- คำนำ
- ภาค ๑ การสร้างทรัพย์
- หมวด ๑ ว่าด้วยคุณประโยชน์
- หมวด ๒ ว่าด้วยลักษณทรัพย์
- หมวด ๓ ว่าด้วยสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ในการทำให้เกิดผลเปนทรัพย์
- หมวด ๔ ว่าด้วยลักษณแรงทำการ
- หมวด ๕ ว่าด้วยวิธีปันหน้าที่ทำการ
- หมวด ๖ ว่าด้วยการระดม
- หมวด ๗ ว่าด้วยทำนองทำการอย่างใหญ่และทำการอย่างน้อย
- หมวด ๘ ว่าด้วยลักษณทุน
- หมวด ๙ ว่าด้วยการลงทุน
- หมวด ๑๐ ว่าด้วยกฎธรรมดาทั้งหลาย ซึ่งเปนที่บังคับสำหรับให้เกิดผลเปนทรัพย์เพิ่มพูลยิ่งขึ้น
- หมวดที่ ๑๑ ว่าด้วยกฎธรรมดาซึ่งเปนที่บังคับให้ทุนเพิ่มพูลยิ่งขึ้น
- ภาคที่ ๒ การแบ่งปันทรัพย์
- หมวด ๑ ว่าด้วยกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สมบัติ
- หมวด ๒ ว่าด้วยทรัพย์ซึ่งสร้างเปนผลขึ้นแล้ว จะได้เปนส่วนแบ่งปันแก่คนจำพวกใดบ้าง
- หมวด ๓ ว่าด้วยค่าเช่าที่ดิน
- หมวด ๔ ว่าด้วยค่าแรง
- หมวด ๕ ว่าด้วยกำไร
- หมวด ๖ ว่าด้วยสมาคมคนทำงาน และการที่คนทำงานพร้อมใจกันละทิ้งการงาน
- หมวด ๗ ว่าด้วยผลที่ร้ายของการประมูลแข่งขัน
- หมวด ๘ ว่าด้วยวิธีทำการร่วมกัน โดยร่วมทุนร่วมแรงและร่วมผลประโยชน์ในระหว่างคนทำงาน
- หมวด ๙ ว่าด้วยการศึกษาและการประหยัดทรัพย์
หมวด ๙ ว่าด้วยการลงทุน
การที่จะถึงทุนหมายหากำไรนั้น ในชั้นต้นจะต้องคิดเสียก่อนว่า ในการที่จะทำประโยชน์หากำไรนั้น จะมีทุนใช้มากน้อยเพียงใด ในชั้นที่สองต้องคิดต่อไปว่า เมื่อได้ลงทุนไปแล้วจะต้องเปลืองเวลาช้าเร็วสักเพียงใด จึงจะได้ผลกลับคืน จะได้คนทีละเล็กน้อย หรือ จะได้คืนคุ้มทุนในคราวเดียว ต้องสุดแล้วแต่ลักษณการที่ผู้ลงทุนจะทำเปนใหญ่
เปนต้นว่า ทุนที่ได้ลงไปในการเลี้ยงชีพคนทำนานั้น ตั้งแต่ได้ลงมือไถหว่านตลอดไปจนเกี่ยวเข้าขายเข้าเปนผสวนได้ จะต้องเปลืองเวลาไปเกือบปีจึงจะได้ทุนกลับคืน แต่ทุนที่ได้ลงไว้ในการซื้อเครื่องมือเครื่องใช้และในค่าโคกระบือ ซึ่งเปนของที่จะใช้ทำผลประโยชน์ได้หลายครั้งหลายคราวนั้น กว่าเครื่องใช้จะสึกหรอเสียหายไป หรือ กว่าโคกระบือจะแก่ใช้การไม่ได้ก็ต้องรอช้าไป ยิ่งเปนการลงทุนปลูกโรงเรือนที่อาศรัยและยุ้งฉาง ซึ่งเปนของถาวรเช่นนี้ ก็ยิ่งจะต้องคอยช้าไปอีกมากจึงจะได้กำไรใช้ทุนกลับคืน สุดแล้วแต่จำนวนเงินทุนที่ลงไปเช่นนี้ จะมากน้อยเพียงไร ปัณหาซึ่งจะเกิดขึ้นว่าได้ลงทุนไปแล้วเมื่อใดจึงจะได้กำไรคุ้มทุนและดอกเบี้ย กับมีเศษเหลือเปนกำไรของค่าแรงอีกเท่าใดนั้น จะต้องเปนความคิดคาดคะเนโดยมาก ถ้าคิดล่วงหน้าได้รอบคอบถูกต้องตลอดต้นปลาย ก็เปนอันว่าการที่ทำนั้นคงเกิดผลมีกำไรสมความมุ่งหมาย ถ้าคิดไม่รอบคอบหรือใช้จ่ายเกินส่วนที่ควรไป ก็ต้องขาดทุนป่วยการแรงที่ทำ
ความที่กล่าวมานี้ เพื่อจะยกลักษณทุนให้เห็นต่อไปว่า มีสองชนิด ๆ หนึ่งเปนทุนซึ่งได้ลงไปแล้ว จะใช้ทำผลประโยชน์ต่อเนื่องไปได้นาน เช่นค่าโคกระบือเครื่องมือและยุ้งฉางในการทำนาเปนต้น ทุนชนิดนี้จะให้ชื่อว่า “ทุนประจำ” ซึ่งกว่าจะได้ผลกลับคืน จะต้องรออยู่นาน
ทุนอีกชนิดหนึ่งเปนทุนที่ได้ลงไปแล้ว จะต้องใช้สูญหายหมดสิ้นไปในทันที เช่นค่าอาหารการกิน และค่าจ้างของคนทำงานเปนต้น ทุนชนิดนี้จะให้ชื่อว่า “ทุนหมุนเวียน” ซึ่งจะได้ผลกลับคืนคุ้มทุนในคราวเดียว เช่นค่าอาหาร และค่าจ้างที่อาจจะเห็นผลของแรงทำการได้ในวันหนึ่งเดือนหนึ่ง เปนต้น
ทุนที่ได้ลงไว้ในการทำผลประโยชน์ทุกอย่างนั้น แม้ว่าผู้ลงทุนคือแต่จะได้กำไรเปนประโยชน์ในส่วนตัวเปนใหญ่กว่าอื่นก็จริง แต่เมื่อพิจารณดการที่ทำนั้นไปตลอดแล้ว คงได้ความจริงอยู่เสมอว่า ทุนที่ได้ออกไปนั้นสำหรับใช้ในการเกื้อกูลบำรุงเลี้ยงคนทำงานเปนค่าจ้างแรงของพวกเหล่านี้ทั้งสิ้น เปนต้นว่า เราจะต่อเรือลำหนึ่งในชั้นต้นจะต้องออกทุนซื้อไม้ซื้อเหล็กต่าง ๆ เงินที่ออกไปในค่าไม้ค่าเหล็กนี้เปนเงินใช้ทตแทนค่าแรงของผู้ที่ได้ตัดไม้ทำเหล็กไว้แต่ต้นเดิม รวมทั้งค่าจ้างคนต่าง ๆ ที่ได้ทำไม้และทำเหล็กนั้นต่อ ๆ มาจนถึงมือเรา จนคุ้มกับค่าจ้างค่าแรงที่เขาได้ออกทดรองไปก่อนนั้นด้วย ต่อนั้นไปเราจะต้องให้ค่าจ้างเลี้ยงช่างเหล็กช่างไม้ ซึ่งได้ออกแรงทำการเปนผลที่เราได้เห็นแก่ตา แม้ถึงที่สุดจะไปซื้อหม้อน้ำและเครื่องจักร์มาทุนที่ออกไปนี้ก็เปนเงินที่เราต้องใช้แก่ผู้ขาย ซึ่งเขาได้ออกเงินทดรองใช้ค่าจ้างค่าแรงคนทำการเกี่ยวข้องกับหม้อน้ำและเครื่องจักร์นั้นต่อ ๆ ไป จนตลอดถึงค่าจ้างคนทำงานขุดแร่เหล็กและถ่านที่เมืองนอกแต่ต้นเดิม
