- คำนำ
- คำปรารภ
- ประณามคาถา
- บทที่ ๑ ความริษยาแห่งญาติ
- บทที่ ๒ การสยมพร นางเท๎ราปที
- บทที่ ๓ ที่ประชุมรัฏฐมนตรีกรุงหัสดิน
- บทที่ ๔ กรุงอินทรปรัสถ์ แห่งเจ้าปาณฑพ
- บทที่ ๕ การพะนันน่าสยดสยอง
- บทที่ ๖ เจ้าปาณฑพต้องเนรเทศ
- บทที่ ๗ กรุงวิราฎ
- บทที่ ๘ พวกเการพยกทัพเข้าเหยียบแดนกรุงวิราฎ
- บทที่ ๙ พวกเการพทราบข่าวเจ้าปาณฑพ
- บทที่ ๑๐ หารือสงบศึกไม่สำเร็จต่างเตรียมรบ
- บทที่ ๑๑ สงครามกุรุเกษตร
- บทที่ ๑๒ ความวิตกของทุรโยธน์
- บทที่ ๑๓ โท๎รณาจารย์จอมทัพใหม่ฝ่ายเการพ
- บทที่ ๑๔ มรณะของอภิมันยุ
- บทที่ ๑๕ ท้ายสงคราม
- บทที่ ๑๖ อวสานแห่งสงคราม
ประณามคาถา
สมฺมา อภูตปุพฺพํ โย | จตุสจฺจวรํ สยํ |
พุชฺฌิตฺวา มุฬฺหโลกสฺส | ตํ เทเสสิ, นมามิ ตํ. |
โลเก โมหนฺธกาเร ยํ | ปทีปํ ชลิตํ วิย |
สมฺพุทฺโธ โมหนาสาย | สุเทเสสิ, นมามิ ตํ. |
โย ยาวชฺชตนา สงฺโฆ | สฺวากฺขาตธมฺมธารโก |
พุทฺธสฺส สาสนํ สมฺมา | ปกาเสสิ, นมามิ ตํ. |
มยฺหํ ปุพฺพูปการา เย | ชนนีชนกา อุโภ |
เมตฺตาการฺุจิตฺเตน | โปสยึสุ, นมามิ เต. |
มยฺหํ มโหปการา เย | คุรโว จ ทยาลุกา |
เมตฺตาจิตฺเตน สิสฺสสฺส | วิชฺชา’ ทํสุ, นมามิ เต. |
----------------------------
อมฺหากฺจ มหาราชา | โย ปชาธิปกวฺหโย |
ธมฺมิโก คุณสมฺปนฺโน | จกฺกิวํส วรุตฺตโม |
สฺยามรฏฺเ สฺยามิกานํ | อตฺถาย จ หิตาย จ |
รฏฺํ สมฺมาภิปาเลนฺโต | ปชาย อนุกมฺปโก |
คำกลอนนมัสการ
ปิโย จ รฏฺวาสีนํ | พาหิรานมฺปิโย ตถา |
วโรปตฺถมฺภโก เจว | สาสนสฺส มเหสิโน |
ธมฺมามิเสหิ สงฺมสฺส | ปูเชสิ, ตนฺนมามิหํ. |
สฺยามเทวาธิราช’าที | เย เย เทวา มหิทฺธิกา |
กาเม รูเป อรูเป จ | วสึสุ, เต นมามิหํ. |
เอวํ พุทฺธาทิปฺปณามา | ชาตํ ปฺุมิทํ มม |
รฺโ จ สฺยามรฏฺสฺส | วุฑฒิภาวาย สิชฺฌตุ. |
มหาภารตยุทฺธาติ- | นามกา ยา มหากถา |
ปากฏา พฺราหฺมณคฺคนฺเถ | ชมฺพูทีปมโนรมา, |
ตํ กิตฺติวุฑฺฒิภาวาย | สฺยามินฺทสฺส จ ราชิโน |
โสตากรณภาวาย | สฺยามิกานฺจ สพฺพทา |
สฺยามิเกน สิโลเกน | ปวกฺขามิ ยถาพลนฺติ. |
คำกลอนนมัสการ
ข้าขอน้อมเกล้าเคารพ | หัตถ์จบบรรจงตรงเศียร |
ถวายพระพุทธ์เลิศเทิดเธียร | ปราบเสี้ยนศึกมารบรรลัย |
ชี้คลองของจริงยิ่งธรรม | เลิศล้ำก่อนกี้หามีไม่ |
ปลุกโลกเปลื้องหลงปลงใจ | ดับไฟตัณหาสามานย์ |
ข้าขอนบธรรมอำพน | แผ้วมนท์มืดแจ้งแสงฉาน |
องค์พระสัมพุทธ์สุทธญาณ | บรรหารหักเขลาเมามาย |
ข้าขอนบคณะพระสงฆ์ | ชินวงศ์ว่านเครือเชื้อสาย |
สืบศาสน์สอนธรรมกำจาย | แพร่หลายต่อมาช้านาน |
ข้านบบิดามาดร | ตั้งหน้าสาทรสงสาร |
