- คำนำ
- พระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑
- พระราชกระแส เรื่องจัดการทหารมณฑลกรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๕
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๐ จิรประวัติวรเดช
- วันที่ ๒๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๐ สยามินทร์
- วันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๐ จิรประวัติวรเดช
- วันที่ ๔ กันยายน ร.ศ. ๑๒๐ สยามินทร์
- วันที่ ๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๔ จิรประวัติวรเดช
- --มณฑลกรุงเทพ ฯ พลรบ อัตราธรรมดา
- วันที่ ๒๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๔ สยามินทร์
- วันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕ จิรประวัติวรเดช
- --(ร่าง) ประกาศกำหนดอัตราเงินผู้ที่ได้เสียภาษีอากร ต้องในจำพวกยกเว้นชั่วคราว
- --(ร่าง) ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ. ๑๒๔
- วันที่ ๒๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕ สยามินทร์
- วันที่ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖ จิรประวัติวรเดช
- วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๖ สยามินทร์
วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๐ จิรประวัติวรเดช
ที่ ๒๒/๓๑๑๕
ศาลายุทธนาธิการ
วันที่ ๒๘ สิงหาคม รัตนโกสินทร๓๔ศก ๑๒๐
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ
ด้วยกรมทหารที่มี (กาศ) กองรักษาการเวลานี้ซึ่งนอกจากที่มีอยู่ในพระบรมมหาราชวังและสวนดุสิต คือ (๑) กองรักษาการกองมหันตโทษ ตั้งอยู่ที่กองมหันตโทษ มีหน้าที่ยามรักษาการฉะเพาะแต่ที่กองมหันตโทษ (๒) กองรักษาการกองลหุโทษ ตั้งอยู่ที่ภายในศาลายุทธนาธิการ มีหน้าที่ยามรักษาการฉะเพาะแต่ที่กองลหุโทษ (๓) กองรักษาการกรมยุทธนาธิการ ตั้งอยู่ที่ภายในศาลายุทธนาธิการ มีหน้าที่ยามรักษา ที่ศาลายุทธนาธิการ กองโรงเรียนทหารบก คลังสรรพยุทธของกระทรวงกลาโหม ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังบวร เมื่อมีเหตุการณ์ในหน้าที่ยามของกองรักษาการกองใด เป็นหน้าที่ที่กองนั้นจะได้ออกระงับเหตุได้โดยเร็วและเป็นการสะดวกตามแบบผลัดเปลี่ยนยามนั้นด้วย แต่กองรักษาการซึ่งตั้งอยู่ภายในศาลายุทธนาธิการ ๒ กองนั้น ก็มีหน้าที่แต่ฉะเพาะเหตุในหน้าที่ที่จัดยามของกองนั้นออกรักษาอยู่ ถ้าจะไประงับเหตุอย่างอื่นแล้ว นายทหารต้องเรียกทหารพวกอื่นซึ่ง้องมีเวลาช้าไป เว้นแต่จะได้รับคำสั่งพิเศษจากนายทหารผู้ใหญ่ จึ่งจะแบ่งกองทหารกองรรักษาการนั้นไปได้ ส่วนสถานที่ของกองรักษาการซึ่งอยู่ที่ชั้นกลางภายในศาลายุทธนาธิการนั้น ถ้ามีเหตุการณ์ขึ้นเช่นที่กองลหุโทษเป็นต้น การที่จะรวดเร็วทันท่วงทีคงสู้ให้มีที่อยู่ข้างภายนอกไม่ได้
เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า สมควรจัดให้กองรักษาการซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลายุทธนาธิการทั้ง ๒ กองรวมอยู่ในบังคับนายร้อยเอกผู้ ๑ มีนายร้อยโทหรือนายร้อยตรี ๑ มีจำนวนทหารตามจำนวนที่จะต้องผลัดเปลี่ยนยามรวมอยู่แห่งเดียวกันเป็นกองหนึ่ง เรียกว่ากองรักษาการในพระนคร มีหน้าที่บังคับบัญชาตรวจตรากองและยามรักษาการ ซึ่งตั้งอยู่ในพระนครทุกตำบล เว้นแต่ที่ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีกรมทหารมหาดเล็กและกรมทหารราบที่ ๒ รักษาอยู่แล้ว และที่สวนดุสิตซึ่งกรมทหารมหาดเล็กกับกรมทหารราบที่ ๔ รักษาอยู่แล้วนั้น กับถ้ามีเหตุการณ์ขึ้นในพระนคร เช่นการคุมพวกวิวาทซึ่งเกี่ยวในคนทหาร หรือเหตุที่ไม่เกี่ยวกับคนทหารแต่เหลือกำลังของกองตระเวนบอกมา จะได้ออกระงับเหตุได้ทันท่วงที ส่วนสถานที่กองรักษาการนั้นเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า สมควรจัดที่มุขด้านหน้าศาลายุทธนาธิการชั้นล่างของที่ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นทางสะดวกดี กับจะได้จัดให้มีประโยชน์ในการอื่นด้วย คิดด้วยเกล้าฯ ว่า ถ้าเวลาค่ำแล้วให้ปิดประตูศาลายุทธนาธิการเสียทั้งหมด ให้เดินทางมุขซึ่งเป็นที่กองรักษาการ นายทหารกองรักษาการจะได้ตรวจตราคนและสิ่งที่ไปมาให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบ เป็นทางที่ได้ตรวจตราแข็งแรงขึ้นได้อีกส่วนหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานกราบทูลหารือนายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ในเรื่องสถานที่ ทรงเห็นดีและทรงอนุญาตเป็นการตกลงแล้ว แต่ตามที่จะจัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานเรียนพระราชปฏิบัติ ถ้าทรงพระราชดำริเห็นชอบแล้ว ขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดการต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ขอเดชะ
(ลงพระนาม) ข้าพระพุทธเจ้า จิรประวัติวรเดช
ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