ศับท์สังขยา

๏ คำ พระภิรักขิตท้าย อมรา ต้นเอย
กลอน ท่านรังรจนา แนะไว้
สอน พวกดะรุณทา รกร่ำ เรียนเอย
เดก อย่าดูหมิ่นให้ เร่งรู้ดูจำ

----------------------------

๏ อันดับนี้ข้าข้อกล่าว ให้เนื่องเรื่องราว วิธีนับศับท์สังขยา ๚ะ

๏ เด็กเอ๋ยเจ้าจงศึกษา (ตำหรับนับรา) จงรู้กระทู้ที่นับ ๚ะ

๏ ห้าสองหนเปนสิบสับ สิบสองหนนับ ว่ายี่สิบอย่าสงไสย ๚ะ

๏ สิบสามหนเปนต้นไป ท่านเรียกชื่อใช้ สามสิบสี่สิบตามกัน ฯะ

๏ สิบสิบหนเปนร้อยพลัน สิบร้อยเปนพัน สิบพันเปนหมื่นหนึ่งนา ๚ะ

๏ สิบหมื่นเปนแสนหนึ่งหนา สิบแสนท่านว่า เปนล้านหนึ่งพึงจำไว้ ๚ะ

๏ สิบล้านนั้นเปนโกฏิไซร้ ร้อยแสนโกฏิไป เปนปะโกฏิหนึ่งตามมี ๚ะ

๏ ร้อยแสนปะโกฏินี้ เปนโกฏิปะโกฏี พึงกำหนดอย่าคลาศคลา ๚ะ

๏ ร้อยแสนโกฏิปะโกฏิหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่าเปนนะหุตหนึ่งไป ๚ะ

๏ ร้อยแสนนะหุตนั้นไซร้ ท่านเรียกชื่อไว้ ว่าเปนนินนะหุตนา ๚ะ

๏ ร้อยแสนนินนะหุตหนา ได้นามตามมา ว่าอะโขภินีหนึ่งมี ๚ะ

๏ ร้อยแสนอะโขภินี ได้นามตามมี ว่าพินธุอันหนึ่งนา ๚ะ

๏ ร้อยแสนพินธุหนึ่งหนา ท่านเรียกกันมา ว่าอัพพุทพึงจำไว้ ๚ะ

๏ ร้อยแสนอัพพุทไซร้ ได้นามตามใช้ ว่านิรัพพุทหนึ่งนา ๚ะ

๏ ร้อยแสนนิรัพพุทหนา ท่านเรียกชื่อมา ว่าอะหะหะตามมี ๚ะ

๏ ร้อยแสนอะหะหะนี้ มีนามตามที่ ว่าอพะพะหนึ่งนา ๚ะ

๏ ร้อยแสนอพะพะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่าอฏะฏะตามมี ๚ะ

