท) หมายเลข (๑) ถึง (๓) ตั้งแต่ “เมื่อสบายบันเทิงหฤทัย” ... “ทรงพระดำริจงดี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทแรก และบาทที่สามว่า “เมื่อสบายบันเทิงพระทัย ... คอยไขโอกาสจึ่งทูล” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ซึ่งต่างกัน เฉพาะในบาทแรก ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ต่างกันในบาทที่สาม โดยความคลาดเคลื่อนว่า “คอยโอกาสจึ่งทูล” คือไม่ปรากฏคำว่า “ได้” หรือ “ไข” ในความดังกล่าว
[๒๒๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “โดยถ้อยทางความตามูล นั้นจักบริบูรณ์ มโนรสาสมการ” ซึ่งความในบาทที่สามนี้เหมือนกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ และ ๗๙ ส่วนบาทที่สามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันว่า “มโนรักษาสมการ”
[๒๓๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “อย่าเสียจริตโบราณ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “บุราณ” แทนคำว่า “โบราณ”
[๒๓๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ต่างกันว่า “พระญาติพระวงศ์ทรงชรา”
[๒๓๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “ทำ” แทนคำว่า “ธรรม” ซึ่งไม่น่าจะใช่ และบาทที่สามว่า “ทุกทั่วจะยอมสาธุการ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “ศรัทธา” แทนคำว่า “สัตยา” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทสามว่า “ทุกเทพจักซ้องสาธุการ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ไม่ปรากฏความในบทนี้และถัดไป (รวมสองบท) หมายเลข (๕) – (๖) ตั้งแต่ “โดยชอบธรรมแท้สัตยา” ... “ในมุขมงคลทั้งหลาย”
[๒๓๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “พระยศลือชาทั่วจักรวาล” และบาทที่สองว่า “ศรีสวัสดิ์สำราญ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “พระยศยิ่งจักไพศาล ศรีสวัสดิ์สำราญ เป็นมิ่งมงคลทั้งหลาย” แต่ความในบทนี้ไม่ปรากฏในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๙
[๒๓๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “มาตรว่าข้าทาสหญิงชาย อยู่ในหมวดหมาย ทุรภาพพิกล แก่ชรา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทที่สาม ใช้คำว่า “ทุรพล” แทนคำว่า “ทุพพล”
[๒๓๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เถ้าแก่กรุณา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่ บาทที่สาม ใช้คำว่า “เอาไว้” แทนคำว่า “เอาใจ”
[๒๓๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗-๗๘ ว่า “อย่ากริ้วโกรธาฟุนไฟ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ต่างกันที่บาทที่สาม ใช้คำว่า “ว่าด้วย” แทนคำว่า “ด่าด้วย”
[๒๓๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรก ว่า “มักอึงมักคุกคำราม ส่วนบาทที่สามว่า “จะหมองนวลพักตรา” และ “จะหมองจะมัวพักตรา” ตามลำดับ แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ต่างกันที่บาทที่สอง ใช้คำว่า “สิน” แทนคำว่า “ศรี”
[๒๓๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๖ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทแรก ใช้คำว่า “บิดุ” แทนคำว่า “บิตุ” และบาทที่สามในสองฉบับแรกว่า “ประสิทธิล้ำภพไตร” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ส่วนฉบับหลังใช้คำว่า “ทั่ว” แทนคำว่า “ล้ำ” หรือ “ยิ่ง” และในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ – ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “บิดา” แทน แต่เฉพาะฉบับเลขที่ ๗๗ บาทที่สามว่า “ประสิทธิล้ำเลิศภพไตร”
[๒๓๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ต่างกันที่บาทที่สองว่า “แต่น้อยเท่าใหญ่” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันที่บาทที่สามว่า “พระคุณท่านสุดแสนทวี”
[๒๔๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันในบาทแรกคือ ไม่ปรากฏคำว่า “เรา” ในความ ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทที่สามว่า “เป็นมิ่งมงคลครองตัว” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ จะใช้คำว่า “นาม” แทนคำว่า “ตัว”
[๒๔๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “นามชื่อว่ากษัตรีมีผัว... แลเห็นแก่โลกทั้งหลาย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ความปรากฏในบาทแรกไม่ครบคำประพันธ์ว่า “ชื่อกษัตรีมีผัว” และต่างกันที่บาทที่สามว่า “เห็นงามแก่โลกทั้งหลาย” ซึ่งไม่ปรากฏคำว่า “ตา” ในความดังกล่าว เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “แต่” แทนคำว่า “แก่”
[๒๔๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ต่างกันที่บาทแรกและบาทที่สามว่า “เป็นที่สงวนรักเสียดาย ...แสงแก้วจะวับเงางาม”
[๒๔๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๖ – ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “แม้น” แทนคำว่า “แม้” และบาทที่สามยกเว้นฉบับที่ ๗๗ จะไม่ปรากฏคำว่า “จะ” ในความดังกล่าว
