- คำนำสำหรับหนังสือโคลงลิลิตบรมราชาภิเศก
- เรือนผงมสุข สะหะครามชะอำ
- มงคลสดุดี...
- ไขคำ เล่มต้น
- ภาคผนวก เล่มต้น
- พระนาม สมเด็จพระเจ้า และพระเจ้า บรมวงศ์เธอ ที่ได้รับพระราชทานพระราชสักการ ดอกไม้ธูปเทียนแพ
- ฎีกาโหรคำนวณพระฤกษ์
- พระนาม และนาม พระสงฆ์ที่เจรีญพระพุทธมนตร์
- พระนาม และนาม พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ
- พระนาม และนาม โหร และราชบัณฑิตบูชา และถวายน้ำอภิเษก กับพราหมณ์
- ประกาศเทวดาในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกสัปดมราชมหาจักรีวงศ์
- ข้าราชการหัวเมือง ซึ่งเข้ามาสนองพระเดชพระคุณในงานพระบรมราชาภิเษก
- คำราชบัณฑิตถวายน้ำอภิเษก และพระราชดำรัสตอบ
- ขะบวนเสด็จพระราชดำเนิรสู่มณฑปพระกระยาสนานสรงพระมูรธาภิเษก
- ขะบวนเสด็จพระราชดำเนิร ขึ้นพระที่นั่งภัทรบิฐบรมราชาภิเษก
- บุณยเวท สรรเสรีญพระศิวะเป็นเจ้า เริ่มมหามงคลราชสูยาภิเษก
- คำพระราชครูทูลถวายสิริราชสมบัติ์ และพระราชดำรัสตอบ
- บุณยเวท ร่ายมนตร์ ศิวะ อนุษฏกะ
- คำพระราชครูทูลถวายมงคลชยาเศียรวาท
- พระพรสมเด็จพระสังฆราชเจ้าถวายอติเรกพิเศษ เป็นปฐมะฤกษ์
- คำพระสิทธิชัยบดีทูลถวายมงคลเศวตฉัตร และพระราชดำรัสตอบ
ไขคำ เล่มต้น
( แปลศัพท์ต่างๆ ซึ่งใช้ในโคลงลิลิตนี้ )
( เรียงตามอักษร )
ก
หน้า | ||
กตัญชะลี | กระทำการกราบไหว้ | ๖๒ |
กนก | ทองคำ | ๑๔ |
กระยาสนาน | เครื่องอายน้ำ | ๔๙ |
กะรัญ หรือ กะรัญญะ | กิจที่พึงกระทำ | ๑ |
กะรัณฑ์ | หม้ออย่างหม้อกรัณฑ์ หรือ หีบ กล่อง | ๓๕ |
กะระณีย์ | หน้าที่ คือกิจที่พึงกระทำ | [ค] |
กุศา | หญ้าคา | ๔๕ |
เกษตร์ | เขต นา หมายแผ่นดิน | [ข] |
เกษียล | หลัก หรือธรณี | ๖๓ |
เกยิบ | เหมือนเขยิบ กระเถิดนิดหนึ่ง | ๔ |
กุไสย์หรือกุไศย์ | ไหม หรือแพร | ๑๓๑ |
เกยูร | กำไลต้นแขน | ๑๓๐ |
เกาศะโลบาย | แยบคายฉลาด | [ข] |
กันภิรมย์ | พระฉัตร์เฉลีมทัพ องค์แพรขาวลงยันตร์ทอง ๕ ชั้น | ๑๔๔ |
เก็จ | หย่อง หรือฐาน ที่นี้หมายแท่นน้อยรับพระบาท | ๑๔๔ |
กุมภุทก | หม้อน้ำ | ๑๔ |
ค
ครุวาร | วันพฤหัสบดี | ๑๑๒ |