๏ ร้อยแสนอฏะฏะนี้ มีนามตามที่ ว่าโสคันทิกะหนึ่งนา ๚ะ

๏ ร้อยแสนโสคนทิกะหนา ท่านเรียกชื่อว่า เปนกมุทอันหนึ่งไป ๚ะ

๏ ร้อยแสนกมุทนั้นไซ้ มีนามตามใช้ ว่าบุณฑริกหนึ่งแน่ ๚ะ

๏ ร้อยแสนบุณฑริกแท้ ท่านเรียกกันแล ว่าเปนปทุมหนึ่งไป ๚ะ

๏ ร้อยแสนปทุมนั้นไซ้ ท่านตั้งชื่อใช้ ว่ากะถานะอันหนึ่งนา ๚ะ

๏ ร้อยแสนกะถานะนั้นหนา ท่านเรียกกันมา ว่ามหากะถานะหนึ่งไป ๚ะ

๏ ร้อยแสนมหากะถานะไซ้ เปนอสงไขย คือเหลือจะนับพรรณา ๚ะ

๏ อนึ่งลำดับที่นับมา ผิดจากเทศนา ของพระชิโนวาที ๚ะ

๏ ลำดับเทศนาดังนี้ นิรัพพุทมี แล้วอัพพะพะอฏฏะมา ๚ะ

๏ อหะหะกมุทา โสคันทิกา แล้วอุบปละบุณฑริกนี้ ๚ะ

๏ ปทุมะกะถานะตามที่ จงรู้วิธี แล้วสังเกตกำหนดแล ๚ะ

๏ แต่ร้อยถึงโกฏินี้แท้ เอาสิบคูณแน่ เร่งรู้หนาอย่าหลงไหล ๚ะ

๏ แต่โกฏิถึงอสงไขย เอาร้อยแสนไซ้ เร่งคูณเข้าอย่าลืมแล ๚ะ

๏ อนึ่งโสดนับมีสามแท้ นับด้วยวัดแล ด้วยตวงด้วยชั่งเปนสาม ๚ะ

๏ โยชนหนึ่งสี่ร้อยเส้นตาม เส้นหนึ่งโดยความ ยี่สิบวาอย่าสงไสย ๚ะ

๏ วาหนึ่งสี่สอกบอกไว้ สอกหนึ่งท่านใช้ สองคืบไซ้ตามมีมา ๚ะ

๏ คืบหนึ่งสิบสองนิ้วหนา นิ้วหนึ่งท่านว่า สี่กระเบียดจงจำเอา ๚ะ

๏ กระเบียดหนึ่งสองเมลดเข้า เมลดเข้าหนึ่งเล่า แปดตัวเหาจงรู้รา ๚ะ

๏ ตัวเหาหนึ่งนั้นท่านว่า แปดไข่เหาหนา ไข่เหาหนึ่งแปดเส้นผม ๚ะ

๏ เส้นผมหนึ่งนั้นนิยม แปดธุลีลม ธุลีหนึ่งแปดอณูนา ๚ะ

๏ อณูหนึ่งพึงรู้หนา ท่านใช้กันมา ว่าแปดปรมาณูแล ๚ะ

๏ หนึ่งนานับโดยกว้างแท้ ยี่สิบวาแล ยาวยี่สิบวาเปนไร่ ๚ะ

๏ ถ้าโดยกว้างสิบวาไป ยาวสิบวาไซ้ เปนงานหนึ่งพึงจดจำ ๚ะ

๏ สี่งานท่านประสมทำ เปนไร่หนึ่งกำ หนดไว้ให้ดีดังว่ามา ๚ะ

๏ ไม้น่ากว้างสอกหนึ่งหนา ยาวสิบหกวา เปนยกหนึ่งพึงจำไว้ ๚ะ

๏ นับด้วยวัดอย่างนี้ไซ้ นับด้วยตวงไป จงนับใช้ดังนี้นา ๚ะ

๏ เข้าเกวียนหนึ่งนั้นท่านว่า เปนสองบั้นหนา บั้นหนึ่งสี่สิบสัด ๚ะ

๏ สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด ทะนานหนึ่งสังกัด สองจังออนจงจำไว้ ๚ะ