[๒๔๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ดุจแหวนพลัดพรากจากหัว ย่อมเป็นคนชั่ว ชนะจักเย้ยสังขาร์” นอกนั้นต่างกันที่บาทที่สาม คือ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๙ ใช้คำว่า “สังขาร์” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “กังขา” แทนคำว่า “ครหา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “จะเยาะกระซิบนินทา”
[๒๔๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันในบาทแรกว่า “จักกันซึ่งความครหา” และบาทที่สามใช้คำว่า “สัตรี” แทนคำว่า “กษัตรี” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “รักกลความควร... ...” ซึ่งความในบาทแรกไม่ครบความ และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ – ๗๗ ว่า “จะกันควันความครหา” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “จะกันควรความครหา... ยากนักในกษัตรี” บาทสุดท้ายไม่ปรากฏคำว่า “อก”
[๒๔๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “สบใจ” และ “สมใจ” แทนคำว่า “ชอบใจ” ในบาทแรก ส่วนบาทที่สองหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “หยิกตี” แทนคำว่า “ทุบตี”
[๒๔๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “... มลเมฆกลบหาย รัศมีก็มัวมืดมิน” ซึ่งความบาทที่สามเช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ – ๗๕ และ ๗๙ ความบาทแรกคำว่า “พรายพราย” แทนคำว่า “พราย” และบาทที่สองเฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ – ๗๕ ใช้คำว่า “หม่นเมฆ” และ “มืดเมฆ” แทนคำว่า “มลเมฆ” นอกนั้นต่างกันที่บาทที่สาม เช่น หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “รัศมีก็มัวมลทิน” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “รัศมีมัวมืดทมิฬ” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “รัศมีก็มัวราคิน”
[๒๔๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “สตรีโฉมเฉิดเลิศฉิน แปดปนมลทิน...”
[๒๔๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๕ – ๗๖ และ ๗๘ – ๗๙ ใช้คำว่า “แม้น” แทนคำว่า “แม้” ในบาทแรก และในบาทที่สองของหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “กระบิ” แทนคำว่า “กระบือ” ซึ่งไม่น่าจะใช่
[๒๕๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “แก่” แทนคำว่า “กาล” และบาทที่สามเฉพาะฉบับที่ ๗๘ ใช้คำว่า “ตั้งแต่” แทนคำว่า “คงแต่” ส่วนในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “คงอยู่แต่ความชั่วดี”
[๒๕๑] หนังสือสมุดไทย ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันในบาทแรกว่า “หญิงเป็นมเหสีกษัตรา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ยิ่งเป็นเหง้าองค์กษัตรา ... กฎทั่วแคว้นความอาย” ซึ่งความบาทหลังเช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ความไม่สมบูรณ์ว่า “กฎแคว้นความอาย” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “เยี่ยงเป็นเหง้าวงศ์กษัตรา... กฎจบทั่วแคว้นความอาย” นอกจากนี้ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ – ๗๗ ความในบาทแรกใช้คำว่า “เหง้าวงศ์” แทน
[๒๕๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “เป็นคนคิดดีใส่กาย แม้นม้วยคนเสียดาย ออกชื่อแล้วจักวันทา” ความคล้ายคลึงกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “เป็นคิดดีใส่กาย แม้นม้วยเลยดาย...” เฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ในบาทแรกว่า “แม้ม้วยคนเสียดาย” หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “แม้นม้วยคนเสียดาย ออกชื่อจะยอวันทา” ซึ่งบาทหลังความเช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ เฉพาะเลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “ยอม” แทนคำว่า “จะ” แต่บาทที่สองต่างกันใช้คำว่า“สะดาย” แทนคำว่า “เสียดาย” ซึ่งไม่น่าจะใช่
[๒๕๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ความในบาทแรกต่างกันว่า “ราชกษัตรีน้องอา” และเลขที่ ๗๙ ว่า “ราชกิจกษัตรี ณ น้องอา” ส่วนความที่ปรากฏต่างกันในบาทที่สอง เช่นหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ว่า “พี่จักสอนจงจำใส่ใจ” และ “พี่สอนเจ้าจงจำใส่ใจ”
[๒๕๔] เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันในบาทแรกใช้คำว่า “เปิด” แทนคำว่า “เบิก” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ต่างกันในบาทที่สองว่า “เยี่ยมพักตร์พาดไป”
[๒๕๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “อย่าแถลงส่งเสียงสำราญ...” ซึ่งความไม่น่าจะใช่ เพราะผิดสัมผัสในบาทที่สอง ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “อย่าแถลงลงเสียงสำรวล”
[๒๕๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “นั่งเดินอย่าด่วนโครมคราม พลาดพลั้งกลางสนาม...” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “อย่าย่างเดินด่วนโครมคราม พลางพลัดกลางสนาม...”
