พระราชปุจฉาที่ ๓ ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม

แก้พระราชปุจฉาที่ ๓ (ความที่ ๑)

สัตตตึสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการดังนี้ “จตฺตาโร สติปฏฺานา” คือสติปัฏฐานธรรม ๔ ประการ “จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา” คือสัมมัปปธานวิริยธรรม ๔ ประการ “จตฺตาโร อิทฺธิปาทา คืออิทธิบาทธรรม ๔ ประการ “ปฺจินฺทฺริยานิ” คืออินทริยธรรม ๕ ประการ “ปฺจพลานิ” คือพลธรรม ๕ ประการ “สตฺตโพชฺฌงฺคานิ” คือโพชฌงคธรรม ๗ ประการ “อฏฺงคิกมคฺคงฺคานิ คืออัฏังคิกอริยมรรคธรรม ๘ ประการ ธรรมทั้งนี้นับเข้าด้วยกันเปน ๓๗ ชื่อสัตตตึสโพธิปักขิยธรรมจบเท่านี้ ฯ

แก้พระราชปุจฉาที่ ๓ (ความที่ ๒)

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือสติปัฏฐาน ๔ คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ล้ำสติปัฏฐานทั้ง ๔ จะพิจารณาในกายานุปัสสนานั้นก่อน “อิธ ภิกฺขุ อชฺฌตฺตํ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ” ฯ “ภิกฺขุ” อันว่าภิกษุ “อิธ สาสเน” ในสาสนานี้ “อนุปสฺสี” เมาะ “ปจฺจเวกฺขติ” พิจารณา “กาย์” ซึ่งกาย “อชฺฌตฺตํ” อันเปนภายในสันดานอาตมา “อุทฺธํ” เบื้องบน “ปาทตลว” แต่ฝ่าเท้าขึ้นไป “อโธ” เบื้องต่ำ “เกสมตฺถกา” แต่ปลายผมลงมา “ตจปริยนฺตํ” มีหนังล้อมเปนที่สุด “ปุรํ” เต็มไป “อสุจิโน” ด้วยโสโครก “นานปฺปการสฺส” มีประการต่างๆ “อิติ” ว่าดังนี้ “อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา ฯลฯ มุตฺตํ” ฯ “เกสา” อันว่าผมทั้งหลาย “อตฺถํ” ก็มี “อิมสฺมํ กาเย” ในกายนี้ “โส ภิกขุ” อันว่าภิกษุนั้น “อาเสวติ” ก็เสพ “ภาเวติ” ก็เจริญ “พหุลีกโรติ” ก็ทำให้มาก “ตํ นิมิตฺตํ” ซึ่งนิมิตรนั้น “ววฏฺเปติ” ก็กำหนดบัดนี้ “ตํ นิมิตฺตํ” ซึ่งนิมิตรนั้น “สุววฏฺิตํ” เปนกำหนดด้วยดี อันว่าภิกษุนั้น “อาเสวิตฺวา” เสพแล้ว “ภาวิตฺวา” เจริญแล้ว “วฏฺเปตฺวา” กำหนดกฎหมายแล้ว “ตํ นิมิตฺตํ ซึ่งนิมิตรนั้น “สุววฏฺิตํ” เปนกำหนดกฎหมายด้วยดี แลภิกษุนั้น “อาตาปี” มีเพียรให้ร้อนเกลศ “ฺสมฺปชาโน” กอปรด้วยปัญญา “สติมา” มีสติ “วิเนยฺย” บันเทาเสีย “อภิชฺฌาโทมนสฺสํ” ซึ่งโลภะแลโทษะในอุปาทานขันธ์ “กายานุปสฺสี” มีปรกติอันเห็นซึ่งกาย “กาเย” ในกาย “อชฺฌตฺตํ” อันเปนภายในสันดาน “วิหรติ” ก็ประพฤติเปนไป แลภิกษุพิจารณาโกฏฐาสอันเปนอศุภทั้งปวงในพหิทธากาย เมาะว่าในกายผู้อื่น อนึ่งภิกษุพิจารณาโกฏฐาสอันเปนอศุภอัชฌัตตแล พหิทธากาย เมาะว่าในกายแห่งตัวในกายแห่งผู้อื่นดุจกล่าวในบทต้นนั้น ฯ

“อชฺฌตฺตํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ” ฯ “ภิกขุ” อันว่าภิกษุ “อนุปสฺสี” มีปรกติพิจารณาเห็น “เวทนํ” ซึ่งเวทนาในสันดานอาตมา “เวทนาสุ” ในเวทนาทั้งหลายอันเปนสุขแลทุกข์โสมนัศแลโทมนัศแลอุเบกขา “อชฺฌตฺตํ” อันเปนภายในสันดานแห่งตัว “วิหรติ” ก็อยู่ “ภิกฺขุ” อันว่าภิกษุ “อนุปสฺสี” มีปรกติเห็น “เวทนํ” ซึ่งเวทนา “เวทนาสุ” ในเวทนาทั้งหลาย “พหิทฺธา” เปนภายนอกสันดานแห่งตัว “วิหรติ” ก็อยู่ ภิกษุผู้นั้น “อนุปสฺสี” มีปรกติเห็น “เวทนํ” ซึ่งเวทนา “เวทนาสุ” ในเวทนาทั้งหลาย “อชฺฌตฺตพหิทฺธา” อันเปนภายในสันดานอาตมาแลสันดานผู้อื่น “วิหรติ” ก็อยู่ ฯ

“ภิกฺขุ” อันว่าภิกษุ “จิตฺเตจิตฺตานุปสฺสิ พิจารณาซึ่งจิตรในจิตร อันเปนภายในแลภายนอก ถ้าจิตกอประด้วยราคะโทสะโมหะแลภิกษุก็รู้จักว่าจิตรกอประด้วยราคะโทสะโมหะ ถ้าจิตรปราศจากราคะโทสะโมหะ ภิกษุก็รู้ว่าจิตรปราศจากราคะโทสะโมหะ ฯ

“ภิกฺขุ” อินว่าภิกษุ “อนุปสฺสี” มีปรกติเห็น “ธมฺมํ” ซึ่งธรรม “ธมฺเมสุ” ในธรรมทั้งหลาย “อชฺฌตฺตํ” อันเปนภายในแห่งตน “วิหรติ” ก็อยู่ “ภิกฺขุ” อันว่าภิกษุ “ปชานาติ” รู้ “อิติ” ว่าดังนี้ “กามฉนฺทํ” ซึ่งกามฉันท์ “สนฺตํ” อันมี “อชฺฌตฺตํ” ภายในตัว “กามฉนฺโท” อันว่ากามฉันท์ “อชฺฌตฺตํ” เปนภายใน “เม” แห่งอาตมา “อตฺถิ” มี “ภิกฺขุ” อันว่าภิกษุ “ปชานาติ” รู้ “อิติ” ว่าดังนี้ “กามฉนฺทํ” ซึ่งกามฉันท์ “อสนฺตํ” อันหามิได้ “อชฺฌตฺตํ” ภายในแห่งอาตมา “กามฉนฺโท” อันว่ากามฉันท์ “อชฺฌตฺตํ” ในภายในสันดาน “เม” แห่งอาตมา “นตฺถิ” หามิได้ พยาบาทก็ดี ถีนมิทธะทก็ดี อุททัจจะกุกกุจจก็ดี วิจิกิจฉาก็ดี มีก็ดี หามิได้ก็ดี ภิกษุรู้ดุจนัยอันกล่าวแล้วในกามฉันท์ อันว่าสติรฦกแลรฦกเนืองๆ รฦกด้วยดี สติอันเปนเหตุรู้ซึ่งจตุราริยสัจ สติเปนองค์แห่งมรรคอันนับเข้าในมรรค แลสติตัวนั้น พระพุทธเจ้าก็กล่าวชื่อว่าสติปัฏฐานแล ฯ

“จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา” อันว่าสัมมัปปธานมี ๔ ประการ คือเพียร อันว่าภิกษุในสาสนานี้ ยังยินดีในกุศลให้บังเกิด มีเพียรปรารภซึ่งเพียรยกยอซึ่งจิตรตั้งไว้ซึ่งจิตร “อนุปฺปาทาย” เพื่อมิให้บังเกิด “ธมฺมานํ” แห่งธรรมทั้งหลาย “อกุสลานํ” อันเปนอกุศล “ปาปกานํ” อันเปนลามก “อนุปฺปนฺนานํ” อันไป่มิเกิด อันว่าภิกษุในสาสนา “ฉนฺทํ” ยังความยินดีในกุศล “ชเนติ” ให้บังเกิดตั้งไว้ซึ่งจิตรในกุศล “ปหานาย” เพื่อจะละเสีย “ธมฺมานํ” ซึ่งธรรมทั้งหลาย “อกุสลานํ” อันเปนอกุศล “ปาปกานํ” อันเปนลามก “อุปปนฺนานํ” อันบังเกิดแล้ว ฯ “ภิกฺขุ” อันว่าภิกษุ “ฉนฺทํ” ยังความยินดีในกุศล “อุปฺปาทาย” เพื่อจะให้บังเกิด “ธมฺมานํ” ซึ่งธรรมทั้งหลาย “กุสลานํ” อันเปนกุศล “อนุปฺปนฺนานํ” อันยังไป่มิบังเกิด ฯ

“ภิกฺขุ” อันว่าภิกษุ “ฉนฺทํ” ยังความยินดีในกุศล “ชเนติ” ให้บังเกิด “ปทหติ” ตั้งจิตรไว้ในกุศล “ิติยา” เพื่อจะให้ตั้งอยู่ “อสมฺโมสาย” เพื่อมิให้ฉิบหาย “ภิยฺโยภาวาย” เพื่อจะให้เจริญด้วยยิ่ง “เวปุลฺลาย” เพื่อจะให้เปนไปต่างๆ “ภาวนาย” เพื่อจะให้เจริญ “ปาริปูริยา” เพื่อจะให้เต็ม “ธมฺมานํ” แห่งธรรมทั้งหลาย “กุสลานํ” อันเปนกุศล “อุปปนฺนานํ” อันบังเกิดแล้ว ฯ

“จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ฉนฺทิทฺธิปาโท จิตฺติทฺธิปาโท วิริยิทฺธิปาโท วิมํสิทฺธิปาโท ฯ “ฉนฺทิทฺธิปาโท” อันว่าบริบูรณ์แห่งตกแต่งเพียรกอประด้วยฉันทสมาธิชื่อว่าฉันทิทธิบาท อันว่าบริบูรณ์แห่งตกแต่งเพียรกอประด้วยวิริยสมาธิ ชื่อว่าวิริยิทธิบาท อันว่าบริบูรณ์แห่งตกแต่งเพียรอันกอประด้วยจิตตสมาธิ ชื่อว่าจิตติทธิบาท อันว่าบริบูรณ์แห่งตกแต่งเพียร อันกอประด้วยวิมังสสมาธิ ชื่อว่าวิมังสิทธิบาท แลอิทธิบาททั้ง ๔ ประการนี้ โยคาวจรบำเพ็ญ เพื่อมิให้บังเกิดบาปธรรมไป่มิบังเกิด เพื่อจะให้ประหารเสียซึ่งบาปธรรมอันเกิดแล้ว อนึ่งเพื่อจะให้บังเกิดซึ่งกุศลอันไป่มิบังเกิด เพื่อจะให้เจริญกุศลอันเกิดแล้ว ฯ

“ปจินฺทฺริยานิ” อินทรีย์มิ ๕ คือสัทธินทริย์ วิริยินทริย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ฯ สัทธินทรีย์ ได้ศรัทธาเปนใหญ่กว่าสัมปยุตตธรรมทั้งปวง ในอันเชื่ออันเลื่อมใสอันกล้าหาญอันหยั่งลงในคุณแห่งพระรัตนตรัย ในกุศลผลกรรมแลนฤพานฯ วิริยินทรีย์ ได้ความเพียรอันจะละบาปทั้งปวง แลเจริญบุญทั้งปวง ฯ สตินทรีย์ ได้สติอันมิได้ลืมซึ่งกุศลากุศลอัพยากฤตทั้งปวง ฯ สมาธินทรีย์ ได้อุปจารสมาธิ คือปีติ อัปปนาสมาธิ คือฌานโลกีย์แลโลกุตรฯ ปัญญินทรีย์ ได้ปัญญาอันเปนใหญ่กว่าสัมปยุตตธรรมทั้งปวง รู้จักสังขารธรรมแลจตุราริยสัจ ฯ

