- คำนำ
- คำปรารภ
- ประวัติ หม่อมราชวงศ์หญิงเจียน ฉัตรกุล
- พระประวัติกรมหมื่นสุรินทรรักษ์
- วัดเศวตฉัตร
- พระราชสาส์นไปเมืองจีน ปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๑๔๖
- พระราชสาส์นไปเมืองจีน ปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช ๑๑๔๘
- พระราชสาส์นเมืองจีน ปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช ๑๑๔๘
- พระราชสาส์นไปเมืองจีน ปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๑๕๒
- พระราชสาส์นเมืองจีน ปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๑๕๒
- พระราชสาส์นไปเมืองจีน ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔
- พระราชสาส์นไปเมืองจีน ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช ๑๑๕๗
- พระราชสาส์นเมืองจีน ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๑๑๕๙
- พระราชสาส์นเมืองจีน ปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๑๖๑
- พระราชสาส์นพระเจ้าเกียเค่งบอกงานพระบรมศพพระปิตุราช
- พระราชสาส์นพระเจ้าเกียเค่ง ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๖๐
- พระราชสาส์น พระเจ้าเกียเค่งบอกงานฝังพระบรมศพพระปิตุราช
- พระราชสาส์นเมืองจีน เมื่อปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๑๖๗
พระราชสาส์นไปเมืองจีน ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔
พระราชสาส์นไปเมืองจีน๑
ครั้งรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อปีชวด จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕
----------------------------
พระราชสาส์นสุพรรณบัฏ
พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา ปราบดาภิเษกตามบุราณราชประเพณีสืบมา มีพระราชรำพึงคิดถึงทางพระราชไมตรี สมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ ซึ่งมีมาแต่กาลก่อน จึงแต่งให้
พระสวัสดิสุนทรอภัย ราชทูต หลวงบวรเสน่หา อุปทูต หลวงพจนาพิมล ตรีทูต ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่ ขุนพิพิธวาจา ปั้นสื่อ จำทูลพระสุพรรณบัฏ สุวรรณพระราชสาส์น เชิญเครื่องมงคลราชบรรณาการ พระราชสาส์นคำหับอักษรจีน ออกมาจิ้มก้องสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ ตามขนบบุราณราชประเพณีสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าสืบมา ฯ
----------------------------
ขนาดแผ่นพระสุพรรณบัฏ มีอยู่ต่อพระราชสาส์นคำหับท้ายเล่มสมุดว่า
แผ่นพระสุพรรณบัฏ ยาว ๑๔ นิ้ว กว้าง ๗ นิ้ว หนัก ๑ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ อัฐ
กล่องทอง สูง ๗ นิ้วกึ่ง ใหญ่รอบ ๘ นิ้ว หนัก ๑ ตำลึง ๒ บาท ๑ สลึง ๔ อัฐ
ตุ้มทองหูถุง ๑๖ ใบ หนัก ๒ บาท ๒ อัฐ
เข้ากันหนัก ๓ ตำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ๘ อัฐ (๔ ตำลึง ?)
