- คำนำ
- อธิบายความว่าด้วยประกาศรัชกาลที่ ๔
- ๑ ประกาศพระราชบัญญัติมรฎกสินเดิมแลสินสมรศ
- ๒ ประกาศเรื่องโจททิ้งฟ้อง
- ๓ ประกาศเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
- ๔ ประกาศให้ข้าราชการลอกพระราชบัญญัติจากหอหลวง
- ๕ ประกาศห้ามตัดกระบวนทางเสด็จ
- ๖ ประกาศพระราชทานนามหม่อมเจ้า
- ๗ ประกาศว่าด้วยสังฆทาน
- ๘ ประกาศให้ใช้ในคำว่า สมเด็จ ให้ถูกตามเกียรติยศ
- ๙ ประกาศห้ามไม่ให้ใช้คำว่า ชอบเนื้อเจริญใจ แลติดเนื้อต้องใจ ในคำกราบทูล
- ๑๐ ประกาศเรื่องนามพระยาอิศรานุภาพแลพระธัญญาภิบาล
- ๑๑ ประกาศเรื่องเรียกกะปิน้ำปลา ว่าเยื่อเคยน้ำเคย
- ๑๒ ประกาศเรื่องเรียกกะปิน้ำปลา ว่าเยื่อเคยน้ำเคย
- ๑๓ ประกาศเรื่องนาม พระอินทรอาสา ขุนอินทโรดม
- ๑๔ ประกาศนามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์แลพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
- ๑๕ ประกาศเตือนผู้ที่ใช้อักษรผิด
- ๑๖ ประกาศว่าด้วยการสร้างวัด
- ๑๗. ประกาศพระราชบัญญัติฝ่ายพระบวรราชวัง เรื่องเล่นเบี้ยในพระบวรราชวัง
- ๑๘ ประกาศเรื่องถวายฎีกา
- ๑๙ ประกาศเรื่องนามหลวงบันเทาทุกขราษฎร์
- ๒๐ ประกาศว่าด้วยเรื่องฟ้องหาปาราชิก
- ๒๑ ประกาศห้ามคฤหัสถ์ไม่ให้สมคบภิกษุสามเณรที่ประพฤติอนาจาร
- ๒๒ ประกาศว่าด้วยเรียกชื่อกรมล้อมพระราชวัง
- ๒๓ ประกาศว่าด้วยถวายของในงานโกนจุก
๑๐ ประกาศเรื่องนามพระยาอิศรานุภาพแลพระธัญญาภิบาล
(คัดจากหมายรับสั่ง เดือนยี่ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๑๔)
ด้วยพระศรีภูริปรีชา เสนาบดีศรีสาลักษณ์ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ให้มีหมายประกาศขึ้นไปในพระบรมราชวังว่า ชื่อพระยาอิศราภาพนั้นแปลออกไม่ได้ความ ถ้าจะแปลว่าความไม่เปนอิศระหาถูกต้องไม่ ให้เติมอักษรนุ เข้าอักษรหนึ่งว่า พระยาอิศรานุภาพ แปลว่าผู้มีอานุภาพดังพระอิศวร ฤๅว่าผู้มีอานุภาพแห่งพระอิศวร ดังนี้จึงจะสมควร,
อนึ่งชื่อพระธัญญาบริบาลก็ไม่สมควร ด้วยความแปลว่าผู้ไม่รักษาเข้าเปลือก หาสมต้องตามความประสงค์ไม่ ให้แปลงเสียว่าพระธัญญาภิบาล แปลว่าผู้รักษาเข้าเปลือกโดยยิ่ง ถ้าไม่เชื่อก็ให้ราชบัณฑิตในพระบวรราชวัง ไถ่ถามพระราชาคณะเปรียญนักปราชญ์ผู้รู้ดูเถิด
อนึ่งพระยาประเสริฐดำรงนั้นไม่ค่อยจะรู้ ให้เติมคำว่าพระยาประเสริฐสาตรดำรง อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง.