ลิลิตดั้น มาตาปิตุคุณคาถาบรรยาย

บาลี

มาตาปิตุคุณคาถา

๑. นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ลิลิตดั้น

มาตาปิตุคุณคาถาบรรยาย

ร่าย

๑. ศรีสุนทรประณาม งามด้วยเบญจพธ องคประดิษฐ์กุตดม อัญขยมประจงถวาย พร้อมด้วยกายวาจาจิตต์ แด่บพิตรภควันต์ ผู้อรหันต์หักเกลศ เป็นสมุจเฉทปหาน มวลมารพ่ายแพ้ศูนย์ สิ้นเสร็จ ทรงพระคุณล้ำล้นเลิศครู.

๒. พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร

อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา.

โคลง ๔

๒. บิตุมาตุมากด้วย อุปการ บุตรแล
ควรที่บุตร จักบู- ชิตล้น
ท่านเรียก “บุพพาจารย์” แห่งบุตร
เพราะฝึกสอนตั้งต้น แต่ปฐม
อนึ่งท่านประกอบด้วย พรหมวิหาร
ในบุตรประดุจพรหม ประพฤติไซร้
บัณฑิตจึ่งขนาน นามว่า ‘พรหม’ นา
เพราะจิตต์ท่านตั้งได้ ดั่งพรหม
๓. ตสฺมา หิ เน นมสฺเสยฺย สกฺกเรยฺยาถ ปณฺฑิโต
อนฺเนน อถ ปาเนน วตฺเถน สยเนน จ
อุจฺฉาทเนน นหาปเนน ปาทานโธวเนน จ
ตาย ปาริจริยาย มาตาปิตูสุ บณฺฑิตา
อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.

โคลง ๔

๓. เหตุนั้นบุตรผู้กอบ ปรีชา
พึ่งประคบประหงม ค่ำเช้า
ด้วยน้ำโภชน์พัสตร์ อา- สนะที่ นอนเอย
ชำระกายล้างเท้า นวดสกนธ์
บุตรบำรุงชนกทั้ง ชนนี ฉะนี้นา
ปวงปราชญ์สรรเสริญตน ทั่วหน้า
เจริญสุขยศศักดิ์ศรี สวัสดิ์โลก นี้นา
สิ้นชีพสู่ชั้นฟ้า เฟื่องคุณ
๔. มาตาปิตุกิจฺจ กโร ปุตฺตทารหิโต สทา
อนฺโตชนสฺส อตฺถาย เย จสฺส อนุชีวิโน
อุภินฺนฺเว อตฺถาย วทฺู โหติ สีลวา
าตีนํ ปุพฺพเปตานํ ทิฎฺเ ธมฺเม จ ชีวิตํ
สมณานํ พฺราหฺมณานํ เทวตานฺจํ ปณฺฑิโต
วิตฺติสชนโน โหติ ธมฺเมน ฆรมาวสํ
โส กริตฺวา กลฺยาณํ ปุชฺเช โหติ ปสํสิโย
อิเธว นํ ปสํสนติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.

โคลง ๓

๔. กลบุตรผู้บัณฑิต รู้ภาษิตปราชญ์อ้าง
ทรงซึ่งศีลพร้อมสร้าง สิ่งกุศล
ควรขวนขวายกอบกิจ ของปิตุมาตุเกื้อ
กูลลูกเมียเอื้อเฟื้อ ไป่เชือน
ครอบครองเรือนโดยชอบ กอบความปลื้มจิตต์ให้
แก่มนุษย์ณบ้านได้ ดับเข็ญ
อีกชนเป็นบริวาร พงอาหารค่ำเช้า
ให้รับสุขร้างเศร้า โศกศูนย์
เกื้อกูลญาติสองหมู่ ญาติสู่ปรโลกไซร้
อุททิศตรวจน้ำให้ ส่วนบุญ
เจือจุนญาติยังคง ดำรงชีพอยู่นั้น
ห่างชิดเป็นชั้นชั้น ช่วยเหลือ
เจือจานสมณพราหมณ์ สมเคราะห์ ตามแบบเบื้อง
เคารพเทพผู้เรื้อง ฤทธี
ผู้ปรีชากอบกิจ อันโศภิต พ่างนี้
ควรออกโอษฐเอื้อนชี้ เชิดชู
คนบูชาทุกหมู่ อยู่โลกนี้เล่าไซร้
ปราชญ์จักแซ่ซ้องให้ สระเสริญ
เจริญสุขเกษมสันติ์ ณสวรรค์เพริศแพร้ว
เมื่อละโลกนี้แล้ว เลิศสราญ