๏ จังออนหนึ่งสี่กำมือได้ กำมือหนึ่งไซ้ สี่ใจมือตามมีมา ๚ะ

๏ โจมือหนึ่งนั้นท่านว่า ร้อยเมลดเข้าหนา นับด้วยตวงเพียงนี้แล ๚ะ

๏ ทองภาราหนึ่งแท้ ยี่สิบดุนแน ดุนหนึ่งยี่สิบชั่งนา ๚ะ

๏ ชั่งหนึ่งยี่สิบตำลึงหนา ตำลึงหนึ่งรา สี่บาทถ้วนจงจำไว้ ๚ะ

๏ บาทหนึ่งสี่สลึงไทย สลึงหนึ่งท่านใช้ สองเฟื้องจงจำไว้นา ๚ะ

๏ เฟื้องหนึ่งนั้นสี่ไพหนา ไพหนึ่งท่านว่า สองกล่ำจงกำหนดไว้ ๚ะ

๏ กล่ำหนึ่งสองกล่อมตามใช้ กล่อมหนึ่งลงไป สองเมลดเข้าตามมีมา ๚ะ

๏ อันนี้นับด้วยชั่งหนา จงเร่งศึกษา เปนสามประการวิธี ๚ะ

๏ หนึ่งโสดปีตามชื่อมี่ อยู่สิบสองปี นับชวดเปนต้นไปนา ๚ะ

๏ ปีชวดชื่อเปนหนูหนา ปีฉลูโคนา ปีขานเปนเสือสัตว์ไพร ๚ะ

๏ ปีเถาะเปนกระต่ายไซ้ มะโรงงูใหญ่ มะเสงงูเล็กแลนา ๚ะ

๏ มะเมียเปนชื่อมิ่งม้า มะแมแพะหนา วอกว่าลิงระกาไก่ ๚ะ

๏ จอสุนักข์กุญหมูไซ้ สิบสองปีได้ โดยนิยมดังกล่าวมา ๚ะ

๏ ปีหนึ่งสิบสองเดือนหนา สิบสามบ้างรา นับเดือนห้าเปนต้นไป ๚ะ

๏ แล้วเดือนหกเดือนเจ็ดไซร้ เดือนแปดเก้าไป เดือนสิบเดือนสิบเอ็ดมา ๚ะ

๏ เดือนสิบสองเดือนอ้ายหนา เดือนญี่สามมา เดือนสี่เปนสิบสองไป ๚ะ

๏ ปีใดอะธิกะมาศใส่ เดือนเข้าอีกไซ้ ปีนั้นสิบสามเดือนนา ๚ะ

๏ เดือนหนึ่งนั้นสองปักษ์หนา คือข้างขึ้นมา ข้างแรมเปนสองปักษไป ๚ะ

๏ ข้างขึ้นสิบห้าวันได้ ข้างแรมท่านใช้ สิบห้าสิบสี่วันบ้าง ๚ะ

๏ เดือนใดเปนเดือนขาดค้าง ข้างแรมท่านวาง สิบสี่วันตามวิไสย ๚ะ

๏ เพราะดังนี้เดือนถ้วนได้ วันสามสิบไป เดือนขาดยี่สิบเก้าวัน ๚ะ

๏ เดือนหกถ้วนเดือนห้านั้น เปนเดือนขาดพลัน ทั้งสิบสองเดือนเปลี่ยนไป ๚ะ

๏ จึ่งมีเดือนถ้วนหกเดือนได้ เดือนขาดเล่าไซ้ ก็ได้หกเดือนเหมือนกัน ๚ะ

๏ ถ้ามีอธิกะมาศนั้น เดือนแปดสองปัน เดือนถ้วนจึ่งเปนเจ็ดนา ๚ะ

๏ วันมีชื่อเจ็ดวันหนา วันอาทิตย์มา วันจันทร์ วันอังคารนี้ ๚ะ

๏ วันพุฒวันพฤหัศบดี วันศุกรศักดิ์ศรี วันเสาร์ครบเสร็จเจ็ดวัน ๚ะ

๏ กลางวันกลางคืนควบกัน ท่านนับเปนวัน หนึ่งควรจะใส่ใจจำ ๚ะ

๏ วันหนึ่งนั้นแปดยามย่ำ กลางวันท่านกำ หนดไว้ว่าสี่ยามมี ๚ะ

๏ กลางคืนก็นับยามสี่ วันกับราตรี จึงเปนแปดยามตามใช้ ๚ะ

๏ ยามหนึ่งสามนาลิกาไซร้ นาลิกาท่านใช้ กลางวันท่านเรียกว่าโมงนา ๚ะ

๏ กลางคืนเรียกว่าทุ่มหนา นาลิกาหนึ่งรา ได้สิบบาดท่านบอกไว้ ๚ะ

๏ บาดหนึ่งสี่นาทีไทย นาทีหนึ่งได้ สิบห้าเพชะนาที ๚ะ

๏ เพชะนาทีหนึ่งนี้ หกปราณด้วยดี ปราณหนึ่งสิบอักษรไซ้ ๚ะ

๏ ปีหนึ่งมีวันนับได้ สามร้อยวันไป กับห้าสิบสี่วันวาร ๚ะ