ฆะเรศ | ตำหนักเจ้า หรือพระราชมนเทียร | ๕๕ |
ขรรค์ (ที่ถูกขัณฑ) | นวะโลหะ ดาพ ๒ คมฝักทองเนื้อเก้า | ๑๓๑ |
คัคะนานต์ | ท้องฟ้า | ๑๒๑ |
ครรภ | ที่นี้หมายถ้วย หรือขัน ห้องหรือท้องก็เรียก | ๑๐๖ |
ครีพ | คอ | ๓๗ |
จ
จดุพิสดิม์ | ที่ ๒๕ | ๘๗ |
จตุรีศวร | เจ้าทั้ง ๔ พระองค์ | ๕๔ |
จาตุรงค์ | หมายพระฤกษ์ประกอยด้วยองค์ ๔ | ๒๖ |
จาตุรัส | ๑๔ (แทนสี่เหลียม) | ๑๓๗ |
จารุ | ทองคำ | ๕๕ |
จิระรัชย์ หรือจิระรัชชะ | เสวยราชย์อยู่นาน | ๖๓ |
จุฑาธิป | พระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้าอยู่หัว | ๑๕ |
จุทัศะ หรือ จุทัสะนาฬิกา | ๑๔ นาฬิกา | ๑๔ |
จุฬะเกศ | เกล้าผมมวย | ๑๓๑ |
จุสะดับ | ที่ ๔ ที่นับถือ | ๓๖ |
เจ้าไทย์ | พระสงฆเจ้า ผู้พึงให้ทักษิณา | ๖๔ |
จรรโลง | พระเจ้าแผ่นดิน (ผู้จูง) | ๑๒๙ |
จักระบท | ใช้ล้อต่างตีนเดีร | ๙๑ |
จักริช | หมายพระราชวงศ์จักรี เกีดจากคนถือจักร์ | ๕๕ |
จุททิศา | สี่ทิศ | ๑๒๙ |
เจษฎา | เหมือนเชษฐา คือพี่ หรือเป็นใหญ่กว่าตน ๑๐ | |
จุมภฏด้าย | หมายมงคล หรือวงพระเศียรด้าย | ๔๘ |
ช
ชะไม | คู่ | ๑๖ |
ชะโยทก | น้ำมีชัย | ๓๓ |
ชะยัมพุส | เจ้าน้ำทำให้ชะนะ | ๑๐๒ |
ชะลาภิเษก | น้ำสรงสระพระเจ้า | ๒๙ |
ชะลาวุธ | ตอปิโด หรือเครื่องสังหารไม่มีคมในน้ำ | ๖ |
ชะลินทร์ | น้ำเจ้า หรีอเจ้าน้ำ | ๓๕ |
ฉะฬางค์ หรือษฬางค์ | องค์ ๖ | ๓๓ |
ชะโลตม์ | น้ำเลีสอย่างสูงสุด | ๑๓๔ |
ชะลิศ | เจ้าแห่งน้ำ | ๑๐๖ |
ชะลุตม์ | น้ำเลีสที่สุด | ๓๔ |
ชะเลศ | เจ้าแห่งน้ำ | ๓๑ |
ฉวาง | ด้านกว้าง | ๑๓๐ |
เฉวียง | เบื้องซ้าย หรือฝ่ายเหนือ | ๑๔ |
ชินะฤกษ์ | สมัยชะนะ | ๑๐๑ |
ชิโนรส | พระสงฆเจ้า หมายว่าลูกพระพุทธเจ้า | ๑๕ |
ชิเนนทร์ | เจ้าแห่งพระสงฆ์ | ๑๒๒ |
ชีวะเทพ | เทวะดาพระพฤหัสบดี | ๑๐๕ |
ชีวะวัน | วันพฤหัสบดี | ๑๔ |
ชีวาตม์ | ชีวิตและร่างกาย | ๑ |
ฉัฬะดวง | ๖ ดวง | ๑๐๕ |
ฉัฬะพิสดิม์ หรือษัฬพิสดิม์ | วันที่ ๒๖ | ๑๔ |
ชันนุ หรือ ชานุ | เข่า | ๕๕ และ ๖๘ |
เชษฐะประยูร | หัวหน้าเครือญาติ | [ก] |