[๒๕๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๘๖ – ๗๙ ว่า “อย่ากรายกรีดนิ้วดูแหวน อย่านาดสุดแขน” ส่วนบาทที่สามแตกต่างกัน คือ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อย่ายกซึ่งเบื้องผ้าสไบ” เลขที่ ๗๖ ว่า “ยกย่างชำเลืองชายสไบ” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “ซ้ายใน” แทนคำว่า “ชายสไบ”
[๒๕๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “อย่าเดินทัดดอกมาลา”
[๒๕๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “อย่าเดินยืนย่างยักตน” ส่วนบาทที่สอง เฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “หัวเราะริมถนน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “อย่าเดินเยื้องย่องยักตน... สะกิดเพื่อนเล่นไปพลาง” แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔, ๗๖ และ ๗๙ บาทที่สามว่า “สะกิดเพื่อนพูดเล่นไปพลาง”
[๒๖๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๕ ต่างกันที่บาทแรกว่า “อย่าเดินเผยผ้าห่มนาง” และ “อย่าเดินเผยผ้านุ่งนาง” ตามลำดับ แต่บาทที่สามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ต่างกันที่ไม่ปรากฏคำว่า “แล” ในความดังกล่าว
[๒๖๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อย่าเปลี่ยวเหลียวเปล่าอุรา... ค่อยย่องค่อยตามกระบวน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “เปล่าเปลี่ยว” แทนคำ “เปลี่ยวเปล่า” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ บาทที่สามใช้คำว่า “กระบวน” แทนคำว่า “ขบวน”
[๒๖๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “... อย่าแย้มสำรวล ตอบถ้อยคค่อยเขินใจ” แต่เลขที่ ๗๘ บาทหลังใช้คำว่า “ค่อย”แทนคำว่า “คค่อย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ บาทที่สามต่างกันใช้คำว่า “ด้วย” แทนคำว่า “ขวย” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “สะเทินใจ” แทนคำว่า “เขินใจ”
[๒๖๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “เดินตามกิริยาอฌาสัย ... ทรวงอกทะมิดนมนาง” ซึ่งบาทแรกปรากฏความเช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ – ๗๗ ใช้คำว่า “ฌาสัย” แทน ส่วนความในบาทที่สามหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ไม่ปรากฏคำว่า “ปก” ในความ (“ระวังปิดนมนาง”) แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “ทรวงอก บ่ ทะมิดนมนาง”
[๒๖๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ลุกนั่งระวังขัดขวาง” นอกนั้นหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ – ๗๕ และ ๗๙ ว่า “ลุกนั่งระวังผ้าขัดขวาง” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ลุกนั่งระวังถ้าขัดขวาง” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “พา” แทนคำว่า “ผ้า” หรือ “ถ้า”
[๒๖๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “เป็นทุจริตอัปรีย์”
[๒๖๖] หนังสือสมุดไทยทุกฉบับใช้คำว่า “กระได” แทนคำว่า “บันได” ในบาทแรก ส่วนบาทที่สามหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “อย่าแวะนั่งพลอดเรือนคน” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ไม่ปรากฏคำว่า “พลอด” ในความ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้ว่า “นั่งเร่” แทนคำว่า “เร่นั่ง” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “พูด” แทนคำว่า “พลอด”
[๒๖๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “อย่านอนใต้ร่มไม้ชายถนน” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “นั่ง” แทนคำว่า “นอน” ส่วนบาทที่สามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “ศาลา” แทนคำว่า “ชาลา”
[๒๖๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “นามชื่อลับลืมสัตยา” และ “นามชื่อลับลืมสัญญา” ส่วนบาทที่สามว่า “ปากคนจะเฉี่ยวฉินสรวล” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ใช้คำว่า “นินทา” แทนคำว่า “ฉินเฉย” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “เฉลย” แทนคำว่า “เฉย”
[๒๖๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “สำราญ” แทนคำว่า “สำรวล” ซึ่งไม่น่าจะใช่เพราะไม่ตรงสัมผัส ส่วนบาทที่สองในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ใช้คำว่า “ดังนั้น” แทนคำ “ดังนก” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “หนึ่งโสดแม้นจักสำรวล ดังหนักไม่ควร หัวเราะค่อยพอสบาย”