การลงทุนทำผลประโยชน์เปนการบำรุงเลี้ยงแรงทำการ และเปนคุณเกื้อกูลแพร่หลายเจือจานคนมีคนจนทั่วไปโดยทางตรงและทางอ้อมเช่นนี้ ก็พึงเห็นได้ว่าการลงทุนทำการหาผลประโยชน์ซึ่งผู้ใดได้ทำนั้น เปนการช่วยบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นเพียงใด ชาวเมืองพลอยได้ผลประโยชน์โดยทางตรงทางอ้อมมากและน้อยตามส่วนที่ผู้ลงทุนทำการเล็กหรือใหญ่เปนประมาณ เมืองใดที่มีการลงทุนทำผลประโยชน์มากเมืองนั้นก็เจริญมากอยู่เอง เจริญแก่ผู้ลงทุนและเจริญแก่ผู้ทำงานตลอดไปได้จนถึงชาวสวนชาวนาที่ได้เพาะปลูกอาหารมาขายเลี้ยงคนเหล่านั้น
ในการที่รัฐบาลลงทนขุดคลองทำถนนและสร้างทางรถไฟ สำหรับช่วยให้การทำมาหากินในบ้านเมืองสดวกขึ้นนั้น เปนสาธารณประโยชน์ทั่วไปชั้นหนึ่งแล้ว ยังพวกที่ได้ออกแรงทำการเหล่านั้น ได้รับผลประโยชน์ทางตรงในค่าจ้างแรงอีกต่างหาก กล่าวแต่การสร้างทางรถไฟอย่างเดียว รัฐบาลลงทุนจำหน่ายเงินในการนั้นปีหนึ่งราวหกล้านบาท หักค่าเครื่องล้อเลื่อนเครื่องเหล็กทั้งหลาย ซึ่งต้องซื้อมาจากประเทศยุโรปแล้ว ยังเหลืออีกเท่าใด ก็เปนเงินค่าจ้างค่าแรงเกือกูลคนทำงานในบ้านเมืองทั้งสิ้น เงินนี้จะเลี้ยงคนทำงานประจำอยู่ได้กว่าสี่พันคน และโดยทางอ้อมที่เกี่ยวกับการค้าขายแท้ ในการขนของบรรทุกรถไฟยังจะมีค่าจ้างค่าแรงอีกเท่าใด เมื่อคิดดูว่าในศก ร.ศ. ๑๒๘ รถไฟบรรทุกของได้น้ำหนักรวม ๔ ล้านหาบ ค่าแรงแบกหามของเท่านี้คงไม่ต่ำกว่าหาบละ ๓ สลึงรวมเปนเงินสามล้านบาท โดยที่จะคิดเผื่อไปถึงการขนของต่อ ๆ กันเปนระยะมาหลายทอด และต้องคิดถึงความกันดารในการขนของตามทางทุ่งนาป่าดงมาถึงรถไฟที่ต้องเปลืองค่าแรงขนเปนอันมากนั้นด้วย คิดแต่ค่าแรงทำการหนักเช่นขุดดินทำทางรถไฟและหาบหามสินค้า เท่านี้ก็เห็นชัดว่าการที่รัฐบาลลงทุนทำรถไฟนั้นเปนการบำรุงเลี้ยงคนทำงานได้เท่าใด นอกจากนี้ยังช่วยทำผลประโยชน์ให้แก่การเพาะปลูกและการค้าขายโดยทั่วไปอีก ของซึ่งขนมาทางรถไฟเปนการเสียค่าขนน้อยลงกว่าแต่ก่อนเท่าใด ค่าขนที่ผิดกันนั้นก็ต้องเปนกำไรของผู้ส่งสินค้าแต่ต้นเดิมโดยมากส่วน คุณของทางรถไฟมีเช่นที่กล่าวมาแต่บางอย่างเช่นนี้ก็เห็นได้แน่แล้วว่า ถ้ารัฐบาลไม่ขาดทุนก็ควรจะลงทุนในการเช่นนี้เรื่อยไป โดยหมายผลทางอ้อมที่จะให้บ้านเมืองเจริญเร็วยิ่งขึ้น