ชัยะวัฒนะ | พระชัยประจำแผ่นดินเพื่อบังเกีดความชนะ และความเจรีญ | ๑๔ |
ชัยะศัสตร์ | พระแสงเอาชัย หรือมีชัย | ๑๔ |
ฉาย | เงา หรือ ส่งแสง ที่นี้หมายเงา | ๒๐ |
ซ
สะกาว | ขาว | ๔๙ |
สดุดี | ชมเชย | [ข] |
สะดำ | เบื้องขวา หรือฝ่ายใต้ | ๑๔ |
สะดัมภ์ | เกื้อ ค้ำชู | ๗๗ |
เสนีม | แผลงจากเสรีม | ๑๒๗ |
ศราพก | พระสงฆะสาวกเจ้า | ๑๕ |
สฺรีร์ | ร่างกาย | ๙ |
สวามินี | แม่นางเจ้าของ | ๗๗ |
สวามิศ | เจ้าผู้ผัว หรือเจ้าผู้เจ้าฃอง | ๑๓๖ |
ษฬัมะรัชย์ | รัชย์ที่ ๖ | ๑๒๙ |
ศะศินทร์ | พระจันทร์เจ้า | ๘๑ |
สะอิ้งพัชิรา | สร้อยเพชร์ | ๑๓๐ |
สากล หรือสะกล | ทั้งหมด | ๒๗ |
ศาสนินทร์ | เจ้าพระศาสนา | ๑๒๑ |
ศิราภรณ์ | เครื่องประดับพระเจ้า | ๑๔๓ |
ศิโรสระ หรือศิโรษะ | รัศมีพระเจ้า | ๑๔๓ |
ศิวะเวท | มนตร์พระอิศวร | ๗๗ |
ศิเวศวร์ หรือศิเวศ | พระอิศวรเป็นเจ้า | ๑๒๕ |
สิสิระฤดู | หน้าหนาว | ๑๐๕ |
สิหิงค์ | ทองคำ | ๔๐ |
สุทัยะทิศ | ทิศตวันออกดี | ๒ |
สุทิน | วันที่ | ๑๔ |
สุบิน | นอนหลับ หรือฝัน | ๔๗ |
สุเราหะยินทร์ | เจ้านามแห่งพระผู้แกล้วเลีส | ๓๗ |
สุรังคุลิศ | นิ้วพระหัตถ์เจ้างามราวกะของนางฟ้า | ๑๓๐ |
สุรังสา สุรังสะ | บ่าพระผู้แกล้วเลีส | ๘๑ |
สุรัมพวาภิเษก | สรงสระพระเจ้าด้วยน้ำเทวะดา หรือของพระผู้แกล้วเลีส | ๑๐๖ |
ศูลี | มียอด | ๕๔ |
เสริศวร์ | เป็นใหญ่ตามอำเภอใจ | ๔ |
เสลาสน์ | แท่นหิน | ๓๖ |
เสฺว | วันพรุ่งนี้ | ๙๑ |
โสทะระอะนุช | น้องร่วมท้อง | ๑๐ |
โสระวาร | วันเสาร์ | ๕๓ |
โสฬสะนาฬิกา | ๑๒ นาฬิกา | ๑๔๑ |
สันถาคาร | ท้องพระโรงที่ประชุม | ๑๒๗ |
ศันติ์ หรือศันติ | ความสงบ | [ข] |
ศัละกรรม | การตัดผ่ารักยาโรค | ๘ |
ศังขุทก | น้ำศังข์ | ๓๘ |
สังฆาสน์ | ที่พระสงฆ์นั่ง | ๑๗ |
แสงศุกล์ | แสงขาว | ๔๑ |
สัปดพิสดิม์ | ที่ ๒๗ | ๑๔ |
สัปดะรัสางคะขัณฑ์ | ๑๗ มณฑล | ๑๐๒ |
สัปดมา | ที่ ๗ | ๑ |
สัปดะรัสะ | ๑๗ | ๒๗ |
ศาสตระปุณยา | ตำรับสร้างบุญ | ๗๗ |
สัจจะปานะ | น้ำดื่มปะฏิญญาถือสัตย์ต่อกัน | ๑๔๖ |
ศัสตร์ | พระแสง | ๑๒๕ |
สัตถะธรรม | คัมภีร์พระธรรม | ๑๔ |
