- คำนำ
- วัน ๑ ๙ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๒ ๑๐ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๓ ๑๑ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๔ ๑๒ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๕ ๑๓ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๖ ๑๔ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๗ ๑๕ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๑ ฯ๑ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๒ ฯ๒ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๓ ฯ๓ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๔ ฯ๔ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- --ว่าด้วยแผ่นดินแลเรือกสวนไร่นาในเมืองจันทบุรี
- วัน ๕ ฯ๕ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๙
- วัน ๖ ฯ๖ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๗ ฯ๗ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๑ ฯ๘ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๒ ฯ๙ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๓ ฯ๑๐ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
- วัน ๔ ฯ๑๑ ๒ ค่ำ ปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
วัน ๑ ๙ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘
วัน ๑ ๙ฯ ๒ ค่ำปีชวดอัฐศก ๑๒๓๘ เวลาเช้า ๒ โมง ได้ลงเรืออรรคราชวรเดช มีกรมอักษร คือกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ
อนึ่งทอง
อนึ่งเสียดายนักที่พระวิสูตร
อนึ่งไม่มีเวลาที่จะพูดด้วยมาก เพราะจัดของช้าอยู่กลัวจะสาย จึงรีบมาพบพระเกษม
อนึ่งเปนการเผลอจริงๆ เราไม่ได้เห็นป้อมนครเขื่อนขันธ์ แต่กรมขุนท่านเห็น ท่านว่าพ้นมาเมื่อก่อนน่าเรือมาถึงป้อมปากน้ำประมาณ ๑๕ มินิต เวลาเที่ยง ๔๐ มินิต เรือผ่านน่าป้อมเสือซ่อนเล็บมาทอดตรงพระเจดีย์กลางน้ำ คือพระสมุทเจดีย์เหนือป้อมผีเสื้อสมุท เกาวนาสมุท
พระ บำรุงอยุทธเยศแม้น | เมืองอมร |
เดช จบขจายจร | เจิดจ้า |
พระ เลี้ยงรักษราษฎร | ดลสุข ทั่วแฮ |
คุณ พระผ่านภพหล้า | ปกเกล้าเหล่าทหาร |
อยู่ พึ่งพระเดชด้วย | บารมี |
เย็น ทั่วประชาชี | แช่มช่อย |
เปน ข้าลอองธุลี | บัวบาท พระนา |
ศุข กระเษมใช่น้อย | รุ่งเรื้องเริงใจ |
โคลงนี้เขาเขียนไว้ที่ลับแล เจ้านายเห็นอ่านกันขึ้น เราจึงได้หาตัวมาถาม บอกว่าเปนหลวงอินทรอาวุธเจ้ากรมทหารปืนใหญ่ เดิมชื่อจ่าย เปนคนบวชอยู่วัดบวรนิเวศ แต่ครั้งทูลกระหม่อม
พระ ผู้ผ่านภพเกล้า | กรุงทวา รวดี |
สมุท ปราการนัครา | แรกตั้ง |
เจ สัวอิกนานา | ประเทศ อื่นเอย |
ดีย์ มโนทั่วทั้ง | ไพร่ฟ้าประชาชน |
ที่เขาว่านี้ความไม่กินกระทู้ เปนคนละทางความ แต่ต้องยกโทษเขาจะติไม่ได้ เพราะเปนปัจจุบันจริงๆ
เราก็ได้ลงทำพร้อมกับเขาบ้างได้ว่า
พระ สถูปธิราชสร้าง | ในสถาน |
สมุท ปราการตรง | เกาะนี้ |
เจ ดีย์ทิศไพหาร | ทรงเพิ่ม ใหม่แฮ |
ดีย์ ลกพระเกียรติชี้ | เชิดให้บูชา |
ของเราความเห็นจะเข้าเรื่องมากกว่า แต่เปนกระทู้ทำลำบากหน่อยหนึ่ง เอาสนิทไม่ได้.
