- คำนำ
- อธิบายความว่าด้วยประกาศรัชกาลที่ ๔
- ๑ ประกาศพระราชบัญญัติมรฎกสินเดิมแลสินสมรศ
- ๒ ประกาศเรื่องโจททิ้งฟ้อง
- ๓ ประกาศเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
- ๔ ประกาศให้ข้าราชการลอกพระราชบัญญัติจากหอหลวง
- ๕ ประกาศห้ามตัดกระบวนทางเสด็จ
- ๖ ประกาศพระราชทานนามหม่อมเจ้า
- ๗ ประกาศว่าด้วยสังฆทาน
- ๘ ประกาศให้ใช้ในคำว่า สมเด็จ ให้ถูกตามเกียรติยศ
- ๙ ประกาศห้ามไม่ให้ใช้คำว่า ชอบเนื้อเจริญใจ แลติดเนื้อต้องใจ ในคำกราบทูล
- ๑๐ ประกาศเรื่องนามพระยาอิศรานุภาพแลพระธัญญาภิบาล
- ๑๑ ประกาศเรื่องเรียกกะปิน้ำปลา ว่าเยื่อเคยน้ำเคย
- ๑๒ ประกาศเรื่องเรียกกะปิน้ำปลา ว่าเยื่อเคยน้ำเคย
- ๑๓ ประกาศเรื่องนาม พระอินทรอาสา ขุนอินทโรดม
- ๑๔ ประกาศนามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์แลพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
- ๑๕ ประกาศเตือนผู้ที่ใช้อักษรผิด
- ๑๖ ประกาศว่าด้วยการสร้างวัด
- ๑๗. ประกาศพระราชบัญญัติฝ่ายพระบวรราชวัง เรื่องเล่นเบี้ยในพระบวรราชวัง
- ๑๘ ประกาศเรื่องถวายฎีกา
- ๑๙ ประกาศเรื่องนามหลวงบันเทาทุกขราษฎร์
- ๒๐ ประกาศว่าด้วยเรื่องฟ้องหาปาราชิก
- ๒๑ ประกาศห้ามคฤหัสถ์ไม่ให้สมคบภิกษุสามเณรที่ประพฤติอนาจาร
- ๒๒ ประกาศว่าด้วยเรียกชื่อกรมล้อมพระราชวัง
- ๒๓ ประกาศว่าด้วยถวายของในงานโกนจุก
๑๕ ประกาศเตือนผู้ที่ใช้อักษรผิด
ด้วยขุนสุวรรณอักษร รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งให้ประกาศว่า ด้วยอักษร ๔ อักษร คือ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ นี้หาควรจะใส่ ห นำแลกากะบาทไม่ เมื่อถึงคำว่า ฤๅ ที่เขียนอุตริกว่าโบราณว่า หฤๅ บ้าง ฤ๋ๅ บ้าง ก็ให้เขียนแต่ ฤๅ อย่างนี้ อย่าให้เขียน ห นำแลใส่กากะบาทเลย ด้วยตัว ห นั้นเฉพาะนำได้แต่ตัวอักษรต่ำ เหมือนอย่าง หมู่ หนี แหวน อย่างนี้ เปนอักษรต่ำจึงเอา ห นำได้ อักษรต่ำนั้นคือ คฅฆง ชซฌญฑฒณ ทธน พฟภม ยรลวฬฮ แลกากะบาทนั้นใช้ได้แต่อักษรกลางเหมือนอย่าง เก๋ง เป๋า จ๋า อย่างนี้ เปนอักษรกลางจึงใส่กากะบาทได้ อักษรกลางนั้นคือ กจ ฎฏ ดต บปอ ตั้งแต่นี้สืบไปให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยซึ่งจะมีธุระเขียนหนังสือเรื่องราวขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว ก็ให้ศึกษาไต่ถาม เขียนให้ถูกต้องตามอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ อย่าให้เขียนใส่กากะบาทแลเอา ห นำผิดๆ เข้ามาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเปนอันขาดทีเดียว
พระราชบัญญัตินี้ตีพิมพ์แต่ณวันพุฒ เดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