พระราชปุจฉาที่ ๒ ว่าด้วยทศพลญาณ

แก้พระราชปุจฉาที่ ๒ (ความที่ ๑)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ขอถวายพระพรเจริญพระราชศิริสวัสดิ์พิพัฒมงคลพระชนมศุขทุกประการ แก่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร พระองค์บรมธรรมิกราชาธิราชผู้ประเสริฐ ด้วยเนื้อความทศพลญาณสูตรอันพระพุทธเจ้าตรัสเทสนาแก่พระสาริบุตรเถรนั้น เปนพิสดารกว้างขวาง แลอาตมภาพขอถวายแต่โดยสังเขปตามวารพระบาฬีว่า “านฺจ านโต อานฺ จ อานโต ยถาภูตํ ปชานาติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “ยถาภูตํ” โดยอันมีแท้ “านฺจ” ซึ่งธรรมอันเปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย “านโต” โดยอันเปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “อานฺจ” ซึ่งธรรมอันมิได้เปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย “อานโต” โดยอันมิเปนเหตุเปนปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนประถม ฯ

“กมฺมสมาทานานํ านโส เหตุโส วิปากํ ยถาภูตํ ปชานาติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “ยถาภูตํ” โดยอันมีแท้ “วิปากํ” ซึ่งวิบาก “กมฺมสมาทานานํ” แห่งกรรมอันบุทคลทั้งหลายถือเอาแล้วแลกระทำ “านโส เหตุโส” โดยฐานะแลโดยเหตุ อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๒ ฯ

“สพฺพตฺคามินีปฏิปทํ ยถาภูตํ ปชานาติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “ยถาภูตํ” โดยอันมีแท้ สพฺพตฺถคามินีปฏิปทํ ซึ่งอันประฏิบัติอันมีปรกติจะไปในคติทั้งปวง มีทุคติแลสุคติเปนอาทิ อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๓ ฯ

“อเนกธาตุนานาธาตุโลกํ ยถาภูตํ ปชานาติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “ยถาภูตํ” โดยอันมีแท้ “อเนกธาตุนานาธาตุโลกํ” ซึ่งขันธโลกอันมีธาตุต่างๆ มีอาทิ คือจักษุธาตุ อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๔ ฯ

“สตฺตานํ นานาธิมุตฺติกํ ยถาภูตํ ปชานาติ ฯ ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “ยถาภูตํ” โดยอันมีแท้ “นานาธิมุตฺติกํ” ซึ่งอธิมุติต่าง ๆ คือหีนาธิมุติแลปณีตาธิมุติ “สตฺตานํ” แห่งสัตวทั้งหลาย อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๕ ฯ

“ปรสตฺตานํ ปรปุคฺคลานํ อินฺทริยปโรปริยตฺตํ ยถาภูตํ ปชานาติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “ยถาภูตํ” โดยอันมีแท้ “อินฺทฺริยปโรปริยตฺตํ” ซึ่งสภาวะอันเจริญแลถ่อยแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย มีอาทิคือศรัทธา “ปรสตฺตานํ” แห่งสัตว์ทั้งหลายหมู่อื่น “ปรปุคฺคลานํ” แห่งบุทคลทั้งหลายหมู่อื่นจากกัน อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๖ ฯ

“ญานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ สงฺกิเลสโวทานวุฏฺานํ ยถาภูตํ ปชานาติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “ยถาภูตํ โดยอันมีแท้ “สงฺกิเลสโวทานวุฏฺสานํ” ซึ่งสภาวะอันจะเศร้าหมองแลอันบริสุทธิ์แลอันจะออก “ญานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ” แห่งฌานทั้งหลาย ๔ แลวิโมกข์ ๘ แลสมาธิ ๓ แลสมาบัติทั้งหลาย ๙ อันนี้ชื้อทศพลญาณเปนคำรบ ๗ ฯ

“อเนกวิหิตํ ปุพฺเพนิวาสํ อนุสฺสรติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “อนุสฺสรติ” ระฦก “ปุพฺเพนิวาสํ” ซึ่งขันธสันดานอันเปนที่อยู่แล้วแต่ในกาลก่อน “อเนกวิหิตํ” อันมีประการอันมาก อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๘ ฯ

“ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน อติกฺกนฺตมานุสฺสเกน สตฺเต ยถา กมฺมูปเค ปชานาติ” ฯ “ตถาคโต” อันว่าพระตถาคต “ปชานาติ” ตรัสรู้ “สตฺเต” ซึ่งสัตวทั้งหลาย “ยถากมฺมูปเค” อันควรแก่กรรม “ทิพฺเพน จกฺขุนา” ด้วยทิพจักษุ “วิสุทฺเธน” อันบริสุทธิ์ “อติกฺกนฺตมานุสฺสเกน” อันล่วงวิสัยแห่งมนุษย์ อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๙ ฯ