 

๕. ปฺจฏฺานานิ สมฺปสสํ ปุตฺตํ อิจฺฉนติ ปณฺฑิตา
ภโต วา โน ภริสฺสติ กิจฺจํ วา โน กริสฺสติ
กุลวํโส จีรํ ติฏฺเ ทายชฺชํ ปฏิปชฺชติ
อถ วา ปน เปตานํ ทุกฺขิณํ นุปฺปทิสฺติ
านาเนตานิ สมฺปสฺสํ ปุตฺตํ อิจฺฉนติ ปณฺฑิตา

โคลง ๔

๕. ปิตุมาตผู้ปราชญ์ เมื่อปอง บุตรแล
เห็นเหตุห้าประการ ก่อนไซร้
หนึ่งเห็นว่าบุตรของ เราชุบ เลี้ยงเอย
เราแก่จักได้เลี้ยง ตอบเรา
หนึ่งกิจใดช่วยได้ บุตรคง ช่วยเอย
หนักมากก็บางเบา แบ่งน้อย
หนึ่งจักสืบกุลวงศ์ วัฒนะ นานแฮ
วงศ์ไม่ต่ำต้อยด้วย บุตรดี
หนึ่งจักรับปกป้อง มฤดก
หาเพิ่มพูนให้ทวี มากไว้
หนึ่งยามเมื่อสองชนก ดับชีพ ลงแฮ
ศพบุตรจักได้ตั้ง แต่งทำ
จักกอบกิจก่อสร้าง กุศล
อุททิศส่วนบุญกรรม ส่งให้
ผู้บัณฑิตเห็นผล ห้าอย่าง ฉะนี้นา
จึงปรารถนาให้ได้ ดนัย
๖. ตสฺมา สนฺโต สปฺปุริสา กตฺู กตเวทิโน
ภรนฺติ มาตาปิตโร ปุพฺเพกตมนุสฺสรํ
กโรนฺติ เนสํ กิจฺจานํ ยถา ตํ ปุพฺพการินํ
โอวทการี ภตโปสี กุลวํสํ อหาปยํ
สุทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน ปุตฺโต โหติ ปสํสิโย.

โคลง ๔

๖. เหตุฉะนั้นบุตรผู้สัต- บุรุษปรี ชาเฮย
ผู้กตัญญใจ ระงับพร้อม
กอบกตเวท รำลึก คุณเฮย
ที่ท่านโอยอ้อมเอื้อ อุดหนุน
พึงอุตสาห์พอกเลี้ยง ชนกชน- นีเทอญ
ประกอบกิจสนองคุณ ท่านไซร้
กวีท่านขวายขวน แก่ชนก ไฉนมา
ควรประพฤติให้ได้ ดั่งกวี
บุตรผู้เลี้ยงชนก บำรุง ตนแล
เชื่อชอบณวจี ท่านพร้อง
ตั้งจิตต์คิดผะดุง วงศ์ตระ กูลแล
บมิให้ต้องล้ม แหลกลาญ
เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา
อยู่ณศีลาจาร เจิดพร้อม
จักเจริญเกียรติคุณปรา- กฎทั่ว โลกพ่อ
ควรสระเสริญโน้มน้อม นักหนา
๗. อากงฺขมานา ปุตฺตผลํ เทวตาย นมสฺสติ
นกฺขตฺตานิ จ ปุจฺฉติ อุตุสํวจฺฉรานิ จ
ตสฺสา อุตุสินฺหาตาย โหติ คพฺภสฺสวกฺกโม
เตน โทหฬินี โหติ สุหทา เตฺน วุจฺจติ.