เลี้ยงดชูชุบอุปการ | จิตต์มานเมตตาการุณย์ |
ข้าขอนบครูผู้กอบ | กิจชอบช่วยเอื้อเกื้อหนุน |
ประสิทธิ์วิชชาอ่าคุณ | ค้ำจุนจิตต์ตั้งหวังดี |
อนึ่งข้าบังคมบรมบาท | สยามราชเรืองคุณวิบุลศรี |
พระบาทพระปกเกล้าปิ่นเมาฬี | แห่งจักรีราชวงศ์ทรงพระคุณ |
พระเกียรติยงทรงธรรม์อันวิเศษ | นำประเทศไทยเทิดประเสริฐสุนทร์ |
พระครองราษฎร์ร่มหล้าด้วยการุญ | ทรงค้ำจุนพุทธศาสน์โอภาสพุทธิ์ |
เป็นที่รักทวยราษฎร์ทุกชาติชั้น | สนิทฉันบิดาเมตตาบุตร |
เปนนายกยกไทยมิให้ทรุด | ประทานวุฑฒิมหาสถาพร |
อนึ่งข่าขอนบอภิวาท | พระสยามเทวราชมหิศร |
พระเสื้อเมืองทรงเมืองเรืองขจร | และอมรเมืองฟ้าทั่วธาตรี |
เดชพุทธาทิประณามคุณหลามล้น | จงสิทธิ์ผลพูนองค์พระทรงศรี |
ผู้ปิ่นปักหลักสยามงามรูจี | สุขทวีทั่วสิ้นแผ่นดินไทย |
พระบารมีปกเกล้าเนาสวัสดิ์ | พูนพิพัฒน์ผาสุกทุกสมัย |
เวลาว่างกิจโล่งโปร่งฤทัย | จึงตริไตรรจนา “ศึกภารต” |
ไว้อ่านเล่นโลมโสตให้โชติช่วง | เพื่อบำบวงบาทบงสุ์อลงกต |
เทิดพระเกียรติท้าวไทยไขพระยศ | อยู่ปรากฏเกริกหล้าคู่ฟ้าดิน |
อันเรื่องศีกมหิมาแห่งภารต | มีปรากฏในเขตต์ประเทศถิ่น |
ชาวชมพู |
สยามเก่าเราชินในก่อนกาล |
ตามถ้อยคำสำนวนใน “ยวนพ่าย” | ซึ่งบรรยายยศไท้แห่งไทยขาน- |
ไขซึ่งคุณสมบัติกษัตริย์ “ปาณ- | ฑพ” เทียบเปรียบสมภารภูบดี |
อีกทั้งในสมญาบรรดาศักดิ์ | ก็ประจักษ์ ‘อรชุน’ ‘นกุล’ ‘ศรี’ |
สหเทพ’ เทียบตั้งยังอยู่มี | เป็นคนดีโบราณท่านคุ้นเคย |
หวังกู้เรื่องเก่านี้มีดังก่อน | เหมือนอย่างกลอนรามเกียรติ์จึงเพียรเฉลย |
ผูกเป็นกลอนเพื่อการอ่านสะเบย | ตามที่เคยอ่านเล่นเช่นเสภา |
ได้ยึดถ้อยร้อยแก้วโรงพิมพ์ไทย | “น ร. |
ปนกับเรื่องที่ตูเคยรู้มา | จากตำราอื่นเอาเคล้าเปนกลอน |
ขออุททิศเจตนาอุตสาหะ | ถวายพระสยามิศอดิศร |
ชนกครูชูชุบอุปกรณ์ | และ น.ร. ก่อก่อนผู้สอนทาง |
ขอจงการรจนา “ศึกภารต” | สำเร็จพจน์เผยแจ้งแสงสว่าง |
แก่สยามงามเงื่อนดุริยางค์ | ดนตรีล้างทุกข์ไทยทั่วไป เอย. |
-
๑. ‘ชมพู’ ควรมีคำ ‘ทวีป’ อย่างทวีปยุโรป, ทวีปลังกา ฯลฯ แต่เป็นคำรู้จักกันมาก ไทยมักใช้แต่ชื่อโดด ๆ ได้ เช่นชาวชนพู, ชาวยุโรป ชาวลังกา ฯลฯ แม้แต่ร้อยแก้ว, จึงใช้ตามบ้าง. สุนทรภู่ก็ใช้อย่างนี้ เช่น ‘จะเจ็บช้ำคำเหล่าชาวชมพู เพราะชิงชู้.........” (พระอภัย) ↩
-
๒. น.ร. เป็นชื่อย่อของผู้แปลมหาภารตยุทธ์ฉบับอังกฤษ ซึ่งได้บอกไว้ในหน้าปกหนังสือนั้นว่า มหาภารตยุทธ์ ของราเชนทรสิงห เรียบเรียงพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๐ น.ร. เรียบเรียง ↩