สัตตะปะฎล | ๗ ชั้น | ๔๐ |
สัตตะรัตะนามาษะมัย | ล้วนแล้วด้วยทองแกมเพชร์พลอย ๗ ประการ | ๑๓๙ |
เสรีฐ และประเสรีฐ | เลีส | ๑๓๖ |
สรวม | ขอ | ๑ |
เสื้อเมือง คำเดียวกะ เชื้อเมือง | เทวะดารักยาพระนคร | ๖๔ |
ด
(อ) ดิเรก | มากยิ่ง หรือเหลือเฝือ | ๑๐๒ |
ดึงสะสงฆ์ | พระสงฆะเจ้า ๓๐ รูป | ๒๗ |
ดัจะมาษ | ทองเคลือบหนัง | ๑๓๑ |
ดุษฎาภรณ์ | เครื่องประดับกายเพื่อยินดี | ๕๖ |
ดุษณี | นิ่งเงียบ | ๖๗ |
ต
ตะโนช | รสชาตตนเอง | ๘ |
ตะโนตม์ | ตัวเลีสยิ่งยวด | ๑๔๐ |
ตริแนว | สามแนว | ๑๑๕ |
ตรึงษะ | ๓๐ | ๙๗ |
เตลา | น้ำมัน | ๗๗ |
ไตรพิสดิม์ | ที่ ๒๓ | ๙๗ |
ไตรรัสะ | ๑๓ | ๑๒๐ |
ตั่งชัยะพฤกษุฬพ | หย่องนั่งทำด้วยไม้ชัยะพฤกษ์รูปวงเดือน | ๑๐๐ |
ตังวาย | เซ่นสรวง | ๑๐๖ |
ท
ไถง | อาฑิตย์ | ๑๖ |
ธวัช | ธง | ๖๖ |
ทวิชะพรต | นักบวชเกีดสองหน (เกีดจริงและบวช) | ๑๐๖ |
ไทฺวพิสดิม์ | วันที่ ๒๒ | ๖๒ |
ทายาท | ผู้รับมฤดก | ๙ |
ทิฆัมพร | (สี) ฟ้า (ฟ้าไกล) | ๖๖ |
ทิฆัมพะเรศ | เจ้าแห่งท้องฟ้าไกล | ๑๓๑ |
ฐิติมะศักดิ์ | ทรงคุณะสมบัติ์มั่นคง | ๑ |
ทิวัสะรัตยา | ทั้งกลางวันและกลางคืน | ๒๗ |
ทณฑะทีป | ธูปและเทียน | ๖๘ |
น
นระสีห์ | ราชะสีห์คน | ๑๖ |
นะพิสสร | พระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่ | ๒๓ |
นิรมาน | อย่างนิรมิต | |
นวะราช, นะวกะราช, นะวักะราช, เนาวะราช | พระเจ้าแผ่นดินองค์ ใหม่ | ๑,๑๐,๘๑ |
นวะกรรม | การก่อสร้าง | ๓ |
นวัคระราช | พระเจ้าแผ่นดินผู้เลีสองค์ใหม่ | ๑๐ |
นาฬีก์โสฬส | ๑๖ นาฬิกา | ๑๘ |
นิติรัชย์ | ตำรับราชการ | ๓๕ |
นิทัศนีย์ | ข้อควรเป็นเยี่ยง ตัวอย่าง | ๑ |
นิรามัย | ปราศจากโรค | ๗ |
นีโลษะ นีโลสระ | แสงสีเขียว | ๑๐๕ |
นั่งปรก | นั่งปกติ (หรือนั่งคณะปรูก) หมายความกำกับพระสงฆ์สวดภาณะวาร | ๔๑ |
นพะปะฎล | ๙ ชั้น | ๑๑ |
นพะพิสดิม์ | วันที่ ๒๙ | ๒๓ |
บ
บวระฉัตร | เศวตะฉัตร ๗ ชั้น (วังหน้าใช้) | ๔๔ |
บุรัพะภาค | ตอนต้น หรือครั้งก่อน | ๑๐๔ |
บุรัพะวาร | วันก่อน | ๖๖ |
บุรัฐะกิจ | ธุระประโยชน์บ้านเมือง | ๒๑ |
บูชาสน์ | ที่บูชาพระรัตนตรัย | ๔๐ |