อนึ่งมิศเตอร์อาลบาสเตอร์ขึ้นไปบก หาตำรากฎหมายที่หลีกเรือกัน เพราะเรือเมล์ที่พบกันลำก่อนที่ว่ามานั้น เกือบจะโดนกันกับเราทีเดียว เพราะเดิมเรือเราเดินไปข้างหัวแหลมเขามาท้องคุ้ง ฝ่ายเราเห็นว่าห่างกับเขาแล้วก็เดินเฉยไป เขาทำตามกฎหมายฝรั่งในการหลีกเรือ เมื่อเรือหลีกกันต้องเอาซ้ายให้กัน เขากลับหางเสือขวางเรือเรามา พอเราแลเห็นว่าเขามาขวา แล้วเราก็กลับมาน่าเรือไปซ้ายนั้น เมื่อพ้นกันแล้วเรือเขายังเดินไปริมฝั่งทีเดียว เรือเราออกนอก.
อนึ่งเราได้รับนำร่องปากน้ำขึ้นไปบนเรือคนหนึ่งด้วย เรือเดินรอเบาๆ ฤๅจะว่าลอยมาก็ได้ จนถึงเวลาบ่ายโมงกับ ๑๓ มินิตจึงได้ออกเดิน อนึ่งในแม่น้ำตั้งแต่น่าป้อมผีเสื้อสมุทมาจนถึงปากอ่าว มีนกนางนวลชุมกว่าแต่ก่อน ลอยน้ำมาจนใกล้ๆเรือประมาณ ๓ เส้น ๔ เส้นดูงามนัก เมื่อเรามาปากน้ำสองคราวแล้ว ดูไม่ใคร่จะมีมาก มีแต่ที่โพงพาง คราวนี้เห็นปลาจะชุมมากกว่าแต่ก่อนนกจึงชุมขึ้น ที่จริงนกนางนวลนี้งามจริงๆ ดีกว่านกยางมาก มีคำในกาพย์เห่เรือว่าไว้ว่า “นางนวลนวลน่ารัก ไม่นวลภักตร์เหมือนทรามสงวน แก้วพี่นี้สุดนวล ดังนางฟ้าหน้าไยยอง” กาพย์ของเก่าเขามีไว้ดังนี้ เราอยากช่วยเติมโคลงห่อเข้าอิกบทหนึ่ง แต่ไม่เคยทำกาพย์ห่อโคลงเลย เปนการลองดู จะถูกฤๅไม่ถูกไม่ทราบ.
๏ นางนวลนวลปีกแผ้ว | พึงรัก |
ไม่ผ่องเหมือนนวลภักตร์ | นิ่มน้อง |
แก้วพี่พิมลลักษณ์ | ลออเอี่ยม องค์เอย |
ดังอนงค์ในห้อง | หกฟ้ามาปูน |
กับยังมีโคลงอักษรล้วน แถมให้ด้วยอิกบทหนึ่ง
๏ นางนวลนึกหนึ่งหน้า | นางนวล |
ชายชิดแช่มช้อยชวน | ชื่นชู้ |
ใสสิส่งเสียงสรวล | สวยสุด |
ริร่ำรำร่ายรู้ | เรื่องร้องเริงรมย์ |