พระราชสาส์นคำหับ
พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา ปราบดาภิเษกตามบุราณราชประเพณีสืบมาแต่ก่อน คิดถึงทางพระราชไมตรีสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ซึ่งมีมาในกาลก่อน จึงแต่งให้
พระสวัสดิสุนทรอภัย ราชทูต หลวงบวรเสน่หา อุปทูต หลวงพจนาพิมล ตรีทูต ขุนพจนาพิมล ท่องสื่อ ขุนพิพิธวาจา ปั้นสื่อ จำทูลพระสุพรรณบัฏ สุวรรณพระราชสาส์น เชิญเครื่องมงคลราชบรรณาการ
ช้างพลาย ๑ ช้าง พัง ๑ รวม ๒ ช้าง
กฤษณาทอดน้ำจม ข้างหน้าหนัก ๒ ชั่ง ข้างในหนัก ๑ ชั่ง รวมหนัก ๓ ชั่ง
กรักขี ข้างหน้าหนัก ๓ หาบ ข้างในหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๔ หาบ ๕๐ ชั่ง
การบูน ข้างหน้าหนัก ๑ หาบ ข้างในหนัก ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง
ชันปึก ข้างหน้าหนัก ๑ หาบ ข้างในหนัก ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง
ผลกะเบา ข้างหน้าหนัก ๓ หาบ ข้างในหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๔ หาบ ๕๐ ชั่ง
แก่นไม้มะเกลือ ข้างหน้าหนัก ๓ หาบ ข้างในหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๔ หาบ ๕๐ ชั่ง
นอระมาด ข้างหน้า ๖ ข้างใน ๓ รวม ๙ ยอด
ผลกะวาน ข้างหน้าหนัก ๓ หาบ ข้างในหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๔ หาบ ๕๐ ชั่ง
งาช้างข้างหน้า ๔ ลำหาบ ๑๒ กิ่ง หนัก ๓ หาบ ข้างใน ๔ ลำหาบ ๖ กิ่ง หนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง รวมงาช้าง ๑๘ กิ่ง หนัก ๔ หาบ ๕๐ ชั่ง
ดีปลี เอาพริกไทยแทน ข้างหน้าหนัก ๑ หาบ ข้างในหนัก ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง
อำพัน ข้างหน้าหนัก ๑ ชั่ง ข้างในหนัก ๘ ตำลึง รวมหนัก ๑ ชั่ง ๘ ตำลึง
พิมเสนเอก ข้างหน้าหนัก ๑ ชั่ง ข้างในหนัก ๘ ตำลึง รวมหนัก ๑ ชั่ง ๘ ตำลึง พิมเสนโท ข้างหน้าหนัก ๒ ชั่ง ข้างในหนัก ๑ ชั่ง รวมหนัก ๓ ชั่ง รวมหนักทั้งสิ้น ๔ ชั่ง ๘ ตำลึง
จันทน์ชมด ข้างหน้าหนัก ๑ หาบ ข้างในหนัก ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง
หางนกยูง ข้างหน้า ๑๐ หาง ข้างใน ๕ หาง รวม ๑๕ หาง
ปีกนก ข้างหน้า ๖๐๐ ข้างใน ๓๐๐ รวม ๙๐๐ ปีก
กากเพชรจันทบูรณ์ ข้างหน้าหนัก ๗ ตำลึง ข้างในหนัก ๓ ตำลึง รวม ๑๐ ตำลึง
เปลือกสีเสียด ข้างหน้าหนัก ๑ หาบ ข้างในหนัก ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง
เปลือกกานพลู เอาเปลือกสมุนแวงแทน ข้างหน้าหนัก ๑ หาบ ข้างในหนัก ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง
รง ข้างหน้าหนัก ๓ หาบ ข้างในหนัก ๑ หาบ ๕๐ ชั่ง รวมหนัก ๔ หาบ ๕๐ ชั่ง
พรม ข้างหน้า ๒ ผืน ข้างใน ๑ ผืน รวม ๓ ผืน
ผ้าโมรีแดง ข้างหน้า ๑๐ ตรา ข้างใน ๕ ตรา รวม ๑๕ ตรา
ฝาง ข้างหน้าหนัก ๓๐ หาบ ข้างในหนัก ๑๕ หาบ รวมหนัก ๔๕ หาบ
ออกมาจิ้มก้องสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ ตามบุราณราชประเพณี สมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าสืบมาแต่ก่อน ถ้าและราชทูต อุปทูต ตรีทูต ข้าหลวงมีชื่อถึงแล้ว ขอให้สมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ ได้เห็นแก่ทางพระราชไมตรีและไมตรี จึงได้นำราชทูต อุปทูต ตรีทูต ข้าหลวงทั้งปวงเข้ากราบถวายบังคมสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ สำเร็จแล้วอย่าให้ขาดทางพระราชไมตรี ให้ได้กลับจงสะดวก
พระราชสาส์นมา ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๕๔ ปีชวด จัตวาศก ฯ
----------------------------
-
๑. คัดจากสมุดไทยดำเขียนเส้นหรดาน หมายเลข ๑/๖ กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้เมื่อ ๗ ก.ค. ๘๒ ↩