แต่ลักษณทุนนั้นใช่ว่าได้ถึงไปแล้วจะทำให้เกิดผลเปนทรัพย์งอกขึ้นเสมอไปได้ทุกอย่างการเมื่อใด ต้องสุดแล้วแต่ความคิดของผู้ลงทุนจะกะประมาณการหากำไรนั้นเปนใหญ่ด้วย ถ้าคิดผิดไปขาดทุนกลับทำให้ทุนที่มีอยู่แล้วน้อยหรือสูญสิ้นไป เสียอีก ขาดทั้งประโยชน์ตนทั้งประโยชน์ผู้อื่นที่จะพลอยได้โดยทางตรงทางอ้อมด้วย
อีกประการหนึ่ง ทุนที่ได้ลงไปนั้นยังจะแยกออกได้อีกสองสถาน ๆ หนึ่งเปนทุนที่ได้ลงไปแล้วกระทำให้บังเกิดผลเปนทรัพย์ได้ต่อ ๆ ไป อีกสถานหนึ่งเปนทุนที่ได้ลงไปแล้วได้ผลแต่ชั้นเดียวหรือไม่ได้ต่อไปเลย เกี่ยวข้องด้วยข้อความที่ได้ยกมากล่าวในลักษณแรงทำการว่า บริโภคทรัพย์ที่จะกระทำให้เกิดผลเปนทรัพย์กลับคืนได้ต่อไป หรือไม่กระทำให้บังเกิดผลเปนทรัพย์กลับคืนได้อีกต่อไป
แต่ความเช่นนี้จะปรากฎขึ้นชัดได้ก็ต่อเมื่อถึงมือถึงปากผู้ที่บริโภคของนั้นเปนครั้งหลังที่สุด
กล่าวคือช่างทองลงทุนทำของรูปพรรณ์เปนเครื่องเพ็ชร์เครื่องทองขายหากำไร อาหารการใช้สรอยที่ช่างทองบริโภคเลี้ยงชีพนั้นคงเกิดผลเปนกำไรเลี้ยงตัวได้ต่อ ๆ ไปเสมอ แปลว่าทรัพย์ของช่างทองที่ได้ลงทุนไปนั้น กระทำให้เกิดผลได้ชั้นหนึ่ง แต่ถึงที่สุดมีคนมั่งมีหรือคนเผลอเรอมาซื้อเครื่องทองและเครื่องเพ็ชร์ไปใช้ประดับยศและร่างกาย ทรัพย์ที่ได้จำหน่ายไปในของเหล่านี้ ก็เปนอันว่าไปจมอยู่เสียเปล่าไม่สามารถจะทำผลให้เปนกำไรงอกขึ้นอีกได้
ความเผลอเรอใช้สรอยฟุ่มเฟือยของคนไม่ช่วยทำผลประโยชน์อันยัดยืนให้แก่เพื่อนมนุษย์ และไม่ช่วยบำรุงความเจริญของบ้านเมืองได้เช่นนี้
แต่การลงทุนให้บังเกิดผลเปนทรัพย์ได้ต่อ ๆ ไป เช่นการทำทางรถไฟที่ยกมากล่าวแล้วนั้น เปนการตรงกันข้าม ทรัพย์ของรัฐบาลที่ลงทุนไปนั้น ทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ประชาชน เปนการบำรุงความเจริญของบ้านเมืองได้ยืดยืนเสมอไป เพราะทรัพย์คือทุนที่ลงในชั้นต้นเมื่อทำทางรถไฟนั้น ช่วยกระทำให้ทรัพย์ผู้อื่นงอกขึ้นอีกต่อ ๆ ไปได้
ทรัพย์ในบ้านเมืองที่มหมักหมมจมอยู่ ไม่ได้เอาออกจำหน่ายใช้เปนทุนที่จะให้มีกำไรงอกผลขึ้นต่อไปนั้น เมื่อประมาณดูก็จะเห็นว่าเปนส่วนมากอยู่เสมอไม่เลือกว่าขะณะใด การเปนเช่นนี้ก็เปนอันว่าเจ้าของทรัพย์ยังต้องการความยั่วยวนชวนใจซึ่งจะให้ลงทุนทำประโยชน์นั้นอยู่มาก ความชวนใจนี้คือ ความที่จะเชื่อได้แน่ว่าทุนที่ออกไปจะไม่ละลายหายสูญเลยไปได้ และจะมีกำไรงอกผลเพิ่มพูลยิ่งขึ้นกว่าเก่าเปนมั่นคง เพราะเงินทุนที่ได้ลงนั้นจะต้องละลายกลายเปนของสิ่งอื่นไปเสียก่อน แล้วจึงจะกลับเปนรูปคืนมาอย่างเก่าได้ จะกลายเปนค่าแรงหรือสินค้ารูปหนึ่งรูปใดก็ดี ขอแต่ว่าเมื่อถึงที่สุดให้กลับเปนเงินคืนมาได้เท่าเก่า และมีผลเปนกำไรเติมอีกแม้แต่สักเล็กน้อยก็ยังดีกว่าจะเก็บทรัพย์นิ่งอยู่เฉย ๆ ไม่งอกผลอะไร