ออกจากปากอ่าวแหลมสิงห์มาถึงไม่ขาด เวลาบ่ายโมง ๑ กับ ๔๐ นาทีเศษ แล้วเลี้ยวมาตามร่อง บ่าย ๒ โมงถึงรั้วช้างแลไลต์เฮาส์ ที่ไลต์เฮาล์นี้สูง ๑๒ วา แต่เวลานั้นแลเห็นสูงกว่าน้ำประมาณ ๘ วา ๙ วา เมื่อไปคราวก่อนเราได้ขึ้นไปดูบนนั้น มีพื้นชั้นล่างสำหรับไว้ของ แต่ได้ถามผู้รักษาว่าน้ำทเลซัดถึงฤๅไม่ เขาว่ามีบ้างแต่ด้านตวันตก มีบันไดเหล็กขึ้นไปชั้นบน ในเมื่อวันเราขึ้นไปดูนั้นน้ำลง บันไดอยู่บนน้ำประมาณ ๓ วา ๒ ศอก ที่ชั้นบนนั้นมีหลังคาเปนหกเหลี่ยม กั้นห้องเปนสามห้อง ฝรั่งอยู่รักษา อยู่ห้องหนึ่ง ครัวห้องหนึ่ง สำหรับไว้ของแลลูกจ้างอยู่ห้องหนึ่ง มีบันไดขึ้นไปถึงในโคมๆ นั้นมีฝาชั้นนอกเปนหกเหลี่ยม มีกระจกบานใหญ่กรุพอเต็มเหลี่ยมๆ แผ่นกระจกห่างตัวโคมประมาณศอกเศษ ตัวโคมข้างในนั้นเปนรูปกลม มีแก้ว ๓ เหลี่ยมโค้งกลมตามรูปโคม มีครอบทองเหลืองยึดแก้ว ๓ เหลี่ยมนั้นวางระยะห่างๆกัน ประมาณสักนิ้วกึ่ง พอฉายแสงไฟดูห่างๆ เหมือนหนึ่งติดกันเปนพืดๆ ตัวโคมนั้นสูงตั้งแต่พื้นประมาณ ๔ ศอก มีเสาเหล็กรับข้างล่าง ต่อขึ้นไป จึงเปนโคมแก้วประมาณสองศอกคืบ กว้างสูนย์กลางประมาณศอกเศษ ที่ไส้นั้นเล็กเกือบจะเท่ากับโคมน้ำมันปรึกโตรเลียมขนาดใหญ่ๆ แต่เปนไส้กลมสองชั้น ถ้าเวลาจุดไส้รอบนอกเปิดสูงกว่าไส้รอบใน ไส้รอบในนั้นเปิดต่ำๆ ขับให้แสงไฟโตกว่าไฟปรกติมาก ที่น้ำมันนั้นอยู่ข้างขน มีหลอดแลควงไขน้ำมันลงมาถึงไส้พอสมควรกับไฟที่จะกินน้ำมัน แต่การที่รักษานั้น เขารักษาดีจริงๆ หมดจดนัก แล้วก็เปนความลำบากมาก เพราะถ้าเวลาจุดกลางคืนแล้ว ต้องเช็ดโมงลครั้ง จนตลอดรุ่ง หาไม่ก็มัวไป ถ้าเวลาจะเช็ดโคม ต้องเอาโคมน้ำมันปรึกโตรเลียมใช้แทนไปพลาง ในโคมนั้นร้อนเปนที่สุด แต่เวลากลางวันเมื่อเราไปยังไม่ได้จุดโคมเลย เข้าไปอยู่ในโคมนั้น เหมือนกับอยู่ในกระโจมแดด ผู้รักษาเขาต้องเอาผ้าใบกั้นที่กระจกโคมนอกพอกันร้อน แต่ผ้าใบนั้นเสียเร็วนัก.
การซึ่งรักษาโคมนี้ ท่านกรมท่า