ร่าย

๗. มารดาผู้จำนง ประสงค์ผลได้บุตร ให้ผ่องผุดผิวพรรณ ย่อมอภิวันท์กราบไหว้ บวงสรวงไท้เทวดา ดูฤกษ์ผานาที วันเดือนปีกำเนิด นับแต่เกิดฤดูมา ทารกลงสู่ครรภ์ เกิดฉันทะรักบุตร สมมุติว่าแพ้ท้อง ท่านจึงพร้องเพรียกขาน ขนานนาม ‘สุหทา’ มีอัธยาศัยดี เหตุมีจิตต์มีใจ จดจ่อ รักบุตรที่อุ้มท้อง ทับทวี

๘. สํวจฺฉรํ วา อูนํวา ปริหริตฺวา วิชายติ
เตน สา ชนยนฺตีติ ชเนตฺตี เตน วุจฺจติ

ร่าย

๘. อนึ่งชนนีรักษา ครรภ์มาเกือบขวบปี บางทีเต็มขวบตลอด ก็คลอดซึ่งกุมาร เพราะการที่มารดา ยังลูกยาให้อุบัติ จึงบัญญัติสมเญศ ว่า ‘ชเนตตี’ ตามต้นเหตุ ยังลูกอ่อนนั้นให้ เกิดมา

๙. ถนกฺขีเรน คีเตน องฺคปาวฺรเณน จ
โรทนฺตํ ปุตฺตํ โตเสติ โตเสนฺตี เตน วุจฺจติ

ร่าย

๙. อนึ่งเวลาลูกร้อง ก็แซ่ซ้องกล่อมขับ กอดแนบกับทรวงอก ให้โปดกดื่มถัญ ผ่อนผันปลอบโยนบุตร ให้หยุดร้องรื่นรมย์ จึงได้สมญาไข ตามนัยว่า ‘โตเสนตี’ เหตุ ยังบุตรตนให้ได้ ดุษฎี

๑๐. ตโต วาตาตเป โฆเร มมฺมํ กตฺวา อุทิกฺขติ
ทารกํ อุปฺปชานนฺตํ โปเสนฺตี เตน วุจฺจติ.

ร่าย

๑๐. ต่อมามีจิตต์ผูก พันในลูกอ่อนผู้ ยังไม่รู้จักความ เล่นตามแดดลมจัด คอยทานทัดป้องกัน รับมิ่งขวัญพิทักษ์ ประจักชื่อ ‘โปเสนตี’ เหตุ เพราะท่านโลมเลี้ยงด้วย เสน่หา

๑๑. ยฺจ มาตุ ธนํ โหติ ยฺจ โหติ ปิตุทฺธนํ
อุภยมฺเปตสฺส โคเปติ อปิ ปุตฺตสฺส โน สิยา
เอวํ ปุตฺต อทุํ ปุตฺต อิติ มาตา วิหฺติ
ปมตฺตํ ปรทาเรสุ นิสฺสิเว ปุตฺตโยพฺพเน
สายํ ปุตฺตํ อนายนฺตํ อิติ มาตา วิหฺติ.

ร่าย

๑๑. บรรดาทรัพย์ใดๆ ในส่วนข้างบิดา หรือมาจากชนนี ผู้อารีปกครอง ทรัพย์ทั้งสองนี้ไว้ เพิ่มเติมให้เจริญ เกินของเก่าขึ้นไป ด้วยมีใจผูกพัน ว่าสรรพ์ทรัพย์นี้ไซร้ จักได้แก่บุตรเรา ผู้จักเนาสืบวงศ์ ให้ดำรงอยู่นาน อนึ่งมารดาบิดา ปรารถนาจักให้ บุตรได้รับความดี ปราณีคอยแนะนำ ลูกเอ๋ยทำอย่างนี้ จงหลีกลี้อย่างนั้น สู้อดกลั้นทุกข์ยาก ทนลำบากสั่งสอน เมื่อตอนบุตรเติบใหญ่ ใฝ่จิตต์มัวเมาไป ในภรรยาผู้อื่น ดึกดื่นยังไม่กลับ ซับทราบเรื่องเคืองขุ่น ครุนจิตต์คิดอาดูร ดาลเดือด ด้วยห่วงฤเว้นข้อน อกตน

๑๒. เอวํ กิจฺฉา ภโต โปโส มาตุ อปริจารโก
มาตริ มิจฉา จริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ
เอวํ กิจฺฉา ภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก
ปิตริ มิจฺฉา จริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ.

