- คำนำ
- จดหมายเหตุบรมราชาภิเษกครั้งแรก รัชกาลที่ ๕
- จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ตอนแรกเสวยราชย์
- จดหมายเหตุเสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์แลเมืองเบตาเวีย ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕
- หนังสือกำหนดการรับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามที่เมืองเบตาเวีย
- จดหมายเหตุของพระวรภัณฑ์พลากร
- ระยะทางเสด็จประพาสอินเดีย
- จดหมายเหตุบรมราชาภิเษกครั้งหลัง รัชกาลที่ ๕
- ภาคผนวก ๑. (ก) เรื่อง กงสุลอังกฤษลดธง
- ภาคผนวก ๑. (ข) เรื่องอัฐปลอม
- ภาคผนวก ๑. (ค) เรื่อง เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม
- ภาคผนวก ๑. (ฆ) เรื่อง พวกจีนตั้วเฮีย
- ภาคผนวก ๒. (ก) เรื่อง สร้างวัดราชบพิธ
- ภาคผนวก ๒. (ข) เรื่อง สร้างพระรูป ๔ รัชกาล
- ภาคผนวก ๓. เรื่อง เสด็จไปต่างประเทศครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๑๕
- ภาคผนวก ๔. เรื่อง นักเรียนไทยไปศึกษา ณ ต่างประเทศ
- ภาคผนวก ๕. คำกราบบังคมทูลของท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
- ภาคผนวก ๖. (พระบรมราชโองการ)
- ภาคผนวก ๗. เรื่องเลิกธรรมเนียมหมอบคลาน
- ภาคผนวก ๘. เรื่องการแต่งกายเข้าเฝ้า
ภาคผนวก ๔. เรื่อง นักเรียนไทยไปศึกษา ณ ต่างประเทศ
อันนักเรียนหลวงที่ส่งไปศึกษายังทวีปยุโรปครั้งแรก สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตรัสเล่าไว้ว่า
“นักเรียนหลวงซึ่งส่งไปยุโรปครั้งแรก เมื่อในรัชกาลที่ ๕ นั้น คือ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ๑ หม่อมเจ้าเจ๊ก ในกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ ๑ พระยาไชยสุรินทร์ (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง ศิริวงศ์ ณ กรุงเทพ) ๑ รวม ๓ ด้วยกัน ส่วนนักเรียนหลวงส่งคราวที่ ๒ นี้ ๑๐ คน ขุนวิทยานุกูลกวี (ห่วง) บุตรพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เป็นผู้กำกับไป นักเรียน ๑๐ คน นั้น คือ
๑. หม่อมราชวงศ์ ครบ บุตรหม่อมเจ้าโต ในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอชั้น ๑ พระองค์เจ้าบัว เมื่อกลับมาได้เป็นหลวงกิจจานุรักษ์แล้วถึงแก่กรรม ๑
๒. นายกลิ่น บุตรพระยาสุรศักดิมนตรี (แสง ชูโต) คือ พระยาสุรเสนา ๑
๓. นายหนา บุตรพระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) กลับมารับราชการ เดี๋ยวนี้เป็นพระยาเดชานุชิต สมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี ๑
๔. นายเล็ก บุตรเจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี (หงส์ สุจริตกุล) กลับมารับราชการได้เป็นพระยารัตนโกษา ราชเลขานุการ แล้วจึงถึงอนิจกรรม ๑
๕. นายจิตร บุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) กลับมารับราชการ เดี๋ยวนี้เปนพระยารำไพพงศ์บริพัฒน์ ในกรมรถไฟ ๑
๖. นายเหม บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กลับมารับราชการ เดี๋ยวนี้เปนพระยานิพัทธสุริยานุวงศ์ ๑