คราวนี้จะต้องกลับว่าด้วยระยะทางต่อไป บ่าย ๒ โมง ๒๓ มินิต ถึงที่จอดกำปั่นฤๅน้ำเขียว เมื่อเวลาเช้านั้นไม่สู้หนาวนัก มากลางทางในแม่น้ำประมาณ ๔ โมงเช้า ๕ โมงเช้า อยู่ข้างจะร้อนกว่าที่จะครองเสื้อคัดเอเวสักลาดกั๊กอยู่สักหน่อย แต่พอออกปากน้ำแล้วก็เย็นสบาย แต่ไม่หนาว คลื่นลมสงบทีเดียว กรมขุนท่านสวิงสวายนิดหน่อยู่แล้วก็หายไป แต่ท่านยังนั่งยิ้มอยู่ เปนแต่ดมคู้บ่อยๆ เวลา ๓ โมงเศษกินเข้ากลางวัน แต่เวลาบ่ายเกือบ ๕ โมง เรือเข้าตรงเกาะสีชัง ต้องรอจักรเดินช้าๆ มา เวลา ๕ โมงเห็นเรือเจ้าพระยาภาณุวงษ์ ๒ ลำ กับเรือกันโบด ต่อสู้ไพรี เรือภิรมย์ ซึ่งออกมาคอยรับแต่เช้า มีทหารทอดอยู่ในเรือกันโบดเข้ามาหน่อยหนึ่ง ลงสมอที่ในเกาะสีชัง เวลาบ่าย ๕ โมง ๔๕ มินิต เรืออรรคราชครั้งนี้เดินช้ามาก เพราะเครื่องไม่ได้ใช้มานาน แลคนที่เคยใช้ไม่ได้มา เปนคนเปลี่ยนใหม่ อนึ่งจุบเสียรั่วไปด้วย แต่เที่ยวนี้เรือเราไม่ได้จอดตรงน่าตพานขึ้นบกเหมือนอย่างปีกุญสัปตศก เลื่อนเหนือขึ้นมาหน่อยหนึ่ง ในที่จอดเรือบัดนี้นั้น ถ้าแลดูไปข้างตวันตกเฉียงเหนือเปนเกาะสีชังยาว มียอดหลายยอด เรือจอดพ้นปากช่องเกาะสีชังกับเกาะขามใหญ่มาหน่อยหนึ่ง เหนือหมู่บ้านมามาก ถ้าแลดูตวันออกเฉียงเหนือเห็นเกาะขามใหญ่ใกล้ทีเดียว ที่เกาะนี้มีหาดทรายเปนที่งามนัก แลอาลบาสเตอร์ชมว่าน้ำที่นั้นอาบดี ไม่เหนียวตัวเลย ตรงตวันออกนั้นมีเกาะเล็ก เรียกว่าเกาะโปลง ตวันออกเฉียงใต้มีเกาะเล็ก เรียกว่าร้านดอกไม้ ที่เกาะนี้กรมขุนท่านชมว่างามเหมือนฉากเขียน เปนเกาะเล็กๆ อยู่ในน้ำน่ารักจริงๆ ถ้าจะแลดูไปให้ไกล ตั้งแต่ตวันออกท้ายเกาะขามเห็นเขาที่ฝั่งตลอดไป ห่างที่เรือเราจอดประมาณ ๕ ไมล์ ๖ ไมล์ เขาที่เห็นนั้นคือเขาบางพระ กับศรีมหาราชา เปนเขาสูงข้างหลังน่าต่ำ ต่อไปนั้นเขาเขียวเปนแนวเดียวกับเขาบางพระ แต่ดูฤกเข้าไปหน่อยหนึ่ง ต่อไปนั้นอ่าวกระสือ แล้วแหลมกระบัง ที่ว่ามานี้ตามที่ได้แลเห็นแต่ที่เรือจอดนี้ไป เปนเขาซับซ้อนกันมาก เมื่อนาฬิกา ๖ โมงฤๅย่ำค่ำ แต่ยังสว่างดีๆ ทีเดียว เราต้องนั่งมาในเรือนาน อยากจะขึ้นบกพอเดินเล่นบ้าง.