[๒๗๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้ว่า “แม้” แทนคำว่า “แม้น” ในบาทแรก ส่วนบาทที่สองในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้ว่า “หนัก” แทนคำว่า “นัก” และหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ไม่ปรากฏคำว่า “มัก” ในความ ส่วนบาทที่สามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “เงาฟันจะเศร้าหมองแสง” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ – ๗๗ ใช้คำว่า “เสีย” แทนคำว่า “ศรี”
[๒๗๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๖ และ ๗๘ – ๗๙ ต่างกันที่บาทแรกว่า “แม้นจามค่อยจามอย่าแรง” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๗ ใช้คำว่า “แม้” แทนคำว่า “แม้น” ทั้งบาทแรกและบาทที่สอง เฉพาะฉบับที่ ๗๗ ใช้คำว่า “อย่า” ส่วนบาทที่สองในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “แม้นมีกิจจะแถลง”
[๒๗๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๗ ใช้คำว่า “แม้” แทน ส่วนบาทที่สองและสามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “... คิดถึงงานการ มือทำปากว่าจึงดี”
[๒๗๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “กินน้อยรูปผอมเสียศรี ...” และบาทที่สามเฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ว่า “แต่ควรประมาณดูงาม” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “ซูบซูบ” แทนคำว่า “ซูบเนื้อ” ในบาทแรก
[๒๗๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “จะเดินจะนั่งทั้งสาม” และบาทที่สามว่า “กิริยาจงพร้อมเสมอสมาน” ซึ่งความในบาทที่สามนี้เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ใช้ว่า “อิริยาบถ” แทนคำว่า “อิริยา” หรือ “กิริยา” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ในบาทแรกต่างกันตรงใช้คำว่า “จัก” แทนคำว่า “จะ”
[๒๗๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทแรกว่า “จะสบายเส้นสายสำราญ” ส่วนในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “จัก” แทนคำว่า “จะ” ในบาทแรก และบาทที่สามต่างกันว่า “จะพูนความสุขทุกวัน” เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘
[๒๗๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรก ความที่ปรากฏไม่มีคำว่า “รู้” หลังคำว่า “เรียน” ส่วนในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๗ ใช้คำว่า “แม้” แทนคำว่า “แม้น” แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ต่างกันที่บาทที่สามว่า “ครั้นคร้ามก็เสียแรงเรียน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “ความ” แทนคำว่า “คร้าน” ซึ่งความไม่น่าจะใช่
[๒๗๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “มาตรว่าเก็บปักวาดเขียน” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๘ ใช้ว่า “ทว่า” แทนคำว่า “ว่า” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “กระบวน” แทนคำว่า “ขบวน”
[๒๗๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกและบาทที่สามว่า “รู้กาพย์รู้กลเจรจา ... รู้กันรู้รักษาตัว”
[๒๗๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ไม่ปรากฏคำว่า “ทำ” ในความดังกล่าวว่า “ยิ่งกว่าเสน่ห์เล่ห์กล”
[๒๘๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ บาทที่สามว่า “ถือศีลศรัทธ์ทำบุญ” ซึ่งความไม่ครบลักษณะคำประพันธ์ ส่วนบาทแรกในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “รักสัตย์อุตส่าห์เสงี่ยมตน”
[๒๘๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ และ ๗๙ ว่า “รักสัตว์ของเลี้ยงสิ่งใด”
[๒๘๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ใบยอดยายี”
[๒๘๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “รักคนคนเห็นแต่จะกิน” ส่วนบาทที่สามในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “อุดชู” แทนคำว่า “อูชู”
[๒๘๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ปรากฏมีคำว่า “ได้” ในความดังกล่าวว่า “ใช้สอยสิ่งใดได้ง่ายดาย” ซึ่งคำเกินโดยไม่จำเป็น
[๒๘๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “บุกคน” แทน ซึ่งไม่น่าจะใช่ ส่วนในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “จัก” แทนคำว่า “จับ”