๏ ปีใดท่านเพิ่มวันกาล เปนอะธิกะวาร เพิ่มเข้าอีกวันหนึ่งนา ๚ะ

๏ ปีนั้นวันสามร้อยหนา กับห้าสิบห้า วันตามที่โลกย์ยินยล ๚ะ

๏ ถ้าปีอะธิกะมาศปน เดือนแปดสองหน ปีนั้นมีวันมากรา ๚ะ

๏ นับวันได้สามร้อยหนา กับแปดสิบห้า วันยิ่งตามโหรนิยมไว้ ๚ะ

๏ อนึ่งฤดูมีสามไซ้ คือเหมันต์ไป คิมหันต์วัสสานะนา ๚ะ

๏ เดือนสิบสองแต่แรมมา เดือนสี่เพ็ญหนา สี่เดือนนี้ชื่อเหมันต์ ๚ะ

๏ แต่แรมเดือนสี่จนวัน เพ็ญเดือนแปดนั้น สี่เดือนนี้คิมหันต์นา ๚ะ

๏ แรมค่ำหนึ่งเดือนแปดมา ถึงเพ็ญวารา กะติกะมาศจงรู้ ๚ะ

๏ สี่เดือนถ้วนวัสสานะฤดู แบบโหรเปนครู ว่าตามศศิโคจร ๚ะ

๏ ทิศแปดปันโดยนามกร คือทิศบูรพ์ก่อน เปนทิศตระวันออกนา ๚ะ

๏ แล้วอาคเณย์ทิศา ทักษิณนี้หนา เปนทิศข้างใต้ตามมี ๚ะ

๏ แล้วต่อไปทิศหรดี จึงประจิมนี้ เปนทิศตระวันตกหนา ๚ะ

๏ แล้วจึ่งทิศพายัพมา ทิศอุดรรา เปนทิศด้านเหนือจงจำ ฯะ

๏ แล้วจึ่งทิศอิสาณสำ เหนียกให้แม่นยำ ปันทิศแปดทิศคงตรง ๚ะ

ตวันออกเฉียงเหนือ
อิสาณ
ทิศตวันออก
บูรพ์
ตวันออกเฉียงใต้
อาคเณย์
ทิศเหนือ
อุดร
  ทิศใต้
ทักษีณ
ทิศตวันตกเฉียงเหนือ
พยัพ
ทิศตวันตก
ประจิม
ตวันตกเฉียงใต้
หรดี
๑๓ ๒๕ ๖๑ ๑๐๑ ๑๐๐๐๐๐
๑๔ ๓๐ ๗๐ ๑๐๐๒ ๑๐๐๐๐๐๐
๑๕ ๓๑ ๗๑ ๑๐๓ ๑๐๐๐๐๐๐๐
๑๖ ๓๒ ๘๐ ๑๐๔  
๑๗ ๓๓ ๘๑ ๑๐๕  
๑๘ ๓๔ ๙๐ ๑๐๖  
๑๙ ๓๕ ๙๑ ๑๐๗  
๒๐ ๔๐ ๙๒ ๑๐๘  
๒๑ ๔๑ ๙๓ ๑๐๙  
๑๐ ๒๒ ๕๐ ๙๔ ๑๑๐  
๑๑ ๒๓ ๕๑ ๙๕ ๑๐๐๐  
๑๒ ๒๔ ๖๐ ๑๐๐ ๑๐๐๐๐  

นับสูญดังนี้ หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ

m๏ แต่ร้อยถึงโกฏิใช้ สิบคูณ
โกฏิตราบอสงไขยสูญ เหล่านี้
ร้อยแสนเร่งคูณภูล เถิดพ่อ
ลักษณดังนี้ชี้ ช่องให้ปราชเหน ๚ะ

----------------------------

ชั่ง

ตำลึง

บาท

เฟื้อง

สลึง

ไพ

เปน ชั่ง สี่ตำลึง สามบาท สองสลึง เฟื้อง สองไพ ๚ะ

๏ ตำลึงบนเฟื้องอยู่ หนกา น่านา
บาทใส่บนสลึงตรา ครุท้าย
ไพล่างชั่งบนกา บนอยู่กลางนา
ตีนครุตามครุย้าย ยักใช้เรือนเงิน

๏ ณวัน ๑ - ๕ เดือน

๏ ณวัน ๒ - ๕ เดือน

เปนวัน $\left. \begin{array}{}\mbox{อาทิตย์ } \\[1.4ex]\mbox{จันทร์ }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ เดือนห้า $\left. \begin{array}{}\mbox{ขึ้น } \\[1.4ex]\mbox{แรม }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ค่ำหนึ่ง

๏ วางวันนั้นน่าเส้น โดยหมาย
เดือนอยู่สุดสายปลาย เปลี่ยนใช้
ข้างขึ้นอยู่ยอดสาย ยื้นอย่า ฉงนแฮ
แรมค่ำกาได้ไซ้ สี่นี้แบบแผน ๚ะ
๏ ไม้มลายลักษณชี้ สองสฐาน
จักบอกแบบบรรหาร แห่งใช้
พวกคำมคธขาน ควรใส่ ยอแฮ
ไม้มลายล้วนใช้ ส่วนข้างคำสยาม ๚ะ