อนึ่งที่หมู่บ้านเกาะสีชังนี้ เราได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมแต่เล็กๆ ฤๅโตแล้วก็ได้มาบ้าง ได้เคยไปบ้านยายเสมที่เปนท้าว กับไร่ทับทิมของแกครั้งหนึ่ง พอนึกเค้าเก่าได้อยู่ ในความเข้าใจนั้น เห็นว่าจะจำได้ ครั้นปีกุญได้มาไม่สู้สบาย แล้วเรือจอดใต้วัดทางไกล จะเดินไปที่หมู่บ้านก็กลัวจะไม่สบายจึงไม่ได้ไป วันนี้จึงเปนที่ต้องการนัก จึงจะไปดูหมู่บ้านนั้นด้วย เราลงเรือโบด ๑๒ กันเชียง ในเรือนั้นพระนายไวยถือท้าย ท่านเล็ก กรมขุน กรมนเรศร์ ไชยันต์ สวัสดิ กาพย์ กรมอดิศร พระยาภาษ
อนึ่งได้พบยายจันซึ่งเปนแม่ยายขุนศรี ขุนศรีคนนี้เปนลูกยายท้าวเสมเหมือนกัน ได้ว่าการในเกาะกับยายพอน เปนลูกเขยยายจัน ๆ อายุ ๖๙ ปี ได้ถามแกถึงคนแก่ที่มาครั้งก่อนได้เคยแจกทาน แต่คนซึ่งอายุสูงกว่า ๑๐๐ ปีถึง ๓ คน บัดนี้ว่ายังมีอยู่แต่คนเดียวเท่านั้น หมายว่าจะพบแกอิก แต่ค่ำเสียแล้ว เปนความลำบากที่แกจะลงจากเรือน แลท่านกรมท่าให้นายนุดหลานยายเสม ซึ่งได้รับการแทนขุนศรี นำทางไปไร่ทับทิม เดินไปหว่างเรือนเกือบจะถึงเชิงเขานั้น มีใร่น้อยหน่าอยู่ข้างขวามือ ถ้าจะคิดตั้งแต่หาดถึงเชิงเขาประมาณสัก ๓ เส้น แล้วขึ้นไปบนเขาเปนศิลามากดินน้อย ลางทีก็เปนศิลาดาดไปยาวๆก็มีบ้าง ทางนั้นแคบจำเภาะเดินคนเดียว สองข้างเปนหญ้ารกแห้งบ้างสดบ้าง ลางทีก็มีต้นน้อยหน่ารายๆก็มีบ้าง.
แต่เขานั้นไม่ชันเปนทางลาดๆขึ้นไป ประมาณสัก ๒ เส้นถึงบ่อน้ำ ที่เจ้าคุณทิพากรวงษ์
อนึ่งในเกาะนี้มีวัดแห่งหนึ่ง เปนของทูลกระหม่อม รับสั่งให้เจ้าคุณทิพากรวงษ์มาทำไว้ มีแต่โบสถ์สามห้องหลังหนึ่ง มีเก๋งขวางข้างน่าโบสถ์ตั้งอยู่บนเขายื่นออกมาในทเล มีบันไดปูนขึ้น มีการเปรียญเก่าอยู่ริมน้ำกับกุฎีสองสามห้อง เวลาทุ่มหนึ่งแล้วเรือไรซิงซันมาทอดที่ท้ายเรือพระที่นั่งห่างกันประมาณ ๔ เส้นเศษ เรือเขจรมาจอดตรงเรืออรรคราชห่างประมาณ ๓ เส้นเศษ แล้วท่านกลางกับเจ้านายที่ไปด้วยเรือเขจรมาหาที่เรือเราพร้อมกัน ในเวลาวันนี้เราต้องเปนธุระที่จะจดหนังสือนี้แทบยังค่ำ ออกเหนื่อยหน่อยๆ ครั้นเวลา ๒ ทุ่มครึ่งกินเข้าพูดกันถึงเรื่องเกาะสีชัง ได้นัดกับกรมขุน กรมพิชิต พระยาภาษ ให้คิดโคลงชมเกาะคนละบท กรมขุนกับพระยาภาษคิดยังไม่ออกจนสิ้นเวลาถูกปรับ เราได้คิดสองบท แต่เลือกเอาบทหนึ่งว่า
๏ ถิ่นศุขกายศุขด้วย | ถิ่นดี |
จิตรโปร่งปราศราคี | ชุ่มชื้น |
สองศุขแห่งชาวสี | ชังเกาะ นี้แฮ |
อายุย่อมยืนพื้น | แต่ร้อยเรือนริม |
๏ สีชังประเทศน้อย | ในชลา ไลยฤา |
แสนสนุกภูผา | พืดน้ำ |
ประเสริฐสบมหิยอา | กาศเกิด เกษมเอย |
ใครสถิตย์ชนม์กะก้ำ | กึ่งร้อยปีประเมิน |
กรมหมื่นพิชิตปรีชากร
๏ สีชังชื่อเกาะนั้น | เยียไฉน |
ชังพี่ฤๅชังใคร | ใคร่รู้ |
ความรักหนักแหนงใน | ใจเจ็บ จริงนา |
เสียรักเสียแรงสู้ | คิดไว้หวังชม |
กรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ
๏ สีชังเปนเกาะขึ้น | เขตรสมุท ปราการเอย |
ไคลเมตชลใสสุทธ | สอาดแท้ |
น้อยหน่ารศก็คุต | กว่าเทศ อื่นนา |
อินวลิตมาอยู่แล้ | ลิพได้เชนซุรี |
พระยาภาษกรวงษ์
อนึ่งเมื่อก่อนกินเข้านั้น ท่านกลางกลับไปเรือ ทองไปด้วย เวลา ๔ ทุ่ม ธอมอเมตเตอฟาเรนเหตชั้นล่าง ๗๖ ดิครี บนดาดฟ้า ๗๒ ดิครี เวลา ๔ ทุ่มครึ่ง เข้าห้องนอน.