บุญญุทิศ | อุทิศส่วนบุญ | ๕๕ |
บุญญะวันต์ | ผู้มีบุญ | ๑๓๘ |
เบ็ญจะครรภ (หรือเบ็ญจคัพย์โคทั้ง ๕) | ๕ ช่อง หรือ ๕ ห้อง | ๕๒ |
เบ็ญจะพิสดิมะ | วันที่ ๒๕ | ๒๖ |
เบ็ญญาสม์ หรือ บัญญาสม์ | ที่ ๕๐ | ๑๒ |
บัฏ | ชั้น แผ่น | ๓๘ |
บุพพัณหะ | ตอนเช้า | ๓๗ |
บิฐะศรีสุข | ตั่งทำด้วยไม้ใผ่ศรีสุข | ๔๔ |
บัณฑุ หรือ บัณฑระ | สีเหลือง | ๕๖ |
โบกขะระวัส | ฝนชื่อโบกขะระ มีเยื่อเหลือเกลื่อนอยู่ | ๑๓๘ |
ป
/*(10)ประฉิม | ตวันตก (หมายทวีปฝรั่ง) ท้ายหรือหลังก็ได้ | ๔ |
ประชุน | เมฆฝน | ๑๓๗ |
ปรเมศวร์ | เจ้าอย่างสูงสุด | ๑๓๕ |
ปะรัศว์ | ข้างๆ | ๑๔ |
ประวิช | แหวน | ๑๓๐ |
ประศังสะ ประศังสา ประศังสรร | สรรเสีญ | ๑ |
ปะธวด | ปู่ทวด | ๑๒๔ |
ปาโมกษ์ | อาจารย์ | ๑๙ |
ปิลันธน์ | เครื่องแต่งกาย | ๑๔๒ |
ปุริมะฤกษ์ | ต้นพระฤกษ์ | ๖๒ |
ปรัก | ทองคำ | ๕๔ |
ปฤษฎางค์ หรือ ปฤษฐางค์ | เบื้องหลัง (หรือสันหลัง) | ๔๐ |
พ
ผะแลง | เหมือนแผลง | ๔๑ |
พะจก | ตัวคำ | ๔๒ |
ภราดา | พี่ หรือ น้องชาย | ๑ |
พรณี | เหมือนพรรณี (มีแสงสี) | ๗๗ |
พะลาณัติ์ | ให้สัญญาณพล | ๑๔๔ |
พะลิทธิทิพย์ | ผีหรือเทวะดากายเป็นทิพย์ ที่มีกำลังฤทธิ์ | ๔๘ |
พระสูตร์ | ม่านของเจ้า | ๑๒๐ |
ภาติกะ | หลานลูกของพี่หรือน้องชาย | ๒๖ |
ภาณะวาร | สวดท้องภาณเวียนตลอดทั้งวันทั้งคืน | ๖๔ |
พ่าหุ์ | ต้นแขน | ๑๓๐ |
พาหิราวาส | วัดภายนอก (โบสถ์) | ๓๘ |
(อ) ภิไธยูปะกรณ์ | เครื่องช่วยเฉลีมพระนาม | ๑๒๒ |
พิมุข | เบื้องหลัง | ๔๖ |
พิษามัย | ล้วนแล้วไปด้วยพิษ | ๙๒ |
พิไสกูน | ๑๙ นัด (คือหย่อน ๑ ใน ๒๐] | ๑๑๒ |
ภุดาธาร | แผ่นดิน | ๑๓๗ |
ภูษะณี | พระภูษา | ๑๐๕ |
ไพหาร | เหมือนวิหาร | ๓๖ |
พัลลภ | คนสนิธ | ๗๘ |
ภัทระบิฐ | ตั่งอันจำเริญ (ที่ประทับราชาภิเษก) | ๑๑๔ |
พฤฒิเผ้า หรือ พฤทธิเผ้า | ตระกูลเถ้า (หรือผู้ใหญ่ในสกูล) ผู้เจรีญ หรือ ผู้เถ้า | ๑๕ |
พุทธผลึก | พระแก้วผลึกทรงพระนามพระพุทธรัตนานาวิล อุ้มบาตร์ประจำวันพุธ | ๖๑ |
พุฒิภาพ | ความจำเรีญ | ๑๒๖ |
โพธิเจ้า | เจ้าผู้ทรงพระวิญญูเบิกบาน | ๑๒๙ |