พละ มี ๕ คือ “สทฺธาพลํ วิริยพลํ สติพลํ สมาธิพลํ ปฺาพลํ” แลพละทั้ง ๕ นี้ ก็เหมือนดุจอินทรีย์ แต่ว่าวิเศษด้วยว่ามิหวาดไหวไปในอันมิเชื่อก็ดี ในคร้านก็ดี ในอันลืมสมฤดีในอันฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโมหะลุ่มหลง ฯ

“สตฺตโพชฺฌงฺคา” โพชฌงค์ ๗ คือสติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ฯ สติสัมโพชฌงค์ได้สติอันเปนเหตุจะตรัสรู้ซึ่งจตุราริยสัจฯ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้ปัญญาอันเปนเหตุจะตรัสรู้ซึ่งจตุราริยสัจ ฯ วิริยสัมโพชฌงค์ได้เพียรอันเปนเหตุจะตรัสรู้จตุราริยสัจ ฯ ปติสัมโพชฌงค์ ได้ปีติอันเปนเหตุจะตรัสรู้จตุราริยสัจ ฯ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มี ๒ คือกายปัสสัทธิแลจิตตปัสสัทธิ ฯ แลจิตตปัสสัทธิ ได้กายปัสสัทธิ คือเวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ๓๔ ชื่อนามกาย ได้ชื่อกายปัสสัทธิ ได้วิญญาณขันธ์ คือจิตรอันเปนกุศล แลกิริยา อัพยากฤต ฯ สมาธิสัมโพชฌงค์ ได้โลกิยสมาธิแลโลกุตรสมาธิฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ได้ตัตรมัชฌัตตุเปกขา เล็งดูมัธยัตรในอารมณ์อันเปนโลกิยแลโลกุตรแลบัญญัติ ฯ “อฏฺงฺคคิกมคฺคานิ” ได้องค์มรรค ๘ คือ “สมฺมาทิฏฺิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ” ฯ “สมฺมาทิฏฺิ” ได้ปัญญาอันเห็นจตุราริยสัจ “สมฺมาสงฺกปฺโป” ได้วิตกถึงเนกขัมมบารมี แลวิตกอันมิได้เปนเวรแลวิตกอันมิได้เบียดเบียนสัตว์หมู่อื่น แลวิตกถึงนฤพาน ฯ “สมฺมาวาจา” ได้เจรจาดีเว้นจากเจรจาผิด ๔ ประการ คือมุสาวาท แลผรุสวาท แลเปสุญญวาท แลสัมผัปปลาปวาท ฯ “สมฺมากมฺมนฺโต” ได้กระทำกรรมอันดี เว้นปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราบาน ฯ “สมฺมาอาชีโว” ได้เลี้ยงชีวิตชอบธรรม เว้นจากกายทุจริต ๓ แลวจีทุจริต ๔ เว้นจากค้า ๕ ประการ คือเนื้อสดปลาสด แลค้าอาวุธ ค้ายาพิษ ค้าเหล้า ค้ามนุษย์ ถ้าเปนภิกษุให้เว้นอเนสนะอันมิควรแสวงหาเลี้ยงชีวิตร ๒๑ ประการ มีขังฆเปสะ แลเวชกรรมเปนต้น คือเปนคนใช้คฤหัศถ์ แลเปนหมอนวดหมอยาเปนอาทิ ตั้งอยู่ในอาชีวปาริสุทธศีล จึงได้ชื่อว่า สมฺมาอาชีโว ฯ “สมฺมาวายาโม” ได้วิริยอันประหารบาป แลวิริยเจริญบุญ ฯ “สมฺมาสติ” ได้สติอันมิได้ลืมในกุศล แลอัพยากฤต ฯ “สมฺมาสมาธิ” ได้โลกิยสมาธิแลโลกุตรสมาธิ ฯ จบบริบูรณ์ ฯ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