โคลง ๓

๑๒. คนที่แม่เลี้ยงยาก ไป่อุปัฏฐากแม่ไซร้
ผิดต่อแม่ฉะนี้ได้ นรกผล
คนที่พ่อเลี้ยงยาก ไป่อุปัฏฐากพ่อไซร้
ผิดต่อพ่อฉะนี้ได้ นรกผล
๑๓. ธนมฺปิ ธนกามานํ นสฺสติ อิติ เม สุตํ
มาตรํ อปริจริตฺวาน กิจฺฉํ วา โส นิคจฺฉติ
ธนมฺปิ ธนกามานํ นสฺสติ อิติ เม สุตํ
ปิตรํ อปริจริตฺวาน กิจฺฉํ วา โส นิคจฺฉติ.

โคลง ๓

๑๓. ชนไป่เลี้ยงมารดา เราทราบมากะนี้
ใคร่ทรัพย์ ๆ ลี้ล้วน ขัดสน
ชนไป่เลี้ยงบิดา เราทราบมากะนี้
ใคร่ทรัพย์ ๆ ลี้ล้วน ขัดสน

 

๑๔ อานนฺโท จ ปโมโท จ สทา หสิตกีฬิตํ
มาตรํ ปริจริตฺวาน ลพฺภเมตํ วิชานตา
อานนฺโท จ ปโมโท จ สทา หสิตกีฬิตํ
ปิตรํ ปริจริตฺวาน ลพฺภูเมตํ วิชานตา

โคลง ๓

๑๔. คนใดกอบปรีชา เลี้ยงมารดาจักได้
สุขชื่นครึกครื้นไซร้ สบสมัย
คนใดกอบปรีชา เลี้ยงบิดาจักได้
สุชชื่นครึกครื้นไซร้ สบสมัย

 

๑๕. มาตาปิตา ทิสา ปุพฺพา อาจริยา ทกฺขิณา ทิสา
ปุตฺตทารา ทิสา ปจฺฉา มิตฺตา มจฺจา จ อุตฺตรา
ทาสกมฺมกรา เหฎฺา อุทฺธํ สมณพฺราหฺมณา
เอตา ทิสา นมสฺเสยฺย อลมตฺโต กุเล คิหี

โคลง ๔

๑๕. บิตุมาตุเป็นทิศหน้า ครูทิศ ขวาแฮ
เมียลูกทิศหลังไข เขตต์ไว้
มูลนายอมาตย์มิตร อยู่ทิศ ซ้ายเฮย
ทิศล่าง คนใช้ทั้ง ทาสชน
พราหมณ์สมณะผู้ ไพบูลย์ ศีลนา
อยู่ณทิศเบื้องบน บอกชี้
คฤหัสถ์ณตระกูล สามารถ พอแฮ
ควรนบทิศนี้ทั้ง หกสถาน
๑๖. ปณฺฑิโต สีลสมฺปันโน สโณฺห จฺ ปฏิภาณวา
นิวาตวุตฺติ อตฺถทฺโธ ตาทิโส ลภเต ยสํ
อุฏฺฐานโก อนลโส อาปทาสุ น เวธติ
อจฺฉิทฺทวุตฺติ เมธาวี ตาทิโส ลภเต ยสํ
สงฺคาหโก มิตฺตกโร วทฺู วีตมจฺฉโร
เนตา วิเนตา อนุเนตา ตาทิโส ลภเต ยสํ

โคลง ๔

๑๖. บัณฑิตผู้กอบด้วย ศีลา- จารเฮย
ละเอียดเอิบปฏิภาน เพียบไซร้
อ่อนน้อมไป่มีมา- นะกะ ด้างเอย
คนเช่นกล่าวนี้ได้ ยศหลาย
อนึ่งผู้ประกอบพร้อม เพรียงปัญ- ญาแฮ
มากหมั่นฤคร้านคลาย กิจไซร้
ไป่ไหวหวั่นต่ออัน- ตรายมาตร หน่อยเลย
คนเช่นกล่าวนี้ได้ ยศหลาม
ผู้ใฝ่สงเคราะห์ทั้ง ผูกมิตร
รู้เท่าภาษิตตาม ปราชญ์ชี้
ไป่เหนียวแนะนำกิจ ชี้เหตุ ผลนา
คนเช่นกล่าวนี้ได้ ยศเหลือ
๑๗. ทานญจ ปิยวชฺชญฺจ อตฺถจริยา จ ยา อิธ
สมานตตฺตา จ ธมฺเมสุ ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ
เอเต โข สงฺคหา โลเ รถสฺสาณีว ยายโต.