[๒๘๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ บาทแรกว่า “พี่สอนนวลนาถนารี” และบาทที่สามไม่ปรากฏคำว่า “สิ่ง” ในความดังกล่าวว่า “จำไว้เป็นสถาพร” แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “ศรี” แทนคำว่า “สิ่ง”
[๒๘๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันว่า “แม้อยู่ตามคำพี่สอน ทุกเทพนิกร จะอวยพระพรมงคล” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๗ ต่างกันที่บาทแรกใช้คำว่า “แม้” แทน และในบาทที่สามซึ่งความในหนังสือสมุดไทยต่างกันดังนี้ เลขที่ ๗๔ ว่า “จะอวยยอมิ่งมงคลไป” และเลขที่ ๗๕ ว่า “จะอวยมิ่งมงคล”
[๒๘๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ไม่ปรากฏความบทนี้ ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความต่างกันว่า “กษัตริย์ถ้วนทิศทุกข์ทน ทั่วเทพเล็งยล ย่อมล้วนจะยอยศไกร” แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ต่างกันในบาทแรก และบาทที่สองว่า “กษัตริย์อัษฎทิศทุกหน นรโลกเล็งยล ...”
[๒๘๙] ความบทนี้แตกต่างกันในบาทที่สองและสาม คือ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “... เบิกบานพระทัย ยกยอสรรเสริญสาธุการ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “สิริ” และเลขที่ ๗๙ ใช้ว่า “ศีรษะ” แทนคำว่า “ศิร” ในบาทที่สาม
[๒๙๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “จำเริญสุขเนานาน ไม่มีเวศม์ฐาน ตราบวิโยคเมื่อมรณ์” คือ ความในบาทแรกไม่ปรากฏคำว่า “จัก” และบาทที่สามไม่ปรากฏคำว่า “เท่า” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๙ ต่างกันในบาทที่สามว่า “ตราบวิโยคเมืองมรณ์” ซึ่งไม่มีคำว่า “เท่า” เช่นกัน
[๒๙๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๕ และ ๗๘ ใช้คำว่า “วรราช” แทนคำว่า “วรนาถ”
[๒๙๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “วร” แทนคำว่า “พร” ส่วนบาทหลังในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “วโรวาทพระนาง”
[๒๙๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ประไพพักตรเปรียบปราง” ส่วนบาทหน้าในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “เอมอร” แทนคำ “เอมอ่อน”
[๒๙๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “บังคมลา” เช่นเดียวกับฉบับที่ ๗๕ – ๗๗ และ ๗๙ ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ก็จบบาทประคมลา” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ และ ๗๙ ใช้ว่า “ก็จบบาทบังคมลา” ต่างกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ใช้ว่า “จบหัตถ์” แทน
[๒๙๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “สู่ที่พิมานมน- เทียรรัตนไสยา”
[๒๙๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ดับโศกอุโรสา- ทรเรศผดุงองค์” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ บาทแรกว่า “ดับโลกประโมชา ฤๅทัยนาถผดุงองค์” ซึ่งบาทหลังใช้คำว่า “ฤาทัย” เช่นเดียวกับฉบับที่ ๗๕ และ ๗๙
[๒๙๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ – ๗๖ ใช้คำว่า “ศีลา” แทนคำว่า “ศิลา”
[๒๙๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทหลังว่า “บ เว้นว่างก็ขวนขวาย” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๗ ไม่ปรากฏคำว่า “จะ” หรือ “ก็” แต่เลขที่ ๗๙ ใช้ว่า “เร่ง” แทน ส่วนหนังสือสมุดไทยที่ต่างกันในบาทแรก ได้แก่ เลขที่ ๗๕ ว่า “ทุกยามที่ว่าวน” และเลขที่ ๗๖ ใช้คำ “ทิวาวาร” แทน
[๒๙๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ – ๗๙ ว่า “สะเดาะกรรมอันมี”
[๓๐๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗ – ๗๙ ไม่ปรากฏความทั้งบท คือตั้งแต่ “ทรงลักขณาเนา ... ชุลิตน้อม นิรันดร” แต่หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “ชุลี” แทน “ชุลิต”
[๓๐๑] เฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ปรากฏคำว่า “วัน” ในความ “วันหนึ่งวันประดับโฉม” ส่วนความในบาทหลังในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันว่า “... วรราชเทพี”
[๓๐๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันว่า “ขึ้นเฝ้าธิเบศศรี บพิตรราชทรงธรรม์” ส่วนบาทหลังในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ และ ๗๙ ใช้คำว่า “พดิราช” เลขที่ ๗๗ ใช้คำว่า “บดิราช” แทนคำว่า “บพิตรราช...”