แต่ความเชื่อความไว้วางใจของคนว่าจะลงทุนทำการอย่างใดจึงจะมีกำไรแน่นั้น ธรรมดาต้องต่างกันอยู่เสมอ เชื่อน้อยบ้างมากบ้างหรือไม่เชื่อเลย ต้องสุดแล้วแต่ความคิดที่เห็นดีเห็นร้ายของเจ้าของทรัพย์เปนใหญ่ทั้งสิ้น เปนการเหลือวิสัยที่ผู้ใดจะชักโยงให้คนที่ต่างใจกันมาร่วมเปนความคิดอย่างเดียวกันได้
จะแนะทางได้บ้างก็แต่เพียงว่า ตามเยี่ยงอย่างที่เห็นปรากฎอยู่แล้วว่า การลงทุนทำผลประโยชน์ให้เกิดนั้น คงรวมอยู่ในการสำคัญสามอย่างโดยมาก
ทางที่ ๑ ลงทุนในการทำที่ดินให้เกิดผล มีการกสิกรรมเพาะปลูก, การขุดแร่, การหาสินค้าทางน้ำทางป่าซึ่งธรรมดาทำให้เกิดมีขึ้นเองเปนต้น
ทางที่ ๒ ลงทุนในหัดถกรรมจัดทำดัดแปลงแต่งสรรสัมภาร ซึ่งเกิดจากที่ดินสำหรับให้ใช้เปนประโยชน์ได้
ทางที่ ๓ การขนสินค้าที่ได้มาโดยทางที่ ๑ ที่ ๒ นั้น ไปส่งถึงที่ ๆ จะต้องการใช้ คือการพาณิชกรรม มีการค้าขายส่งขายย่อยเปนต้น
นอกจากนี้จะมีทางอื่นต่อไปบ้างก็ไม่สู้สำคัญนัก ตามที่พรรณามานี้ก็พึ่งเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีผู้ใดลงทุนทำพืชพันธุ์ให้เกิดขึ้นจากที่ดิน หรือไม่มีใครลงทุนไปเอาของที่เกิดเปนขึ้นเองมาใช้แล้ว การทำสิ่งของรูปพรรณ์ต่าง ๆ ก็มีขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีผู้ใดลงทุนทำของเหล่านั้นขึ้นเปนรูปพรรณ์ให้คนใช้เปนประโยชน์ได้แล้ว การค้าขายก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีใครต้องการ และถ้าไม่มีผู้ใดลงทุนค้าขาย คือไปขนของเกิดผลจากแผ่นดิน และของที่ทำขึ้นเปนรูปพรรณ์ไปส่งถึงที่ ๆ ผู้จะต้องการใช้แล้ว ของสองอย่างที่กล่าวมาข้างต้นเปนอันทำไม่ได้อยู่เอง เพราะเหตุว่าผู้ซื้อของใช้จะต้องคืนทุนให้พ่อค้า พ่อค้าจะต้องคืนทุนให้ผู้ทำของ ผู้ทำของจะต้องคืนทุนให้ผู้เพาะปลูก ๆ จะได้มีทุนทำผลให้เกิดจากที่ดินต่อไปเหมือนอย่างเดิม ต่างคนก็ต่างขายสินค้าของตัวให้มีกำไรเติมทุนขึ้นเปนลำดับไปจึงจะมีน้ำใจทำการได้ยืดยืน