๗. นายเชย บุตรเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธ (เทศ บุนนาค) กลับมารับราชการเปนพระราชวิตรวิสุทธรักษ์ ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ๑
๘. นายเอื้อน บุตรหลวงภูเบศร์บริบาล (โต ชูโต) กลับมารับราชการเปนนายร้อยเอกทหารบก ไปถึงแก่กรรมเมื่อรบฮ่อ ๑
๙. นายลบ บุตรหลวงสิทธิศรสงคราม (แย้ม) ๑
๑๐. นายพัน บุตรพระยาสมบัตยาธิบาล (นาค ชูโต) ถึงแก่กรรมในยุโรปก่อนกลับมา ๑”
(คัดจากหนังสือ โคลงสุภาษิตเจ้านาย พระราชนิพนธ์ แลพระนิพนธ์ ทรงเมื่อในรัชกาลที่ ๕ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) ปี พ.ศ. ๒๔๖๓)
----------------------------
นักเรียนหลวงที่ส่งไปยังทวีปยุโรป ครั้งแรกนั้นส่งไปเมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ รุ่นที่ ๒ ส่งไปเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ และต่อมาเท่าที่พบหลักฐาน ได้ส่งไปเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ อีกรุ่น ดังมีพระนามและนามต่อไปนี้
(๑) หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช
(๒) นายทัน บุนนาค บุตรพระสุธรรมไมตรี (ทุ้ย บุนนาค) - ขุนบำรุงรัฐเขตร
(๓) นายเจริญ บุณยรัตพันธุ์ บุตรพระสกลรัฐยาธิบาล (นุ้ย บุณยรัตพันธุ์) -?
(๔) นายผล บุนนาค บุตรพระไพรัชพากย์ภักดี (ทวน บุนนาค) - ?
(๕) นายผาด เทพหัศดิน บุตรหลวงฤทธิ์ (พุด เทพหัศดิน) - พระยาเทพหัสดิน
(๖) นายเลื่อน สุวรรณศิริ บุตรพระยากฤติกานุกรณ์กิจ (เล็ก สุวรรณศิริ) - พระยาบริคณฤชากร
(๗) นายเรือง บุตรขุนอักษรสมบัติ (รอด) - ?
๗ นายนี้ส่งไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส
(๑) หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์
(๒) หม่อมเจ้าชายกลาง ทวีวงศ์
(๓) หม่อมราชวงศ์ นพ เสนีวงศ์ บุตรหม่อมเจ้าปาน เสนีวงศ์
(๔) หม่อมราชวงศ์ โต๊ะ นพวงศ์ บุตรหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ - หลวงบวรวาที
(๕) นายพาสน์ บุนนาค บุตรเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) - นายราชาณัตยานุหาร
(๖) นายฉาก สุวรรณทัต บุตรพระยาอนุชิตชาญชัย (พึ่ง สุวรรณทัต) หลวงประกิจอังกนี
(๗) นายชื่น โชติกเสถียร บุตรพระยาทิพยโกษา (หมาโต โชติกเสถียร) - พระยาสรรพกิจปรีชา
(๘) นายสวัสดิ์ โชติกเสถียร บุตรพระยาธรรมจรรยานุกูล (ทองดี โชติกเสถียร) - ?
๘ นายนี้ ส่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
(๑) หม่อมราชวงศ์ใหม่ นพวงศ์ บุตรหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ - พระยารัตนโกษา
(๒) นายเพิ่ม ศกุนะสิงห์ บุตรพระยาเพ็ชรพิไชย (สิงห์โต ศกุนะสิงห์) - หลวงสุเรนทรวิชิต
(๓) นายหั้ง โชติกเสถียร บุตรพระยาทิพยโกษา (หมาโต โชติกเสถียร) - พระวิทยุธุรลิขิต
(๔) นายวิน บุตรหลวงสุนทรภูเบศร์ (?) - ?
๔ นายนี้ ส่งไปศึกษาที่ประเทศเยอรมัน
(คัดจากจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๓๔ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสงวน จันทรสาขา หน้า ๖๓)