ไตรยางษ์ วรรณยุต สระ

๏ กขฃคฅฆง จฉชซฌญ ฎฏฐฑฒณ ดตถทธน บปผฝพฟภม ยรลวศษสหฬอฮ ๚ะ

๏ ตอนก ๗ ตอนจ ๖ ตอนฎ ๖ ตอนด ๖ ตอนบ ๘ ตอนย ๑๑ รวม ๖ ตอน เปน ๔๔ ตัว ๔๔ นี้เรียกว่าพยัญชะนะ รวมเข้ากับสระเรียกว่าอักษร ในอักษร ๔๔ นี้ แจกออกเปน อักษรสูง ๑๑ อักษรกลาง ๙ อักษรต่ำ ๒๔ สามหมู่นี้เรียกว่าไตรยางษ์ แปลว่าสามส่วน ๚ะ

๏ อักษรสูง ๑๑ คือ ขฃฉฐถผฝศษสห ๚ะ

๏ อักษรกลาง ๙ คือ กจฎฏดตบปอ ๚ะ

๏ อักษรต่ำ ๒๔ คือ คฅฆง ชซฌญ ฑฒณ ทธน พฟภม ยรลวฬฮ ๚ะ

“จบไตรยางษ์”

“ขึ้นวรรณยุต” วรรณยุต แปลว่าของสำหรับประกอบกับตัวอักษร มี ๑๓ อย่าง ๚ะ

ไม้เอก    ่   $\left. \begin{array}{}\mbox{} \\\mbox{} \\\mbox{} \\\mbox{} \\\mbox{} \\\mbox{} \\\mbox{}\end{array} \right\}$ สำหรับผันอักษร ๓ หมู่
ไม้โท    ้  
ไม้ตรี    ๊  
ไม้จัตวา $\left. \begin{array}{}\mbox{ } \\\mbox{ } \\\mbox{ }\end{array} \right\}$    ๋  
กากบาท
ตีนกา
ฝนทอง " สำหรับเขียนไว้บนฟองมันแลพิน   ิ  ฟันหนูก็เรียก
ฟองมัน สำหรับเขียนไว้ต้นวรรคและต้นบันทัด ตาไก่ก็เรียก ๚ะ
วิสัญชะนี สำหรับประหลังอักษร นมนางทั้งคู่ก็เรียก ๚ะ
ทัณฑฆาฏ สำหรับฆ่าอักษรไม่อ่าน หางกระแตก็เรียก เหมือนคำว่า พระองค์ บัลลังก์ เปนต้น ๚ะ
ไม้ไต่คู้    ็   สำหรับชักเสียงให้สั้น เลข ๘ ก็เรียก เหมือนคำว่า เห็น เย็น เสด็จ เผด็จ เปนต้น ๚ะ
นิคหิต $\left. \begin{array}{}\mbox{ } \\[1.4ex]\mbox{ }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$   ํ   สำหรับเขียนไว้บนสระ า   ิ ุ ดั่งนี้ ำ   ึ ํุ หยาดน้ำค้างก็เรียก
นฤคหิต
โคมูตร สำหรับเฃียนสุดท้าย แลที่จบเรื่องความ
มุสิกทันต์ ' $\left. \begin{array}{}\mbox{ } \\[1.4ex]\mbox{ }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ สำหรับเขียนบนพิน   ิ  คือดั่งนี้   ี   ื  
ฟันหนู "
หางกังหัน $\left. \begin{array}{}\mbox{ } \\\mbox{ } \\\mbox{ }\end{array} \right\}$    ั   สำหรับผัดบนคือดั่งนี้ $\left. \begin{array}{}\mbox{กัน } \\\mbox{ขัน } \\\mbox{คัน }\end{array} \right\}$ เปนต้น
หันอากาศ
ไม้ผัด

จบวรรณยุต

“ขึ้นสระ”

๏ สระแปลว่าเสียง ว่าเปนที่ออกเสียง คือว่าประสมกับพยัญชะนะตัวใด ก็ชักตัวนั้นให้ออกเสียงตามสระ เหมือนตัว ก ถ้ามีสระ า ก็อ่านว่า ‘กา’ มีสระ   ิ ก็อ่านว่า กิ ดังนี้เปนต้น สระเปน ๒ พวก สระ ๒๐ เหมือนในนโมนั้นพวกหนึ่ง สระ ๑๕ สำหรับประสมแจกแม่ ก กา เปน ๑๖ ทั้งสระ ‘อ’ นี้พวกหนึ่ง ๚ะ

ในวิธีอักษรไทย สระออไม่มีตัวจะใช้ ต้องเอาตัว อ เคียงเข้าเหมือนอย่างกอไม้ ก่ออิฐ ไก่ก้อเปนต้น

๏ สระ ๑๕ สำหรับประกอบเข้ากับพยัญชะนะ แจกแม่ ก กา นั้นคือ

สระ อา คือลากข้าง า

สระ อิ คือพิณ   ิ

สระ อี คือพิน   ี

สระ อึ คือพิน   ึ

สระ อื คือพิน   ื

สระ อุ คือตีนอุ   ุ

สระ อู คือตีนอู   ู

สระ เอ คือไม้น่าอันหนึ่ง เ

สระ แอ คือไม้น่าสองอัน แ

สระ ไอ คือไม้มลาย ไ

สระ ใอ คือไม้ม้วน ใ

สระ โอ คือไม้โอ โ

สระ เอา คือไม้น่ากับลากข้าง เ า

สระ อำ คือนฤคหิตจุดบนลากข้าง ำ

สระ อะ คือวิสัญชนีข้างหลัง |ะ

$\left. \begin{array}{}\mbox{  ิ   ี ุ |ะ } \\[1.4ex]\mbox{อิ อี อุ อะ }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ๔ ตัวนี้ชื่อรัศสะเสียงสั้น นอกจาก ๔ ตัวนี้ ชื่อทีฆะสำเนียงยาว ๚ะ

๏ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ๔ ตัวนี้ ก็นับเข้าในสระมาในสังสะกฤษฎ เอาตัว ห นำไม่ได้ เพราะเปนสระเหมือน า   ิ   ี ๚ะ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