-
๑. พระเจ้าบรมวงษ์เธอชั้น ๓ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ↩
-
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ↩
-
๓. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ↩
-
๔. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ↩
-
๕. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช ↩
-
๖. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิสโมสร ↩
-
๗. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ ↩
-
๘. สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ ↩
-
๙. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ↩
-
๑๐. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ↩
-
๑๑. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ↩
-
๑๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์ ↩
-
๑๓. มิศเตอร์เฮนรี่ อาลบาสเตอร์ ↩
-
๑๔. พระยาวิสูตรสาครดิฐ (กัปตันยอนบุช) ↩
-
๑๕. พระยาไชยสุรินทร (เทวหนึ่ง) ↩
-
๑๖. พระยาประภากรวงษ์วรวุฒิภักดี (ชาย) ↩
-
๑๗. หลวงจักรยานานุพิจารณ์ (เหมา) ↩
-
๑๘. สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ↩
-
๑๙. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ↩
-
๒๐. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนสิริธัชสังกาศ ↩
-
๒๑. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ↩
-
๒๒. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ↩
-
๒๓. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ↩
-
๒๔. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ ↩
-
๒๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ↩
-
๒๖. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ↩
-
๒๗. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ↩
-
๒๘. พระเจ้าบรมวงษ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ↩
-
๒๙. พระเจ้าบรมวงษ์เธอชั้น ๓ พระองค์เจ้าเงินยวง ↩
-
๓๐. พระเจ้าบรมวงษ์เธอชั้น ๓ พระองค์เจ้าจามรี ↩
-
๓๑. พระเจ้าไอยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ↩
-
๓๒. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ ↩
-
๓๓. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร ↩
-
๓๔. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าภักตรพิมลพรรณ ↩
-
๓๕. พระเกษมราชสุภาวดี (เผือก) ↩
-
๓๖. พระยาอนุชิตชาญไชย (อุ่น) ↩
-
๓๗. เจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก (นุช) ↩
-
๓๘. เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโภษา (แพ) ↩
-
๓๙. เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด) ↩
-
๔๐. พระยาจ่าแสนบดี (ขลิบ) ↩
-
๔๑. พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) ↩
-
๔๒. พระยาพิพัฒโกษา (ทับ) ↩
-
๔๓. พระยาเทพประชุน (ปั้น) ↩
-
๔๔. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน ที่สมุหพระกลาโหม (วร) ↩
-
๔๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาเทวะวงษ์วโรปการ ↩
-
๔๖. พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ↩
-
๔๗. พระยาราชภักดี (ทองคำ) ↩
-
๔๘. พระยาสมุทบุรานุรักษ์ (เนตร) ↩
-
๔๙. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์ (ช่วง บุนนาค) ↩
-
๕๐. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ↩
-
๕๑. เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ↩
-
๕๒. พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์ ↩
-
๕๓. เจ้าพระยาภาษกรวงษ์ (พร) ↩
-
๕๔. เจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต) ↩
-
๕๕. พระยาราชพงษานุรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองสมุทสงคราม (ชม) ↩
-
๕๖. นายสุดใจราชานุประพันธ์ ↩
-
๕๗. พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่) ↩
-
๕๘. ท้าวราชกิจวรพัฒน์ (แพ) ↩
-
๕๙. เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ↩