โคลง ๒

๑๗. ความเจือจานจ่ายเกื้อ- กูลเพื่อนควรเอื้อเฟื้อ หนึ่งประการ
สองขานคำเพราะทั้ง น่ารักแก่ผู้ตั้ง โสดฟัง
ใดยังประโยชน์ให้ เกิดกอบสิ่งนั้นไซร้ ที่สาม
ความเสมอในทุกผู้ เสมอณธรรมด้วยรู้ ที่ควร
ธรรมจำนวนสี่นี้ สังคหะอ้างชี้ ชื่อประจำ
ธรรมเครื่องยึดหน่วงน้ำ จิตต์ณโลกนี้ล้ำ เลิศคุณ
อุดหนุนมนุษย์ให้ ผูกสมัครพรักพร้อมได้ ศุภผล
กลสลักรึงรถเข้า เป็นรูปแน่นแฟ้นเต้า ต่อไป
๑๘. เอเต จ สงฺคหา นาสสุ น มาตา ปุตฺตการณา
ลเภถ มานํ ปูชํ วา ปิตา วา ปุตฺตการณา
ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต สมเวกฺขนฺติ ปณฺฑิตา
ตสฺมา มหตฺตํ ปปฺโปนฺติ ปาสํสา จ ภวนฺติ เต

โคลง ๔

๑๘. แม้ความสงเคราะห์นี้ ไป่มี แล้วพ่อ
ชนกชนนีไฉน จักได้
ความบูชิตด้วยดี ความนับ ถือนา
เพราะเหตุลูกเต้าไซร้ เสื่อมลง
เหตุใดบัณฑิตผู้ เห็นตาม ธรรมแฮ
ย่อมเพ่งต่อความสง- เคราะห์นี้
เหตุนั้นจึ่งถึงความ เป็นใหญ่
รับสระเสริญอ้างชี้ เชิดคุณ
๑๙. มาตาปิตุอุปฏฺานํ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห
อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ.

โคลง ๓

๑๙. การอุดหนุนบำรุง ผะดุงพ่อแม่ทั้ง
สงเคราะห์ลูกเต้าตั้ง เมตตา
อีกอุตสาหะกอบกิจ ไป่เบือนบิดบากหน้า
ทิ้งกิจการให้ช้า ชักทราม
สามอย่างนี้พึงยล เป็นมงคลเลิศไซร์
พระพุทธเจ้าได้ ตรัสไข
๒๐. สตฺโถ ปสวโต มิตฺตํ มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร
สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สยํ กตานิ ปุฺานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ

โคลง ๔

๒๐. พรรคพวกเป็นมิตรผู้ เดิรหน ทางแฮ
แม่นับว่ามิตรใน เขตต์เหย้า
เพื่อนเป็นมิตรของคน มีกิจ เสมอนอ
บุญเพื่อนพบหน้าเต้า ติดตาม
๒๑. โย มาตรํ ปิตรํ วา มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ
ตาย นํ ปาริจริยาย มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ.

โคลง ๔

๒๑. ใครเลี้ยงสองชนกนั้น โดยธรรม
ปราชญ์จักสระเสริญใน ภพนี้
เมื่อละโลกไปบำ- เทิงณ สวรรค์พ่อ
ผะดุงชนกนั้นชี้ ชักผล
๒๒. ธมฺมฺจร มหาราช มาตาปิตูสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน ราช สคฺคํ คมิสฺสสิ