พราหมณ์ไศวะ | พราหมณ์พวกนับถือพระอิศวร | ๙๙ |
พุ่มบิณฑ์ | พุ่มดอกไม้ทองรูปราวกะก้อนเข้าปั้น | ๑๒๘ |
ภุมวาเรศ | วันอังคารเป็นเจ้า | ๓๙ |
ม
มะราพาธ | พระโรคมีพระอาการถึงสวรรคต | ๒๓ |
มะราภรณ์ | เครื่องศุกละกรมาภรณ์ทรงพระบรมศพ | ๑๑ |
มะหายาน | พระญวนหรือพระเจ๊ก พวกทำกงเต๊ก นิกายฝ่ายเหนือ | ๑๒ |
มะหัจฉรีย์ | ประหลาดมาก | ๕๒ |
มะหัศวางค์ | เครื่องยศทหารม้า | ๘๑ |
มะหุตม์ | อุดม หรือสมบูรณ์มาก | ๑๒๕ |
มหุตสวามาตย์ | ขุนนางเข้าขะบวนพระราชพิธีรื่นเรีง | ๑๔๓ |
มะเหนทร หรือ มะเหนท์ธร | พระเจ้าแผ่นดิน หรือ พระผู้ทรงไว้โดยเป็นพระเจ้าแผ่นดิน | ๑๔๔ |
มะหัคฆะราชสมบัติ์ | ทรัพย์พระราชามั่งคั่งมากยิ่ง | ๓๙ |
มิ่ง | ชีวิต หรือคุณะคัพท์ ประเสรีฐ หัวใจ และนางก็ใช้ | ๓๕ |
มัธยม | กลาง คือ มัชฌิมะประเทศ (อินเดีย) ภาคกลาง ๓๕ | |
มาษ (มาศ?) | ทองคำ | ๔๐ |
มุทธาภิเษก หรือมูรธาภิเษก | สรงสระพระเจ้า | ๒๗ |
ย
ยุคละบงกช | พระบาทบนดอกบัวทั้งคู่ | [ข] |
ยุพี | มักใช้เรียกหญิงสาวภาสาไท | ๗๗ |
ยุวา | ชายหนุ่ม | ๕๓ |
ล
ระบิน | หนังสือเขียนเงื่อง | ๓๖ |
ระพี | อาฑิตย์ | ๕๗ |
ระเมียร | เห็น | ๓๙ |
ราวี | รบ หรือข่มเหง | ๗๑ |
ลาชางค์ | องค์แห่งเข้าตอก | ๔๐ |
รำไพ | อาฑิต | ๒๓ |
ลัญฉะกร | พระตรา | ๔๓ |
รังสรร | สร้าง | ๑ |
โลกราหู | โลกที่เราอยู่นี่ | ๑๓๘ |
ราบเอกะทัศ | ทหารราบ ๑๑ | ๕๙ |
รุธ หรือ รุทร์ | ผลาญ | ๖ |
รัชต์ รัชดะ | เงิน | ๖๗ |
รัชชะทายาท | ผู้รับราชะมฤดกทรงราชย์ต่อไป | ๕๕ |
รัชะนิกร | พระจันทร์ | ๙๑ |
รักตะโกไศย์ หรือรัตตะโกไสย์ | แพรแดง หรือไหมแดง | ๓๘ |
รัตนะสิงหาสน์ | ที่ประทับเป็นราชะสีห์เพชร์พลอย | ๔๐ |
รัตะนัมเพา | น้ำดังเพชร์ | ๓๕ |
ราชะภัฏ | คนพระราชาทรงชุบเลี้ยง (ข้าราชการ) | ๕๖ |
ราชะสูยาภิเษก | สรงเฉลีมพระเกียรติเป็นพระราชาใหญ่ (ไม่มีใครกล้าต่อกร) | ๔๕ |
แหลมทอง หรือ แหลมสุวรรณ | คือแหลมที่เมืองไทตั้งอยู่ ฝรั่งเรียกอินโดชีน ระหว่างอินเดียกับจีน | ๒ |
ว
วะชิรุตม์ | เพชระเลีสอย่างสูงสุด วะชโรษ วะชิโรสระ แสงเพชร์ โพลง | ๑๔๓ |