“อาสวานํ ขยา อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปฺาวิมุตฺตึ ทิฏเว ธมฺเม สยํ อภิฺา สจฺฉิกตฺวา อุปสมฺปชฺช วิหรติ” ฯ ตถาคโต อันว่าพระตถาคต “สยํ อภิญญา” ตรัสรู้ด้วยสยัมภูญาณอันอุดม “สจฺฉิกตฺวา” กระทำให้แจ้ง “ทิฏฺเว ธมเม” ในอาตมภาพอันเห็นปรตยักษ์ เมาะ ว่าในปัจจุบันกาล “เจโตวิมุตฺตึ” ซึ่งอรหัตผล “อนาสวํ” อันหาอาสวะมิได้ “ขยา” เหตุสิ้น “อาสวานํ” แห่งอาสวะทั้งหลาย อันนี้ชื่อทศพลญาณเปนคำรบ ๑๐ ฯ

ทศพลญาณ ๑๐ ประการจบเท่านี้ ฯ

แก้พระราชปุจฉาที่ ๒ (ความที่ ๒)

ทศพลญาณข้างสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ ตั้งบาฬีจบแลข้อๆ ไปแล้วจึงแปล ฯ

ทศพลญาณข้างพระธรรมไตรโลก ตั้งบาฬีน้อยแลว่าเนื้อความมาก ฯ

สัตตตึสโพธิปักขิยธรรมข้างสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตั้งบาฬีแต่สังเขป ฯ

สัตตตึสโพธิปักขิยธรรมข้างพระธรรมไตรโลก แก้ตามอรรถกถาฎีกา ฯ

พระธรรมไตรโลก ขอถวายพระพรเจริญพระราชศิริสวัสดิ์สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร พระองค์ธรรมิกราชาธิราชเจ้าผู้ประเสริฐด้วยเนื้อความทศพลญาณสูตรตามพระบาฬีว่า

“านาานาณํ” ปัญญาอันรู้จักวิบากด้วยแท้ แห่งกรรมอันสัตวทั้งหลายถือเอาด้วยดี เปนอดีตอนาคตปัจจุบันโดยบังควรแก่ธาตุแลกรรมอันสัตวทั้งปวงถือเอาด้วยดี เปนอดีตอนาคตปัจจุบันโดยอันมิบังควรแก่เหตุ ฯ

“สพฺพตฺถคามินีปฏิปทาาณํ” ปัญญาอันรู้ด้วยแท้ซึ่งประฏิบัติเปนอุบายอันจะให้ถึงสุคติทุคคติทั้งปวง ฯ

“อเนกธาตุนานาธาตุาณํ” ปัญญาอันรู้ด้วยแท้ซึ่งโลก อันมีธาตุอันมากต่างๆ มีจักษุธาตุเปนอาทิ ฯ

“นานาธิมุตฺติกญาณํ” ปัญญาอันรู้จักด้วยแท้ซึ่งอาศรัย คือทฤษฐิอันถือเอาว่าโลกนี้อยู่เที่ยงก็ดี ทฤษฐิอันถือว่าสัตวตายแล้วขาดไปก็ดี เปนอนัตตา ซึ่งอาศรัยปัญญาอันเห็นสังขารเปนอนิจจํเปนทุกขํอนุสัยนั้น คือโลภในกามภพ คือโทษะมานะทฤษฐิสนเท่ห์โมหะชื่ออนุสัย ฯ

“อินฺทฺริยปโรปริยตฺติญาณํ” ปัญญาอันรู้จักซึ่งอันแก่แลอ่อนแห่งปัญญาเวไนยสัตวทั้งหลาย ปัญญาทั้ง ๒ คืออาสยานุสยญาณ แลอินทริยปโรปริยัตติญาณทั้ง ๒ นี้ควบกันเปนอันเดียว เหตุรู้กิจอันประดุจกัน ฯ

“ณานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ สงฺกิเลสโวทานวุฏฺานาณํ” ปัญญาอันรู้จักแท้ซึ่งเสร้าหมองสุกใสเข้าออกแห่งฌานแลวิโมกข์แลสมาธิแลสมาบัติทั้งหลาย ฯ

“ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ” ปัญญาอันรู้จักอาตมภาพอันอยู่อันเกิดในภพแต่ก่อนสิ้นกลัปอันมาก ฯ

“ทิพฺจกฺขุาณํ แล จุตูปปาตาณํ” เปนอันเดียวกัน คือปัญญาอันเห็นจุติปฏิสนธิแห่งสัตวทั้งหลาย ฯ

“อาสวกฺขยาณํ” ปัญญาอันเห็นสิ้นแห่งอาสวะ คืออรหัตมรรคญาณอันกระทำกรรมเปนกุศลากุศลให้สิ้น ฯ

“วิมุตฺติาณํ” ปัญญาในอรหัตผลอันรงับสันดานแห่งโยคาวจรอันพ้นจากเกลศอันหมดเสียแล้วยังแต่ที่อันเปล่า คือขันธสันดานให้เย็นประดุจน้ำ ๒ กลออม ๓ กลออม รดลงในที่มีถ่านอัคคีอันบุทคลกวาดเสียแล้ว ฯ

แลปัญญาทั้ง ๑๐ ประการนี้ รู้แต่กิจแห่งตัวเองแต่แลสิ่ง แลสัพพัญญุตญาณ รู้สรรพอารมณ์ทั้งปวง โดยรอบคอบมิได้หลงหลอ ฯ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