[๓๐๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “มีโองการ ธ รับขวัญ” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ประสาทสารมิ่งขวัญ”
[๓๐๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๗ ว่า “เป็นเอกอัครชายา”
[๓๐๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “กรประคองเสน่หา” แต่ที่ถูกน่าจะเป็น “ประคองกรเสน่หา” แต่ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ – ๗๗ และ ๗๙ ใช้คำว่า “สิเนหา” แทน “เสน่หา”
[๓๐๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ประยวนจิตกฤษณาใน” ส่วนเลขที่ ๗๘ ว่า “ประยวนจิตปริศนาใน” แต่เลขที่ ๗๖ ใช้ว่า “ประยวนปฤษณาใน”
[๓๐๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “ลูบโลมประโลมกาม ก็จะละลานละลนใจ”
[๓๐๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “กรประโลมนาถตาตรู” และ “กรประโลมนาถโฉมตรู” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ – ๗๗ ใช้ว่า “... พธูตรู” และ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “ตะพื้นภาคพธูตรู”
[๓๐๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๗ ต่างกันว่า “ในจิตก็เพลินพลาง วรราชราชู”
[๓๑๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ดุจลวดลดาวัลย์” และ เลขที่ ๗๖ ว่า “ประดุจตนลาวัลย์”
[๓๑๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “คลุ้มคลั่งระฆังดัง”
[๓๑๒] เฉพาะหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ นอกนั้นว่า “บุปผชาติทรงดวง”
[๓๑๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๗ – ๗๘ ว่า “ระรินเชยกระแสสินธุ์” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ก็แช่มชื่นกระแสสินธุ์”
[๓๑๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันว่า “อาบเอิบ บ เบื่ออิ่ม โอชสร้อยสุดวาริน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ บาทหลังว่า “สาโรชสอยสาวริน” และหนังสือสมุดไทยเลขที่ ๗๗ ว่า “เอิบอาบ บ เอื้อวรพุ่งมุจลินท์” ซึ่งความเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ในฉบับนี้จบความเพียงบาทนี้เท่านั้น
[๓๑๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “ตรลบรสกลิ่นผกาตฤณ” และ “สูบรสกลิ่นผลครืน” ส่วนบาทหลังว่า “แสยงเสียวสบายกาย” ในบาทหลังของหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “สนานกาย” แทน “สบายกาย” และในบาทหลังของหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “กลีบ” แทน “กลิ่น” ซึ่งไม่น่าจะใช่ และเลขที่ ๗๙ ว่า “ซาบกลีบผกาตฤณ”
[๓๑๖] ความบาทหลังนี้ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความเลือน “...สลาย”
[๓๑๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ประทุมชาติกระจ่างบาน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความในบาทหน้าเลือน ปรากฏแต่เพียง “...ประพรายพราย”
[๓๑๘] ความบทนี้ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ เลือน เช่น บาทแรกไม่ปรากฏ บาทที่สามปรากฏเพียง “เกลือกเคล้า...” ส่วนบาทหลังว่า “ทวิชาติภิรมย์” แต่ความบาทแรกในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ว่า “ภุมราก็มอนมัว” และบาทที่สองในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ฤดีร้อนประสานสาร”
[๓๑๙] ความบทนี้ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ เลือนบางส่วน เช่น
“.......................... | สบายวงศ์...สม |
แสนสนุกนิวรณ์ | ถวัลย์เวียงสิเจษฎา” |
ส่วนบาทหลังในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ใช้คำว่า “ตะวัน” แทนคำว่า “ถวัลย์”
[๓๒๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันที่บาทแรกว่า “เสพสุขสมบัติ” (ฉบับเลขที่๗๘ ปรากฏคำว่า “นิ” หน้าคำว่า “สมบัติ”) ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความบทนี้เลือนบางส่วน เช่น “...ไหรณอุกฤษฏ์เกียรติลือชา...”
[๓๒๑] ความบทนี้ในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ เลือนในบาทแรก และบาทหลัง (บาทที่ ๔) ส่วนบาทที่สองและสาม ปรากฏความว่า “...ศฤงรัตนาคุณ คงชันษาสูญ ...” ส่วนบาทหลังในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๙ ว่า “ชราภาพ ชิวาวาย” แล้วต่อด้วยความว่า “เถลิงสารสัมฤทธิ์ แท้วาจก ปีมะเมีย ฉศกเสร็จถ้อย วันศศิเดือนหก แรมค่ำหนึ่งนา จุลศักราชพันร้อย สิบหกปีปลาย ฯ” เป็นอันจบเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ในฉบับที่ ๗๙
[๓๒๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “ครา” แทนคำว่า “ตรา”
[๓๒๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “ธรรมราชบุรีขาร”
[๓๒๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความในบาทแรกใช้ว่า “ทุกชาวผดุงการ” ส่วนความในบาทที่สองเลือนว่า “ประ...ถวิล” และความในบาทที่สามและสี่ว่า “ซึ่งเป็นบัพจิน- ตนาท่าน มไหศูรย์” ซึ่งความในบาทที่สามนี้ หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓, ๗๖ และ ๗๘ ว่า “สิ่งเป็นฉบับจิน- ” และความในบาทหลัง (บาทที่สี่) ของหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ใช้คำว่า “นาน” แทนคำว่า “ท่าน”
[๓๒๕] ความบาทแรกในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ต่างกันว่า “กฤษณาสุภาษิต” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ต่างกันที่บาทที่สองว่า “ก็จบบริบูรณ์”
[๓๒๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ ไม่ปรากฏความบรรทัดนี้ (สองบาท)
[๓๒๗] ความในบทนี้ทั้ง ๔ บาท ปรากฏความในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ เพียงสองบาทว่า “นามอินทนิพนธ์ มลักฉันทจองกลอน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความต่างกันในบาทแรกว่า “เชิญราชิโนรส” และบาทที่สามว่า “พจนาอนุสนธิ์”
[๓๒๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “แม้นางสุริยวงศ์ พุทธราชเทวี” ซึ่งบาทหลังนี้เช่นเดียวกับหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ส่วนบาทที่สองในหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ ว่า “... พันธุราชเทวี” และบาทที่สามและสี่ว่า “สามัญสตรี ประดับคำประพฤติตาม”
[๓๒๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ และ ๗๖ ไม่ปรากฏคำว่า “ก็” ในความ “ทั่วโลกเล็งยล”
[๓๓๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ความต่างกันว่า “สรรพสวัสดิอุดม”
[๓๓๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๓ และ ๗๘ จบความเรื่องกฤษณาสอนน้องเพียงเท่านี้
[๓๓๒] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้ว่า “วรจอง” แทนคำว่า “วรจร”
[๓๓๓] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ลำนำปฤทธิคณอัน”
[๓๓๔] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ – ๗๕ ว่า “แต่งตามวุโตไทยวรา” ส่วนเลขที่ ๗๖ ใช้ว่า “...วุฑโฒไทย...”
[๓๓๕] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “เอกโทครุลหุสอน กุลบุตรพึงยล”
[๓๓๖] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ก็ประเภท ธ อำพล”
[๓๓๗] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ใช้คำว่า “นุกุล” แทน ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “อักษรสามมรนุกล”
[๓๓๘] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ฝอยทองประกอบกลกถา คณนาคประจำลง” ซึ่งไม่จะใช่คำ “ฝอยทอง”
[๓๓๙] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๕ ว่า “คำควรจินตนาประสงค์ นุประเสริฐพึงเขียน” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “ข้าควรจะจินตน์รัตนประสงค์ ณ ประเสริฐพึงเรียน”
[๓๔๐] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ว่า “ด้วยเดชบวรคุณ ศิลข้าประพฤติเพียร” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ใช้คำว่า “ตระโบ” แทนคำว่า “ตระโบม” (หรือตะโบม)
[๓๔๑] หนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๔ ใช้คำว่า “ถิร” แทนคำว่า “สถิร” ส่วนหนังสือสมุดไทย เลขที่ ๗๖ ว่า “สารสิทธิจงเสถียร ทรเนศประลัยสูญ” บรรทัดนี้เป็นอันจบความเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ในหนังสือสมุดไทย ๓ ฉบับ คือ เลขที่ ๗๔ - ๗๖