วาสุกี | พะญานาค | ๑๐๕ |
วิชูปะถัมภ์ | เกื้อกูลความรู้ | ๕๗ |
วิทูปะถัมภ์ | เกื้อกูลพระเวท | ๗๗ |
วิเทศะชน | คนชาวต่างประเทศ | [ข] |
วิรังสะ หรือ วิรังสา | บ่าผู้แกว่นแกล้วเลีส | ๘๘ |
วิภาค | แบ่ง | ๒๗ |
วิริเยศ | เจ้าแห่งความเพียร หรือเพียรอย่างเจ้า | ๑๓๕ |
วิหะภา | แสงสว่างจากท้องฟ้า | ๙๒ |
วิศิษฏ์ พิศิษฏ์ | วิเศษสุด สำเร็จ | [ข] |
เวทางค์ | องค์พระเวท | ๔๕ |
วัสสะวะลาหก | เทวะดาฝน | ๑๔๓ |
วิศวะกรรมะศาสตร์ หรือ วิศวะศาสตร์ ตำรับการช่างกล หรือ ตำรับช่างกล | ๗๑ | |
เวี่ย | ชิด ใขว่ เกี่ยวไว้ | ๔๓ |
อ
อนุราช | รองพระราชา (ใช้เรียกวังหน้าหรือรัชชะทายาทก็มี) หมายพระราชาองค์รอง | ๑๐ |
อนุสามะรีย์ | เหมือนอนุสาวะรีย์ที่ถูกภาสา | ๔ |
อะปะริหานิยะธรรม | ธรรมะเครื่องอุปะถัมภ์ไม่ให้พวกเสื่อมเสีย (แตกร้าว) | ๒๓ |
อภิรุม | รวมพระเครื่องสูงต่าง ๆ | ๑๔๔ |
อะมัจ | เหมือนอำมาตย์ | ๕๖ |
อนุษฏุภะ | มนตร์ สรรเสรีญ | ๑๑๖ |
อายาจน์ | การขอ | ๑๐ |
อาสัน | จวน ใกล้ ถึง | ๘ |
อาเศียร อาเศียรวาท อาศิรวาท | ถวายพระพร | [ข] |
(ประชา) ธิบดินทร์ | เจ้าปกหัวหน้าไพร่ฟ้า | [ก] |
อุภะยังสา | บ่าทั้งคู่ | ๑๓๐ |
อุรุ | เทวะดา | ๓๖ |
อุทุมพะริฐ | ไม้มะเดื่อที่ปราร์ถนากันแล้ว | ๑๐๕ |
อุไรรัตะนะ | ทองคำแกมเพชร์พลอย | ๑๓๐ |
โอษนาเศียร หรือ โอสราเศียร | คำอวยพรรุ่งเรือง | ๑๐๑ |
เอกะทัศ | ๑๑ | ๕๙ |
เอกะพิสดิม์ | วันที่ ๒๑ | ๕๗ |
อันเต | ข้างใน หรือ ภายใน | ๑๓๗ |
อินทะเภรี | หมายกลองชนะ | ๑๓๗ |
อังคาส | ให้ (พระสงฆ์) ฉันโภชนาหาร | ๒๗ |
อัตระมะสูทธ์ | ชำระตนให้สะอาดหมดจด | ๗๗ |
อัษฎาวุธ | พระแสงต่าง ๆ ๘ องค์ | ๑๑๕ |
อัฐะพิสดิม์ | วันที่ ๒๘ | ๑๗ |
อัษฎะรัส | ๑๘ | ๕๘ |
อัฐะระสางค์ | องค์ ๑๘ | ๘๑ |
อิฐะผล | ผลที่ปราร์ถนากันแล้ว | ๒ |
อัมพวิศวร์ | เจ้าน้ำ | ๓๑ |
ฮ
หุดาส | เรีงเพลิง (จุด) | ๖๓ |
เหม | ทองคำ | ๓ |
เหมปักแว่น | เชี่ยนปักแว่นเวียนเทียน | ๔๓ |
ไหรญ หิรัญ | เงิน | ๓ |
โหมกูณฑ์ | ติกไฟลุกฮือ (ในหลุม) หมายความบูชาไฟ | ๗๗ |