----------------------------

๏ อนึ่งพึงสังเกต คำไม้มลายเปนสองอย่าง คำไม้มลายที่ต้องมีตัว ย สกด ด้วยคำนั้นมาแต่ภาษามคธอย่างหนึ่ง คำมีแต่ไม้มลายล้วน ด้วยเปนคำไทยอย่างหนึ่ง จะรวบรวมคำไม้มลาย มีตัว ย ไว้พอเปนตัวอย่างดังนี้ ๚ะ

กัยวิไกย ชลาไลย ไกยกล อายุไขย อะสงไขย ราชพินิไจย ราชวินิจไฉย อวยไชย โชคไชย มีไชย ฦๅไชย ถวายไชยมงคล เวนไตย จุธาธิปะไตย พระรัตนไตรย ไตรยภูวะนารถ ไตรยภพนารถ วรไตรย ผ้าไตรย มารยาสาไถย พระหฤไทย ท้าวไทย ทาษไทย พระอาทิตย์อุไทย อรุโณไทย อรไทย มหาดไทย พระวิไนย ท้าวสหัสไนย พระภูวไนย พระภาคิไนย เปนเลศไนย โดยไนยมาในบาฬี บุรุษอาชาไนย หัดถาชาไนย อัศวาชาไนย ฃออะไภย เภทไภย โพยไภย โรคไภย ราชไภย โจรไภย อรรคีไภย อุทกไภย นฤไภย ทไวย สบไสมย อุไภย ปัจุสไสมย มโนไมย อุประไมย อะโนประไมย ไญยะธรรม สุราเมไรย มาไลย นิราไลย พิราไลย โศกาไลย สุราไลย หิมวาไลย พนาไลย เจริญไวย เสื่อมไวย ทรามไวย ปฐมะไวย มัชฌิมะไวย ปัจฉิมะไวย อัชฌาไศรย อัธยาไศรย ตามวิไสย สงไสย วิไสย อาไศรย อายุไกษย ชีพตัดไษย กิเลศอนุไสย อาชาวะไสย ประชาวะไสย ถือนิไสย ขาดนิไสย พวกพลไหย มหาไหยรัตโนดม ๚ะ

----------------------------

๏ คำไม้มลายไม่มีตัว ย ชักเอาแบบในจินดามณีมาเทียบไว้ แต่แก้คำที่มีตัว ย เสียบ้างดังนี้ ๚ะ

๏ ท้าวไทแลไพร่พล ทั้งพงไพรแลไร่นา เกรียงไกรไผทรา ชะผดุงทั้งกรุงไกร ๚ะ

๏ ฉับไวแลปลดไปล่ แลลุกไล่แลครรไล ไยไพประไลไป แลร้องไห้จะไจ้จรึง ๚ะ

๏ เจ้าไทวะรำไพ แลทางไกลยังไปถึง ไหวหวั่นแลพรั่นพรึง แลไหว้พระแลไคลคลา ๚ะ

๏ หลังไหล่แลไรเกษ แลไตรภพไตรตรา ไต่ทางทุรัถยา ทั้งแอกไถก็ไพบูลย์ ๚ะ

๏ บันไดกระไดไพ เราะหไผ่ละไมมูล ขับไล่แลไว้ธูร สมบูรณ์เขญเปนไฉน ๚ะ

๏ คลองไปแลไหลหลั่ง แลไถ่คนแลเรือดไร ไก่ไข่แลน้ำไหล แลไซ้ปีกประไพงาม ๚ะ

๏ ไพรีแลไพจิตร แลขวิดไขว่แลไอจาม ไฟไหม้แลไต้ลาม แลไนหูกแลป่านไหม ๚ะ

๏ ทำได้แลไว้คง แลตะไค่แลเปนไฝ ถุงไถ้แลออมไห สว่างไสวแลไสยา ๚ะ

๏ ไส้พุงแลตับไต แลเหงื่อไคอะเนกา ระวังระไววา จะกะโทษวะจีมี ๚ะ

๏ ยากเขญแลเร้นไร้ ทั้งผลไม้แลไมตรี ไฉไลแลไพล่หนี แลบ่าไหล่แลแกว่งไกว ๚ะ

๏ ไศลไฃ้แลไกรสร แลสะไบละมุนละไม ผักไห่แลไม้ไทร แลไอสูรยแล่หลาย ๚ะ

----------------------------

๏ จบมูลบทเบื้อง บรรพกิจ
เปนประถมควรสถิตย ที่ต้น
เปนแบบสั่งสอนสิศย สายสืบ ไว้นา
ความที่ฦกลับอ้น อัดอั้นออกขยาย ๚ะ

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