โคลง ๔

๒๒. สุวรรณสามเอื้อนแก่ ปิลิยักษ์
ผู้ปิ่นประชาชน เชิดเกล้า
“ข้าแต่พระผู้อัคร มหาราช
ผู้ขัตติยยั้งเผ้า พวกประชา
ขอจงประพฤติให้ เป็นธรรม
ในบิดามารดา แห่งไท้
เมื่อพระประพฤติสำ- เร็จภพ นี้นา
จักสู่ฟากฟ้าได้ สุขสบาย”
๒๓. มาตาเปติภรํ ชนฺตุํ กุเล เชฏฺาปจายินํ
สณฺหํ สขิลสมฺภาสํ เปสุเนยฺยปฺปหายินํ
มจฺเฉรวินเย ยุตฺตํ สจฺจํ โกธาภิภุํ นรํ
ตํ เว เทวา ตาวตึสา อาหุ สปฺปุริโส อิติ.

ร่าย

๒๓. เทพนิกายสำนึง ดาวดึงส์แดนสวรรค์ กล่าวสรรเสริญส่ำสัตว์ ประพฤติวัตรเจ็ดสถาน ขนานนามสัตตวัตร หนึ่งปฏิบัติบิดา มารดาผู้อุปถัมภ์ สองยำเกรงเคารพ นบผู้ใหญ่ในตระกูล สามสมบูรณ์ด้วยวา- จาละเอียดอ่อนหวาน สี่ละการส่อเสียด ให้เขาเกลียดชังกัน ห้าบรรเทาความตระหนี่ ที่หกกล่าวคำสัตย์ เจ็ดบำบัดความโกรธ อันเป็นโทษสาหัสา ว่าเป็นสัตบุรุษเจริญวัตร ควรจะนอบน้อม ซ้อง สระเสริญ

โคลง ๔

สำเนาภาษิตข้อ คาถา
มีอรรถอันจำเริญ จิตต์แท้
ท่านคัดจากพระบา- ลีต่าง ต่างนา
ล้วนแต่ที่แก้ด้วย ชนกคุณ
เพียรคิดรจิตขึ้น เป็นลิลิต
เพื่อจักชักนำหนุน มนัสน้อม
เสริมเสามนัสจิตต์ ผู้ประพฤต อยู่แฮ
ใดพร่องเพ็ญให้พร้อม เพริศเพรา
ผิวพจน์บทซึ่งข้อย รจนา นี้พ่อ
ผิดพลาดขาดสำเนา กะทู้
ขอท่านจุ่งเมตตา อวยอ- ภัยเทอญ
เพราะไม่ใช่ผู้เชื้อ กวี

ร่าย

ศรีสวัสดิมงคล ดลแด่ผู้ได้อ่าน ทั่วทุกท่านถ้วนหน้า สิ่งชั่วช้าอย่าใกล้ จุ่งไร้โรคาพาธ ขาดทุกข์โศกเศร้าหมอง ผองศัตรูพ่ายพ้น มากมิตรล้นเหลือตรา อายุยืนยิ่งร้อย ฉวีแช่มช้อยเฉิดฉาย กำลังกายแข็งขัน กำลังปัญญาอุตดม กำลังสมบัติจรูญ พูนสุขกายสุขจิตต์ เพิ่มกิตติยศยิ่งใหญ่ ใฝ่จิตต์เกื้อกูลชาติ ศาสนาให้รุ่งเรือง ประเทืองเกียรติจอมราช รุ่งโรจน์ เจริญอยู่คู่ฟ้าด้าว รวิจันทร์

ณวันที่หนึ่ง ต้น ธันวา คมแฮ
พุทธศก สองพัน สี่ร้อย
ห้าสิบหก พรรษา จันทร วารพ่อ
นับว่าเสร็จสิ้นถ้อย ที่แถลง

 

  1. ๑. อ่าน บุบ-พาจารย์

  2. ๒. ศัพท์นี้โดยมากมักอ่าน อาด-สะ-นะ แต่ที่นี้ต้องอ่าน อา-สะ-นะ ตามภาษาเดิมเขาเพราะต้องการสัมผัสส์.

  3. ๓. ทิศทั้งหกนี้เมื่อรวบรวมกันเข้า ก็คือชาติซึ่งมีหน้าที่เกื้อกูลแก่เราคนละแพนก เราผู้รักชาติต้องเกื้อกูลตอบให้สมแก่ฐานะ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